OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

ความเข้าใจผิด 8 ประการเกี่ยวกับสถาปนิก !

 

เมื่อพูดถึงสถาปนิก คุณคิดถึงอะไรเป็นสิ่งแรก ? คนอาร์ทๆ วาดรูปเก่ง, อาชีพรายได้ดีติดอันดับตามผลสำรวจในอินเตอร์เนท. นักออกแบบอาคารและพัฒนาบริบทสังคมแวดล้อมที่ดีไปด้วยพร้อมๆ กัน ฯลฯ ไม่ว่าความคิดแว้บแรกในหัวของคุณ คืออะไร อย่าเพิ่งมั่นใจเกินไปว่ามันจะถูกต้อง เราอยากให้คุณลองมาเช็คลิสกับ 8 ข้อความเข้าใจผิดนี้กันดูเสียหน่อย

1

1. อาชีพเท่ๆ สำหรับชายหนุ่ม

2 3

(ภาพจาก http://pantip.com/topic/31047216)

เรามักจะได้เห็นภาพสถาปนิกหนุ่มถูกเลือกเป็นอาชีพของตัวละครเอกในละครหลังข่าว2ทุ่ม แต่ไม่ค่อยได้เห็นบทบาทของสถาปนิกสาวจากนำเสนอของสื่อ ทางทีวีของภาพยนตร์กันเท่าไรนัก  ความเป็นจริงแล้วอาชีพสถานิกก็เป็นหนึ่งในอาชีพเหมือนกับอาชีพอื่นทั่วๆ ไป ที่มีทั้งชายและหญิงให้ความสนใจ อาจเพราะค่านิยมสมัยก่อนที่มีผู้ชายเลือกเรียนมากกว่า  จึงทำติดภาพความโดดเด่นจากนักออกแบบชาย

51b387bcfb04d67ac7000275._w.540_s.fit_ Constructive criticism: Amanda Levete, architect

(ภาพจาก www.theguardian.com)

แต่ในปัจจุบันอาชีพนี้ก็ได้รับความสนใจจากผู้หญิงในสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  รวมทั้งความเก่งกาจในการทำงานออกแบบของผู้หญิงก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าผู้ชายเลย ทำให้พวกเธอเป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงได้ในระดับโลก จนทำให้มีการจัดตั้งรางวัลอย่าง Woman Architect of the Year award 2015 ให้สถาปนิกสาวชาวอังกฤษ  teresa borsuk ในปีที่ผ่านมานี้เอง

2. เป็นสถาปนิกต้องรวยมากแน่ๆ

4

(ภาพจาก http://blog.miragestudio7.com/fictional-architects-in-movies/3273/)

“มูลค่าของแบบบ้านในกระดาษไม่กี่แผ่นทำไมถึงแพงจัง แบบนี้ต้องรวยกันแน่ๆเลย”  ตามมาตราฐานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ กรณีบ้านราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท ค่าบริการออกแบบคือ 7.5 % ของค่าก่อสร้าง ฟังดูเยอะเหมือนกันใช่มั้ยครับ แต่ในความจริงอันน่าเศร้าคือ สถาปนิกหลายคนไม่ได้ค่าตอบแทนในระดับนั้น เพราะผู้คนส่วนมากอยากจะประหยัดงบก่อสร้างหรือยังไม่เข้าใจในความสำคัญของมูลค่าความคิดทางดีไซน์ นักออกแบบบางคนจึงจำเป็นต้องลดเปอร์เซ็นค่าออกแบบเพื่อให้ได้ทำงานเลี้ยงปากท้องตัวเอง บางคนก็เคยโดนเบี้ยวค่าบริการออกแบบด้วยซ้ำไป

DSL_2623-Modifica

(ภาพจาก www.domusweb.it)

และถึงจะได้รับค่าจ้างการทำงานมาเต็มจำนวน สถาปนิกก็ไม่ได้รับเองทั้งหมด เงินส่วนนี้ต้องแบ่งส่วนให้วิศวกร 30% พร้อมลายเซ็นต์ขออนุญาตก่อสร้าง ให้ช่างเขียนแบบ  เงือนเดือนพนักงานลูกทีม ต้นทุนการผลิต ค่าไฟฟ้า ค่าเดินทาง ค่าอุปกรณ์สำนักงาน โปรแกรมเทคโนโลยีต่างๆ ที่ต้องซื้อมาใช้งานแบบถูกลิขสิทธ์ รวมทั้งต้นทุนความรู้ ประสบการณ์ความสามารถที่ต้องร่ำเรียนจากทั้งในสถาบันการศึกษาและสถาบันโลกทำงานจริง การดำเนินงานขบคิดตลอดเวลาหลายเดือน เป็นตัวเชื่อมติดต่อประสานงานกับหลายฝ่าย  คำแนะนำคิดแก้ไขอุปสรรคหน้างานจริงซ้ำไปมา เพื่อการมองหาที่ออกอที่ดีที่สุดให้กับเจ้าของบ้าน เหลือกำไรจริงๆแล้วไม่มากอย่างที่หลายคนเข้าใจหรอกครับ กว่าแบบบ้านนั้นจะออกมาได้ พวกเค้าใช้เวลาคิดกลั่นกรองและลงมือทำงานอย่างหนักให้ผลงานการออกแบบที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตจริงของมนุษย์ การเข้าไปอาศัยอยู่ นั่นก็เพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุดส่งถือมือของคุณ

3. สถาปนิกคือช่างก่อสร้าง

6

(ภาพจาก http://www.telegraph.co.uk/finance/jobs/10845754/Britains-most-dangerous-jobs.html)

สถาปนิกมีเครื่องมือเขียนแบบ ดินสอ กระดาษ เมาส์ จอคอม จินตนาการ แต่ไม่ใช่ค้อนหรือเลื่อยสำหรับการก่อสร้าง พวกเค้ามีหน้าที่ออกแบบ ไม่ใช่ก่อสร้างมันขึ้นมา แบบดีไซน์พิมพ์เขียวของสถาปนิกในกระดาษจะถูกส่งต่อไปให้ผู้รับเหมา ช่างก่อสร้างอ่านแบบให้เข้าใจตรงกันเพื่อลงมือก่อสร้างต่อไปให้สำเร็จ

 

และเพราะกระนั้นเอง พวกเค้าทั้งสอง สถาปนิกและช่างก่อสร้าง จึงต้องมีความเข้าใจที่ดีระหว่างกัน สถาปนิกต้องมีความเข้าใจกระบวนการก่อสร้างพื้นฐาน ดีเทลโครงสร้าง ให้ดีเสียก่อนที่จะลงมือออกแบบสื่อสารออกไป ช่างก่อสร้างผู้รับสารก็ต้องตั้งใจฟังและเรียนรู้ภาษาการออกแบบจากสถาปนิกก่อนที่จะนำไปผลิตผลงานในขั้นตอนสุดท้ายให้สมบูรณ์

4. ผลงานที่ออกมาสวยงามแต่ทำไมไม่ตรงใจ

69781ffcfe42132f5029fa37306580073251d004d043103c7b9625409c9eaf49

(ภาพจาก http://www.pinterest.com)

เรื่องความงามในสายตาแต่ละคนย่อมมีเส้นบรรทัดในระดับที่แตกต่างกันไป ความสวยงามเป็นเรื่องความพอใจส่วนบุคคล ร้อยคนก็ร้อยแบบ  แล้วยิ่งการผสมผสานเรื่อง “ศาสตร์”และ”ศิลป์” ลงในการออกแบบอาคารซักหลัง ที่นอกจากสวยงามแล้วจะต้องใช้ได้จริงด้วย เป็นโลกระหว่างกลางที่จะต้องรักษาสมดุลเอาไว้ให้ดี ความงามที่สถาปนิกมองเห็นจากการร่ำเรียนทฤษฎีรูปแบบมา การค้นคว้าตัวอย่างแรงบันดาลใจจากดินแดนอื่นๆ ในโลก เกิดเป็นใจบันดาลแรงการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ต่างจากรูปแบบที่เคยพบเห็นอยู่ทั่วไป ภาพความงามนั้นจึงอาจจะไม่เหมือนภาพความงามในสายตาของคนทั่วไป

 

การทำความเข้าใจเพื่อความสงบสุขทั้ง 2 ฝ่ายคือการประนีประนอมความเข้าใจเรื่องความงาม เจ้าของบ้านบอกเล่าความต้องการแน่วแน่ มีภาพตัวอย่างใช้เพื่อการอ้างอิงที่ชัดเจน ไม่เปลี่ยนไปมาให้นักออกแบบทราบ รวมทั้งการเปิดใจรับฟัง เปิดโอกาสให้ไอเดียใหม่ๆจากสถาปนิกให้ได้เกิดขึ้นจริงในพื้นที่อาคาร ทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีเจตนาที่ดีเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน การเปิดหู และเปิดดวงตามองมาที่ไอเดียจากนักออกแบบอาจจะนำคุณไปสู่พื้นที่ space สวยงามและใช้งานได้ดีอย่างในแบบที่คุณเองก็คาดถึง

5. เป็นคนเก็บตัว ไม่ค่อยเข้าสังคม

8

(ภาพจาก http://blog.miragestudio7.com/fictional-architects-in-movies/3273/)

ใครมีเพื่อนเป็นสถาปนิกอาจทราบได้ทันทีว่าไม่จริงเอาซะเลย สำหรับคนภายนอกอาจมองว่าสถาปนิกดูเงียบขรึม นิ่งสงบ ขี้อาย แต่ถ้าได้มาคลุกคลีจริงๆก็จะทราบว่า การเป็นสถาปนิกจะมามัวขี้อายไม่ได้ เพราะจะต้องมีความกล้าในการโน้มน้าวผู้อื่นให้ได้การยอมรับในไอเดียของตัวเอง ให้ผู้รับเหมาและเจ้าของโครงการมองเห็นภาพสุดท้ายแบบที่นักออกแบบตั้งใจอยากให้เกิดขึ้น

 

แม้คุณอาจจะเห็นเค้านั่งทำงานเงียบๆอยู่บนโต๊ะตัวเล็กของมุมเหลือบห้อง แต่เมื่อถึงเวลาพรีเซนต์งาน ติดต่อลุกค้า ประสานงานกับผู้รับเหมา คุณก็จะได้เห็นความมั่นใจ  ความเอาจริงเอาจังจุดติดเชื้อไฟขึ้นมากลางที่สาธารณะได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่สถาปนิกทุกคนพึงจะมี ไม่มากก็น้อย

6. พวกอาร์ตัวพ่อ วาดรูปคนหน้าเหมือนได้ใช่มั้ย?

9

(ภาพจาก http://thesource.com/2015/02/05/picassos-granddaughter-to-sell-artists-work-for-philanthropy/)

หลายคนเข้าใจว่าพวกเค้าเรียนสายศิลปะทุกคนจะต้องวาดรูปสวย วาดรูปคนเหมือนได้แน่ๆ นั่นเป็นความจริงซึ่งต้องพิสูจน์แล้วแค่ส่วนหนึ่งครับ ทักษะการสร้างสรรค์แบบอย่างศิลปินไม่เพียงพอที่ให้ใช้สมัครงานเป็นสถาปนิกที่ไหนได้ อย่างที่บอกแล้วว่านี่เป็นเรื่องของทั้งศาสตร์และศิลป์ ฉะนั้นสิ่งที่สถาปนิกควรมีด้วยก็คือทักษะการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดมากกว่าทักษะวาดภาพแบบปิกัสโซ

 

ในการทำงานจริง คุณอาจจะพบสถาปนิกที่วาดรูปได้ปกติ ไม่ถึงขั้นสวยงามราวภาพวาดใส่กรอบ เพราะทักษะการวาดหรือสเกตรูปเป็นเพียงเครื่องมือการสื่อสารอย่างหนึ่ง คนที่วาดภาพได้สวยก็คงเหมือนคนที่พูดจาได้ไพเราะ คะ ขา น่าฟัง แต่สิ่งสำคัญของสารอยู่ที่เนื้อหาของมัน หรือเนื้อใจความคิดสร้างสรรค์ที่ซ่อนอยู่นั่นเอง การพูดจาเรียบๆ วากรูปสเกตแบบออกมาธรรมดาจึงไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด ยิ่งในสมัยนี้มีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยการออกแบบด้วยแล้ว  ช่วยให้การนำเสนอผลงานทำได้สะดวกและสวยงามมากกว่าสมัยก่อนซะอีก

7. นักออกแบบแต่เพียงผู้เดียว

10

(ภาพจาก http://blog.miragestudio7.com/fictional-architects-in-movies/3273/)

ในเกือบทุกโปรเจคโครงการ สถาปนิกไม่ได้ทำงานแต่เพียงผู้เดียวหรอกนะครับ เพราะเป็นงานที่มีรายละเอียดมหาศาล การจัดการได้ด้วยตัวเองคนเดียวคงทำได้แค่ในสมัยเรียนทำ THESIS จบ  จะต้องมีลูกทีมอยู่เบื้องหลัง ผู้คนที่เกี่ยวข้องคอยสนับสนุน ยิ่งโปรเจคใหญ่ จำนวนคนช่วยก็จะยิ่งมากตาม  ทั้งนักออกแบบ คนปั้นโมเดล ช่างเขียนแบบ วิศวกร คนคุมงานภาคสนาม โฟร์แมน ฯลฯ

 

การที่เราตกลงเลือก ใคร ซักคนเข้ามาในนามของผู้ออกแบบอาคารให้กับเราแล้ว นั่นหมายถึงเราตกลงเลือก ทีม ของเค้าข้ามารับผิดชอบงานของเราไปด้วย ในบริษัทใหญ่ที่มีชื่อของสถาปนิกนั้นๆเป็นเจ้าของ มักจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าควบคุมชี้ขาด design director ให้กับลูกทีมของเค้า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับสถาปนิกจึงเรียกได้ว่าเกิดขึ้นมาจากหลายฝ่ายเบื้องหลังที่คอยสนับสนุน ยากนักที่จะเกิดขึ้นได้แต่เพียงผู้เดียว

 

Dtip : สถาปนิกฟรีแลนซ์ที่รับจ้างทำงานคนเดียว ก็จะมีขอบเขตงานที่สามารถทำได้อยู่ การตบปากรับทำงานโปรเจคใหญ่เกินตัวจะก่อให้เกิดปัญหาการบกพร่องต่อหน้าที่ตามมาได้ ขาดเกินในรายละเอียด เราต้องเข้าใจก่อนว่างานก่อสร้างแม้แค่เพียงบ้านหนึ่งหลังของหนึ่งครอบครัวก็มีรายละเอียด ปัญหา และระยะเวลาในการทำให้สำเร็จกินเวลาเป็นหน่วยเดือนจนถึงเป็นหน่วยนับปี

 

8. สถาปนิกที่ไหนก็ทำงานได้เหมือนๆกัน

11

(ภาพจาก http://blog.miragestudio7.com/fictional-architects-in-movies/3273/)

แม้ว่าสถาปนิกส่วนใหญ่จะผ่านการรับรองจบการศึกษา หรือใบประกอบวิชาชีพขั้นต่างๆมาแล้ว  แต่พอมาถึงโลกการทำงานจริงคุณก็จะได้เจอกับสถาปนิกหลายแบบ ทั้งดีและไม่ดี มากประสบการณ์และมือใหม่ อุดมการณ์กับทัศนคติส่วนตัวจะเป็นตัวผลักดันให้ทิศทางการเติบโตของแต่ละคนต่างออกไป  บางคนถนัดเรื่องโครงสร้าง บางคนถนัดเรื่องพรีเซนต์งาน บางคนชอบดีไซน์แบบเรียบง่าย บางคนชอบดีไซน์แบบหวือหวาแปลกตา รสนิยมความงามแปลกๆจะทำให้เกิดทดลองอะไรใหม่ๆ  ผลผลิตของประสบการณ์ความถนัดจะสร้างความแตกต่างระหว่างบุคคล เจ้าของบ้านจึงควรจะศึกษาแนวทางการทำงานของนักออกแบบให้สอดคล้องกับสไตล์ที่ตัวเองชอบก่อนจะตัดสินใจจ้างงานกัน

12

(ภาพจาก http://blog.miragestudio7.com/fictional-architects-in-movies/3273/)

เชื่อว่ายังแอบมีความเข้าใจผิดเล็กๆน้อยๆ แอบซ่อนอยู่ในบ้านเมืองเรา ผู้คนตามต่างจังหวัดยังไม่เข้าใจหน้าที่ของอาชีพสถาปนิกเลยด้วยซ้ำ  ชาวบ้านบางคนเรียกวิศวกร เรียกนายช่างคุมงาน ช่างเขียนแบบ ตามที่พวกเค้าเข้าใจ ซึ่งการไม่เข้าใจในคุณค่าของการออกแบบทำให้ละเลยคุณค่าและประโยชน์ของนักออกแบบสาขาต่างๆ ตามมา เราจึงอยากสร้างพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  พื้นที่ตรงกลางสาธารณะให้นักออกแบบและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาเรียนรู้ต่อกัน

อ้างอิงข้อมูลจาก http://freshome.com/10-classic-misconceptions-of-architects/