OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Copper House II บ้านที่เป็นเพื่อนกับสายฝน

บ้านพักสไตล์ Modern Tropical พื้นถิ่น กับการควบรวมสถาปัตยกรรมและธรรมชาติแวดล้อมให้เป็นหนึ่งเดียว

366712023_640

Copper House II

Architect :  Studio Mumbai

Photo : Courtesy of Studio Mumbai

สภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีพายุฝนโหมกระหน่ำ มักจะสร้างปัญหาความเสียหายให้กับที่พักอาศัยอยู่เสมอ ตั้งแต่น้ำรั่ว วัสดุชื้นแฉะ เชื้อรา ไปจนถึงการลุกลามให้โครงสร้างเสียหาย แต่เราจะด่วนสรุปว่าสายฝนเป็นเจ้าวายร้ายสำหรับสถาปัตยกรรมได้จริงเหรอ?  ในเมื่อเรายังไม่ได้ลองพยายามหาวิธีออกแบบให้อาคาร ได้อยู่ร่วมกับปรากฏการณ์ธรรมชาติกันอย่างจริงจัง ความเข้าใจซึ่งกันและกันน่าจะพาเราไปหาคำตอบที่ยอมรับได้จากทั้ง 2 ฝ่าย

stringio (21)

บทสนทนากับธรรมชาติ

จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย  ทำให้เจ้าของบ้านต้องปรับระดับความสูงพื้นดินที่รอดพ้นความเสียหายจากจุดที่น้ำเคยท่วมถึง ยกระดับเสาตอม่อและเทฐานรากสูงขึ้นอีก 2 ฟุตเหนือเส้นระดับใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในอนาคต การปรับปรุงบ้านครั้งนี้จึงเปิดโอกาสให้ Studio Mumbai เข้ามานำเสนอแนวความคิดการสร้างวิถีชีวิตของผู้อาศัยให้สัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่แวดล้อมภายนอก ภาษาของสถาปัตยกรรมหลังใหม่ที่ต้องการจะสื่อสารกับสภาพอากาศและธรรมชาติรอบข้าง เพราะในเมื่อไม่มีใครสามารถสั่งห้ามฟ้าฝนให้หยุดตกลงมาได้ เราก็ควรจะหาวิธีเรียนรู้ที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติขึ้นมาแทนเสียดีกว่า

stringio (5)

stringio (9)

บ้านทรงกล่องสี่เหลี่ยมหน้าตาธรรมดาหลังนี้มีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจหลบซ่อนตัวอยู่ มุมมองจากเปลือกภายนอกปิดบังไม่ให้คนทั่วไปมองเห็นพื้นที่ภายในบ้านได้ชัดเจนนัก ผังอาคารรูปตัว O แยกระดับพื้นบ้านออกเป็น 2 ระดับ พื้นคอนกรีตเปลือยสำหรับพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน และลานแผ่นหินปูทับบนพื้นดินสำหรับพื้นที่คอร์ทยาร์ดหินกลางแจ้ง ลานหินโล่งที่ถือเป็นศูนย์กลางส่วนสำคัญของตัวบ้าน จัดวางก้อนหินธรรมชาติเอาไว้แบบเรียบง่าย นิ่งสงบ เปิดรับแสงแดดและสายฝนให้ตกลงมากระทบได้โดยไม่ต้องมีหลังคาปกคลุม

(กรุณากดรับชมภาพและฟังเสียงความชุ่มฉ่ำขณะอ่านบทความ)

คอร์ทยาร์ดพื้นหินตรงกลางช่วยให้คนที่อาศัยอยู่ในบ้านจะได้เปิดประสบการณ์รับรู้สภาพภูมิอากาศในเวลานั้นๆ อย่างใกล้ชิด ได้ยินเสียงจิ้งหรีดตอนหน้าร้อน มองเห็นท้องฟ้าผืนกว้างพร้อมแสงอาทิตย์สอดส่องได้โดยไม่ต้องก้าวเท้าออกไปไหน สัมผัสไอละอองความชื้น รับฟังเสียงน้ำไหลในเวลาฝนพรำ เลิกเกรงกลัวที่จะเข้าหา ทดลองเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับฤดูกาลของธรรมชาติมากขึ้น

stringio

stringio (14)

การปูแผ่นหินทับลงไปบนดิน ทำให้ไม่ต้องทำทางระบายน้ำ หยดน้ำฝนจะไหลซึมลงสู่ผืนดินโดยตรง

stringio (3)
stringio (4)

สวนหินเปิดโล่งตรงกลางยังทำงานร่วมกับช่องเปิดระแนงไม้รอบบ้าน ช่วยดึงกระแสลมให้ไหลเวียนเข้ามาในบ้านจากหลาย ๆ ทิศทาง

stringio (23)

©Fotografie Enrico Cano

แสงแดดและสายฝน ได้รับอนุญาตให้เข้ามาเป็นองค์ประกอบที่สวยงามของงานสถาปัตยกรรม

 บ้านพื้นถื่นเมืองร้อน

อากาศที่มุมไบร้อนชื้นตลอดปีคล้ายเมืองไทย มีฝนตกตามฤดูกาล ช่วงปลายปีอากาศมักจะเย็นสบาย สถาปนิกจึงเลือกออกแบบให้บ้านสอดคล้องกับเงื่อนไขสภาพอากาศ ใช้ประโยชน์ต้นไม้รอบบ้านที่ปลูกไว้บดบังร่วมเงาจากดวงอาทิตย์ หน้าต่างบานกว้างและระแนงไม้เปิดรับลมพัดเอื่อยในหน้าร้อน  โครงสร้างหลักของบ้านเป็นเสาคานคอนกรีตผสมกับโครงสร้างไม้แบบเรียบง่ายสไตล์ modern tropical แบ่งกั้นพื้นที่ใช้งานส่วนตัวของคนในบ้านที่มีประตูเชื่อมต่อถึงกันภายในห้อง มีเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น เน้นความโปร่งโล่ง ลมพัดผ่าน ดูแลรักษาง่าย ใช้เป็นพื้นที่การใช้งานทั่วไป ห้องครัว โต๊ะอาหาร ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ส่วนพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวอย่างห้องนอนมีอยู่เพียง 1 ห้องที่ชั้นล่าง ห้องนอนที่เหลืออีก 2  ห้องถูกขึ้นไปไว้อยู่บนชั้น 2  ในตำแหน่งทแยงมุมฝั่งตรงข้าม เพื่อให้คนที่เจ้าของห้องมองเห็นทัศนียภาพนอกหน้าต่างในมุมแตกต่างกัน ปิดผิวห้องพักชั้นบนทั้งคู่ด้วยแผ่นทองแดง อาศัยคุณสมบัติของโลหะผสมทองแดงจะช่วยป้องกันการกัดกร่อนจากน้ำ,ไอน้ำ  ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศของเขตชนบท

stringio (7)
stringio (18)

ความเงียบสงบบนห้องนอนชั้น 2 ของบ้านที่ถูกแยกชั้นจากระดับพื้นดินปกติ

stringio (19)

stringio (22)

สีของไม้-แผ่นทองแดงที่คัดสรรมาให้ดูคล้ายคลึงกัน และช่องระแนงไม้ที่เปิดรับแสงอาทิตย์ กระแสลมธรรมชาติให้เข้ามาไหลเวียนอยู่ในบ้าน   

stringio (16)

stringio (25)

โชว์พื้นผิวโครงสร้างแบบสัจจะวัสดุ คอนกรีตเปลือย ผิวไม้ แผ่นทองแดง ถูกนำเสนอความงามดั้งเดิมตามธรรมชาติออกมาอวดโฉมแก่สายตาโดยตรง    

stringio (24)

 

stringio (27)

คอร์ทยาร์ดลานกว้างตรงกลางที่ขนาบข้างด้วยโครงสร้างอาคารล้อมรอบมีชื่อเรียกเฉพาะอีกอย่างหนึ่งว่า The Naalukettu

ด้วยผลงานการออกแบบสไตล์พื้นถิ่นที่เรียบง่าย นอบน้อมกับธรรมชาติแวดล้อม ลานหินกลางแจ้ง ทำหน้าที่เป็นประตูบานใหญ่คอยต้อนรับธรรมชาติ ให้เข้ามาสร้างสายสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างสวยงาม ทำให้ทีมออกแบบ Studio Mumbai ชนะรางวัลการออกแบบระดับสากล  BSI Swiss Architectural Award เมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพอ้างอิงจาก /www.archdaily.com

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading