OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

ANH house ตึกแถว / แคบ – อยู่ได้

ขอกล่าวสวัสดีปีใหม่คุณผู้อ่านทุกคนอย่างเป็นทางการ ผ่านทางตัวอักษรอย่างที่เราคุ้นเคยกันนะครับ เริ่มต้นศักราชปี 2559 ด้วยคอนเซป “mini space การจัดการพื้นที่ขนาดเล็ก” เพราะยิ่งในเมืองมีการขยายตัวมากขึ้น การแบ่งปันสัดส่วนพื้นที่พักอาศัยสำหรับบุคคลก็จะยิ่งเหลือน้อยลงไป ทำให้เกิดบ้านพักหลังน้อย ห้องแถวหน้าแคบ อพาร์ทเม้น คอนโดรูปทรงสี่เหลี่ยม พื้นที่อยู่อาศัยในเมืองที่มีอยู่อย่างจำกัด เราจะมีวิธีการจัดการพื้นที่เหล่านั้นให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างไร

1

ผลงานชิ้นแรกบนพื้นที่เล็กๆ ที่เราอยากนำเสนอ คือสถาปัตยกรรมตึกแถวในไม่ใกล้ไม่ไกลจากไทยมากนัก 1 ในกลุ่มสมาชิก AEC อย่างประเทศเวียดนาม ที่กำลังเกิดพัฒนาอาคารสถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้อย่างน่าสนใจ เป็นสนามทดลองความคิดสร้างสรรค์จากทั้งดีไซเนอร์ในและนอกประเทศ ค่อยๆ ฟูมฟักผลงานที่มีกลิ่นไอเฉพาะตัวออกมาอย่างต่อเนื่อง แม้คนทั่วไปอาจจะยังไม่ทันได้สังเกต

ANH house จากแบบตึกแถวพื้นเมืองในเวียดนาม

ANH house เป็นอาคารพาณิชย์สูง 4 ชั้นในเมืองโฮจิมินห์ (anh อ่านว่า แอง (ภาษาเหนือ), อัน(ภาษาใต้) แปลว่า ฉัน,พี่) ขนาดด้านหน้ากว้าง 4 เมตร ลึก 21 เมตร ตามสัดส่วนห้องแถวทั่วไปคล้ายกับในบ้านเรา ผลงานการออกแบบจากสถาปนิกเจ้าถิ่นเมืองไซง่อน Sanuki + Nishizawa ทำการปรับปรุงตึกแถวหน้าตาธรรมดา หน้าแคบๆ ซ้อนชั้นกัน ให้กลายเป็นที่อยู่ที่ดูกว้างขวาง ยืดหยุ่นการใช้งาน รองรับการใช้งานสำหรับสมาชิกในครอบครัวได้อย่างสบาย

cover

Dtip: ข้อกฎหมายควบคุมอาคารของไทย บังคับให้อาคารพาณิชย์/ตึกแถว(เพื่อการพาณิชย์) มีด้านกว้างไม่น้อยกว่า 4เมตร ชั้น1 floor to floor สูงไม่น้อยกว่า 4เมตร

3 4

ลักษณะอาคารตึกแถวหน้าแคบ ตอนลึก ซ้อนชั้นสูงแบบนี้เป็นของที่พบเห็นได้อย่างแพร่หลายตามเมืองต่างๆ ในประเทศเวียดนาม ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับพื้นที่แคบยาวก็คือข้อจำกัดของขนาด ความรู้สึกอึดอัดต่อพื้นที่ภายใน และแสงว่างที่ส่องไปไม่ถึงพื้นที่ภายใน แล้วสถาปนิกจะมีวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ออกมาเป็นหน้าตาแบบไหนกัน ?

ปรับพื้นที่สร้างความยืดหยุ่น

5 6

ในประเทศเวียดนาม การสร้างบ้านตึกแถวสำหรับครอบครัวมักจะใช้การสร้างผนังติดตายเพื่อกั้นพื้นที่ห้องนอนเป็นส่วนๆ นั่นเองเป็นสาเหตุให้พื้นที่ที่ดูแคบอยู่แล้วดูแคบลงไปอีก ตัดการเชื่อมต่อถึงกัน ขาดการลื่นไหลของ space ในทางทางราบ   นักออกแบบจึงเลือกใช้ partitions ผนังเบาที่ทำมาจากไม้ไผ่สาน สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ เชื่อมต่อพื้นที่ว่าจะปิดตายตัวหรือจะเปิดออกเชื่อมถึงกันได้ภายในบ้าน

เพิ่มความกว้างขวางด้วยแสงสว่าง

สัดส่วนที่แคบและยาวของตึกแถวเดิมนั้น ถือเป็นเรื่องยากต่อการที่จะนำแสงธรรมชาติเข้าไปข้างในได้อยู่แล้ว บวกกับข้อจำกัดของของเจ้าของบ้านที่ไม่อยากเจาะช่องเปิดบริเวณด้านข้างของอาคารเลยด้วย จึงเป็นความท้าทายของนักออกแบบที่จะต้องใช้ดีไซน์ตอบโจทย์ความต้องการจากเจ้าของบ้านให้ได้

7 8

สถาปนิก Sanuki + Nishizawa เลือกใช้วิธีการสร้างช่องแสงทางตั้ง นำแสงสว่างจากหลังคาลงมาภายในอาคาร ใช้ประโยชน์จากช่องบันได้เชื่อมการเดินเท้าของคนในแต่ละชั้น เปิดให้เป็นอีกหนึ่งช่องสำหรับให้แสงสว่างเดินทางเข้าสู่ภายในบ้าน

รวมเข้ากับช่องเปิดจากทางดานหน้าและด้านหลังของตัวบ้าน ทำให้ได้แสงสว่างภายในบ้านอย่างทั่วถึงโดยไม่ต้องพึ่งพลังงานไฟฟ้าเลยซักยูนิต การเลือกใช้สีก็มีผลกับความรู้สึกกว้างยาวของมนุษย์ แสงสว่างตอนกลางวันสาดตกกระทบกับผนังสีขาวมันจะช่วยลดความอึดอัดในพื้นที่ห้องแถวหน้าแคบแบบนี้ได้เป็นอย่างดี

9 10

ที่ส่วนห้องรับแขกชั้นล่าง สร้างชั้นลอยคั่นกลางเอาไว้ เพื่อเพิ่มหน้าตัดรับแสงสว่างให้เข้ามาถึงบริเวณโต๊ะทานข้าวรวมสมาชิก พื้นที่นั่งเล่นของทุกคน ช่วยเสริมบรรยากาศพื้นที่ครอบครัวให้ดูอบอุ่นมากขึ้น

11 12

เชื่อมต่อกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาตินอก

การเจาะช่องรับแสงจากช่องเปิดทางตั้ง และหน้าต่างทางด้านหน้าและด้านหลังอาคารในทางนอน นอกจากจะได้ประโยชน์จากแสงแดดแล้ว ยังไม่เป็นการเชื่อมพื้นที่บรรยากาศภายนอกให้ไหลเข้ามาสู่ภายในบ้าน จากความรู้สึกอัดอัด ทับตันให้ห้องแคบๆ ตอนนี้สมาชิกที่อยู่ในบ้านไม่ว่าชั้นไหนก็สามารถรับรู้ได้ถึงสภาพแวดล้อมภายนอกได้แบบเรียลไทม์ ไออุ่นของแสงแดด กระแสลมจากธรรมชาติ ไอความชื้นที่ระเหยในอากาศที่สูดหายใจได้ และก้อนปุยเมฆขาวกับท้องฟ้าไกลสุดสายตาผ่านหน้าต่างภายในบ้านของตัวเองได้ ทำให้ผู้คนอาศัยอยู่ในบ้านได้อย่างสบายโดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศเลย

ปลูกความสดชื่นในบ้าน

ต้นไม้ใบเขียวของสิ่งมีชีวิตที่ผูกพันกับการอยู่อาศัยของมนุษย์มาช้านาน บ้าน ANH house เลือกปลูกต้นไม้ที่ริมระเบียงเพื่อให้รับแสงแดดธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ แถมยังช่วยสร้างวิวมองผ่านต้นไม้สีเขียวคั่นกลางก่อนที่จะมองไปเจอถนนหรืออาคารฝั่งตรงข้าม รวมทั้งการกำหนดจุดปลูกต้นไม้ให้ตรงตำแหน่งที่ช่องแสงแดด open well ทางด้านบน สร้างช่องแสงมากกว่า15 ช่องเล็กๆ ให้ส่องแสงอ่อนๆ ลงมาถึงจุดพักผ่อนนอนแช่ในอ่างน้ำ และตำแหน่งวางพืชเขตร้อนตามจุดที่ปลายแสงแดดลงมาตกกระทบอย่างพอดิบพอดี ต้นไม้ก็ยังได้พลังงานผลิตอาหาร คนที่อาศัยก็ได้ความสดชื่นกระจายอยู่ตามจุดต่างๆภายในบ้าน

13 14

ติดตั้งแผ่นงานสานจากไม้ไผ่สีน้ำตาลธรรมชาติติดไปกับฝ้าเพดานคอนกรีต เลือกใช้วัสดุที่นิยมใช้กันและมีอยู่ในทั่วไปท้องถิ่นมาเพิ่มเติมความสวยงามสไตล์เอเชีย ปรับลุคที่เคยเก่าเชยให้ทันสมัยมากมขึ้น และช่วยเสริมความรู้สึกเป็นเนื้อเดียวกับวัสดุตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ชิ้นอื่นๆภายในบ้านออกมาได้อย่างกลมกลืน

16 17

เราอาจจะสรุปได้ว่าคอนเซปหลักของการปรับปรุงพื้นที่ห้องแถวหลังนี้ที่ทั้งแคบและลึก คือการลงไปสำรวจความเป็นไปได้ของวิถีชีวิตคนเมืองสมัยใหม่ ทางออกในรูปแบบที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับระบบนิเวศ สร้างทางเชื่อมความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาตินอก จากที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่มืดทึบ อับชื้น แออัด มาสู่การปรับตัว จำกัดการใช้งานพื้นที่ต่างๆแบบหลวมๆ ไม่ตายตัว พร้อมกับเปิดเผยตัวอาคารสู่แสงแดด และที่ว่างภายนอก-ภายในสื่อสารกันได้มากขึ้น ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวในวิถีชีวิตแบบคนเมือง ทำหน้าที่เป็นสถานที่หลบภัยที่อบอุ่นใจจากความวุ่นวายในชีวิตประจำวันภายนอกได้ในตัวเอง

1819 20

รูปภาพและข้อมูลอ้างอิงจาก

http://www.archdaily.com/453719/anh-house-s-na-nil-sanuki-nishizawa-architects

http://www.dezeen.com/2013/08/28/anh-house-by-sanuki-nishizawa/