ไม่ใช่ว่าใครๆ ก็จะมีบ้านหลังใหญ่กับเนื้อที่เหลือใช้เผื่อเดินเล่นได้แบบในคฤหาสน์ทรายทอง การอยู่อาศัยในพื้นที่ขนาดจำกัดทำให้เราต้องหาทางจัดการพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การวางแปลนจัดวางสิ่งของในพื้นที่จำกัดอาจจะต้องใช้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองอีกหลายครา หมั่นเสาะหาและเรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อหาคำตอบที่ใช่สำหรับตัวเรามากที่สุด หลายคนมาเพิ่งทะลุผ่านจุดหมายออกมา หลายคนกำลังมองเห็นเส้นชัยอยู่ข้างหน้า และอีกหลายคนอาจหลงทางอยู่แบบไม่รู้ตัว เราเลยขออาสามาเป็นไกด์นำทาง พาคุณออกมาจากเขาวงกตในพื้นที่ขนาดเล็กแห่งนี้กันครับ
(ภาพจาก http://3dcleaning.blogspot.com/2011/06/cluttered-3d-interior.html)
1.มองข้ามการใช้งานพื้นที่ขนาดเล็ก
(ภาพจาก http://architecture-view.com/tag/apartment-2/page/4/)
ความผิดข้อหาแรกเลยคือการมองข้ามพื้นที่ใช้สอยเล็กน้อยๆ ภายในบ้านของเราไป พื้นที่ใต้เตียง พื้นที่ทางตั้งที่ผนังหรือบันได พื้นที่เศษเหลือ มุมอับจากการวางเฟอร์นิเจอร์กระจัดกระจายในบ้าน และอีกมากมาย ไม่ว่าจะด้วยความขี้เกียจหรือละเลยก็ตาม เราควรจะหันมาใส่ใจกับพื้นที่เล็กๆน้อยๆเหล่านั้น ลองดีไซน์ชั้นวางของเหนือประตู แต่งเติมผนังสีเขียวในห้องแบบประหยัดเนื้อที่ด้วย green wall เพิ่มส่วนเก็บของที่ใต้เตียงหรือเก้าอี้แบบกล่องปิด หรือการสร้างรางสำหรับให้อาหารสัตว์เลี้ยงในตู้ลิ้นชักแทนการวางเกะกะที่พื้นห้อง ฯลฯ
(ภาพจาก http://architecture-view.com/tag/apartment-2/page/4/)
สละเวลาแต่ละวันในบ้านซัก 10-15 นาที มองหาวิธีการจัดของในบ้านของคุณที่เคยกระจัดกระจายอยู่ให้เข้าที่เข้าทาง อยู่เรียงกันอย่างเป็นระเบียบในพื้นที่ขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มประโยชน์การใช้งานพื้นที่การใช้สอยในบ้านให้มากขึ้นนั่นเอง
2.วางเตียงใหญ่ ในห้องไซส์เล็ก
(ภาพจาก http://www.faburous.com/bedroom-designs/great-ideas-for-small-bedrooms-in-an-apartment/)
ขนาดของเฟอร์นิเจอร์มีผลต่อเนื้อที่ของห้องอย่างแน่นอน แต่มันก็ไม่ได้แปลว่าต้องเลือกใช้แต่เฟอร์นิเจอร์ขนาดจิ๋วเสมอไปนะครับ เราจึงควรเลือกของใช้ให้มีขนาดสัดส่วนเหมาะสมกับพื้นที่ห้อง โซฟาขนาด 2 คนนั่งในห้องนั่งเล่นขนาดเล็ก หรือโต๊ะทานข้าวตัวยาวในโถงห้องอาหารขนาดใหญ่ สิ่งสำคัญคือการสร้างความรู้สึกแบบพอดีในพื้นที่การใช้งาน ไม่เหลือเยอะ หรือน้อยเกินไป สามารถเดินเหินไปมาได้สะดวก ไม่อึดอัด หรือจะเน้นลูกเล่นไปที่ เฟอร์นิเจอร์พับเก็บ ลดขยายขนาด ปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งาน ก็จะทำให้ space ในห้องยืดหยุ่นขึ้นอีก
(ภาพจาก http://architecture-view.com/tag/apartment-2/page/4/)
Dtip: เฟอร์นิเจอร์อย่างโต๊ะวงกลมอาจกินเนื้อที่ให้ห้องของคุณน้อยกว่าแบบสี่เหลี่ยม เมื่อคำนึงถึงความยืดหยุ่นในการใช้งาน โต๊ะสี่เหลี่ยมไม่สามารถนั่งที่เหลี่ยมมุมโต๊ะ แต่โต๊ะแบบวงกลมเพิ่มจำนวนเก้าอี้ได้ตามเส้นรอบวงกลมและอนุญาตให้คุณลากเก้าอี้ไปนั่งตรงไหนก็ได้รอบโต๊ะ
3.เก็บทุกสิ่ง ทิ้งของยาก
(ภาพจาก http://interiordesignbydunstan.blogspot.com/p/from-messy-to-clean.html)
การเก็บของเอาไว้เยอะเกินไปไม่เป็นผลดีต่อบ้านที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก เราไม่สามารถตามใจตัวเองเก็บของที่คิดเสียดายไว้อีกต่อไป ได้เวลาตรวจเช็คและตัดใจทิ้งของที่ไม่จำเป็นในบ้านทิ้งออกไปบ้าง เอาไปบริจาคให้คนอื่น แบ่งขาย หรือแยกกำจัดให้เป็นหมวดหมู่ เผื่อคุณจะกลับมาจดจำได้อีกครั้งว่าห้องเคยกว้างขวางแค่ไหนจากที่เคยหลงลืมไป
4.จัดวางอย่างไม่วางแผน
(ภาพจาก http://www.homeinspector.org/HomeInspectionNews/12-home-improvement-shortcuts-that-are-a-bad-idea.12-15-2015.1172/Details/Story)
การเก็บของเอาไว้เยอะเกินไปไม่เป็นผลดีต่อบ้านที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก เราไม่สามารถตามใจตัวเองเก็บของที่คิดเสียดายไว้อีกต่อไป ได้เวลาตรวจเช็คและตัดใจทิ้งของที่ไม่จำเป็นในบ้านทิ้งออกไปบ้าง เอาไปบริจาคให้คนอื่น แบ่งขาย หรือแยกกำจัดให้เป็นหมวดหมู่ เผื่อคุณจะกลับมาจดจำได้อีกครั้งว่าห้องเคยกว้างขวางแค่ไหนจากที่เคยหลงลืมไป
5.ใช้งานทุกตารางนิ้ว
(ภาพจาก http://interiordesignsmagazine.com/bedroom/interior-ideas-day-october-2-2014/attachment/messy-vintage-study-room/)
คล้ายกับการเก็บของทุกอย่างไว้ไม่ยอมทิ้ง แต่เป็นการตั้งใจตกแต่งแบบไม่ยั้งมือ เราควรทำความเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่ทุกผนังจำเป็นต้องมีกรอบรุปภาพแขวน หรือทุกตำแหน่งโซฟาต้องมีโต๊ะกาแฟ เพราะการใส่อะไว้เยอะเกินไปจะทำให้ให้ห้องที่เคยกว้างดูแคบลง ความแน่นกลับยิ่งจะทำให้อึดอัด และหาจุดเด่นและจุดรองในการตกแต่งไม่เจอ ก่อนที่จะหลงทางคนสายเยอะไปไกลกว่านี้ อยากให้ลองดึงสติกันซะหน่อย กลับเข้าสู่ทางสายกลางใช้งานพื้นที่อย่างพอประมาณ
6.ทาสีเข้มให้ทั่วห้อง
(ภาพจาก http://www.apartmenttherapy.com/the-8-biggest-small-space-design-mistakes-how-you-can-stop-making-them-207450)
ปฏิเสธไปได้ยากว่าสีสันไม่ส่งผลต่อความรู้สึกของมนุษย์ การเลือกทาสีผนังด้วยโทนสีอ่อนจะช่วยให้ห้องดูกว้าง สบายตามากกว่าการเลือกใช้โทนสีเข้มที่จะทำให้ห้องดูแคบลง จึงควรใช้โทนสีอ่อน-เข้มเข้ามาเบรคสีกันไม่ให้ดูโล่งจนเลี่ยนหรืออึดอัดเกินไป ทางออกคือการควบคุมการใช้สีทั้งสองโทนอย่างเหมาะสม สัดส่วนของสีอ่อนและสีเข้มที่เราแนะนำคือ สีโทนอ่อน 80-90% และสีเข้ม 10-20% ก็เพีนงพอแล้ว ในโทนสีอ่อนอาจแบ่งย่อยออกเป็นสีหลักกับสีรอง เป็นโทนสีไล่โทนที่ใกล้เคียงกันเพื่อเข้ามาช่วยเติมเต็มคู่สีภายในห้องให้ดูน่าสนใจมากขึ้น
(ภาพจาก http://www.dwell.com/great-idea/article/clever-ideas-loft-beds#6)
ข้อสุดท้ายที่เราอยากฝากไว้คือ อย่ายัดเยียดของทุกอย่างจากตัวอย่างที่คุณประทับใจในนิตยสาร เหลืออินเตอร์เนตลงในบ้านของคุณ เพราะบ้านของเราทุกคนแตกต่างกัน ของที่มีเหมาะกับบ้านหลังนึงอาจจะกลายเป็นของแปลกแยกไปในบ้านอีกหลังนึง เราจึงควรตั้งลิสต์เฉพาะสิ่งของที่ตัวเองต้องการจริงๆ พร้อมกับประเมินประสิทธิภาพพื้นที่ใช้สอยในบ้านของคุณอย่างเหมาะสม จัดหาสิ่งของที่ต้องการมาไว้ในบ้านแต่พองาม พร้อมกับเหลือพื้นที่อาศัยอยู่ได้จริงแต่พอดี
ข้อมูลและรูปภาพ http://www.apartmenttherapy.com/the-8-biggest-small-space-design-mistakes-how-you-can-stop-making-them-207450