มีเสียงร่ำลือหนาหูว่าการเป็นสถาปนิกนั้นแสนยากลำบาก ต้องอดหลับอดนอน ทำงานยันสว่างกันหลายวันติด เป็นที่หวาดหวั่นของคนที่กำลัง(คิดที่จะ)ก้าวเข้าสู่อาชีพนี้ไปตาม ๆ กัน… แล้วแท้จริงล่ะ สถาปนิกต้องมีตาแพนด้าทุกคนมั้ย วันนี้เราไปแอบถามสถาปนิกไทย 12 คนที่มีผลงานโดดเด่นและมีประสบการณ์ในวิชาชีพนี้มาแล้วนับ10 ปี ว่าเค้าทำงานอย่างไร แบ่งเวลายังไง และที่สำคัญ “นอนกี่โมง?”
แล้วคุณล่ะ นอนกี่โมงกันบ้าง บอกที…
ผศ.ธีรชัย ลี้สุรพลานนท์
อาจารย์ภาควิชาสถาปัตยกรรมแ
ก่อนอื่นขอแยกแยะระหว่างคำว
สองคำนี้ฟังผิวเผินอาจดูคล้
จริงหรือ?ที่คนเราทุกคนต้อง
คนทำงานด้านสถาปัตย์ ส่วนใหญ่เป็นประเภทหมาป่า?
หมาป่า คือสัตว์ที่จะออกหากินในเวล
ดังนั้น การนอนดึก จึงอาจไม่ใช่ปัญหา ถ้าเรารู้ศักยภาพของร่างกาย
ประพันธ์ นภาวงศ์ดี
Shma Company Limited
อาชีพสถาปนิกเป็นวิชาชีพที่
เอาจริงๆแล้วคิดว่าสิ่งที่ท
และในยุค Disruption ที่อะไรๆก็เปลี่ยนแปลงเร็วม
เอกภาพ ดวงแก้ว
EKAR
“สถาปนิกไม่ใช่วิธีการทำอาช
แต่เหตุของมันที่แท้จริงแล้
วิถีชีวิตของสถาปนิกที่ทุ่ม
ซึ่งมันอาจพอเหมาะพอดีกับช่
ทีนี้ พอโตขึ้น มันก็ยังทุ่มเทเหมือนเดิม แต่แค่มันต้องรับผิดชอบกับเ
ตอนเรียน อาจคิดว่า โปรเจค เสร็จแล้วมีปิดเทอมค่อยมีเว
แต่ “วิถีสถาปนิก” นั้น มันไม่มีวันหยุดอีกต่อไปหยุ
แต่วิถีของอาชีพเรา 1 ฤดูกาลมันก็คือทั้ง 1 ชีวิตเท่านั้นเอง
ปองพล ยุทธรัตน์
เฮ็ด ดีไซน์สตูดิโอ
ไม่เห็นด้วยเลยครับ สถาปนิกไม่จำเป็นต้องนอนดึก
พัชระ วงศ์บุญสิน
POAR (Patchara + Ornnicha Architecture co.,ltd)
เราเชื่อว่าการออกแบบ/
ไพทยา บัญชากิติคุณ
atom design
มีทั้งนอนมาก-น้อย นอนค่ำ-เช้า ผสมกันไปมีหลายปัจจัย การจัดการเวลาเป็นหนึ่งในสิ
ชุติ ศรีสงวนวิลาส
Black Pencils Stuido
“อันนั้นน่าจะเป็นความคิดสม
แต่พอเริ่มทำงานที่เป็นอาชี
เพราะฉะนั้นเวลาการทำงานปกต
P.O.P. studio

Rice Popper Design Studio
ความคิดเห็นคงไม่มีครับ เพราะแต่ละคนคงมีเงื่อนไขเวลาในการดำเนินชีวิตน่าจะต่างกันไป แต่ขอเล่าประสบการณ์ที่ประสบเจอเอง เมื่อสมัยก่อนก็อดนอนเหมือนที่คนอื่นพูดกันนะครับ ยิ่งสมัยยังไม่มีออฟฟิศ ทำงานเองคนเดียวนี่หนักเลย คือ เริ่มทำงาน 3 ทุ่ม ลากยาวไปถึง ตี 4 บ้าง เพราะมันเงียบมีสมาธิไม่มีใครกวนทำงานได้เยอะ บางวันเพลินเช้าแล้วค่อยนอนบ้าง ตื่น 11 โมง กินมื้อเที่ยงเป็นมื้อเช้า คือ พอมันทำประจำก็กลายเป็นชีวิตประจำวันปกติ อายุน้อยร่างกายยังแข็งแรงอยู่
หลังจากมาสอนหนังสือเมื่อสัก 10 กว่าปีที่ผ่านมา ก็เริ่มปรับเวลาบางวันต้องตื่นเช้าขึ้นบางวันก็นอนไม่พอ จะนอนก็นอนไม่หลับ พอตารางชีวิตมันไม่สม่ำเสมอ ก็เริ่มรู้แล้วว่ามันทำแบบนี้ไม่ได้ ไม่ดีเพราะหลับในตอนรถติดบ้าง อ่อนเพลีย เวียนหัวประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ ร่างกายมันรวน เป็นภูมิแพ้หนักมาก เลยปรับตัวหลังจากนั้น ตอนทำงานออฟฟิศ และเปิดออฟฟิศนี่เป็นอะไรที่ดีขึ้นเลย เพราะคนอื่นต้องทำงานกับเรา ต้องจัดการเวลาร่วมกันตกลงกัน คือ พี่บอกเลยว่าไม่ได้กำหนดเวลาเข้างานแบบเป๊ะๆ ของานเสร็จตามเวลา และมีเวลาที่ทำงานร่วมกันมากน้อยแค่ไหน เพราะมีงานหลายส่วนที่ต้องทำงานเป็นทีม
แต่หลังจากมีลูกปุ๊บ ออฟฟิศนี่ต้องปรับตัวหนักอีกรอบเพราะพี่ และภรรยา (สถาปนิกเหมือนกัน) มีแผนพาลูกไปเลี้ยงต่างจังหวัด เลยพยายามลอง WFH มานับจากนั้น นี่ก็เข้าปีที่ 4 แล้ว ก่อน WFH ช่วง Covid-19 กัน พวกเรามีความเชื่อเรื่องการทำงานในสภาพแวดล้อมแบบนี้ว่าเป็นจะน่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนในอนาคต เพราะภรรยาเคยทำวิจัยเรื่องปัจจัยการย้ายตัวออกจากเมืองของคนในอนาคต ว่างาน ที่พักอาศัย ชีวิต มันจะมีปัจจัยเงื่อนไขในการตัดสินใจ ย้ายออกมาได้อย่างไร แล้วเราเลยตัดสินลองทำตามนั้นดู เพราะบ้านภรรยาที่อุดรธานีค่อนข้างมีปัจจัยเงื่อนไขครบตามงานวิจัย พอย้ายมาก็เริ่มชีวิตเปลี่ยนไปแบบสุดขั้วเลย ความเครียด การนอนดีขึ้นมาก ไม่ต้องคิดวางแผนการเดินทาง ไมเกรน ภูมิแพ้หายไปเลย ก็เลยค่อยๆ ปรับตัวมากขึ้นจากนั้น ส่วนทุกวันนี้ตารางชีวิตประจำวันไม่ค่อยแน่นอนแต่ส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆ ที่ลองลิสไว้ใน Timeline แต่ไม่ใช่ตารางตอนเป็นพ่อลูกอ่อนนะ

ACA Architects
“ผมมองว่ามันอยู่ที่การวางแผนงาน และการจัดการของเรามากกว่า การที่อยากให้งานออกมาดี เราจะให้เวลากับงานมากขึ้น แต่ก็ต้อง balance เวลาการทำงานและเวลาใช้ชีวิตด้วย เพราะงานที่ดีเกิดจากการสร้างสรรค์ “ด้วยสภาพร่างกายและจิตใจที่ดี”

CONTEXT STUDIO
“ส่วนตัวคิดว่าการเป็นสถาปนิก ไม่จำเป็นต้องอดนอนตลอดเวลาครับ ถ้าเรารู้จักบริหารเวลาให้ถูกต้อง โดยเริ่มวางแผนงานตั้งแต่วันที่เราได้รับมอบหมายงาน ว่าต้องส่งงานให้ลูกค้า /อาจารย์ วันไหน มีเวลาทำงานกี่วัน และจะบริหารเวลาที่มีอยู่ยังไง ใช้เวลาทำ Concept กี่อาทิตย์ ใช้เวลาทำ 3D renderings กี่อาทิตย์ ใช้เวลาทำแบบก่อสร้างกี่อาทิตย์
ส่วนตัวผมชอบทำงานออกแบบตอนกลางคืน เพราะบรรยากาศที่เงียบ มีสมาธิทำงานได้ลื่นไหล ปราศจากสิ่งรบกวนต่างๆ หรือไม่ต้องรับโทรศัพท์ขัดจังหวะการทำงาน

Studiomiti
ส่วนตัวคิดว่าไม่มีใครที่อยากจะทำร้ายตัวเองด้วยการนอนดึก
แต่น่าจะเป็นเพราะงานของสถาปนิก เป็นงานที่ต้องใช้ความคิด และจินตนาการ เพื่อที่จะแก้ปัญหาการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ ดังนั้นแต่ละโปรเจ็คจึงมีการค้นคว้า และทดลองหาความเป็นไปได้ในหลายๆวิธีการ จึงทำให้ใช้เวลาไปกับส่วนนี้เยอะ
อีกทั้งยังมีช่วงเวลาที่ต้องทำ product ซึ่งก็ประกอบกันหลายส่วน ทั้งทำแปลน ภาพทัศนียภาพ รูปตัด ซึ่งยังต้องมีการปรับแก้ไข ให้ตรงกับความคิดแรก นั่นเลยเป็นผลให้สถาปนิก มีเวลาพักผ่อนที่น้อยลง
แต่ทั้งนั้น ขึ้นอยู่ที่การเรียนรู้ ประสบการณ์ และการพัฒนาตัวเองของสถาปนิกแต่ละท่านด้วย เพื่อที่จะสามารถจัดการเวลาให้ดี โดยที่มีพักผ่อนเพียงพอกับตัวเองได้อย่างไร ส่วนใหญ่เข้านอนเวลา ก่อนเที่ยงคืน และหลับประมาณ 00.30
ส่วนตัวพยายามจะนอนให้ได้ 7 ชั่วโมงต่อวัน เป็นอย่างน้อย และพยายามไม่โหมทำงานหนัก แต่วางแผนให้ทำงานให้ได้ประสิทธิภาพทุกวันเป็นประจำ
***ออฟฟิศของมิติ อยู่ในโซนรถติด จึงมีเวลาให้น้องเดินทางโดยเริ่มทำงานสายหน่อย แต่เลิกค่ำ เพื่อเลี่ยงรถติด