OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Kyosho Jutaku ปรากฏการณ์บ้านไซส์เล็กในญี่ปุ่น

 

ประเทศหมู่เกาะที่เรามักจะเห็นเพื่อนๆ โลกออนไลน์เข้าเชคอินสถานที่เที่ยว แหล่งชอปปิ้ง ร้านอาหารอร่อยได้เกือบตลอดทั้งปี สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเมืองสยามให้เข้าไปเยือนได้จำนวนมากมหาศาลแทบจะนับเป็นจังหวัดที่ 78 ดินแดนแห่งภูเขาไฟฟูจิตั้งตระหง่านในธรรมชาติงดงาม หรือจะถัดเข้ามาในเมืองที่พัฒนาตัวเองแบบไม่หยุดยั้ง ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรต่อเนื้อที่อยู่อาศัยค่อนข้างสูง การแบ่งส่วนที่ดินให้เพียงพอความต้องการทำให้ราคาสินสอดที่ดินในเมืองราคาพุ่งสูงขึ้นตาม ผู้คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในเมืองจึงนิยมสร้างบ้านขนาดเล็กเพื่อรัดเข็มขัดต้นทุนก่อสร้างและกระชับพื้นที่ในพอดีกับความเป็นอยู่ในเมือง เกิดเป็นความแพร่ในวงกว้างและตั้งชื่อน่ารักๆ ให้กับที่พักอาศัยไซส์เล็กที่ซุกตัวตามพื้นที่ต่างๆ ในเมือง ตามภาษาญี่ปุ่นชื่อว่า kyosho jutaku (เคียวโช จูทาคุ แปลว่า บ้านหลังเล็ก)

1

Dtip: รายชื่อประเทศเรียงตามความหนาแน่นประชากรอ้างอิงจากเวป wikipedia.org ล่าสุด ประเทศญี่ปุ่นอยู่ในอันดับ 29 จากตัวอย่าง 229 ประเทศทั่วโลก

ข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ และสภาพความแออัดตึงเครียดในสังคมทำงาน บวกกับวัฒนธรรมนิยม pop-cultural ความชื่นชอบของขนาดเล็กกระจุกกระจิก น้อยชิ้นแต่เรียบง่ายของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทำให้นักออกแบบชาวญี่ปุ่นมุ่งเน้นศึกษาการสร้าง mini space ที่พักอาศัยเพื่อตอบสนองความผ่อนคลายแก่เจ้าของบ้าน หรือเพื่อสร้างหลุมหลบภัยที่สงบสุขส่วนตัวจากความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน ทาง dsignsomething ก็ไม่พลาดที่จะนำแนวคิดวิธีการออกแบบพื้นที่ขนาดเล็กจาก 5 ตัวอย่างบ้านญี่ปุ่นไซส์เอสมาให้คุณผู้อ่านได้ชมกันครับ

Nada House

3 2

บนที่ดินขนาดประมาณ 36 ตารางเมตร เป็นที่ตั้งของบ้าน 3 ชั้นในย่านที่อยู่อาศัยแออัด ผิวหน้า facade อาคารถูกปกปิดไปด้วยแผ่นไม้และหน้าต่างเพียง 3 บานจากมุมมองถนนหน้าบ้าน ในรูปทรงอาคารสี่เหลี่ยมเรียบง่าย ซ่อนตัวจากความวุ่นวายอยู่อย่างเงียบเชียบ ทำให้หลายคนที่ผ่านไปมาแถวนี้อดสงสัยไม่ได้ถึงพื้นที่ข้างในบ้านที่ถูกซ่อนเอาไว้

45 6

ไอเดียการออกแบบคือการสร้างพื้นที่ความเป็นส่วนตัวให้เกิดขึ้นภายในบ้าน จงใจสร้างหน้าต่างทำหน้าที่เปิดหน้าผ่านของแสงที่ด้านหนังและด้านหลังของบ้านแค่เพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องให้ผู้คนภายนอกเห็นกิจวัตรประจำวันที่เกิดขึ้นภายในบ้าน เพราะพระเอกของบ้านหลังนี้คือช่องแสงจากทางหลังคาด้านบน เป็นกำลังส่องสว่างหลักลงมายังพื้นที่ภายในบ้าน ทำชั้นวางของและเป็นช่องนำแสงเดินทางตรงจากชั้นบนลงไปถึงชั้นล่างสุด ช่วยกระจายแสง ลดความรู้สึกอึดอัด และเชื่อม space แต่ละส่วนในบ้านให้เชื่อมถึงกัน

7 8

พื้นที่ชั้นล่างคือที่จอดรถ นำพาผู้คนขึ้นมาพักอาศัยที่ชั้น 2 ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องนอนของผู้ใหญ่และเด็กๆ อยู่ที่ชั้น 3

Hori no Uchi House

9 10

จะทำยังไงถ้าคุณมีที่ดินรูปสามเหลี่ยมที่ขอบข้างถนนขนาดแค่ 52 ตารางเมตร ? Hori no Uchi House คือบ้านที่สร้างอยู่บนที่ดินแห่งนั้น

12 11

บ้าน 2 ชั้น สร้างบนเนื้อที่ 29.07 ตารางเมตร เนื้อที่ใช้สอยรวม 55 ตารางเมตร ตรงบริเวณที่ดิน 3 เหลี่ยมจุดตัดของแม่น้ำและถนน เจ้าของบ้านคือสามีภรรยาครอบครัเล็กครอบครัวหนึ่ง ใช้การออกแบบใช้งานพื้นที่ชั้นลอย งานตกแต่ง build-in วางเฟอร์เจอร์ชิดผนัง และเจาะหน้าต่างเล็กๆ เพื่มเนื้อที่ใช้งานและนำแสงสว่างเข้ามาในบ้าน

13

ตัดพื้นที่เหลี่ยมมุมที่ใข้งานได้ยาก ให้เป็นหน้าต่างนำแสงสว่างเข้ามาแทน

14

ที่ชั้น 1 ที่อยู่ติดกับถนน จึงเจาะช่องหน้าตาไว้เพียงเล็กน้อย รักษาความเป็นส่วนตัว เป็นส่วนของห้องนอนและห้องน้ำของบ้าน เป็นส่วนของห้องครัว ห้องนั่งเล่น พื้นที่พักผ่อน

15 16

เมื่อขึ้นมาถึงชั้น 2 พ้นจากระดับสายตาตามท้องถนน มีหน้าต่างมากขึ้น และบานใหญ่มากขึ้น ไว้เปิดรับไอแดดและอากาศที่สดชื่น ใช้เป็นส่วนของห้องครัว ห้องนั่งเล่น พื้นที่พักผ่อน

17

และพื้นที่ชั้นลอยเล็กๆ ชั้นบนสุด เป็นสนามเด็กเล่นสำหรับสมาชิกตัวน้อยในครอบครัว

18

พื้นที่ปลายมุมแหลมถูกยกขึ้นที่ชั้น 2 เป็นมุมตัดเพื่อใช้งานเป็นที่จอดรถข้างล่าง

The Garden House

20 19

อาคารสวนสีเขียว 5 ชั้นในโซนที่ดินราคาแพงย่านการค้ากลางเมืองสำหรับ 2 นักเขียนสำหรับใช้เป็น studio ทำงานและที่อยู่อาศัย รายล้อมไปด้วยตึกสูงขนาบทั้ง 2 ด้าน แต่บ้านหลังเล็กหน้ากว้าง 4 เมตรที่แทรกตัวอยู่นี้ ไม่มีกำแพงแบบปิดทึบกั้นอยู่เลยซักด้าน นักออกแบบเลือกใช้ผนังกระจก glass walls เพื่อทำให้พื้นที่แคบดูกว้างขวางมากขึ้น แล้วเลือกใช้ม่านเป็นตัวปิดกั้นแทนผนังทับที่สามารถเลือกปิดและเปิดได้ตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย

21

เชื่อมต่อระดับพื้นแต่ละชั้นด้วยบันไดเวียน ประหยัดพื้นที่ใช้งานและทำให้ได้ช่องแสงธรรมชาติโดยอัตโนมัติ แสงแดดที่เข้ามาทั่วถึงในแต่ละชั้นจะช่วยลดความรู้สึกอึดอัดให้น้อยลง เป็นใช้พลังงานแสงแดดให้เกิดประโยชน์ที่สุดแม้จะอยู่ในทำเลมุมอับระหว่างช่องตึก ที่มักจะถูกบดบังจากตึกสูงข้างเคียงได้บ่อยๆ

22 23

ห้องนอนอยู่ที่ชั้น 2 และชั้น4 เว้นช่วงชั้น 3 เอาไว้เป็นที่ทำงานและประชุมรวม ชั้น 1 และชั้น 5 ดาดฟ้าเป็นพื้นที่ต้อนรับและพักผ่อน แต่ละชั้นจะกั้นสัดส่วนห้องด้วยผนังกระจกและม่านกั้น ปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นส่วนตัวและกึ่งสาธารณะได้ด้วยตนเอง

24

และยังมีพื้นที่สวนสีเขียวเล็กๆที่ระเบียงในทุกๆชั้น จงใจปลูกพืชกลางแจ้งวางไว้อยู่ทางด้านหน้าของอาคาร ทำหน้าที่เป็นกำแพงต้นไม้ กั้นขอบเขตการมองเห็นแบบบางๆ จากมุมมองคนที่สัญจรผ่านไปมา และยังให้ผลดีแต่มุมมองสบายสายตาแก่คนที่อยู่ด้านในอาคารอีกด้วย

House in Nagoya

25

ดูจากภายนอก House in Nagoya หลังนี้อาจจะเหมือนตู้คอนเทนเนอร์ซะด้วยซ้ำไป แต่อย่าลังเลใจเมื่อคุณถูกชักชวนให้เข้าไปข้างใน เพราะคุณอาจจะพบกับ space ภายในที่คุณจะต้องอึ้ง !

26 27 28

นี่คือบ้านที่นักออกแบบตั้งใจผสมผสานสวนหินและพื้นที่ใช้งานภายในบ้านให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะตั้งอยู่ในทำเลที่แออัดติดกับเพื่อนบ้านจำนวนมากและมีขนาดที่ดินเพียงเล็กน้อย แทนจะจะใช้วิธีการสร้างสวนในบริเวณที่ดินรอบบ้านเหมือนที่แล้วๆมา สถาปนิกจึงคิดย้อนกลับเข้าไป ออกแบบให้พื้นที่สวนและ space สถาปัตยกรรมภายในอาคารอยู่ร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ เหมืนกันว่าเจ้าของบ้านหลังนี้ใช้ชีวิตอยู่ในสวนส่วนตัวภายในบ้านของตัวเองอยู่ตลอดเวลา

29 3031

คล้ายคลึงกับการแก้ไขปัญหาเรื่องพื้นที่ขนาดเล็กในอาคารที่เรายกตัวอย่างกันมา การเจาะช่องแสงจากทางด้านบนหลังคา ลดช่องเปิดทางด้านข้างเพื่อความเป็นส่วนตัวยังคงเป็นวิธียอดนิยมที่ถูกนำมาใช้

32 33 34

กล่องผิวภายนอกอาคารที่ดูแข็งกระด้าง แต่กลับเลือกใช้ผนังกระจกบางใสกั้นพื้นที่รับแขกที่ชั้นล่างกับสวนหินเอาไว้ เก็บเป็นเซอร์ไพรส์ให้ให้กับแขกที่มาเยี่ยมบ้าน ช่วยละลายพื้นที่กึ่งสาธารณะสำหรับการต้อนรับกับสวนหินและแสงจากธรรมชาติให้เป็นผลงานการรังสรรค์แบบสามัคคีกันได้อย่างดี

35 36 37

ที่ชั้น 1 เป็นพื้นที่ของการนั่งเล่น ห้องทานข้าว ห้องครัว และห้องน้ำ ขึ้นไปที่ชั้น 2 จัดไว้เป็นห้องนอน ในตำแหน่งช่องเปิดทะลุผ่านจากทางด้านบนลงไปถึงด้านล่าง ทำให้เราได้เห็นแสงแดดยามเช้าตกกระทบผนังเมื่อตอนตื่นนอน และนั่งอ่านหนังสือหย่อนใจที่ระเบียง พลางกับพักสายตาไปที่เจ้าต้นไม้สีเขียวกลางสวนหินได้ในบ้านของตัวเอง

Showa-cho House

38 39

บ้านสุดโมเดิร์นในถิ่นประวัติศาสตร์เมืองเก่า Showa-cho ที่เงียบสงบ สร้างขึ้นจากไอเดียการออกแบบที่ต้องกาสร้างมุมมองที่ดี และการเชื่อมที่ว่างเชื่อมต่อจากบนลงล่าง และช่องเปิดมุมมองให้ทะลุถึงกันได้จากด้านหน้าไปถึงด้านหลัง เพื่อบรรยากาศที่กว้างขวางภายในบ้านขนาดแค่ประมาณ 18× 4 เมตร

40 41

เพราะตั้งอยู่บนถนนที่ผู้คนไม่ค่อยเดินผ่านกันพลุกพล่าน แม้จะเป็นระแวกพักอาศัยเก่าแก่ นักออกแบบจึงสามารถดีไซน์หน้าต่างบานใหญ่ด้านหน้าให้มองเห็นวิวทิศทัศน์ได้มากกว่าที่จะปิดกั้นจากท้องถนน ออกมาเป็นช่องเปิดช่องโครงสร้างกากบาท ในห้องนั่งเล่นเพดานสูงกว่า 5.6 เมตร

42 43 44

บ้านหลังนี้มี 3 ชั้นกับอีกครึ่งชั้นใต้ดิน เชื่อมต่อแต่ละชั้นด้วยบันได้เหล็กตรงกลางของบ้าน ที่ดีไซน์ออกมาให้เนียนเรียบและเบาบาง ผูกติดอยู่กับตำแหน่งช่องแสงทางตั้งจากหลังคา ที่ยังคงเลือกใช้ผนังแบบกระจก เพื่อเชื่อมต่อมุมมองสายตาในแนวราบ และเป็นเส้นทางเชื่อมต่อแสงสว่างในแนวตั้ง

Dtip:อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคลั่งไคล้บ้านของชาวญี่ปุ่นยุคใหม่ได้ที “ทำไมคนญี่ปุ่นถึงบ้าบ้าน” http://goo.gl/ax6VOy

รูปภาพและข้อมูลอ้างอิงจาก http://en.rocketnews24.com/2013/07/25/10-amazing-tiny-houses-in-japan-a-photo-tour/