OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Fuzzy House บ้านที่ไม่ใช่แค่ทางผ่าน

“อะไรก็ตามที่คลุมเครือจะดูเป็นธรรมชาติมากกว่า”

Fuzzy House

Architects: SO Architects
Location: เชียงใหม่, ประเทศไทย
Photographs: Filippo Poli

ยอมรับว่าภาพแรกที่เห็นบ้านหลังนี้ ทำให้เกิดคำถามสะกิดขึ้นในใจอยู่ไม่น้อย ว่าภายในจะถูกใช้งานไปในทิศทางใด จะว่าคล้ายบ้านพักอาศัยก็ไม่เชิง จะว่าคล้ายร้านค้าอะไรสักอย่างก็ไม่ใช่ เพราะด้วยกำแพงอิฐบล็อคที่ไร้ริ้วรอยของการฉาบและทาสี ซึ่งมีช่องเปิดเพียงน้อยนิด ประกอบกับพื้นที่สีเขียวที่มีธรรมชาติเป็นเหมือนนักจัดสวน ด้วยวัชพืชน้อยใหญ่ที่เติบโตอย่างอิสระ…

ใครจะคิดว่าความคลุมเครือทั้งหมดนั้น คือ ความปรารถนาจริงๆของเจ้าของบ้าน “คุณหมอโอ๋ อุกฤษ ยี่สารพัฒน์” หมอฟันเชียงใหม่ผู้ที่ไว้ใจให้รุ่นพี่ที่สนิทสนมอย่าง “คุณณรงค์ โอถาวร” สถาปนิกมากฝีมือจากบริษัท SO มาสร้างสรรค์แนวคิด ทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นทั้งที่พักอาศัยและทางผ่านสาธารณะของคนในชุมชนได้อย่างคาดไม่ถึง

– คงเดิม แต่ไม่ใช่แค่ทางผ่าน –

Fuzzy House บ้านสองชั้นหลังนี้ ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้พื้นที่ทั้งหมด 350 ตารางเมตร ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ดินเปล่าที่ถูกปล่อยร้างไว้นานหลายปี ในครั้งแรกที่สถาปนิกได้เข้าไปสำรวจพื้นที่ พบว่าหญ้าภายในพื้นที่ถูกแหวกเป็นทางเดิน ซึ่งเป็นทางที่คนในชุมชนใช้เป็นทางผ่านลัดเลาะระหว่างซอย และเมื่อกลับไปสำรวจอีกครั้งในขณะที่เป็นไซท์คนงานให้เช่า ที่สร้างขึ้นมานั้นก็ยังคงเว้นเส้นทางนั้นไว้ เพื่อให้คนในชุมชนได้สัญจรได้เหมือนเดิม จึงเกิดไอเดียที่จะคงความเป็นพื้นที่เดิมนี้เอาไว้ให้ได้มากที่สุด ทั้งทางเดิน และวัชพืช ต้นไม้เล็กๆที่เติบโตอย่างอิสระ

ไดอะแกรมแนวคิดการเริ่มต้นออกแบบบ้าน

– ส่วนตัว ในสาธารณะ –

การที่จะผนวกความเป็นส่วนตัวและสาธารณะเข้าด้วยกัน คงไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะทางเดินที่เปิดให้คนภายนอกเข้ามาใช้เป็นทางสัญจร กับบ้านที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง การเริ่มต้นออกแบบจึงเกิดจากเส้นทางเดินเดิม และการวางบ้านไปด้านหลังสุดของพื้นที่ เพื่อสร้างลำดับทางเข้าบ้านให้ดูส่วนตัวขึ้น และสร้างประตูทางเข้าตัวบ้านให้ดูซับซ้อนขึ้นกว่าบ้านปกติเล็กน้อย

แปลนบ้านชั้นแรก

เมื่อก้าวผ่านประตูสังกะสีเข้ามาแล้ว จะพบกับคอร์ทยาร์ดโล่งที่มีเพียงการจัดสวนจากธรรมชาติ ก่อนที่จะมีบันไดลงไปยังประตูอีกบานที่จะพาเข้าสู่พื้นที่ภายในบ้าน อันดับแรกจะพบกับห้องโถง พื้นที่ซึ่งสามารถใช้ทำกิจกกรมได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน ห้องครัว ห้องกินข้าว โดยไม่ได้ถูกนิยามเจาะจงว่าเป็นห้องใด

โดยการที่พื้นภายในบ้านมีระดับต่ำกว่าภายนอก เพื่อที่จะทำให้ตัวบ้านไม่สูงเกินไป และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นประมาณหนึ่งจากสายตาของคนภายนอกที่มองเข้ามา ซึ่งนอกจากนี้โถงยังเชื่อมต่อกับพื้นที่ทั้งหมดของบ้าน สามารถมองเห็นห้องนอนชั้น 2 และมองเห็นบริบทภายนอก ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถสังเกตการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา

ห้องนอนถูกห้อมล้อมด้วยกระจกใสขนาดใหญ่สองด้าน โดยด้านหน้ามองลงไปยังโถงได้ ส่วนอีกด้านถูกบดบังสายตาไว้ด้วยผนังคอนกรีตแบบ “Double Skin” เพื่อความเป็นส่วนตัวจากภายนอก ในขณะที่แสงสามารถผ่านลงมาได้แบบอินไดเรก

ห้องน้ำชั้นสองของบ้าน

แปลนบ้านชั้นสอง

– เป็นมากกว่าหลังคา –

จุดเด่นอีกหนึ่งจุด ที่มีความคลุมเครือด้านการใช้งานอย่างหลังคา ที่หน้าตาเหมือนรอยหยักคล้ายบันได ซึ่งสถาปนิกได้สร้างสรรค์ให้เป็นดาดฟ้า สามารถขึ้นไปนั่งเล่นลักษณะคล้ายอัฒจันทร์ได้ หรือจะจัดปาร์ตี้เล็กๆก็ได้ เนื่องจากเจ้าของมีเพื่อนเยอะอยู่แล้ว นอกจากนี้หลังคายังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยดึงแสงจากภายนอกเข้ามาภายในบ้านผ่านการเจาะช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆที่เรียงสลับอยู่บนบันไดแต่ละขั้น ทำให้แสงสว่างพื้นที่ภายในบ้านเป็นแสงที่มาจากธรรมชาติเป็นหลัก

ดาดฟ้าของบ้าน Fuzzy House และรูปตัดของบ้าน

ซึ่งเมื่อเดินลงบันไดจากดาดฟ้ามา จะพบกับคอร์ทยาดส่วนตัว ที่ไม่สามารถเข้าจากด้านล่างได้

– ความจริงของวัสดุ –

ด้วยความต้องการของเจ้าของบ้าน ที่ชอบความเป็นเนื้อแท้ของวัสดุอยู่แล้ว เพราะการไม่ปรุงแต่งวัสดุภายในบ้านถือเป็นความสวยงามและธรรมชาติในตัวเองอยู่แล้ว บ้านที่แนวคิดการออกแบบค่อนข้างซับซ้อนและคลุมเครือจึงขอเผยสัจจะวัสดุออกมา โดยใช้คอนกรีตเป็นวัสดุหลักภายในบ้าน นอกจากนี้ยังมีพื้นไม้ที่ห้องนอน เหล็ก และกระจกใสบานใหญ่

“อะไรก็ตามที่ไปให้คำจำกัดความน่าจะเป็นสิ่งที่อธิบายธรรมชาติได้ไม่ดีเท่าไหร่ แต่อะไรก็ตามที่คลุมเครือจะดูเป็นธรรมชาติมากกว่า” หลักการคิดแบบ Fuzzy Logic ที่เจ้าของบ้านและสถาปนิกร่วมกันถ่ายทอดออกมาผ่านงานสถาปัตยกรรมชิ้นนี้ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความธรรมชาติที่สุดในพื้นที่ วัสดุ และการอยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading