OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

7 เหตุผล ทำไมเราถึงควรยับยั้งเพื่อการทบทวน โครงการพัฒนาริมฝั่งเจ้าพระยา 14 กิโลเมตร

บนยุคแห่งการแชร์ข้อมูลปริมาณมหาศาล ที่ไหลเวียนมาบนหน้าจอตรงหน้าเราอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน คุณรู้หรือไม่ ว่าขณะนี้กำลังมีนโยบายโครงการสร้างทางทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาข้างละ 7 กม.เริ่มต้นที่สะพานพระราม 7 ยาวไปจนถึงสะพานปิ่นเกล้า ข้างละ 7 กม. รวมระยะทางสองฝั่งแม่น้ำกว่า 14 กม. บนงบประมาณกว่า 14,000 ล้านบาท เพื่อนำไปแลกกับ แท่งเสาตอม่อคอนกรีตขนาดยักษ์ที่จะทิ่มลงเจ้าพระยามากกว่า 400 ต้น และโครงสร้างคอนกรีตยื่นอาณาเขตลงแม่น้ำสายสำคัญกลางเมืองข้างละ 12-15 เมตร ประกอบกันเป็นทางจักรยานและทางเดินริมน้ำที่มีขนาดโครงสร้างเท่ากับทางด่วนสายหลักในเมือง !

1(ภาพจาก http://www.horonumber.com/news-900)

เรากำลังต้องการเส้นทางคอนกรีตขนาดยักษ์ ยาวเท่ากับ 40 รอบสนามฟุตบอลมาตรฐานมาสร้างติดพื้นที่ริมน้ำของพวกเราจริงเหรอ ?

โครงการที่ผุดขึ้นมาแบบไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีการทำประชาพิจารณ์จากภาคประชาชน อยู่ดีๆวันนึงภาครัฐก็เดินมาบอกเราว่าที่คือคำตอบที่ดีที่สุด โดยที่ไม่เคยตั้งคำถาม หรือถามหาความเห็นจากชาวบ้านริมน้ำ หรือประชาชนทั่วไปเลย นี่ไม่ใช่เกมสร้างเมืองจำลองของเด็กๆ เพราะทุกครั้งที่คุณกดปุ่มสร้างอะไรขึ้นมา ย่อมมีผลกระทบจริงเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อมเสมอ เราจึงควรค่อยๆมาพิจารณาข้อมูลและร่วมหาคำตอบร่วมกันจากทุกฝ่าย เพื่อคืนประโยชน์สุขส่วนรวมให้ไปถึงทุกๆคน
7 เหตุผลควรรู้เพื่อทบทวนโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

21. กระบวนการจัดตั้งโครงการอย่างเร่งด่วนผิดปกติ ทั้งที่ยังไม่มีผลการศึกษามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานอ้างอิง ไม่เปิดเผยข้อมูลรูปแบบโครงการที่ชัดเจนแก่สาธารณะชน ไม่มีทรัพยากรบุคคลผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านชลธารทางน้ำ ระบบนิเวศน์ ศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และในเชิงการรอกแบบก่อสร้างสถาปัตยกรรม ระบบผังเมือง ภูมิทัศน์ รากเหง้าพื้นที่ประวัติศาสตร์ ในแม่น้ำสายหลักนับแต่การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์มา 233 ปี การก่อสร้างในครั้งนี้ย่อมต้องเกิดแรงกระเพื่อมในแม่น้ำของพวกเราอย่างแน่นอน แต่ประชาชนส่วนใหญ่กลับไม่ได้มีส่วนร่วมกับโครงการนี้เลย ทั้งๆที่แม่น้ำเจ้าพระยา คือพื้นที่สาธารณะที่สำคัญของคนจำนวนมาก
2.ข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกัน

3 สั่นคลอนความน่าเชื่อถือ รัฐบาลอ้างว่ามีการทำคณะอนุกรรมการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้ลงพื้นที่ให้ข้อมูลโครงการฯ แจกแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่โครงการตั้งแต่เดือนก.พ. 58 ซึ่งประชาชนได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะโดยประชาชนส่วนใหญ่ไม่คัดค้านโครงการ
ในขณะที่เสียงสะท้อนจากการสำรวจโดยทีมงานภาคเอกชนอิสระ Friends of the River ช่วงเดือนก.ค. ที่ผ่านมาพบว่ากว่า 64% ของคนในพื้นที่ ยังมีข้อสงสัยต่อโครงการ เพราะยังไม่ได้ข้อมูลแบบโครงการที่ชัดเจนจากภาครัฐ มีจำนวนตัวเลขของผู้ไม่เห็นด้วยกับโครงการ 21% และจำนวนเห็นด้วยกับโครงการอยู่ที่15%
ยังไม่รวมรายงานจากสื่อทีวีสาธารณะ ถึงบทสัมภาษณ์ความคิดเห็นของชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนริมน้ำ ที่มีส่วนได้รับผลกระทบจากโครงการนี้อย่างแน่นอน ภาพรวมเนื้อหาคำตอบในบทสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ของชาวบ้านต่างแสดงความกังวลและยังเห็นสอดคล้องกับนโยบายโครงการ เพราะยังไม่มีการเข้ามาพูดคุยหรือให้เข้ามูลที่เพียงพอ รั้นแต่จะเดินหน้าโครงการโดยไม่ถามความต้องการจากพวกเค้าเลย
3.ผลกระทบด้านระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

4 5โครงสร้างทางเดินลักษณะคล้ายสะพานจะมีเกิดช่องว่างด้านใต้ เป็นที่สะสมขยะในแม่น้ำ ช่องว่างระหว่างตอม่อใต้สะพานก็ยากต่อการเข้าไปทำความสะอาด กลายเป็นจะไปเพิ่มปัญหาความสกปรกให้กับแม่น้ำ ในด้านชลศาสตร์ทางน้ำ สะพานขนาดยักษ์นี้ส่งผลให้ลำน้ำมีขนาดแคบลง 15-20% มีผลทำให้กระแสน้ำไหลเร็วขึ้นเพิ่ม ความเสียงในการกัดเซาะตลิ่งและน้ำยกก็จะสูงขึ้นในฤดูน้ำหลาก
มีข้อมูลเปิดเผยว่าโครงการนี้จะงดการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เร็วขึ้น หลบหลีกการระบุว่าเป็นถนนทางหลวงตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นการละเลยผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างจงใจ

4.ผลกระทบด้านผังเมืองและภูมิทัศน์

6 7ด้วยรูปแบบทางเดินโครงสร้างแบบเดียวที่จะใช้ตลอดเส้นทาง 14 กม.ของโครงการดูจะเป็นการออกแบบที่เหมารวม ขาดความละเอียดอ่อนต่อพื้นที่หลากหลายวัฒธรรมริมน้ำเกินไปเสียหน่อย ยกตัวอย่างพื้นที่ในชุมชน เขาอาจไม่ได้ต้องการทางเดินที่ต่อเนื่องกันทั้งหมด เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย ความต้องการจริงๆอาจเป็นทางเดินวกกลับเข้ามาเชื่อมกับพื้นที่สาธารณะเดิมที่มีอยู่แล้วในชุมชน การที่ภาครัฐเสนอรูปแบบด้วยการลากเส้นตัดผ่านทุกอย่างแบบนี้มา คงไม่สามารถเข้าไปตอบสนองความต้องการหลากหลายเหล่านั้นได้  รูปแบบโครงการดังกล่าวรั้งจะเข้าไปทำลายการเชื่อมต่อระหว่างคนกับแม่น้ำชุมชนริมน้ำ  ไม่สอดคล้องกับโครงข่ายคมนาคมและการเชื่อมต่อในพื้นที่ทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

 

ในด้านภูมิทัศน์ เป็นการสร้างสิ่งแปลกปลอมในลำน้ำเจ้าพระยา โครงสร้างขนาดใหญ่โตจะบดบังทำลายทัศนียภาพสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาและบดบังสถาปัตยกรรมที่สำคัญ เช่น ชุมชนควรค่าการอนุรักษ์ วัด วัง โบราณสถาน สถานที่ราชการต่างๆ สถานที่สวยงามทางสถาปัตยกรรมในตั้งแต่ยุดอดีตของไทย  ภาพวิวสิ่งปลูกสร้างกระทบแสงไฟสว่างไสวยามราตรีที่เราคุ้นชิน  จะมีสิ่งแปลกปลอมรูปทรงแข็งกระด้างเข้ามาทำลายความงามให้ลดน้อยถอยลงไป ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่มีภูมิทัศน์ของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเอกลักษณ์สำคัญ

 

5.งบประมาณมากเกินจำเป็น

เงินมูลค่ากว่า 14,000 ล้านบาทดูจะเกินความจำเป็นสำหรับทางจักรยานและทางเดินริมน้ำ ทั้งยังไม่มีแจกแจงว่าว่าจะนำไปใช้อะไร มูลค่าโดยประมาณเท่าไหร่ ขาดความโปร่งใสและความชัดเจนในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการขนาดใหญ่ขนาดนี้ แต่ยังจัดการเดินหน้านำเนินการโดยไม่ฟังเสียงทักท้วงจากประชาชน เร่งเปิดเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการจำกัดแต่บริษัทวิศวกรรม ที่เชี่ยวชาญด้านการทำถนน  (คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่ TOR ออกมาให้ประมูลการศึกษาโครงการเป็นถนน) ไม่มีข้อกำหนดให้มีสถาปนิกหรือนักผังเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง และกำลังจะยื่นซองกันวันที่ 17 กันยายนที่กำลังจะถึงนี้แล้ว กับราคาค่าก่อสร้างสูงเกือบ 50,000 บาทต่อตารางเมตร เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยราคาการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 4-5 ชั้นในกทม.และปริมณฑล ก็ไม่เกิน 15,000 ต่อตารางเมตร

 

6.เปิดประตูบานแรกสู่โครงการอื่นที่กำลังจะตามมา

เพราะถ้าเราปล่อยถ้าโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาสร้างที่ยังไม่พร้อมตอบสนองประโยชน์แก่ทุกๆฝ่ายในเชิงมหภาคอย่างแท้จริงนี้สร้างได้สำเร็จ ภาครัฐก็ยังมีโครงการทางเดิน 140 กิโลเมตรเชื่อม 4 จังหวัดของสนข, จ่อรอการพิจารณาอยู่ เริ่มต้นตั้งแต่ เร่งทำทางเดิน140กม.ปทุมธานีผ่าน นนทบุรี กรุงเทพมหานครถึงจังหวัดสมุทรปราการ ที่ชาวบ้านริมฝั่งน้ำก็ยังไม่ได้รับข้อมูลหรือสอบถามความคิดเห็น ได้แต่เพียงแสดงความกังวลต่อวิถีชีวิตที่กำลังจะเปลี่ยนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ขนาดใหญ่มากๆที่กำลังจะเกิดตามมาอย่างแน่นอน

7.การไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนหรือนักออกแบบเข้าไปมีส่วนร่วม

8 9 10เรายังสามารถช่วยหาออกแบบและหาคำตอบที่ดีมากกว่ารูปแบบที่รัฐบาลยัดเบียดมาให้กับเราได้ ทางเดินรูปแบบทื่อๆแบบนั้นดูเหมือนจะเป็นข้อบกพร่องในการออกแบบเสียด้วยซ้ำ ดีไซด์เนอร์ทุกคนอยากใช้ความรู้ที่มีให้เป็นประโยชน์กับทุกๆฝ่ายในบ้านเมือง ตอบโจทย์เรื่องความสวยงามแต่ไม่ไปทำลายสถานที่ หรือวิธีชีวิตเดิมของคนแถบนั้น รองรับการใช้งานได้จริงทั้งคนทั่วไปและไม่รบกวนชาวบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลผลกระทบหลายๆด้าน เพราะพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยานับเป็นพื้นที่สำคัญของเมือง11 12

(ภาพจาก https://www.bostonglobe.com/metro/2012/02/10/esplanade-association-unveils-blueprint-for-charles-river-park/JOYLc7fSMKSqEDCRsIWN6O/story.html)

ตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำในต่างประเทศ The Esplanade – Boston, MA, United States. 

13 14

ยังมีข้อมูลต่างๆมากมายหลายๆด้านที่เรายังต้องร่วมกันเรียนรู้ รับฟัง ลงมือหาคำตอบไปด้วยกัน ท้ายที่สุดแล้วเราไม่ได้มุ่งหวังจะทำลายหรือปฏิเสธโครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำโดยสิ้นเชิง แต่การจะจัดโครงการดังกล่าวทำขึ้นก็ควรจะโปร่งใสมากกว่านี้  สามารถตรวจสอบข้อมูลทุกอย่างได้ เราอยากให้โครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นในเมืองของเรา ไม่ได้เกิดจากการวิเคราะห์ที่บกพร่อง ความผลีผลามไม่คิดหน้าคิดหลังให้ดี ไม่ใช่การรีบด่วนสรุปแบบนี้ และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน ประชาชน นักออกแบบ วิศวกร นักสิ่งแวดล้อม หน่วยงานภาครัฐบาลได้มีโอกาสมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เพราะรูปแบบทางเดินทางด่วนแบบนี้อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดที่เรากำลังควานหากันอยู่ก็เป็นไปได้

15 16

ขอบคุณรูปภาพและเนื้อหาจาก https://www.facebook.com/friendsofthechaophrayariver

 

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading