เส้นโค้งของฝ้าเพดานยาวจรดผนังอาคารที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้โครงการมีความเป็นธรรมชาติ ตัดกับบรรยากาศและความเป็นระเบียบของเมืองรอบข้างอย่างตั้งใจ พร้อมด้วยแสงธรรมชาติจากภายนอก เเละแสงหลอกไฟที่ซ่อนไว้ตามแนวผนังกับฝ้าให้ความสว่างที่ไม่รบกวนสายตาผู้เล่นโยคะ โดยเฉพาะท่าเงยหน้า เพราะโยคะเป็นกิจกรรมที่คนได้ใกล้ชิดกับพื้นที่ ทั้งทางการรับรู้โดยสายตาและการสัมผัส ดังนั้นสีและผิวสัมผัสของวัสดุทั้งหมดในโครงการจะถูกออกแบบให้ใช้สีที่สบายตา และมีการใช้การไล่ระดับความหยาบของผิวสัมผัสจากภายนอกสู่ภายใน
ฟื้นฟูร่างกายจากภายในและภายนอก
Atha yoga studio เริ่มต้นจากไอเดียของคุณแพร ผู้เป็นเจ้าของที่อยากให้มี Yoga studio ติดกับ Gym เพื่อเวลาคนที่ใช้กล้ามเนื้อตอนเทรนได้มายืดหยุ่นร่างกายต่อ พอคิดว่า Yoga studio เป็นสิ่งที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายเเล้วก็อยากจะให้มี Cafe ที่ผลิตอาหารที่ดีกับร่างการเพื่อประกอบการเรียนโยคะที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกายภายนอกควบคู่ไปกับฟื้นฟูร่างกายจากภายในออกมาเป็น Atha สตูดิโอโยคะขนาดกะทัดรัดที่แทรกตัวอยู่ในย่านใจกลางเมืองติดรถไฟฟ้า เดินทางมาสะดวกและมีที่จอดรถ เลยนำไปสู่การเลือกโลเคชั่นที่คอนโด Noble remix ทองหล่อ ที่รวมเอาทั้ง Yoga Studio และ Plant base Café มาไว้ในพื้นที่ขนาด 250 ตารางเมตร
ตัดความวุ่นวาย เติมความผ่อนคลาย
นอกเหนือจากการที่มาเล่นโยคะเพื่อเป็นการออกกำลังกายกายแล้ว ทีมออกแบบยังต้องการให้สตูดิโอนี้เข้ามาแล้วรู้สึกผ่อนคลาย สงบ และปรับอารมณ์จากความวุ่นวายภายนอก ทำให้มีสมาธิมากขึ้น โดยการดีไซน์สเปซร่วมกับการใช้ไฟซ่อนเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้บรรยากาศในสตูดิโอรู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด อย่างเช่นในห้องเก็บรองเท้าที่เป็นเหมือนถ้ำซ่อนไฟกับพื้นให้ทิศทางการให้เเสงสว่างเเตกต่างจากโถงด้านนอก เพื่อเป็น “Transition space” พื้นที่เปลี่ยนผ่านปรับอารมณ์ก่อนเข้าไปสู่ห้อง SURYA ซึ่งเป็นห้องสตูดิโอโยคะหลัก ซึ่งเเรงบันดาลใจเเละไอเดียการออกแบบหลักๆ ก็มาจากความเป็นธรรมชาตินั่นเอง
“เพราะแต่เดิมพื้นที่นี้มันค่อนข้างเป็นเมือง แท่งตึกสูงใจกลางเมืองที่อยู่กันอย่างแออัด ทุกอย่างเป็น Grid System ไปหมด หรือไม่ก็จะไร้รูปเเบบไปเลยอย่างเช่นสายไฟที่มองเห็นจากหน้าอาคาร ทีมออกแบบเลยอยากออกแบบที่จะช่วยเปลี่ยนอารณ์ตรงนี้ได้ไม่มากก็น้อย และด้วยพื้นที่ที่ค่อนข้างจำกัด จึงต้องวางฟังก์ชั่นติดกันเลยในเเต่ละฟังก์ชั่น จะต้องเชื่อมต่อเเต่ละฟังก์ชันอย่างไรให้ตอบโจทย์การใช้งาน คำตอบก็เลยมาจบที่ความโค้ง เส้นโค้งที่นอกจากช่วยสร้างการเชื่อมต่อพื้นที่ ที่เล็กเเละเเคบให้เชื่อมต่อกันได้ดีเเล้ว ยังช่วยให้เเต่ละฟังก์ชั่น เกิดการเชื่อมเเต่เเบบต่อเนื่อง กันดีกว่า เเล้วก็ล้อเลียนกับ sense ความต่อเนื่องของท่าฝึกโยคะพอดีจึงถือเป็น Concept หลักในการออกเเบบงานนี้ที่ออกมาลงตัวมากๆ”
คู่กันเหมือนสุริยัน-จันทรา
ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ให้เช่า ซึ่งมีโถงทางเดินภายในของคอนโดตัดผ่านตรงกลาง ทำให้สตูดิโอโยคะเเบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่ง Main studio จะเป็นฝั่งที่มีวิวเเละช่องเเสงธรรมชาติจากนอกอาคารเข้ามา ออกแบบสตูดิโอเเละส่วน Cafe ที่ฝั่งนี้ให้มีการรับรู้ถึงห้วงเวลาจากนอกอาคาร โดยการรับรู้นี้จะเห็นได้จากหน้าต่างอาคาร เเละช่องกระจกโค้งที่มุมหลังห้องเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับส่วน Cafe เราจึงตั้งชื่อ Studio ฝั่งนี้ว่า SURYA (Main Studio)
ส่วนสตูดิโออีกฝั่งของโถงทางเดินด้วยข้อจำกัดเรื่องขนาดพิ้นที่การใช้งานเเละการที่ช่องเปิดด้านหน้าของ Studio ฝั่งนี้จะหันหน้าเข้าใส่โถงทางเดินภายในของคอนโด จึงออกเเบบพื้นที่ให้ล้อเลียนกับอีกฝั่ง โดยให้พื้นที่ฝั่งนี้เป็นห้องอาบน้ำเเละ Studio Private Class จนเกิดเป็นคอนเซ็ปต์ในการสร้าง Facade ภายในงาน Interior อีกที เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาใช้งานมุ่งความสนใจเเต่ใน Studio ถูกออกแบบผนัง Facade เป็นโพลีคาร์บอเนตเพื่อพลางสายตาจากสิ่งรบกวนด้านนอก มีเพียงช่องเล็กๆ ตรงพื้นสูง 45 ซม. ที่ถูกออกแบบมาให้เห็นนอกห้องได้ เพื่อที่จะควบคุม เเละสร้างความพิเศษของ Class Private ได้ เเละคนที่เดินผ่านไปผ่านมาจะได้ไม่รบกวนผู้ฝึก จึงเป็นที่มาของชื่อห้อง Private Studio ที่ชื่อ Chandra เเละ Anata
ถ้าฝั่ง Main studio คือสตูดิโอฝั่งที่ต้องพึ่งพาเเสงสว่างเเละการรับรู้จากภายนอก สตูดิโอฝั่ง Private studio ก็คือสตูดิโอฝั่งที่ต้อง Control เเละเรียนรู้จากด้านใน โดยลดปัจจัยจากภายนอกที่จะเข้ามารบกวนนั่นเอง
ธรรมชาติที่นุ่มนวล ชวนผ่อนคลาย
วัสดุที่ใช้หลักๆ ที่เลือกใช้ คือเป็นไปตามคอนเซ็ปท์ที่คิดไว้ว่าอยากให้วัสดุที่ใช้ด้านนอกมีผิวสัมผัสที่ขรุขระและเมื่อเดินเข้าไปสู่ด้านในผิวสัมผัสของวัสดุจะค่อยๆ ละเอียดขึ้น ที่จะช่วยปรับเปลี่ยนความรู้สึกของผู้คนที่เข้ามาใช้งานให้รู้สึกค่อยๆ ผ่อนคลายขึ้น จัดวางไปตามความเหมาะสมของการใช้งานในแต่ละห้อง ส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่เลือกใช้ก็ให้สอดคล้องกับ Space เก้าอี้ที่ใช้เลือกที่มีความโค้งเว้ามีความ Feminine แบบผู้หญิงที่อ่อนช้อยละมุนละไม ผสมผสานกับโต๊ะไม้ที่ให้ความสวยงามเป็นธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น
พื้นที่ที่อยากชวนคุณมาสัมผัส
“ถ้าถามถึงส่วนที่อยากให้ลองมาสัมผัสเป็นพิเศษ เเน่นอนว่าเป็นตัวห้อง Transition space (ห้องเก็บรองเท้า) ที่ถูกก่อตัวห้อมล้อมผู้พักคอยเอาไว้ด้วยรูปทรงและช่องเปิดโค้งเว้า ทำหน้าที่เป็นห้องเก็บรองเท้าเเละเป็นโถงพักคอย ช่วยปรับอารมณ์ให้เกิดสมาธิ เตรียมตัวโฟกัสแก่คนที่จะเข้าสู่ห้องสตูดิโอโยคะ เพราะมันคือพระเอกของงานเลย แต่ความจริงแล้วมีอีกหนึ่งตัวเลือกที่ทางทีมออกแบบชอบกันมากๆ ด้วยเหมือนกัน สำหรับการออกแบบห้องโยคะ เพราะห้องโยคะสตูดิจะต้องคำนึงถึงท่าเล่นโยคะ ซึ่งมีท่าที่ต้องเงยหน้ามองฝ้าเพดาน ทำให้งานนี้ไม่สามารถ ใช้ไฟ Direct Light โดยตรงได้จึงต้องหันไปใช้วิธี ซ่อนไปกับผนัง หรืออัดไฟใส่ฝ้าเพดานให้เเสงมัน สะท้อนลงมาเเทนเพื่อไม่ให้เเสงเเยงตาผู้ใช้งานนี่จึงเป็นโจทย์ ที่ทำให้ห้อง Studio ออกมาหน้าตาเเบบนี้ ซึ่งเเต่ละห้องก็จะมีการจัดวางเเละการออกแบบพื้นที่เเตกต่างกันไปตามการใช้งานเเละขนาดของห้อง”
ความโค้งที่คนต้องคราฟต์
“การทำผนังโค้งเป็นความยากอันดับ 1 ของงานนี้เลย เพราะมีหลายจุดที่ความโค้งไปเจอกับความโค้งมันทำให้การจบงานค่อนข้างยากมากๆ ระยะต่างๆ จึงต้องเขียนเเบบให้ละเอียดเเละทดลองขึ้น Mock up มาจากโรงงานก่อนซึ่งพอเเก้ปัญหาอันนี้ได้ ก็จะเจออีกปัญหาคือความที่เป็นโครงผนังเบาทำให้เรื่องเสียงเกิดการรบกวนผู้เรียนได้ จึงต้องเสริมฉนวนระหว่างโครงเพื่อ Absorb เสียงให้เหมาะกับการเรียนมากที่สุด
ต่อมาการทำผนัง Texture ลายเส้นเป็นปัญหาต่อมาที่เจอจากผนังโค้งด้วยความที่มันโค้งเเละมีพื้นที่ใหญ่ ผนังงานนี้มัน Craft มากๆ ช่างจะต้องลากลายเส้น ทีละเเปรงเเล้วต่อลายให้เนียนที่สุด จึงเกิดจุดผิดพลาดบ้างตามภาพผนังที่เห็น ซึงมันตอบโจทย์ Concept ธรรมชาติดี เเต่กว่าจะทำให้ดูดีเรียบร้อยเเบบนี้ก็จะเหนื่อยทีมช่างไปด้วยเหมือนกัน”
สุดท้ายนี้ทีมออกแบบมีข้อความอยากฝากถึงคนที่อ่านบทความมาถึงตรงนี้ว่า “อยากขอบคุณที่สนใจงานของเรา ขอบคุณลูกค้า ขอบคุณเพื่อนร่วมงาน ขอบคุณพี่ๆ ทีมช่างเเละ Supplier ทุกคน ถ้ามีโอกาสอยากคุณให้ลองเเวะไปที่ Studio ของจริงดูครับ เพราะว่าสถาปัตยกรรมออกแบบมาเพื่อให้ถูกใช้งานบางทีการไปสัมผัสประสบการณ์จริงอาจจะตอบข้อสงสัยได้ดีกว่า”
ATHA YOGA STUDIO
Designer: Surapak Intrakul, Atitaya Taratai
Photographer: Rungkit Charoenwat
LOGO Design: Promphan Suksumek
M&E Engineer: TANN Engineer
Client: Nutcha Moothanakitpinyo
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!