OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

เรื่องราวของพื้นที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ภายใต้บ้านโมเดิร์นที่แปลงร่างจากยุค 80’s

26 IVY Park House
Location: แจ้งวัฒนะ, กรุงเทพฯ
Architect: ไกรพล ชัยเนตร Alkhemist Architects
Photograph: Songtam Srinakarin

เบื้องหลังความสวยงามของเส้นสายที่เรียบง่ายของ “26 IVY Park House” คือเรื่องราวในแต่ละพื้นที่ที่เชื่อมโยงกิจกรรม และความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ผ่านการรีโนเวทด้วยฝีมือ คุณดอน ไกรพล ชัยเนตร สถาปนิกแห่ง Alkhemist Architects ผู้รับหน้าที่ปรับเปลี่ยนจากบ้านเดิมที่ไม่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยนัก ให้เป็นบ้านใหม่ที่ลงตัวมากกว่าเดิม

ดูไม่ออกเลยใช่ไหมครับว่าเป็นบ้านรีโนเวท” คุณดอนเริ่มเล่าถึงที่ไปที่มาของการเปลี่ยนแปลงจากบ้านหลังเก่าที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ ซึ่งเป็นบ้านในยุค 80’s มีองค์ประกอบอย่างซุ้มประตู อาร์คโค้งต่างๆ ที่ดูแล้วไม่ใกล้เคียงกับภาพที่อยู่ตรงหน้านี้เลยเหตุเพราะไม่ตอบโจทย์เจ้าของบ้านที่เป็นนักธุรกิจชาวอามาเนียนเท่าไหร่นัก ท้ายที่สุดแล้วจึงถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ตรงตามความต้องการ นั่นคือ บ้านที่มีความโปร่งโล่ง และดูมีเส้นสายแห่งความเรียบง่ายสไตล์โมเดิร์นที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

แต่ก็ใช่ว่าจะไม่หลงเหลือของเดิมไว้เลย เพราะบ้านหลังนี้ ยังคงใช้โครงสร้างเก่ากลายเป็นจุดเริ่มต้นของความท้าทายในการออกแบบทั้งหมด เพราะในขณะที่สถาปนิกเข้ามาดูแลเรื่องการออกแบบบ้านหลังนี้ให้ ทางเจ้าของบ้านได้มีการออกแบบคร่าวๆ มีการทุบกำแพงออกทั้งหมด และประสานงานกับชินแสไว้บ้างแล้ว

โครงสร้างบ้านเดิมหลังทุบกำแพงทิ้งทั้งหมด และสระว่ายน้ำในตำแหน่งเดิม

พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมครอบครัว

สถาปนิกเริ่มต้นศึกษาจากการใช้ชีวิตเจ้าของบ้านจากการพูดคุยว่าเป็นนักธุรกิจ ที่ในช่วงสุดสัปดาห์จะใช้เวลาอยู่กับครอบครัวที่บ้าน และครอบครัวชอบทำกิจกรรมภายนอก อย่างการออกกำลังกาย ว่ายน้ำ จัดงานสังสรรค์ต้อนรับเพื่อนและแขกต่างๆที่มาเยือน ซึ่งการออกแบบจึงเป็นไปในแนวทางที่สร้างพื้นที่ที่ส่งเสริมให้ทุกสมาชิกในครอบครัวออกมาใช้ชีวิตภายนอกได้มากขึ้น โดยวางสระว่ายน้ำให้เป็นศูนย์กลางของบ้าน โดยเปลี่ยนจากเดิมเป็นแนวโค้งให้เป็นแนวตรง พร้อมสร้างพื้นที่กึ่งภายในภายนอก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โอบรับกับสระว่ายน้ำ

พื้นที่ Semi-outdoor ที่มีพื้นที่นั่งเล่น และครัวเล็กๆ เตาอบพิซซ่า รองรับสำหรับการจัดงานปาร์ตี้ต่างๆ

ส่วนกึ่งภายในภายนอก ที่ต่อเติมออกมาจากส่วนโครงสร้างเดิมเป็นโครงสร้างเหล็ก

เชื่อมต่อทั้งภายในและภายนอก

การต่อเติมและวางผังพื้นที่จากบ้านเดิมออกมา ขยับขยายกลายเป็นบ้านกึ่งตัวยูที่โอบล้อมพื้นที่สระว่ายน้ำ ที่เป็นดั่งหัวใจหลักของบ้านหลังนี้ ซึ่งนอกจากพื้นที่ภายในบ้านจะเชื่อมต่อกันแล้ว สถาปนิกยังออกแบบให้มีพื้นที่กึ่งภายนอก หรือระเบียงทอดยาวจากฝั่งซ้ายสุดของบ้านมายังขวาสุดของบ้านได้อีกด้วย ซึ่งหลังคาที่ปกคลุมทางเดินระเบียงนั้นยังเป็นเสมือนหลังคาสร้างร่มเงาให้กับพื้นที่ภายในบ้านที่ค่อนข้างโปร่งโล่งด้วยกระจกทั้งหมดในเวลากลางวัน

แปลนบ้านชั้นล่าง

“ฟังก์ชันมีมาอยู่แล้ว บวกกับความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ย ทำให้ไม่สามารถขยับขยายตำแหน่งฟังก์ชันได้มากนัก เป็นความท้าทายของผมที่ต้องทำให้บ้านดูเรียบขึ้น โปร่งขึ้น ไหลลื่นขึ้นให้ได้” การรับช่วงต่อของสถาปนิกที่เข้ามาเคลียร์เส้นสายของสถาปัตยกรรมให้เคลียร์ ลดเหลี่ยมมุมต่างๆให้ดูใช้งานได้ง่ายขึ้น อย่างการวางห้องนอนในชั้น 2 โดยใช้ระบบการวางเป็นทางเดินทางเดียวหรือ Single load corridor ทำให้ทุกห้องนอนมีช่องเปิดมองเห็นสวนที่อยู่ทางทิศตะวันออกได้หมดทุกห้อง ทั้งยังตำแหน่งถูกต้องตามฮวงจุ้ยอีกด้วย

เก่าและใหม่ ผสมผสานให้ลงตัว

โครงสร้างที่ใช้ส่วนเดิมเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนส่วนที่ต่อเติมออกมาจากโครงสร้างเดิม จะเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก จะมีเฉพาะพื้นที่กึ่งภายในภายนอกที่เชื่อมต่อกับสระว่ายน้ำใช้ฐานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกเหนือจากนั้นโครงสร้างเสาและคานต่างๆเป็นโครงสร้างเหล็กทั้งหมด

แปลนไดอะแกรมที่แสดงระหว่างส่วนที่เป็นโครงสร้างเดิม และโครงสร้างใหม่

ส่วนห้องรับแขกที่เป็นโครงสร้างเดิม

ภายในบ้านเน้นโทนสีอ่อน เพื่อให้บ้านดูโปร่งโล่งสบายมากยิ่งขึ้น

“ตั้งแต่เขาใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังนี้ ทุกเสาร์อาทิตย์ จะจัดปาร์ตี้กับเพื่อนบ้าน หรือต้อนรับเพื่อนๆของลูกๆอยู่ตลอดเวลาเลย” คุณดอน สถาปนิกกล่าวกับเราว่าได้กลับไปเยี่ยมบ้าน หลังจากที่เจ้าของบ้านอยู่มาประมาณ 3 เดือน ซึ่งในการวางผังหรือสิ่งที่เราออกแบบมามันทำให้เขามีความสุข สนุกกับการใช้ชีวิตภายนอกมากขึ้นอย่างที่เขาฝันไว้ ก้รู้สึกดีใจอย่างบอกไม่ถูก

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading