OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Industrial Style สไตล์ความดิบจากเครื่องจักรอุตสาหกรรมสู่บ้านพักอาศัย

ถ้าคุณคือสาวกร้านกาแฟ คาเฟ่เบเกอรรี่ระดับตัวยงแล้วละก็ อาจจะต้องเคยผ่านตาเข้าไปเยี่ยมชมกับบรรยากาศการตกแต่งร้านแบบ Industrial Style มาบ้างแล้วเป็นแน่ นี่คือเทรนด์การการตกแต่งที่มาแรงมากๆในช่วง 3-4 ปีมานี้  รูปแบบการโชว์โครงสร้างอาคารและงานระบบ ใช้วัสดุจำพวกเหล็กโลหะ วางปิดด้วยแผ่นไม้เก่า ผนังก่ออิฐโชว์ลาย และดวงไฟสีส้ม คือภาพจำของสไตล์นี้ได้เป็นอย่างดี  ความสวยงามที่ไม่ต้องเยอะ ดูเรียบง่าย แต่ได้อารมณ์นี้ มีมนเสน่ห์บางอย่างที่ทำหลายคนสนใจและอยากจะลองนำไปใช้สร้างในบ้านพักอาศัยของตัวเอง คราวนี้เราเลยจะพาทุกคนไปเรียนรู้มันกันให้มากขึ้น ทั้งรูปแบบและต้นกำเนิดของสไตล์ ว่าความดิบแบบนี้มันเท่มาตั้งแต่เกิดกันเลยรึป่าว

1

(ภาพจาก http://www.dabbous.co.uk/)

มนเสน่ห์จากยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม

2

(ภาพจาก https://agaudi.wordpress.com/category/tecnologia/telecomunicaciones/)

จุดเริ่มต้นของการตกแต่งพื้นที่ภายในสไตล์ Industrial ย้อนยุค อัพลุคให้ดูวินเทจนี้ ต้องพาทุกคนย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ. 1930s บริเวณแถบย่าน SOHO เมือง New York ประเทศสหรัฐอเมริกา ยุคหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมผ่านพ้นไปแล้ว มนุษย์เริ่มรู้จักการทำงานร่วมกันเครื่องจักรอย่างเป็นระบบเพื่อผลิตสินค้าทีละมากๆ ทำให้เกิดโรงานระบบอุตสาหกรรมน้อยใหญ่เกิดขึ้นมากมายจนล้นความต้องการจริงของตลาดการผลิตสินค้า ประกอบกับการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ส่งผลให้ตึกโรงงานและอาคารพาณิชย์หลายแห่งต้องปิดตัวและถูกทิ้งร้างเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ  แต่แทนที่จะปล่อยทิ้งไว้ให้เปล่าประโยชน์จึงเป็นช่วงทางของนักออกแบบให้จัดปรับปรุงพื้นที่ภายใน เนรมิตรให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์อย่างเราแทนเจ้าของเก่าอย่างเจ้าเครื่องจักรกลเสียเลย  แต่ก็ยังคงอารมณ์ความดิบ การโชว์โครงสร้างเดิม เน้นการตกแต่งเท่าที่จำเป็น เก็บกลิ่นอายของโกดังเก่าเอาไว้ ทำให้กลายเป็นสไตล์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น และเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายมาถึงได้ในปัจจุบัน3

(ภาพจาก https://www.pinterest.com/pin/540080180288728733/)

พื้นที่เปิดกว้าง เพดานระดับสูงและกระแสนิยมในจากหมู่ศิลปิน

4

(ภาพจาก http://vintageindustrialstyle.com/10-ways-transform-interiors-industrial-style/)

