แจก Architecture Wallpapers เปลี่ยนพื้นหลังเพิ่ม “ความเต็ค” จาก Dsign Something

นอกจากคอนเทนต์สถาปัตยกรรมที่เราตั้งใจนำมาถ่ายทอดเรื่องราวให้ทุกคนอ่าน ‘ภาพถ่าย’ ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่เราตั้งใจอยากจะนำเสนอผลงานสถาปัตยกรรมน่าสนใจมากมายมาไว้ให้ทุกคนได้รับชม ทีม Dsign Something จึงขอรวบรวมผลงานภาพถ่ายสถาปัตยกรรมจากมุมมองของช่างภาพในทีมของเรา มาให้ทุกคนได้เลือกโหลดไปใช้เป็นภาพหน้าจอมือถือ คอมพิวเตอร์ หรือจะใช้เป็นพื้นหลังเวลาประชุมงานผ่านวิดีโอคอลก็ไม่ว่ากัน… พร้อมแล้วก็กดที่รูปเพื่อขยายภาพ และเซฟกันไปได้เล้ยย!

ห้องสมุดสถาปัตย์ จุฬาฯ ผลงานออกแบบโดย DEPARTMENT OF ARCHITECTURE

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป บทบาทของพื้นที่ห้องสมุดที่ตอบสนองต่อการใช้งานของคนในยุคปัจจุบันย่อมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จากประเด็นเหล่านี้ จึงเกิดการรีโนเวทพื้นที่ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ โดยได้ทีมสถาปนิกจาก DEPARTMENT OF ARCHITECTURE มามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

FARMSUP HOUSE ผลงานออกแบบโดย I like design studio

ในวันที่วิถีคนเมืองเริ่มอิ่มตัว ความสงบเงียบท่ามกลางธรรมชาติคือสิ่งที่หลายคนตามหา คุณศุภ – ศุภรัฐ ทิมจันทร์ และ คุณปู – ชลียา วามสิงห์ ต่างก็คิดเช่นเดียวกัน ก่อนจะหลบหลีกวิถีชีวิตที่วุ่นวายออกมาสร้างวันที่แสนเรียบง่ายในบ้าน FARMSUP แถบชานเมืองจังหวัดปทุมธานี โดยได้สถาปนิกคนสนิทอย่าง คุณเบนซ์ – ณฤชา คูวัฒนาภาศิริ จาก I like design studio มาเป็นผู้ออกแบบความพอดีและเชื่อมโยงความเรียบง่ายที่แตกต่างให้เป็นหนึ่งเดียว

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

House Enfold ผลงานออกแบบโดย TOUCH Architect

ความสำคัญในการออกแบบบ้านสักหนึ่งหลังนั้นคืออะไร? คำตอบที่ผู้ออกแบบมักตอบตรงกันคือ บ้านจะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้อยู่อาศัย บ้านที่ดีจึงไม่เพียงแต่ถูกใจผู้ออกแบบเท่านั้น แต่ต้องเป็นบ้านที่ใส่ใจโจทย์จากทางเจ้าของเพื่อให้การอยู่อาศัยเป็นไปอย่างสมบูรณ์มากที่สุด เช่นเดียวกับบ้าน House Enfold หลังนี้ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการอันหลากหลายของเจ้าของผสมผสานกับงานออกแบบเพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มความสวยงามให้บ้านได้อย่างลงตัว

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

Niran.Apartment ผลงานออกแบบโดย RAD Studios

ถ้าพูดถึงชีวิตการเรียนมหาวิทยาลัย หนึ่งในสิ่งที่มักถูกพูดถึงนั่นก็คือ ‘หอพักนักศึกษา’ ซึ่งภาพจำของหอพักนักศึกษาของหลายๆ คนคงไม่ได้สวยหรู บางทีอาจจะเป็นเพียงห้องพักห้องเล็กๆ อพาร์ทเมนท์ หรืออาคารง่ายๆ อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยสามารถเดินทางสะดวก แต่ Niran.Apartment กลับเป็นมากกว่านั้น เป็นหอพักที่ใส่ใจทั้งชีวิตและการอยู่อาศัยของนักศึกษา รวมถึงชุมชนที่อยู่โดยรอบ เพื่อให้สถาปัตยกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นมีหน้าที่เอื้อประโยชน์อื่นมากกว่าการเป็นห้องพัก

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

Patom Organic Café ผลงานออกแบบโดย NITAPROW

ด้วยความต้องการปรับปรุงธุรกิจให้เข้ากับวิถีการท่องเที่ยวในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ทายาทรุ่นที่สามของสวนสามพรานจึงริเริ่มโปรเจกต์เปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่เคยเป็นด้านหลังโครงการให้กลายเป็นทางเข้าหลัก และออกแบบ Patom Organic Café คาเฟ่ออร์แกนิคเรือนกระจกโดยมี ‘คุณนิษฐา ยุวบูรณ์ และคุณพราว พุทธิธรกุล’ สถาปนิกจาก NITAPROW ช่วยออกแบบผังบริเวณต้อนรับผู้มาเยือนสวนสามพรานใหม่นี้ให้ลงตัวและสวยงามขึ้นกว่าเดิม

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

PK House ผลงานออกแบบโดย Spc technocons co.ltd.

การใส่ความชอบหรือสไตล์ของเจ้าของบ้านเข้าไปด้วย นอกจากจะให้ความรู้สึกสวยงามเวลาอยู่อาศัยแล้ว ยังทำให้รู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งกับพื้นที่เหล่านั้น เช่นเดียวกับ คุณต่อโชค จุลสุคนธ์ เจ้าของบ้านและผู้ออกแบบจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง Spc technocons co.ltd. ซึ่งออกแบบโดยนำภาพจำจากบ้านที่ตนเองชอบ มาดัดแปลงผสมผสานไปกับความชอบส่วนตัว จนเกิดเป็นบ้าน PK House หลังนี้

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

Sleepless Residence ผลงานออกแบบโดย WARchitect

Sleepless Residence เปรียบเสมือนบ้านที่เติมแต่งความฝันให้เป็นจริงของคุณหนึ่ง-ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ โดยใส่โจทย์ของความเป็นตัวเอง ความต้องการฟังก์ชัน จนออกมาเป็นบ้านสไตล์ลอฟท์ ที่แฝงด้วยรายละเอียดมากมาย และมีสเปซที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกถึงการพักผ่อนอย่างเต็มที่ เหมือนได้ไปเที่ยวในทุกๆ วัน โดยได้คุณวิน-ธาวิน หาญบุญเศรษฐ สถาปนิกจาก WARchitect เป็นผู้ออกแบบ

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

SOP ผลงานออกแบบโดย Backyard Architect

ไม่ใช่แค่ ‘คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง’ แต่ที่ราชบุรี อำเภอโพธาราม ยังเป็นสถานที่ตั้งของสถาปัตยกรรมที่งดงามอย่าง SOP Café คาเฟ่สีสนิมที่คุณตี๋ – มิตรชัย พงศ์เนตรวิไล ตั้งใจแบ่งปันวิวสวย เปิดเผยความเป็นธรรมชาติสู่สาธารณะ เพื่อให้ผู้คนได้เข้ามาสัมผัสความงดงาม รับรู้ได้ถึงเรื่องราวและอารมณ์ที่อบอวลอยู่ภายในร้านกาแฟสุดเท่แห่งนี้ สอดคล้องกับชื่อร้าน SOP หรือความหมายแฝงอย่าง ‘Sense of Place’

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

The Roof House ผลงานออกแบบโดย Looklen Architects

The Roof House บ้านชั้นเดียวที่ตั้งอยู่เคียงข้างบ้านหลังเดิมของทางเจ้าของ โดย คุณต้น-ณัฐพล เตโชพิชญ์ สถาปนิกจาก Looklen Architects ได้เข้ามาปรับเปลี่ยนพื้นที่ 16×16 เมตร ให้กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่เปรียบเสมือน ‘Pavilion (ศาลา)’ สำหรับพักผ่อนภายในครอบครัว โดยนำเรื่องความโปร่ง โล่ง ธรรมชาติ และความอบอุ่น มาเป็นแนวคิดหลักของสถาปัตยกรรมที่เราเห็น

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

Tiny Museum ผลงานออกแบบโดย WALLLASIA

Tiny Museum ไม่เพียงแต่เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทำหน้าที่จัดแสดงและเก็บรักษาสมบัติล้ำค่าอันเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่ยังเปรียบเสมือนประตูที่เปิดไปสู่โลกอีกใบที่ตั้งใจเชื่อมโยงระหว่างคุณค่าอันงดงามของเรื่องราวในอดีตกับคนรุ่นใหม่เข้าไว้ด้วยกัน

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

MAC&HAM HOUSE ผลงานออกแบบโดย WALLLASIA

“สวนและศาลาสำหรับพักผ่อน ” ความต้องการตั้งต้นของเจ้าของบ้านก่อนเรื่องราวจะถูกขยายออกมาอย่างอบอุ่น สู่การเป็นบ้าน MAC&HAM HOUSE ที่ยังคงบริบทของความเป็นศาลา หรือพื้นที่สำหรับช่วงเวลาของการพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ โดยได้ทีมออกแบบที่สนิทสนมและเข้าใจวิถีของธรรมชาติอย่าง Walllasia Ltd. เข้ามาเป็นผู้ปะติดปะต่อความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

With.It Home ผลงานออกแบบโดย BodinChapa Architects

คงจะดีไม่น้อยหาก ‘บ้าน’ ช่วยสร้างความรู้สึกอันแสนพิเศษเมื่ออยู่อาศัยในที่ที่เราสามารถแสดงตัวตนได้อย่างเต็มที่ คุณบดินทร์ เมืองลือ และ คุณพิชชาภา โล่ห์ทอง สองสถาปนิกจาก BodinChapa Architects จึงให้ความสำคัญเรื่องไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่ศัย ซึ่งโจทย์สำคัญของการรีโนเวทบ้าน With.It Home หลังนี้

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่

House 41 ผลงานออกแบบโดย คุณวัฒน์และคุณคณิต คุปตะวาทิน

จุดเริ่มต้นจากบ้านไม้หลังเดิมที่อยู่อาศัยมานานเริ่มผุพัง ทำให้ครอบครัวคุปตะวาทิน มองหาพื้นที่แห่งใหม่ เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์และสามารถรองรับสมาชิกในครอบครัวทั้ง 5 คนได้อย่างเหมาะสม ‘คุณวัฒน์ คุปตะวาทิน’ ในฐานะลูกชายคนโตของบ้านและสถาปนิกหนุ่ม จึงรับหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการออกแบบบ้านหลังนี้ร่วมกับน้องชาย ‘คุณคณิต คุปตะวาทิน’ ผู้ทำงานในวงการสถาปัตยกรรมเช่นกัน โดยหยิบองค์ประกอบ วัสดุ เฟอร์นิเจอร์จากบ้านหลังเดิมมาเป็นวัตถุดิบในการปรุงแต่งบ้านหลังใหม่ให้มีกลิ่นอายของทรอปิคัลสุดคลาสสิค และทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นพื้นที่แห่งความสุขของครอบครัวอย่างสมบูรณ์แบบ

อ่านบทความเต็ม ๆ ที่นี่