OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Two houses at Nichada บ้านพี่น้องสองบุคลิก

การออกแบบบ้าน ที่แปรคาแรคเตอร์ของพี่น้อง 2 คน ที่แตกต่างกันในสไตล์และความชอบ สู่สถาปัตยกรรมความสัมพันธ์สำหรับทุกคนในครอบครัว

(คลิปเสียงสัมภาษณ์บ้าน Two houses at Nichada)

Two houses at Nichada

Architect : Alkhemist Architects

Location : หมู่บ้านนิชดาธานี จังหวัดนนทบุรี

Photo : เกตน์สิรี วงศ์วาร

12645056_949241901833751_7691479383359185587_n

Two houses at Nichada คือ บ้านพักอาศัย 2 หลัง ของ 2 พี่น้อง ภายในโครงการบ้านนิชดาธานี จังหวัดนนทบุรี สร้างอยู่บนที่ดินแปลงใหญ่ที่มีบ้านทั้งหมด 3 หลัง สำหรับสมาชิกพ่อแม่และลูกชายทั้ง 2 คน  กับผลงานการออกแบบของคุณไกรพล ชัยเนตร สถาปนิกนักเล่นแร่แปรธาตุนาม Alkhemist Architects ที่เชื่อว่างานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ก็สามารถเติมความเป็นไทยลงไปได้เสมอ

พี่น้องใกล้ชิดแต่วิถีชีวิตแตกต่าง

โจทย์ความต้องการเริ่มต้นจากคุณพ่อคุณแม่ชอบบ้านแบบหมู่บ้านอิตาลีชนบท ที่ก่อด้วยอิฐสีส้มดูอุ่นอบ ผสมผสานความชอบจากลูกชายวัยรุ่นทั้ง 2 คน ที่อยากได้บ้านสไตล์ดิบเท่แบบ Loft แต่ต้องเป็นความดิบเท่ที่สะท้อนภาพลักษณ์ไลฟ์สไตล์ส่วนตัวของตัวพวกเค้าเองด้วย จึงเป็นหน้าที่ของสถาปนิกที่จะต้องจัดการกับความต้องการของทุกคนให้มาอยู่ร่วมกัน

12642535_949241898500418_2741698734563276705_n

บนที่ดินแปลงยาวที่ถูกแบ่งพื้นที่เพื่อรองรับบ้าน 3 หลัง ทำให้แต่ละหลังได้พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าหน้าแคบแต่ลึก รูปทรงอาคารที่จะสร้างขึ้นได้ จึงต้องเป็นอาคารหน้าแคบ ซ้อนชั้น ทอดตัวตามยาวไปกับพื้นที่ เพื่อรักษาพื้นที่ใช้สอย และพื้นที่สวนไว้ให้ได้มากที่สุด
12654176_949242298500378_8864890704470218752_nบ้านคุณพ่อแม่ออกมาในสไตล์ Tuscany Italy แบบฉบับหมู่บ้านอิตาเลียนชนบท (ด้านขวาสุด)

12642959_949244715166803_3100824088750316219_n

แปลนบ้านทั้ง 2 หลัง ดูคล้ายคลึงเหมือนเป็นภาพกระจกสะท้อน แต่ความจริงวางผังฟังก์ชั่นที่ถอดรายละเอียดมาจากบุคลิกพี่น้องที่แตกต่างกัน

พี่ชาย, ผู้นิ่งสงบ

ในบ้าน Modern loft ผนังอิฐสีขาวสะอาดตา เป็นที่พักอาศัยของคนพี่ที่เป็นนักกอล์ฟมืออาชีพ ผู้มีวิถีชีวิตอยู่กลางแจ้ง ต้องการให้บ้านเป็นพื้นที่เงียบสงบสำหรับผ่อนคลาย ตกแต่งอย่างเรียบง่าย เน้นความโปร่งโล่ง สถาปนิกจึงออกแบบโถงนั่งเล่นแบบ Double Space พร้อมช่องเปิดมุมกว้างทางทิศเหนือและทิศตะวันออก เพื่อปล่อยให้สายลมและแสงแดดเดินทางผ่านเข้ามาข้างใน ที่นอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิความร้อน แถมยังสร้างมิติของแสงเงา ที่ตกกระทบผนังก่ออิฐและเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน เป็นภาพความสวยงามที่ใช้องค์ประกอบสถาปัตยกรรมได้อย่างชาญฉลาด

ฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟ12647092_949241611833780_7155695244812631316_n

12644971_949241858500422_5515846196097684346_n

ความโปร่งโล่งที่อยากจะให้แสงแดดและสายลมเคลื่อนที่ผ่านเข้ามาในบ้าน ช่วยให้พื้นที่ดูกว้างขวางและระบายความร้อนได้ดี

IMG_0795

12669499_949241531833788_6641339951526668819_n

ดีไซน์การจัดวางเฟอร์นิเจอร์แต่เพียงน้อยชิ้น เน้นที่ความเรียบง่ายสำหรับความนิ่งสงบของพี่ชาย

Picture1

เล่นสีฟ้าคราม ตัดกับผนังขาวและน้ำตาลของไม้ เป็นโทนสีสบายตา เพื่อไม่ให้ตัวบ้านดูน่าเบื่อเกินไป

น้องชาย, ผู้ร่าเริง

หากเดินข้ามสระว่ายน้ำตรงกลางมายังฝั่งตรงข้าม ก็จะพบกับบ้านโทนสีดำ-น้ำตาลที่ดูดุดันแบบ Industrial Loft ของคนน้อง ที่ทำงานเป็นเจ้าของไนท์คลับ รักงานสังสรรค์และปาร์ตี้ ต้องการบ้านที่โชว์ความดิบของวัสดุ ประกอบกับตัวบ้านหลังนี้หันไปทางทิศใต้และทิศตะวันตกที่มีแดดแรง สถาปนิกจึงออกแบบช่องเปิดขนาดเล็กแคบ กระจายตัวอยู่ด้านบนโถงรับแขกแบบ Double Space ช่องเล็กๆนี้ กันให้แสงที่เข้ามาแค่เพียงเลือนลาง สลัวๆ แต่ไม่อึดอัด อีกทั้งยังช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดยามบ่ายไปในตัว

12654534_949241721833769_9034119372477230547_n

12670074_949241738500434_8992284587247816681_nเมื่อเปิดให้แสงธรรมชาติเข้ามาน้อย โคมไฟในบ้านจึงรับหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานส่องสว่างนำทางแทน

12654541_949241365167138_1178652398488815547_n

ช่องแสงแบบแคบยาวที่พอให้ค่าความสว่างแต่พอสว่าง  12642477_949241325167142_2726911669364922755_n

ห้องนอนและห้องอื่นๆภายในบ้านจะถูกซ่อนไว้ให้เป็นพื้นที่ส่วนตัวของบ้าน

12647185_949241958500412_8679027874198148012_n

 สร้าง Texture ให้เกิดผิวรอยหยาบพอประมาณที่ผนัง ด้วยเทคนิคง่ายๆ อย่างการฉาบปูนตีเกียงที่ผนังและทาสีทับอีกชั้นหนึ่ง

โซนนั่งเล่นจึงเป็นทั้งหัวใจหลักของบ้านทั้ง 2 หลัง ด้วยลักษณะของห้องนั่งเล่นแบบ Loft ที่สถาปนิกต้องการนำเสนอใน Two houses at Nichada  คือพื้นที่ส่วนกลางที่ดูโปร่งโล่ง ฝ้าเพดานดึงสูง สามารถมองออกมาภายนอกเห็นบ้านอีกฝั่ง หรือจะเลือกเปิดหน้าต่างเชื่อมต่อถึงกันได้ เหมือนเป็นการแชร์ห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ของ 2 พี่น้อง เปิดโอกาสให้พี่น้องที่มีวิถีชีวิตต่างกันได้ออกมาพบปะพูดคุย สร้างพื้นที่เชื่อมต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว

12662423_949242301833711_3437410786746516569_n

12661925_949241465167128_6126231434534841991_n

สถาปนอกเลือกวางตำแหน่งบันไดไว้ติดตัวบ้านด้านนอก เพื่อเป็นตัวช่วยในการบล็อกสายตาให้ผู้ที่อยู่อาศัยหันมุมมองเข้ามาในคอร์ทตรงกลางมากที่สุด

Picture2

มุมมองจากฝั่งบ้านน้องชายผ่านสระน้ำตรงกลางไปเห็นชีวิตในห้องนั่งเล่นบ้านของพี่ชาย

12644959_949241675167107_8800147748592954258_n

สิ่งที่ตกตะกอนมาจากความชอบของพ่อแม่ คือ ผนังก่ออิฐมอญจากบ้านแบบ  Tuscany Italy ที่สอดรับได้เป็นอย่างดีกับผนังอิฐในสไตล์แบบ Loft

ความเป็นไทยในงานสถาปัตยกรรม

เมื่อเอ่ยถึงความเป็นไทย หลายคนอาจยังติดกับภาพบ้านทรงไทย อาคารเก่าๆจากยุคก่อน แต่สิ่งที่เรากำลังพูดถึงแท้จริงคือ วิถีและแนวทางการดำเนินชีวิตของคนไทยซึ่งมีความร่วมสมัยและแปรเปลี่ยนไปตามเวลา ชีวิตแบบบ้านๆ ที่ดูผ่อนคลาย และความเคารพนอบน้อมต่างหาก คือลักษณะความเป็น “ไทย” ที่ปรากฏอยู่ในบ้านทั้ง 2 หลัง

12662453_949241845167090_8858360833244038697_n

เคารพบริบทของหมู่บ้าน

ลักษณะบ้านในหมู่บ้านนิชดาธานีมีลักษณะอาคารแบบ Post Modern ดังนั้นการวางอาคารหลังใหม่ลงไปในโครงการจึงควรคำนึงถึงความกลมกลืน การสร้างอาคารแบบโมเดิร์นจ๋า เป็นกล่องกระจกสี่เหลี่ยมมากเกินไปก็คงจะไม่เหมาะ สถาปนิกจึงต้องคุมโทนให้ทุกอย่างอยู่รวมกันได้ ไม่แปลกแยกจนเกินไป

Picture7

เข้ากับอากาศเมืองไทย

ในเมืองที่อากาศร้อนระอุขนาดนี้ การละเลยปัจจัยเรื่องสภาพอากาศที่ตั้งคงสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อยู่อาศัยเป็นแน่ นักออกแบบได้ดีไซน์ปรับสไตล์ความเป็น Loft สากลให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น อย่างการออกแบบผนัง Double Wall คือการสร้างช่องว่างระหว่างผนังที่ก่อ 2 ชั้น เพื่อป้องกันความร้อนที่จะแพร่ผ่านเข้ามาในอาคาร และใช้หลังคาแบบ Double Roof (หลังคา 2 ชั้น) ทรง Butterfly (ทรงผีเสื้อ) และ Lean to (เพิงหมาแหงน) ยื่นชายคาออกเพื่อป้องกันแสงแดด เปิดพื้นที่ให้ลมไหลเวียนเพื่อระบายความร้อน และช่วยเพิ่มมิติความสวยงาม สร้างเอกลักษณ์ให้กับตัวบ้านทั้ง 2 หลัง

Picture3

Picture6

ใช้ตาข่ายตะแกรงกันนกและแมลงเข้าไปใต้หลังคาส่วนพื้นที่ใต้ Double Roof

12642469_949242058500402_5639027454418553058_n

สถาปนิกคำนึงถึงการเชื่อมต่อของพื้นที่ระหว่างกันและความ Flowไหลลื่นของลมเป็นอย่างมาก เพราะต้องการให้ลมพัดผ่านจากคอร์ทตรงกลางแล้วจึงกระจายเข้าสู่ตัวบ้านทั้ง 2 หลัง  

ข้อความสำคัญที่สถาปนิกทิ้งท้ายไว้ให้กับเรา คือคำว่า “กาละ” และ “เทศะ” เป็นเรื่องสำคัญ (เวลา-สถานที่) การจะออกแบบสิ่งปลูกสร้างใดๆก็ตามเคาจะเคารพสถานที่ที่ตั้งอยู่ สภาพแวดล้อมและช่วงเวลาเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ และสร้างความแตกต่างเสมอ เสื้อโค้ทแขนยาวคงจะไม่เหมาะที่จะหยิบมาสวมใส่ในหน้าร้อน สถาปัตยกรรมก็เช่นกัน จึงควรนึกถึงเรื่องการเข้าใจในความแตกต่าง และรู้จักปรับตัวให้เข้ากับบริบทแวดล้อมตัวเองเป็นสำคัญ เพราะเราคงควบคุมให้ทุกอย่างมีคุณสมบัติเหมือนกันหมดไม่ได้ แต่เราสามารถออกแบบหาจุดร่วมของความแตกต่าง ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading