OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

9 เหตุผล ที่ทำให้งานสร้างจริง ไม่ตรงกับแบบ

เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงเจ้าของโครงการหรือ owner เท่านั้นที่ควรจะทราบไว้ เพื่อคลี่คลายคำถามว่าทำไมงานสร้างจริงถึงไม่เหมือนกับแบบที่คุยกันมาตลอด แต่ตัวผู้ออกแบบเองก็ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆเหล่านี้ด้วย เพราะมันอาจไม่ใช่เพียงผู้ออกแบบเท่านั้น ที่จะคุมความจริงสุดท้ายเมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ…
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนที่เราคิดว่ามีผลมากที่สุด ใครมีปัจจัยอื่นๆเพิ่มเติมลองมาแชร์กันครับ

เข้าใจภาพสุดท้ายของงานไม่ตรงกัน

ผู้ออกแบบควรทำความเข้าใจกับเจ้าของให้ตรงกัน เห็นภาพตรงกันว่าสุดท้ายแล้วอาคารจะออกมามีหน้าตาอย่างไร

เพราะแม้จะก่อสร้างจริงตามแบบแล้ว 100 % แต่หากเจ้าของนั้นเข้าใจหน้าตาของอาคารไม่ตรงกันกับผู้ออกแบบ เจ้าของบ้านก็จะมองว่ามันสร้างไม่ตรงแบบอยู่ดี

ขาดการคุมงานก่อสร้างที่ดี

แน่นอนครับ ว่าคนที่เข้าใจแบบมากที่สุดคือสถาปนิกหรือนักออกแบบภายใน ผู้คุมงานในที่นี้อาจมีหลายแบบ ทั้งจ้างแยกเพิ่มเติมเพื่อคุมงานก่อสร้างทั้งหมด หรือจะจ้างผู้ออกแบบมาเป็นผู้คุมงานด้วยก็ได้เช่นกัน 

โดยส่วนใหญ่แล้วการจ้างแยกอีกคนหนึ่งเพื่อมาคุมงาน จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ เพราะเป็นหน้าที่ของเขาเอง ที่จะทำให้งานก่อสร้างตรงตามแบบมากที่สุด รวมถึงทำให้งานก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่น

แต่สำหรับโครงการที่ไม่มีผู้คุมงานหรือให้ผู้ออกแบบทำหน้าที่นี่ไปด้วย อาจเกิดการเข้าดูงานขาดช่วงได้ ช่วงที่ไม่ได้เข้าดูงานนั้นเองเป็นช่วงเวลาที่อันตรายที่สุด หากช่างก่อสร้างไปโดยเข้าใจแบบผิดๆ ก่อผนังผิด วางเหล็กผิด บางจุดที่แก้ไขได้ก็โชคดีไป แต่ถ้าแก้ลำบากหรือมีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขมาก บางครั้งก็อาจต้องปล่อยไปและใช้วิธีการแก้ปัญหาหน้างานอื่นๆเข้ามาช่วยแทน เป็นต้น

ออกแบบไม่ integrate กัน ระหว่างงานสถาปัตยกรรม ภายใน และงานวิศวกรรม

integrate หมายถึง การออกแบบที่ไปในทิศทางเดียวกัน มี main concept เดียวกัน พูดง่ายคือพูดภาษาเดียวกันทั้งหมด เพราะส่วนมากคนทำนั้นเป็นคนละคน ถ้างานสถาปัตยกรรมทำแบบหนึ่ง แต่งานภายในต้องการอีกแบบหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบถึงกัน ก็จะทำให้ได้งานที่ขัดแย้งกัน ดูไม่ลงตัวและอาจไม่ตรงตามแบบ

หรือแม้แต่วิศวกร สถาปนิกต้องประสานงานกับวิศวกรอย่างเข้มข้นในช่วงของการออกแบบตัวโครงสร้าง เพื่อให้โครงสร้างและงานระบบนั้นสอดคล้องกับตัวอาคารที่ออกแบบ เช่น อยากได้ห้องยื่นกลางอากาศ 3 เมตร ใน perspective ทำภาพออกมาได้สวยงามเพราะใช้พื้นหนาแค่ 10 เซนติเมตร และไม่ต้องมีเสารับ แต่ถ้าไม่ได้คุยกับวิศวกร วิศวกรก็ไม่ทราบความตั้งใจจึงออกแบบเสามาให้เสียแข็งแรง… แล้วงานจะตรงแบบได้อย่างไร

ซินแส is coming!

ข้อนี้… คงไม่ต้องอธิบายกันมาก
ทางที่ดีที่สุด ควรมาคุยกัน คิดแบบกัน ตั้งแต่ตอนทำแบบไปเลย ไม่ต้องมาแก้หน้างานภายหลัง

จัดสรรงบประมาณไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้น

เพราะงานก่อสร้างอาคารหนึ่งไม่ได้มีแค่งานสถาปัตยกรรมเท่านั้น ยังมีงานตกแต่งภายใน งานจัดสวน หากจัดสรรงบประมาณไม่ดี อาจต้องมีการแก้ไข detail หรือวัสดุ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องส่งผลต่อหน้าตาของอาคารแน่นอน

owner เปลี่ยนแบบ

คำสั้นๆ ที่น่ากลัวเสียจริงๆ
แต่เป็นเรื่องจริงที่ว่า ไม่มีใครมีอำนาจในการตัดสินใจมากไปกว่าเจ้าของโครงการอีกแล้ว หลายครั้งที่ไม่ได้เข้าไซต์ก่อสร้างเพียง 3 วัน กลับไปอีกครั้ง หน้าตาของบ้านนั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว…

หลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งเจ้าของอาคารไม่เข้าใจรูปแบบอาคารของตนจริงๆ เมื่อมาเห็นว่าไม่ได้เป็นแบบที่เข้าใจ ก็สั่งช่างแก้ไขตอนนั้นเลย

การแก้แบบหน้างานเป็นเรื่องปกติครับ แต่จะดีมากๆ หากจะมีการเปลี่ยนใดแล้วแจ้งผู้ออกแบบเสียนิดก่อน ผู้ออกแบบก็จะได้ช่วยดูแนวทางแก้ไข และออกแบบให้ลงตัวมากขึ้น ผลที่ออกมาน่าจะดีกว่าให้ช่างแก้ไขเองหน้างานโดยไม่มีผู้ออกแบบให้คำแนะนำเลย

แบบก่อสร้าง ไม่ละเอียดพอ

แล้วทำไมถึงต้องละเอียด… เพราะยิ่งละเอียดเท่าไหร่ ทุกๆคนในทีมก็จะเข้าใจแบบมากขึ้น คิดราคาตีราคาได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

ยกตัวอย่าง detail ราวบันไดเขียนคร่าวๆว่าเหล็กทำสีดำ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเรื่องการยึดติดกับพื้นหรือผนัง หากช่างไม่ละเอียดพอก็จะตีราคาแต่วัสดุและการติดตั้งแบบธรรมดา แต่เมื่อทำงานจริง ต้องติดตั้งโดยการฝังเพลทเหล็กไว้ที่พื้นและผนังก่อนถึงจะยึดได้ ก็ทำให้การตีราคานั้นคาดเคลื่อน และส่งผลให้ต้องเปลี่ยนแบบเพื่อให้ก่อสร้างได้จริงตามงบที่ตั้ง

มีการเปลี่ยนวัสดุ กระทบถึงรายละเอียดของการก่อสร้าง/ติดตั้ง

ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด การเปลี่ยนวัสดุนั้นมีผลต่อการก่อสร้างไม่มากก็น้อย เช่น เจ้าของอยากได้หลังคากระเบื้องดินเผาแทนของเดิมที่ออกแบบไว้ว่าเป็นกระเบื้องลอน ซึ่งส่งผลต่อแปและความลาดชั้นของหลังคา เพราะกระเบื้องดินเผาหากนำมาปูในองศาของกระเบื้องลอน อาจเกิดการรั่วซึมได้ อีกทั้งระยะแปก็ต่างกันด้วย เป็นต้น

รูป tive ขายฝันเกินไป

ส่วนข้อนี้นั้นเป็นอีกฝั่งของข้อก่อนหน้านี้ ปกติสถาปนิกนั้นทำภาพทัศนียภาพได้สวยงามเสมือนจริง จนบางครั้งก็สวยเกินจริง ทั้งวัสดุ บรรยากาศ แสง เงา และโทนของภาพ 

ถ้าสามารถสร้างให้เหมือนภาพได้ก็จะไม่เกิดปัญหา จึงควรคุยกับเจ้าของให้เข้าใจว่าภาพนี้ ตั้งใจให้ดูอะไร บรรยากาศนั้นจำลองขึ้น โดยต้องอธิบายรายละเอียดของแบบประกอบไป อย่างให้เจ้าของบ้านติดกับรูปภาพ render มากเกินไป

 

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading