OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

D’Luck Cinematic Theatre โรงละครเหล็กลอยได้

D’Luck Cinematic Theatre โรงละครเหล็กลอยได้

Owned : บริษัท ปัญจลักษณ์พาสุข จำกัด

Architect :  A49 Limited

Engineer : AE49 Limited

Interior Designer : Paradigm Shift

Photo : A49 Limited / Paradigm Shift / D’Luck Cinematic Theatre

cover01

โรงมหรสพใหญ่ยักษ์

เมื่อพูดถึงโรงละครก็ทำให้เรานึกถึงประสบการณ์การรับชมการแสดงแสงสีเสียง บนเวทีที่มีผู้ชมร่วมเป็นสักขีพยานกันแบบถ่ายทอดสด ทั้งโชว์ละครเวที  ละครเพลง คอนเสิร์ต  และการแสดงหาชมยากจากต่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทยเองโรงละครขนาดใหญ่ส่วนมากก็มักจะสร้างกระจุกตัวอยู่แต่ในกรุงเทพ จึงเป็นที่มาของเมกะโปรเจคอาคารสถานเพื่อความบันเทิง บนถนนเทพประสิทธิ์ ตำบลหนองปรือ ในเมืองพัทยา

D’Luck Cinematic Theatre คือ โครงการโรงละครของบริษัทปัญจลักษณ์พาสุข (ผู้บริหารจาก GDH559 ) ที่ตั้งเป้าหมายกระจายความบันเทิงแก่กลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ชอบดูการแสดงโชว์ เลือกทำเลก่อสร้างในจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยม  บนพื้นที่โครงการรวมกว่า 10 ไร่ มีทั้งส่วนจัดการแสดงและคอมมูนิตี้มอลล์จำหน่ายสินค้า มีพื้นที่ภายในโรงละครถึง 10,000 ตารางเมตร โดยเป็นพื้นที่สำหรับจัดการแสดง 1,000 ตารางเมตร รองรับคนดูได้ถึง 1,400 ที่นั่งต่อหนึ่งรอบ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างและมีกำหนดเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2559 นี้แล้ว

cam02

10413367_989982017744093_4847726606339103200_n

Design Concept

โรงละครทั่วไปมักเป็นก้อนอาคารขนาดใหญ่ที่ดูหนักและทึบตัน ไอเดียการออกแบบโรงมหรสพแห่งใหม่นี้  ผู้ออกแบบจึงอยากสร้างความแตกต่างด้วยแนวคิด Levitation ที่หมายถึง การลอยตัว โดยการสร้างรูปด้านอาคารที่ดูเบาลอยจนเหมือนลอยอยู่กลางอากาศ  ซึ่งเหตุผลที่ทำให้อาคารเหมือนลอยได้นั้น   ก็คือการใช้กระจกเงากับพื้นที่ชั้นล่างเพื่อสะท้อนภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัว  สร้างภาพลวงตาคล้ายกลตัวลอยของนักมายากล

dluck-fpo-gallery-10cam01_new_-_low_0

นอกจากความน่าทึ่งของภาพลักษณ์อาคารภายนอกแล้ว D’Luck Theatre ยังมีเป้าหมายการเป็นโรงละครรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีจอภาพฉายโปรเจคเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย แทนระบบเลื่อนเปลี่ยนฉากแบบโรงละครทั่วไป พัฒนารูปแบบให้ทันสมัยทั้งระบบแสงสีเสียงเพื่ออรรถรสการรับชมที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

Design Structure

ด้วยการออกแบบอาคารโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องการช่วงพาดของเสา กว้างเป็นพิเศษ ทำให้การออกแบบโครงสร้างหลักของโรงละครใช้โครงสร้างเหล็กรูปพรรณรีดร้อน เพื่อให้ได้พื้นที่ภายในกว้างขวางแบบไม่มีเสาคั่นระหว่างกลาง อีกทั้งประโยชน์เรื่องความรวดเร็วในการทำงาน ซึ่งโครงสร้างเหล็กจะช่วยอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างให้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด วางแผนการก่อสร้างตามตารางนัดหมายได้แม่นยำมากขึ้น

11140085_1007416352667326_2334718197777138308_n

Dtip : ประโยชน์เรื่องความรวดเร็วในการก่อสร้างด้วยโครงสร้างเหล็ก  ทำให้เราสามารถเตรียมงานส่วนอื่นๆ ไปพร้อมกันได้ เช่น ในช่วงเวลาการทำฐานรากคอนกรีตที่ต้องรอเวลาเซ็ทตัว ทีมก่อสร้างก็สามารถดำเนินการผลิตชิ้นส่วนเหล็กจากโรงงานควบคู่กันไป  เตรียมความพร้อมก่อนจะยกมาติดตั้งที่หน้างานต่อเนื่องกันได้เลย

13006657_1012082402200721_4139048738540830566_n

ยกโครงสร้างส่วนบนให้ดูเหมือนลอยตัวสูงอยู่กลางอากาศ พร้อมกรุผนังภายนอกด้วยแผ่นเมทัลชีทลอนเล็ก

และเพื่อให้โรงละครเหล็กลอยได้ทั้งสวยงามและตอบรับฟังก์ชั่นการใช้งานยิ่งขึ้น วิศวกรออกแบบโครงสร้างจึงเลือกใช้คุณสมบัติพิเศษของเหล็ก High Strength Steel (SM520) ที่สามารถรับแรงอัดและแรงดึงได้ดีกว่าเหล็กปกติในพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน ทำให้โครงสร้างที่ได้มีความแข็งแรงแต่ไม่หนาเทอะทะ ลดน้ำหนักโครงสร้างรวม แล้วยังเพิ่มความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดานได้อีกด้วย

dluck-fpo-gallery-2

dluck-fpo-gallery-4

ตกแต่ง  Finishing ภายในด้วยวัสดุไม้และแผ่นหิน เน้นโทนสีดำ-น้ำตาล และการขึงผ้าม่านลวดลายอ่อนช้อยแบบไทยร่วมสมัย สร้างบรรยากาศความพลิ้วไหวให้ต่างจากรูปด้านอาคารสี่เหลี่ยมภายนอก 

dluck-fpo-gallery-3 dluck-fpo-gallery-8

ความท้าทายของการออกแบบจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ทั้งเรื่องสุนทรีย์ดีไซน์และความเข้าใจเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ยิ่งเราอยากฉีกกฎภาพลักษณ์สิ่งเดิมๆ ก็ยิ่งควรศึกษาหาเทคโนโลยีวิธีการก่อสร้าง และวิทยาการคุณสมบัติวัสดุสมัยใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ไว้เผื่อสักวันจะได้นำมาใช้สร้างจินตนาการการออกแบบให้เกิดขึ้นจริง เช่นเดียวกับโครงการ D’Luck Cinematic Theatre นี้  ที่ผสานสุนทรียศาสตร์กับเทคโนโลยีการก่อสร้างออกมาได้อย่างลงตัว ต้องคอยติดตามกันต่อไปว่าเมื่ออาคารแล้วเสร็จ จะมีหน้าตาอย่างไรต่อไปครับ

cover02

ขอขอบคุณ

บริษัทปัญจลักษณ์พาสุข

Architect :  A49 Limited

Engineer : AE49 Limited

Interior Designer : Paradigm Shift

และ Siam Yamato Steel (SYS)