ผลพลอยได้จากการเลือกใช้พื้นที่โกดังหรือโรงงานเก่าคือการได้พื้นที่เปิดกว้างและเพดานระดับสูง ด้วยการตกแต่งเดิมที่เรียบง่ายและได้พื้นที่space (พื้นที่ว่าง) ที่กว้างขวาง ทำให้เป็นที่ถูกตาต้องใจของคนทั่วไปในสมัยนั้น ที่กำลังเริ่มเข้าสู่การก่อตัวของความเจริญในเมือง นำพาความหนาแน่นของที่พักอาศัยตามมาด้วยกัน โดยเฉพาะยิ่งในหมู่ศิลปิน คนทำงานศิลปะที่ต้องการหาพื้นที่ทำงานเป็นสตูดิโอศิลปะ ต้องการเพดานสูงที่รับแสงธรรมชาติเพื่อป้องกันความผิดเพี้ยนในการเลือกใช้สีลงตัวงาน และพื้นที่กว้างขวางที่ไม่จำเป็นต้องตกแต่งสวยงาม เพราะต้องการเพื่อที่สร้างสรรค์และเก็บงานจำนวนมาก พร้อมทั้งรับมือกับความเลอะเทอะจากการทำงานไปได้ด้วยพร้อมๆกันด้วย บรรดาพื้นที่โกดังสินค้าเก่าเหล่านี้ก็พากันถูกจับจองโดยกลุ่มศิลปินมากมาย การเข้าไปเลือกใช้และลงมือตกแต่งพื้นที่อย่างมีศิลปะ ไม่มากเกิน เน้นตามการใช้งานแบบนี้เอง จึงเกิดเป็นเทรนความนิยมในคนหมู่มากมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนทั่วไปเปลี่ยนมุมมองจากภาพโรงงานโกดังเก่าๆ ดูแข็งกร้าวและแห้งแล้ง กลายเป็นสถานที่พักแบบเท่ๆ ของศิลปิน คนมีรสนิยม ทำให้คนอื่นๆได้มองเห็นความสวยงามที่ซ่อนอยู่ใน Industrial Style  กันมากขึ้น จากสิ่งที่เป็นเหมือนจุดด้อยให้กลับกลายเป็นจุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ไปแทนได้

Loft และ Industrial style คือรูปแบบเดียวกันรึป่าว

5

(ภาพจาก https://homeadore.com/2013/05/15/franklin-street-loft-jane-kim-design/)

หลายคนคงเคยได้ยินทั้ง  2 คำนี้ กันมาบ้างแล้ว และอาจจะกำลังสับสนอยู่ว่าทั้งคู่มีความหมายเดียวกันหรือแตกต่างกันอย่างไร?  ในความจริงแล้วแต่เดิม loft นั้นหมายถึง ห้องชั้นบนหรือห้องใต้หลังคาภายในบ้าน  ที่เราเคยเห็นกันภาพยนตร์ของต่างประเทศ ที่แต่เดิมใช้เป็นที่เก็บของ ,ห้องนอนของเด็กๆ ที่มีลักษณะการตกแต่งภายในแบบคงโครงสร้างใต้หลังคานั้นเอาไว้เสียส่วนใหญ่ เก็บความดิบของต้นเสาคอนกรีต คานเหล็ก หรือโครงไม้เอาไว้ ไม่เน้นการตกแต่งที่ฟุ่มเฟือย เพื่อช่วยให้พื้นที่เล็กๆด้านใต้หลังคานั้นดูมีความโปร่งโล่งมากขึ้น

6

(ภาพจาก http://adorable-home.com/kitchen/vintage-and-industrial-style-kitchens-by-marchi-group-3304)

ส่วนในอีกความหมายหนึ่งคือ  loft apartment ห้องพักที่มีเพดานเปิดโล่งสูง 2 ชั้น หน้าต่างกระจกขนาดใหญ่ โครงสร้างเหล็กบีม ปูนเปลือยหรือขัดมัน ที่ในอดีตเกิดจากการดัดแปลงมากจากโกดังสินค้าเก่า โรงงานอุสาหรกรรมที่ถูกทิ้งร่าง บวกเข้ากับการตกแต่งเพิ่มเติม ปรุงแต่งอีกเพียงเล็กน้อย เน้นความโปร่งโลง เรียบง่าย ทำให้ห้องดูกว้างขวาง ยังคงเน้นการโชว์โครงสร้างวัสดุของเดิม มีลักษณะการจัดพื้นที่แบบ open plan คือการไม่นิยมใช้ผนังกั้นห้อง ปล่อยให้พื้นที่ทั้งหลายเชื่อมถึงกัน กั้นเฉพาะส่วนที่จำเป็นอย่างห้องน้ำ ห้องส่วนตัว เพราะมีพื้นที่น้อยอยู่แล้ว  การกั้นห้องจำนวนมากจะทำให้พื้นที่ดูแคบลง สีสันการตกแต่งอาจเป็นโทนสีผนังขาว เทา สะอาดตา หรือโทนเทา ดำ น้ำตาล แสดงความดิบและความเท่เอาไว้ จากวัสดุ เหล็ก ไม้ ปูน ในสไตล์แบบ Industrial style ที่เรารู้จักกันนั่นเอง

7

(ภาพจาก http://www.idesignarch.com/tasteful-modern-loft-apartment-with-bright-open-plan-and-high-ceilings/)

คำว่า loft ส่วนใหญ่จะมีความหมายถึงสถาปัตยกรรมที่ตัวอาคารแบบมี 2 ชั้น , open space เพดานสูง มากกว่าหมายถึงสไตล์การตกแต่ง เพียงแต่ภาพลักษณ์หน้าตาของอาคาร loft ที่เรามักพบเห็นกันมักจะเป็นสไตล์แบบ  Industrial style ซะส่วนใหญ่  ทำให้คนส่วนมากอาจจะเข้าใจว่า loft นั้นเป็นอีกรูปแบบสไตล์การตกแต่งภายในตามไปด้วย  ทั้งที่ความจริงอาคารแบบ loft สามารถตกแต่งได้อีกหลายรูปแบบ ยิ่งในยุดปัจจุบันที่มีการผสมความเป็น moden สมัยใหม่ลงไป ทำให้ได้สถาปัตยกรรมแบบ modern loft บนความเรียบง่าย ขาวสะอาด พื้นที่กว้างขวาง โดยไม่ต้องแสดงความดิบ หรือต้องใช้ความเป็นสัจจะวัสดุของโครงสร้างแบบเต็มที่ 100 % เสมอไป  ฉนั้นหากเราต้องการสื่อสารกับนักออกแบบถึงสไตล์การตกแต่งแบบกลิ่นอายเครื่องจักร อุตสาหกรรมที่เราต้องการ คำว่า Industrial style น่าจะให้ภาพลักษณ์การเข้าใจร่วมกันที่ชัดเจนมากกว่า

8

(ภาพจาก https://www.pinterest.com/pin/495184921500963628/)

สัจจะวัสดุ ความงามของเนื้อแท้ภายใน

9

(ภาพจาก https://www.pinterest.com/pin/181269953727002853/)

สัจจะ แปลว่า ความสัตย์ ความจริง เนื้อแท้ หรือซื่อตรง เมื่อมารวมกับคำว่าวัสดุ จึงหมายถึง การแสดงให้เห็นเนื้อแท้ของวัสดุ โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมการแบบนี้ สัจจะวัสดุนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากคำคมสุดอมตะตลอดกาล ” less is more “ ของสถาปนิกชาวเยอรมันชั้นครูในตำนานอย่าง Ludwig mies van der (ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์) ค.ศ. 1886-1986 ผู้บุกเบิกวงการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่แห่ง ศตวรรษที่ 20 เน้นความโปร่งโล่ง เรียบง่าย นิยมใช้วัสดุสมัยใหม่ในตอนนั้น อย่างเช่น เหล็ก แผ่นกระจก มุ่งมั่นสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ใช้โครงสร้างน้อยชิ้น และโชว์เนื้อแท้ของวัสดุออกมาให้มากที่สุด ไม่ตกแต่ง เลือกที่จะเปิดเผยความงามของวัสดุออกมาอย่างซื่อตรง เป็นแนวคิดที่โดดเด่นและแตกต่างจากรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยก่อนที่มักจะชอบให้มีรายละเอียดปูนปั้น ของประดับตกแต่งอย่างอลังการ

10

(ภาพจาก http://forums.hardwarezone.com.sg/stocks-shares-indices-92/ihh-ipo-3799577-13.html)

แนวคิดนี้เองก็ส่งผลมาถึง industrial style โดยตรง กับการมองเห็นความงามในพื้นปูนขัดมัน ผนังก่ออิฐโชว์แนวลายแนวก่อ ผิวคอนกรีตเปลือยที่แตกร้าวออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ ท่อน้ำเหล็ก  ไม้เก่าตามอายุขัยกลับยิ่งมีลวดลายที่น่าหลงใหล สีของสนิมของเหล็กสังกะสีที่กำลังปรากฏขึ้นมาเล็กน้อย  สิ่งเหล่านี้กลายเป็นความสวยงามที่คนทั่วไปสัมผัสกันได้มากขึ้น

11

(ภาพจาก http://www.mylivingroomideas.com/industrial-style-interior-design-for-a-modern-loft)

เสน่ห์ความงามของ industrial style คือความสวยงามอย่างจริงใจของวัสดุโครงสร้างต่างๆ หยิบเอากลิ่นไอความเป็นวินเทจย้อนยุค ของเก่า ความดิบแบบดั้งเดิม พาย้อนมาเวลามาสู่ยุคปัจจุบัน แต่งเติมความร่วมสมัยลงไปให้สามารถใช้งานได้จริงและสะดวกสบายมากขึ้น ไม่จำเป็นปรุงแต่งให้มาก ต้องเนี๊ยบเรียบหรือต้องเป็นระเบียบตลอดเวลา เพราะร่องรอยที่เกิดขึ้นต่างๆ ล้วนการเป็นสเน่ห์ความสวยงามแบบไม่ได้ตั้งใจ แม้จะดูทึมๆ แข็งๆไปบ้าง แต่ก็แฝงความอบอุ่น ความเท่แบบเรียบง่าย  และเรื่องราวประวัติศาตร์ชวนบอกต่อ ให้เราได้เรียนอย่างไม่รู้เบื่อเลยละครับ

 

 

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading