OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Machiya house ฟื้นฟูบ้านเก่าฉบับญี่ปุ่นดั้งเดิม

ทาวน์เฮ้าส์เก่าอายุ 120 ปีที่ได้รับการบูรณะอย่างรอบคอบ เพื่อรื้อฟื้นศิลปะการตกแต่งตามประเพณีญี่ปุ่นโบราณ

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_ss_6-852x609

Machiya house

Architect :Uoya Shigenori

Location : Kyoto , Japan

Photographer: Tess Kelly

The Kyoto Moyashi House หรือทีรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า  Moyashi Machiya  คือบ้านพักตามแบบประเพณีดั้งเดิมของชาวซามูไรในเมืองเกียวโต  สิ่งประดิษฐ์ที่บรรจุร่องรอยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตของผู้คนมาตั้งแต่ครั้งอดีต ที่กำลังจะสูญหายไปทีละน้อยตามกระแสแห่งอสังหาริมทรัพย์อพาร์ทเม้นท์สมัยใหม่   เจ้าของบ้านต่างส่ายหน้ารับไม่ไหวกับภาระค่าซ่อมแซมราคาแพง รวมทั้งความยุ่งยากในการบูรณะที่จำเป็นต้องใช้ช่างซ่อมที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ  แต่ก็ยังโชคดีที่ยังมีเจ้าของบ้าน  Moyashi House  คนหนึ่งมองเห็นโอกาสในการฟื้นฟูบ้านพักสไตล์โบราณให้กลายเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่อย่างเต็มรูปแบบ

บ้านเก่าเมล็ดพันธุ์มอลต์

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_ss_2-852x609

แม้จะไม่มีบันทึกความเป็นมาของบ้านเก่า Moyashi House  อย่างชัดเจน  แต่สิ่งที่เจ้าของบ้านค้นเจอจากหนังสือพิมพ์เก่าท้องถิ่นเมื่อปี 1893 ที่ถูกซ่อนอยู่ในผนังบ้านก็คือ ตัวอาตารและบริเวณบ้านเคยถูกใช้เป็นที่เพาะพันธุ์ข้าวมอลต์มาก่อน (ส่วนประกอบสำคัญสำหรับการทำซอสถั่วเหลืองและมิโซะ ) จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านพักอาศัยแบบประเพณีดั้งเดิมในเมืองเกียวโตว่า Moyashi Machiya   หมายถึงทาวน์เฮ้าส์เมล็ดพันธุ์มอลต์นั่นเอง

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_col_8-852x596

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_ss_0-852x609

โดยเป้าหมายสำคัญในการบูรณะบ้านเก่าอายุมากกว่า 120 ปีที่สถาปนิกตั้งใจไว้คือ การดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ในอาคารและการแสดงความเคารพต่อกระบวนการสร้างสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของเมืองโตเกียว เมื่อตั้งเข็มทิศนำเส้นทางได้แล้ว การปรับปรุงเปลี่ยนโฉมก็ได้เริ่มต้นขึ้น จากการศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของผังบริเวณบ้านเก่า นักออกแบบได้แบ่งพื้นที่หลัก ๆ ของบ้านแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  พื้นที่ใช้สอยในอาคารและสวนคอร์ดยาร์ดตรงกลางที่ตัวบ้านโอบล้อมอยู่

สวนสีเขียวในอ้อมกอดบ้านเก่า

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_col_0-852x1217

บานประตูหน้าต่างจะถูกเปิดขึ้นในช่วงเดือนเมษาที่อากาศร้อนระอุ เสียงจั๊กจั่นจะขับกล่อมประสานเสียงไปทั่วบ้านในยามบ่าย  ทุกคนในบ้านจะมารวมตัวกันนั่งกินแตงโมผ่าซีกเนื้อหวานฉ่ำที่โต๊ะไม้กลางบ้าน  สถาปัตยกรรมบ้านโบราณที่ห่อหุ้มสวนสีเขียวแสนสงบเอาไว้ ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายใน – ภายนอก พื้นที่พักอาศัย –  พื้นที่พักผ่อน ไหลเวียนเข้าหากันอย่างกลมกลืน  ห้องอาหารขนาดใหญ่ ห้องนั่งเล่นที่ผู้คนส่วนใหญ่จะมาใช้งานนั่งพูดคุยกัน ก็ถูกจัดไว้ตรงกลางแผนผังบ้าน ขนาบทั้ง 2 ด้านซ้ายขวาด้วยไม้ใหญ่สีเขียวแผ่กิ่งน้อยใหญ่ให้ร่มเงา  สวนกลางบ้านช่วยผลิตอากาศบริสุทธิ์ให้ถ่ายเทผ่านตัวอาคารออกไปและเป็นช่องแสงแดดธรรมชาติเข้าไปส่องสว่างในพื้นที่มืดทึบ

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_col_10-852x1217

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_col_19-852x1217

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_col_15-852x1217

สวนต้นไม้ตรงกลางทำหน้าที่เป็นจุดรวมเส้นทางสัญจรภายในบ้าน จากห้องครัวไปห้องทานข้าว ห้องทานข้าวไปห้องนั่งเล่น ห้องนั่งเล่นวนกลับมาที่ห้องครัว เป็นวงจรไหลเวียนถึงกันได้ไม่มีที่สิ้นสุด

เปิดเผยภูมิปัญญาช่างฝีมือ

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_ss_5-852x609

การปรับปรุงงานโครงสร้างของทาวน์เฮ้าส์ช่วยเปิดเผยภูมิปัญญาการก่อสร้างตามประเพณีดั้งเดิมจากฝีมือช่างไม้ญี่ปุ่นในอดีต  เทคนิครอยต่อแบบ handmade ที่นับวันจะหาคนรุ่นใหม่สืบทอดยากขึ้นไปทุกทีก็มีมาให้เห็นตามจุดต่าง ๆ ของบ้าน

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_ss_4-852x609

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_col_4-852x1217

โครงสร้างไม้เก่าและเฟอร์นิเจอร์ไม้โบราณได้ถูกบูรณะซ่อมแซมให้คงอยู่สมบูรณ์คล้ายกับเมื่อศตวรรษที่แล้ว  ผสมผสานกับการตกแต่งที่ร่วมสมัยสอดคล้อองกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่มากขึ้น อย่างที่แขวนจักรยานบนผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ วัสดุส่วนใหญ่ที่ถูกนำมาใช้งานเป็นวัสดุธรรมชาติ ไม้ แผ่นหิน ทราย เพื่อแสดงความเคารพต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมและสร้างความแนบเนียนกับวัสดุเก่าให้ได้มากที่สุด

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_col_3-852x1217

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_col_1-852x1217

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_col_20-852x1217

ความใส่ใจในการซ่อมแซมการตกแต่งภายในตามประเพณีโบราณของญี่ปุ่น ไล่เรียงไปตั้งแต่วัสดุปุพื้นเสื้อทาทามิ หน้าต่างแผ่นกระดาษวาชิ ( Washi กระดาษเส้นใยพืชโบราณที่คนญี่ปุ่นนิยมใช้กั้นผนังสร้างความเป็นส่วนตัวแต่ไม่ปิดกั้นแสงแดด ) และผนังผิวทรายหยาบเพื่อเพิ่มผิวสัมผัสที่สวยงามบนผนังห้อง 

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_col_21-852x1217

หวังว่าบ้าน Moyashi House   จะเป็นแหล่งความรู้ให้กับคนญี่ปุ่นรุ่นหลังได้ตระหนักถึงบทบาทความสำคัญของธรรมชาติที่มีต่อสถาปัตยกรรมดั้งเดิมทั้งในแง่ของการแนวคิดการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ และเทคนิคฝีมืองานช่างไม้โบราณ เปิดโอกาสให้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตที่บ้านหลังนี้ช่วยรื้อคืนความทรงจำหลายสิบปีที่สูญหายให้กลับมามีชีวิตได้อีกครั้ง

maoyashi-machiya-kyoto-house-uoya-shigenori-japan-architecture-residential_dezeen_2364_col_6-852x1217

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

https://www.dezeen.com/2016/10/06/kyoto-moyashi-house-machiya-guesthouse-renovation-akiko-masashi-koyama-uoya-shigenori/

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading