OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

รอยต่อสถาปัตยกรรมบนถนนราชดำเนิน ต้นแบบความงามจากเมืองน้ำหอม

1

(ภาพจาก http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1465334&page=14)

ยิ่งเข้าใกล้ช่วงปลายเดือนธันวาคมมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เรานึกถึงเวลาแห่งเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าเตรียมตัวโอบรับปีใหม่ที่มากขึ้นเท่านั้น สถานที่ต่างๆ จะถูกประดับประดาด้วยแสงไฟส่องสว่างสวยงาม ให้เป็นภาพประทับใจแก่คนทั่วไปได้ชื่นชมผ่านสายตา หรือจะหยิบกล้องขึ้นมาเก็บบันทึกภาพไว้เป็นของที่ระลึกในความทรงจำ สำหรับสถานที่ประจำยอดฮิตที่เรานึกถึงอันดับแรก ๆ เลยก็คือถนนราชดำเนิน เส้นทางสัญจรทางประวัติศาสตร์เส้นหนึ่งของประเทศไทย ที่มักจะติดตั้งดวงไฟสีเหลืองสุกสกาวตลอด 2 ฝั่งถนนก่อนหน้าใครๆ ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาที่มาแล้ว อะไรทำให้ถนนเส้นนี้เป็นถนนเส้นความสำคัญ ภายใต้ความสวยงามที่เราเห็นนั้นมีเรื่องราวอะไรแอบซ่อนอยู่บ้าง วันนี้เราชวนคุณออกเดินทางหาคำตอบไปพร้อมๆ กันครับ

ต้นแบบความงามจากเมืองน้ำหอม

2

(ภาพจาก https://500px.com/photo/21311491/colourful-illuminations-decorate-ratchadamnoen-road-to-celebrate-king-s-birthday-by-joseph-benchapol)

ถนนราชดำเนินถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2442 จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ย้อนกลับไปเมื่อตอนที่พระองค์เสด็จกลับจากประพาสยุโรปได้ไม่นาน ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังดุสิตขึ้นมาใหม่ เพราะบริเวณพระบรมมหาราชวังนั้นอากาศร้อนอบอ้าวมากเกินไป จึงจำเป็นต้องมีถนนเส้นใหม่เกิดขึ้นตามมาเพื่อใช้เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังดุสิตไว้ด้วยกัน ให้ถนนเส้นใหม่นี้มีต้นแบบมาจากกถนน Champs Elysees (ชองป์  เอลิเซ่) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่เคยเสด็จไปทอดพระเนตรแล้วรู้สึกพอพระทัย  โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง

3 4

(ภาพจาก http://www.grayline.com/tours/paris/dinner-on-the-champs-elysees-seine-river-cruise-and-illuminations-night-tour-5875_25/)

Dtip:  ถนน ชองป์  เอลิเซ่ ได้รับการขนานนามว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในโลก อยู่ในย่านการค้าที่ประกอบด้วยโรงละคร คาเฟ่ และร้านค้าหรูหรา  ใช้วงเวียนในการกระจายเส้นทาง ช่วยให้การจราจรมีความคล่องตัว ถนนทั้งเส้นเมนหลัก  เส้นรองถูกวางมาเป็นอย่างดีเน้นความความเป็นระเบียบ มีต้นไม้คอยให้ความร่มรื่น และเชื่อมต่อกับจัตุรัสชาร์ล เดอ โกล (จัตุรัสแห่งดวงดาว) ที่ตั้งของอนุสรณ์สำคัญประตูชัยฝรั่งเศสอีกด้วย

– ช่วงที่หนึ่ง อยู่นอกเกาะเมือง ก่อสร้างเป็นสายแรกจากพระราชวังดุสิตตรงถึงด้านหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม  ใช้เวลา 2 ปี เรียกว่าถนนราชดำเนินนอก

– ช่วงที่สอง อยู่ในเกาะเมืองชั้นนอก ถัดจากสร้างถนนสายแรกเสร็จก็ดำเนินการสร้างต่อกันทันที เรียกว่า ถนนราชดำเนินกลาง

– ช่วงที่สาม อยู่ภายในเกาะเมืองชั้นใน  เริ่มก่อสร้างในเวลาไล่เลี่ยกับถนนราชดำเนินกลาง  ระยะทางจากมุมถนนหน้าพระลานและถนนสนามไชยมาบรรจบกับถนนราชดำเนินกลาง ที่สะพานผ่านพิภพลีลาเรียกว่า ถนนราชดำเนินใน

5

(ภาพจาก http://suebpong.rmutl.ac.th/conweb/city2.htm)

สร้างเสร็จครบทั้งหมดในปี 2446 และพระราชทานนามให้ถนนเส้นใหม่ 3 สายเรียกรวมกันว่า ถนนราชดำเนิน ตอนที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ ถนนราชดำเนินเป็นถนนโล่งกว้างที่มี 5 ช่องทางสัญจร สำหรับการจราจรของรถและทางเท้า  ติดตั้งเก้าอี้เหล็กที่โคนต้น พร้อมไฟส่องสว่างจากเสาไฟตามแบบอย่างจากต่างประเทศ แต่ยังไม่มีอาคารใดตั้งอยู่สองข้างทาง

6

(ภาพจาก http://www.easybranches.co.th/travel/978566)

จนถึงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของถนนให้มีเกาะกลาง   และมีการสร้างอาคารขึ้น 15 หลัง ริมสองข้างทางของถนนราชดำเนินกลาง โดยการเวนคืนที่ดินทั้งสองฝั่งถนนข้างละ 40 เมตร  ก่อสร้างอาคารโดยสถาปนิกชาวไทยหลายท่านของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  โดยแบบแผนจากถนน Champs Elysees และรูปแบบแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลก็ยังคงมาจากสถาปัตยกรรมในประเทศฝรั่งเศส

ระบอบประชาธิปไตยมักจะเกิดจากท้องถนน

7

(ภาพจาก http://www.grayline.com/tours/paris/dinner-on-the-champs-elysees-seine-river-cruise-and-illuminations-night-tour-5875_25/)

คงจะเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะต้องขอบอกว่า มีเหตุการณ์ทางการเมืองมากมายที่พัวพันกับถนนราชดำเนิน ถนนเส้นประวัติศาสตร์สำคัญทางการเมืองของไทย ตั้งแต่ปี 2475 จนถึงปัจจุบัน  ราชดำเนินถูกใช้เป็นฉากหลังม่านเหตุการณ์ทางการเมืองมาโดยตลอด เป็นสมรภูมิเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์การปกครองของประเทศไทย การประท้วง ชุมนุม ต่อต้าน จราจล หยาดเหงื่อและหยดเลือดล้วนเคยหลั่งชโลมบนผิวยางมะตอย พื้นถนนสีดำมิอาจปกปิดรอยเลือดสีแดงชาดไว้ได้มิดชิด

8

(ภาพจาก https://goo.gl/hZHO1a)

9

(ภาพจาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000041838)

เป็นที่ตั้งของสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกที่คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเป็นผลสำเร็จ (ผู้ออกแบบ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี โดยสัดส่วนความกว้าง ความสูง ตลอดจนรายละเอียดของการออกแบบอนุสาวรีย์ล้วนถอดออกมาจากตัวเลขที่สัมพันธ์กับวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕  ) และอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา บริเวณหัวมุมของสี่แยกคอกวัว

เพราะมีทั้งบทบาทในเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ,อนุสรณ์บันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญ จึงไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะยังได้เห็นชื่อสถานที่แห่งนี้ปรากฎขึ้นในหนังสือพิมพ์หน้าแรกอีกก็เป็นได้

รอยต่อสถาปัตยกรรมแบบไทยและแบบตะวันตก

10 11 12

(ภาพจาก http://www.sujitwongthes.com/suvarnabhumi/2012/06/suvarnabhumi-society-culture-25062555/)

ถนนราชดำเนิน  เป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างสถาปัตยกรรม 2 ยุค  ตัวถนนทำหน้าที่เชื่อมต่อไปสู่ พระราชวัง วัดวาอาราม สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม (พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) และไทยใหม่ (พระราชวังดุสิต) ขณะที่องค์ประกอบที่แวดล้อมถนนราชดำเนิน ไม่ว่าจะเป็นสะพาน พระราชวัง วัง และตำหนัก ที่สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก    สะท้อนความเปลี่ยนแปลงอุดคติทางการเมืองจากพระราชเดิมสู่พระราชอำนาจสมัยใหม่  เป็นการแสดงออกเชิงอารยะถึงความเป็นเมืองศิวิไลซ์ต่อนานาประเทศ ความเจริญทางวัตถุที่จับต้องได้ง่ายเพื่อนำพาสยามประเทศเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ให้ทัดเทียมชาติอื่นๆได้อย่างทันท่วงที  จนรอดพ้นการตกเป็นอาณานิคมได้อย่างชาญฉลาด ภายใต้ยุคสมัยของรัชกาลที่ ๕ จึงมีการสร้างอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าและพระที่นั่งอนันตสมาคมที่ถนนราชดำเนินนอก

13

(ภาพจาก http://www.toycar6789.info/2015/12/top-10-stunning-temples-in-thailand_9.html)

14

(ภาพจาก http://www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?t=289272)

ถนนสายสถาปัตยกรรมสมัยใหม่

15

(ภาพจาก http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=906)

สถาปัตยกรรมสองฟากฝั่งถนนราชดำเนินกลางถูกออกแบบด้วย “สถาปัตยกรรมแบบทันสมัย” อิทธิพลมาจากรูปแบบสถาปัตยกรรม Modern Architecture ในยุโรป  สถาปัตยกรรมมีรูปแบบและองค์ประกอบที่เรียบง่าย ตัดลวดลายตกแต่งที่ฟุ่มเฟือยออกไป เพื่อลดความเหลื่อมล้ำฐานันดรในงานสถาปัตยกรรม ที่คนรวยจะมีการตกแต่งอู้ฟู่ ฟุ่มเฟือย  คนจนกลับขาดองค์ประกอบที่จำเป็น เมื่อเราลดให้อาคารเหลือเพียงความเกลี้ยงเกลาในระดับที่ใกล้เคียงกัน ก็จะเป็นการสื่อถึงนัยยะแห่งความเสมอภาคในระบอบแบบใหม่ ระบบประชาธิปไตย  ที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียม ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผู้มีอำนาจ หรือกษัตริย์ปกครองอีกต่อไป

Queen's Birthday displays adorn a public building in Bangkok, Thailand

(ภาพจาก http://www.pbase.com/travelgame/bangkok)

17

(ภาพจาก http://travel.mthai.com/blog/65146.html)

หากขยายออกมาในภาพรวม ก็จะพบว่าอาคารบนถนนราชดำเนินถูกจัดวางในลักษณะแนวแกนและความเป็นระเบียบ มุ่งหวังให้เกิดความกลมกลืนมากกว่าความโดดเด่นในอาคารแต่ละหลัง

แต่เมื่อนานวันเข้าผู้คนก็ลืมเลือนความสำคัญคอนเซปการออกแบบที่วางเอาไว้แต่เดิม  มีการดัดแปลงรูปแบบอาคารให้แปลกแยกมากขึ้นหลายหลัง ถอดรื้อลักษณะอาคารแบบเดิมทิ้งด้วยเหตุผลต่างๆกัน แม้ผู้ครอบครองส่วนใหญ่จะเป็นเพียงผู้เช่าอาคารที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ดูแล ทำให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลัก หรือทุบทำลายไปมากไม่ได้ แต่การปล่อยปะละเลย ไม่บำรุงรักษา ชำรุดทรุดโทรม มีการติดตั้งป้ายบนผนัง Facade เป็นจำนวนมาก ก็ทำให้ความงามเดิมของอาคารถูกบดบังลงไปเรื่อยๆ ไม่สมค่ากับที่เคยเป็นเส้นทางสำคัญอย่างเช่นในอดีต

18

(ภาพจาก http://www.sujitwongthes.com/suvarnabhumi/2012/06/suvarnabhumi-society-culture-25062555/)

ราชดำเนิน เดินนำมาถึงวันนี้

19

(ภาพจาก http://knowledge.truelife.com/content/detail/384070)

20

(ภาพจาก http://goo.gl/8exq7z)

ความผูกพันธ์ของสถานที่เดิมๆ บนถนนราชดำเนินของคนกรุงเทพยังคงมีมาจนถึงทุกวันนี้ กิจกรรมรวมตัวในวาระต่างๆ ตึกราบ้านช่อง โรงแรม  ร้านอาหาร โรงเรียน ห้างร้านบริษัท กองสลาก หน่วยงานราชการ  ที่ล้วนมีรูปแบบสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นบุกเบิก เริ่มแก่ชราและเสื่อมโทรมลงไป ถนนราชดำเนิน เดินนำมาถึงวันแห่งรีโนเวท ปรับเปลี่ยนหน้าที่การใช้งานให้สอดคล้องกับยุคสมัยใหม่อีกครั้ง จากหน้าที่เป็นฉากหน้าแห่งความเจริญ สู่การสร้างพื้นที่การพัฒนาผู้คนไปสู่ความเจริญที่แท้จริง ทำให้เราได้เห็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการ  แกลลอรี่ศิลปะร่วมสมัย แผนการห้องสมุดประชาชน พุ่งเป้าไปสู่การสร้างสถาปัตยกรรมร่วมสมัยเป็นแลนมาร์คแห่งใหม่ พร้อมเอื้อคุณประโยชน์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้เกิดขึ้นได้ในสังคมเรา

21 22

ราชดำเนิน Contemporary Art Center Bangkok

(ภาพจาก http://www.art4d.asia/news-detail.php?id=477)

ข้อมูลอ้างอิง

http://haab.catholic.or.th/history/Suwannapoom/suwannapoom11.html

http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=179

http://suebpong.rmutl.ac.th/conweb/city2.htm