OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Q&A : ทำไมถึงเรียกแบบก่อสร้างว่า “พิมพ์เขียว” ทั้งที่มันเป็นสีฟ้า ?

เฉลยสาเหตุคำศัพท์เรื่องเฉดสีของไทยในสมัยก่อน และเทคนิคการพิมพ์สำเนาแบบก่อสร้างที่เรียกว่า “blueprint”

2Q

ทำไมถึงเรียกแบบก่อสร้างว่า “พิมพ์เขียว” ทั้งที่มันเป็นสีฟ้า ?

คือช่วงนี้ผมกำลังทำส่วนต่อเติมหลังบ้านของตัวเองอยู่ แล้วก็มักจะได้ยินผู้รับเหมากับเพื่อนสถาปนิกที่มาช่วยงานพูดถึงแบบพิมพ์เขียวกันอยู่บ่อยๆ  เลยทำให้สงสัยว่าทำไมถึงเรียกกันว่า พิมพ์เขียว ละครับ ทั้งที่มันไม่เห็นมีสีเขียวพิมพ์อยู่ตรงไหนเลย ?

/ คำถามจาก คุณ Vichai Pn

1

A

หลายคนเวลาไปดูแปลนบ้านหรือแบบแปลนก่อสร้างอาคาร ก็อาจจะรู้สึกสังสัยอยู่ลึกๆ เมื่อได้ยินวิศวกร สถาปนิก หรือแม้แต่นายช่างที่หน้างาน เรียกเจ้าแบบแปลนนี้ว่า “พิมพ์เขียว” ทั้งที่กำลังถือกระดาษแบบสีขาว ลายเส้นสีดำอยู่ในมือ ?

ความจริงแล้ว แบบพิมพ์เขียว ที่เราเรียกกันมาจากชื่อภาษาอังกฤษว่า “blueprint” ซึ่งถ้าแปลตรงตัวจริงๆแล้ว ต้องเรียกว่า พิมพ์ฟ้า จึงจะถูกต้อง แต่เนื่องจากคำศัพท์เกี่ยวกับเรื่องสีของคนไทยสมัยก่อนยังไม่มีคำว่า ฟ้า บัญญัติขึ้นมาใช้กัน และในตอนนั้นเรามักเรียกสีที่อยู่ในโทนเย็นกันว่า เขียว คนสมัยก่อนจึงเรียก blueprint ว่า “พิมพ์เขียว” เป็นชื่อเล่นแทนสืบเนื่องกันมา

ซึ่งเทคนิค blueprint ในสมัยก่อน คือ การใช้เทคนิคการพิมพ์ต้นฉบับแบบบ้านสำเนา (กระดาษไข) ลงบนกระดาษเคลือบสารเคมี (แอมโมเนียมีกลิ่นแรง) ด้วยวิธีการฉายแสงผ่านต้นฉบับที่เป็นกระดาษบางที่ความไวต่อแสง ทำให้ภาพที่ได้มีทั้งลวดลายสีขาวบนพื้นสีน้ำเงิน และลวดลายสีน้ำเงินบนพื้นสีขาว จนถึงในปัจจุบันที่มีเครื่องถ่ายเอกสารสีขาวดำออกมาใช้งานกันแล้ว แต่ในวงการคนเขียนแบบก่อสร้างยังมีคนเลือกใช้เทคนิคทำสำเนาแบบ  “blueprint” กันอยู่บ้าง ทำให้คนส่วนใหญ่ก็ยังเรียกชื่อติดปากกันอยู่ว่า “พิมพ์เขียว”

3

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก  laracasts

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading