OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

จ้างคนรู้จักมาออกแบบบ้านให้ ดีไม่ดีอย่างไร…?

เพราะเราคงไม่ได้มีโอกาสสร้างบ้านกันบ่อยนักในชีวิตหนึ่ง ฉะนั้น เราจึงไม่รู้จักกลุ่มคนเหล่านี้นัก หากไม่มีธุระที่จะต้องติดต่อ “เมื่อคุณจะสร้างบ้านสักหลังจริงๆ และต้องการใช้บริการจากนักออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น สถาปนิก มัณฑนากร หรือนักจัดสวน คุณจะหาคนเหล่านั้นจากที่ใด วิธีการใด” คนส่วนใหญ่เลือกที่จะให้คนรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน หรือญาติ มาเป็นผู้ออกแบบให้ เพราะคิดว่านอกจากความรู้ความสามารถที่ต้องมีแล้ว ความไว้วางใจได้ ก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยที่หวังว่าคนที่รู้จักกันดี จะไม่ทิ้งงาน หรือตั้งใจออกแบบบ้านของตนได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องครับ เราก็คงจะไว้ใจคนรู้จักมากกว่าคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน… เรามาดูกันว่า การว่าจ้างนักออกแบบ มีอะไรควรคิดถึงบ้างArchitectรู้จักกันดี แต่ก็ต้องมีค่าจ้างให้เขา

มีไม่น้อยที่ “ความรู้จักกัน” นี่เอง เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาตามมาไม่น้อย โดยหลายคนให้ความเห็นเรื่องการว่าจ้างคนรู้จักว่า “เพราะจะได้ต่อรองราคาได้ถูกๆ” ซึ่งนั่นอาจเป็นจุดประสงค์ที่สำคัญน้อยที่สุดครับ เพราะแม้จะรู้จักกัน แต่ในขั้นตอนการทำงาน นักออกแบบอาจมีค่าใช้จ่ายในการทำงาน ซึ่งผู้ว่าจ้างต้องเข้าใจว่า ในการที่เขาคนนั้นมาออกแบบบ้านให้เรา เราก็เสียโอกาส เสียเวลาที่จะไปทำงานอื่นที่จะสร้างรายได้ให้เขาเช่นกัน การลดราคาให้เจ้าของบ้านเป็นพิเศษ จึงน่าจะเป็นความพอดีที่ทุกคนรับได้ อย่าถึงกับทำให้ฟรีๆเลยครับ

หากเป็นนักศึกษาหรือบัณฑิตจบใหม่ อาจมีผู้รู้อีกคนช่วยดูแลModel

(ภาพจาก http://www.imagekb.com/architecture-students)

หลายคนมอบหมายให้นักศึกษาสถาปัตยกรรมที่เพิ่งศึกษาจบจากมหาวิทยาลัย มาเป็นผู้ออกแบบบ้านให้ ข้อดีคือเราอาจจะได้ไอเดียจากเด็กรุ่นใหม่ที่แตกต่างออกไป แต่ในเรื่องประสบการณ์คุมงานหรือตรวจงานก่อสร้างอาจไม่มี ฉะนั้นความรู้หน้างานจริงๆที่น้อย ส่งผลถึงแบบที่ทำอาจมีข้อผิดพลาด หรือที่เรียกว่า “แบบหลุด” ได้ ทางที่ดี หากตั้งใจจะให้บัณฑิตใหม่ออกแบบ เราควรหาผู้รับเหมาที่มีความรู้ความสามารถ หรือหาสถาปนิกที่มีความรู้มาช่วยดูแลอีกขั้นหนึ่ง ก็น่าจะช่วยลดความเสี่ยงที่แบบจะหลุดหรือก่อสร้างไม่ถูกต้องได้

แม้รู้จักกัน ก็ควรขอดูผลงานที่ผ่านมา

architect-profile_600x315(ภาพจาก http://architectureschools.com/resources/design-career-profiles-architect)

ถึงแม้จะว่าจ้างคนรู้จักกันดี แต่เราควรขอดูผลงานที่ผ่านมาของเขา ซึ่งจะเป็นสิ่งที่การันตีความสามารถของนักออกแบบคนนั้นได้ดีที่สุด นอกจากขอดู อาจสอบถามว่าบ้านหลังนั้นๆ มีประเด็นหรือปัญหาอะไรที่น่าสนใจหรือไม่ หรือเรียกว่าการชวนคุย เพื่อที่เราจะได้รู้ถึงวิธีการทำงาน ข้อดี ข้อด้อย ของนักออกแบบคนนั้นๆ หากเห็นว่ามีความพร้อมดี ก็สามารถร่วมงานกันได้ตามความสะดวก แต่หากคิดว่าประสบการณ์ยังน้อย น่าจะมีปัญหา ก็สามารถปฏิเสธไม่ว่าจ้างได้ เพียงแต่ต้องคุยกันให้เข้าใจก่อนการตกลงใดๆ ส่วนนักออกแบบ ก็ควรคิดถึงความสามารถของตนเองด้วย ว่าจะสามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการของเจ้าของบ้านหรือไม่ อย่ารับงานใหญ่เกินตัว เพราะจะมีแต่เสียกับเสียหากทำได้ไม่ดี

นักออกแบบที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ใช่ว่าไม่น่าว่าจ้าง

architects

(ภาพจาก https://coordinatesbn.wordpress.com/)

อันนี้อยู่ที่เรื่องของจังหวะและเวลา หรือที่เรียกว่าโชคด้วย เพราะต้องยอมรับว่านักออกแบบมีทั้งที่ดีและไม่ดี บางคนหาจากอินเตอร์เน็ท แต่พอคุยแล้วถูกชะตา ก็ว่าจ้างออกแบบ สร้างบ้านจนเสร็จ ปัจจุบันนักออกแบบและเจ้าของบ้านก็กลายเป็นเพื่อนสนิทกันไปเลย จงเชื่อในความรู้สึกของตนเอง เวลาคุยกับนักออกแบบ ว่า”ใช่” หรือเปล่า ผมว่าทุกคนน่าจะรู้ครับ

… ขอให้เจอนักออกแบบที่ตรงใจครับ

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading