การก่อเกิดสถาปัตยกรรมสักชิ้น แน่นอนว่าต้องมีการออกแบบในทุกกระบวนการความคิด เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปทรง (Form) สัดส่วน (Proportion) การใช้สอยพื้นที่ (Function) ช่องเปิด (Void) โครงสร้าง (Structure) งานระบบ (System) และส่วนประกอบอื่นๆ ก็เพื่อการแสดงสุนทรียภาพที่สมบูรณ์ และให้เห็นว่าสถาปัตยกรรมเหล่านั้นสามารถใช้งานได้สมบูรณ์ และปรับตัวให้เข้ากับบริบทที่ตั้งได้
ภาพจาก https://goo.gl/SfF9q8
สถาปัตยกรรมแห่งการอยู่อาศัยที่ดี จึงไม่ใช่เพียงมีพื้นที่สำหรับการพักอาศัยเท่านั้น แต่ด้านความรู้สึกและความงามทางสุนทรียภาพ ก็ต้องสมบูรณ์แบบด้วยเช่นกัน… หลากหลายแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นข้อความหลักที่ส่งไปยังผู้พบเห็น แต่ยังคงมีแนวคิดหนึ่ง ซึ่งมามายาวนานโดยสถาปนิกชื่อดังระดับโลก ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด ก็ยังงดงามและใช้ได้ดีอยู่เสมอ
สถาปนิกคนนั้นคือ Ludwig MiesVan Der Rohe (ลุดวิก มีส ฟานเดอร์โรห์) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน ผู้ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้บุกเบิกแห่งวงการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Era) เท่าเทียมกับ วอลเตอร์โกรเปียส และเลอกอร์บูซีเย ผู้เป็นอาจารย์ของเขา ที่สามารถสื่อถึงยุคสมัยใหม่ผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรมหลังความเสื่อมโทรมจากสงครามได้อย่างชัดเจน ยุคสมัยของ มีส ฟานเดอร์โรห์ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ แห่งศตวรรษที่ 20 อย่างแท้จริง อันเป็นต้นทางของรูปแบบอาคารแปลกใหม่ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ รวมไปถึงตึกสูงระฟ้าที่คลี่คลายมาจนถึงทุกวันนี้
ภาพจาก https://goo.gl/9Tvm1j
เขามักเรียกอาคารของเขาเองว่าสถาปัตยกรรม “ผิวหนังและกระดูก” (Skin and Bones Architecture) กล่าวคือ เป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้โครงสร้างน้อยชิ้นในการจัดระเบียบโครงสร้าง ในทุกชิ้นส่วนของงานสถาปัตยกรรม มีหน้าที่และรูปแบบที่ชัดเจน มองเพียงผ่านก็รู้ทันทีว่าองค์ประกอบนี้ทำหน้าที่อะไร ต่างจากอีกองค์ประกอบอย่างไร ส่วนให้คือเสา คาน ผนัง พื้น ชัดเจนจนเหมือนร่างกายของมนุษย์ที่แยกออกชัดเจนได้ว่า ส่วนไหนคือกระดูก ส่วนไหนคือผิวหนังที่ต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความสามารถ
ภาพจาก https://goo.gl/BWnQW6
ทั้งหมดนั้นเอื้อให้เกิดพื้นที่เปิดโล่งอิสระ และให้ความรู้สึกถึงความ “โปร่งเบา และ เรียบง่าย” ซึ่งรูปทรงที่ง่ายที่สุดที่มนุษย์สามารถสร้างและเข้าถึงได้ง่ายคือรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน เช่น เส้นตรง สี่เหลี่ยม และวงกลม โดยใช้วัสดุพื้นฐานเช่นเหล็ก โลหะ กระจก และหิน แต่จัดระเบียบได้อย่างสมดุล เล่นกับแสง ที่ว่าง และให้ความสำคัญต่อพื้นที่เปิดโล่งอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่นเดียวกับแนวทางของเขาที่เป็นที่รู้จักภายใต้แนวคิด “น้อยแต่มาก” ( Less is more ) นั่นเอง
ภาพจาก https://goo.gl/1QKByd
เหล็ก โลหะ กระจก และหิน เป็นวัสดุที่ มีส ฟานเดอร์โรห์ นำมาใช้เป็นองค์ประกอบหลักของการออกแบบอาคาร ภายใต้ความเรียบง่ายของอาคารที่เขาออกแบบ มักสะท้อนความชัดเจนของการใช้งาน และความลึกซึ้งในการจัดวางองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ผลงานอย่าง Barcelona Pavilion (ค.ศ.1929), Farnsworth House (ค.ศ.1951), อาคาร Crown Hall ของ IIT (ค.ศ.1956) และอาคารตึกสูงอย่าง Seagram Building (ค.ศ.1958) ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นอาคารสูงที่ใช้ระบบ Curtain Wall ที่มีความสวยงามที่สุด จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของปรัชญาการออกแบบของมีส ฟาน เดอร์ โรห์ ก็ว่าๆได้
ภาพจาก https://goo.gl/3KyoV9
ด้วยแนวคิดนี้เอง ส่งผลกระทบต่อความคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรมไปทั่วโลก แต่แม้จะผ่านกาลเวลามานานเพียงใด ความงามจากทฤษฎีการออกแบบของ มีส ฟาน เดอร์ โรห์ ยังคงเป็นจริงเสมอ… และล่าสุดกับโครงการใหม่จาก โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ ที่หยิบเอาแนวคิดสุดคลาสสิกมาตีความในบริบทใหม่ บริบทที่เต็มไปด้วยความหลากหลายอย่างย่านอารีย์ การผสานกันของสถาปัตยกรรมเรียบง่ายได้ใจความกับการใช้งาน ที่สัมพันธ์กับพื้นที่ตั้งจึงเกิดขึ้นกับ NOBLE AROUND ARI
NOBLE AROUND ARI คอนโดมิเนียมใหม่ล่าสุดจาก โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ เผยความน่าอยู่ภายในสถาปัตยกรรมแนวคิด Skin and Bones Architecture รายล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ที่ตั้งใจให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีและแตกต่าง ความตรงไปตรงมาของโครงสร้างรวมถึงวัสดุที่เลือกใช้ แสดงให้เห็นถึงความเรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยรายละเอียด
การอยู่อาศัยในสถาปัตยกรรมที่ดี ไม่ใช่เพียงการออกแบบเฉพาะตัวอาคารให้ดีเท่านั้น การออกแบบพื้นที่เปลี่ยนถ่าย (Transition Space) ที่ดี ก็ช่วยส่งเสริมให้สถาปัตยกรรมนั้นๆ ถูกใช้งานได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น เช่น การเดินหรือขับรถผ่านพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง ที่มีความแตกต่างกันมาก เช่นจากถนนใหญ่เข้ามาภายในโครงการที่เงียบสงบ หรือจากภายนอกสู่ภายในอาคาร พื้นที่เปลี่ยนถ่ายที่ดีจะทำหน้าที่เชื่อมต่อความรู้สึก บอกกล่าวอย่างนุ่มนวลกับผู้ใช้งานว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ ให้สงบขึ้น ร่มรื่นขึ้น และปรับอารมณ์ให้เข้ากับพื้นที่ต่อไปที่จะต้องพบเจอ เช่นส่วนทางเข้าอย่าง BOTANICAL PATH นี้ ผู้ออกแบบตั้งใจปลูกต้นไม้ที่มีความสูงกว่า 10 เมตร เรียงกันเป็นระยะทางกว่า 50 เมตร เพื่อสร้างอุโมงค์ต้นไม้ ปรับแสง ปรับโทนของอารมณ์ที่วุ่นวายจากภายนอกให้เบาบางลง สงบสบาย ก่อนเข้าไปในโครงการนั่นเอง
การเปลี่ยนถ่ายพื้นที่ลำดับต่อมาคือส่วนของ Lobby ที่ยังคงเป็นพื้นที่ Public อยู่ ผู้ออกแบบจึงต้องการให้พื้นที่ส่วนนี้เปิดโล่ง ด้วยการออกแบบความสูง Floor to ceiling กว่า 7 เมตร และรายล้อมด้วยกระจกใส รองรับการใช้งานของผู้คนจำนวนมากได้สบายๆไม่อึดอัด ส่วนการตกแต่งยังคงแนวคิดของ Skin and Bones Architecture ที่มองครั้งแรกก็จะเห็นว่าองค์ประกอบต่างๆไม่ว่าจะเป็นพื้น เสา ผนัง ฝ้า ถูกออกแบบให้ตัดขาดและแบ่งแยกจากกันชัดเจน ด้วยวัสดุ สีสัน และขนาด เพิ่มความน่าสนใจด้วยการใช้วัสดุหินที่มีลวดลายและสีสันต่างกัน และยังมี MEZZANINE หรือ ชั้นลอยเชื่อมต่อด้วยบันไดวน บ่อน้ำผุด (Reflecting Pool) ด้านข้าง สะท้อนเงาของต้นไม้ที่อยู่อีกฝั่งเพื่อสร้างความรู้สึก ร่มรื่น และเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
และรูปทรงเรขาคณิตที่มีความเรียบง่ายอีกรูปทรงหนึ่งก็คือ “วงกลม” โดยเส้นวงกลมนั้นถือเป็นเส้นสายที่สงบนิ่ง และผ่อนคลายที่สุด บริเวณสวนนี้จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเจาะลดระดับพื้นที่นั่งเป็นหลุมลงไปเล็กน้อย ออกแบบให้มีน้ำไหลผ่าน และใช้วัสดุเป็นหิน ทำให้บริเวณ AROUND GARDEN นี้น่านั่งและได้รับความเย็น รู้สึกผ่อนคลายด้วยเสียงน้ำทั้งวัน
อีกความน่าสนใจหนึ่งของรูปแบบ Skin and Bones Architecture คือการที่โครงสร้างอาคารนั้น ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นโครงกระดูกของสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่โครงสร้างยังทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมนั้นๆด้วย กล่าวคือเสารูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เห็น นอกจากจะเป็นเสาแล้วยังทำหน้าที่เป็นผนังกั้นพื้นที่ด้วย หรือพื้นคอนกรีตที่ยื่นยาวออกจากแนวคานโครงสร้าง ก็ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นพื้นยื่นเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นชายคาให้กับการใช้งานของพื้นที่ด้านล่างด้วย ภาพรวมของส่วนกลางชั้น 39 และ 39M นี้ จึงน่าใช้งานและงามด้วยระบบโครงสร้างจริงๆ
แม้แต่พื้นที่ชั้นบนสุดของอาคาร ที่มีวิวที่สวยงามที่สุด ก็ยังคงต้องการองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมเพื่อช่วยเฟรมพื้นที่ ช่วยกรอบความเป็นขอบเขตให้ชัดขึ้น การใช้เสาคานลอย ทำให้ภาพสวนนั้นดูน่าสนใจและเข้ากับแนวคิดอาคารมากยิ่งขึ้น
สถาปัตยกรรมที่ดูเรียบง่ายที่เราเห็นนั้น การก่อเกิดหรือระหว่างทางนั้นต้องผ่านการคิดการออกแบบรายละเอียดมาอย่างหนักหน่วง เพราะการทำให้ “น้อยแต่มาก” นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้ออกแบบต้องเข้าใจผู้ใช้งานและบริบทรอบข้างจริงๆ ถึงจะเกิดสถาปัตยกรรมที่น่าอยู่ และเข้าถึงผู้คนได้มากที่สุด
.
สำหรับใครที่สนใจ เข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://goo.gl/un4Wyp