Rain tree House บ้านใต้ต้นไม้ใหญ่ ที่ถูกออกแบบด้วยหลักปรัญชญาโดยไม่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ

จะดีแค่ไหนหากเราได้อาศัยอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติโดยเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ในการสร้างที่พักอาศัยภายใต้การออกแบบที่ยังคงไว้ซึ่งความเคารพที่มีต่อธรรมชาติ Rain tree House บ้านพักของคุณแอน ( Owner ) IT consultant และคุณบอล วิศวกรยานยนต์ที่ใช้ชีวิตในการทำงานในต่างประเทศกว่า 3 ปี ที่ได้ตกลงใช้ชีวิตร่วมกัน และมีความต้องการที่อยากจะสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านของการถักทอผ้าพื้นเมืองที่เป็นมรดกตกทอดจากครอบครัว จึงก่อให้เกิดการออกแบบบ้านที่จะบรรจุเรื่องราวความทรงจำและความผูกพันของสถานที่ลงไปภายในตัวบ้านของทาง ( Owner ) โดยได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกจาก (IS-Studio)

สถาปัตยกรรม และ พื้นที่กักเก็บความทรงจำของผู้อยู่อาศัย

ในส่วนแรกของงานออกแบบ สถาปนิกเล่าว่า “ ภายในพื้นที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ทางครอบครัวของ ( Owner ) ซึ่งเป็นเจ้าของที่ทำการปลูกไว้และทำการดูแลรักษามากกว่า 40 ปี ” โดยความเป็นมาของสวนแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยบรรยากาศความอบอุ่นและเรื่องราวความทรงจำต่าง ๆ มากมาย ทางทีมสถาปนิกจาก (IS-Studio) จึงมีแนวคิดในการออกแบบที่อยากจะนำเสนอเรื่องราวความผูกพันและความทรงจำต่าง ๆ ของทาง ( Owner ) ผ่านการออกแบบบ้านหลังนี้

บ้าน Rain tree House มีลักษณะของงานออกแบบที่เป็นบ้านชั้นเดียวหลังคาทรงจั่วที่มีการยกพื้นดินเล็กน้อยโดยบ้านหลังนี้ตั้งอยู่ใต้ร่มเงาของต้นจามจุรีขนาดใหญ่ มีการออกแบบในการใช้ทางเดินแบ่งพื้นที่อาคารออกเป็น 2 ส่วนซึ่งประกอบไปด้วยเรือนหลังใหญ่และเรือนหลังเล็ก สถาปนิกผู้ออกแบบยังเล่าว่า “ โครงสร้างที่ใช้ของบ้าน Rain tree House เป็นโครงสร้างคอนกรีตรวมกับโครงสร้างเหล็กที่เป็นโครงสร้างหลักของตัวอาคาร ” ทำให้ตัวอาคารมีการแสดงออกของภาษาหรือหน้าตาของอาคารที่ดูทันสมัย ในส่วนของวัสดุปิดผิวที่นำมาตกแต่งตัวอาคารทางสถาปนิกผู้ออกแบบได้มีการเลือกใช้ไม้ที่ทางเจ้าของบ้านได้เก็บรักษาไว้นำมาประกอบใช้ในการตกแต่งให้แก่ตัวบ้านเพื่อให้บ้าน Rain tree House มีความกลมกลืนไปกับบริบทของธรรมชาติ

เรือนหลังใหญ่พื้นที่อเนกประสงค์ที่พร้อมรองรับทุกกิจกรรมของผู้อยู่อาศัย

ในส่วนของพื้นที่ใช้สอยในเรือนหลังใหญ่ของ Rain tree House ประกอบไปด้วยพื้นที่โถงเป็นองค์ประกอบหลักของพื้นที่ ๆ ถูกใช้เป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมงานผ้าของทาง ( Owner ) สถาปนิกผู้ออกแบบเล่าว่าได้มีการออกแบบให้ห้องโถงนี้เป็นห้องกระจกที่หันหน้าออกไปทางทิศใต้เพื่อรับลมที่พัดผ่านเข้ามาและมีฝ้าเพดานที่สูงโปร่งเพื่อให้สามารถช่วยระบายความร้อนในพื้นที่ของตัวอาคาร เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาใช้งานในพื้นที่ส่วนนี้จะรู้สึกเย็นสบายตลอดทั้งวัน

ในส่วนของพื้นที่ของเรือนหลังเล็กที่ถูกใช้ทำเป็นพื้นที่ของห้องทำงานส่วนตัวและพื้นที่อยู่อาศัยของเจ้าของบ้าน ทางสถาปนิกผู้ออกแบบจะเลือกออกแบบพื้นที่ภายในให้เป็นพื้นที่โล่ง เพื่อให้สามารถเกิดความยืดหยุ่นของการใช้งานที่เจ้าของบ้านสามารถรปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามกิจกรรมที่เกิดขึ้น

ชานไม้พื้นที่เชื่อมต่อระหว่างอาคารที่ช่วยเชื่อมต่อธรรมชาติเข้ากับผู้อยู่อาศัย

สถาปนิกผู้ออกแบบ Rain tree House เล่าว่า พื้นที่ ๆ เป็นไฮไลท์หรือส่วนสำคัญของบ้านหลังนี้คือชานไม้ภายนอกอาคารที่ถูกใช้เป็นทางเดินเชื่อมต่อระหว่างเรือนหลักและเรือนรอง รวมถึงยังถูกใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนของเจ้าของบ้าน ชานไม้นี้ถูกออกแบบให้อยู่ภายใต้ร่มเงาของต้นจามจุรีต้นไม้ขนาดใหญ่บนพื้นที่ดินของบ้านหลังนี้ และรายล้อมไปด้วยสวนไม้นานาพรรณ

ในส่วนของการตกแต่งจะสังเหตุเห็นเสาเหล็กที่ถูกหุ้มด้วยไม้และผนังปูนดิบที่เป็นฉากหลังที่เป็นตัวกำหนดสายตาไปยังต้นราชพฤกษ์ที่ทาง ( Owner ) ได้ปลูกไว้ริมรั่วบ้าน ทางสถาปนิกผู้ออกแบบเลย้มีความตั้งใจที่จะออกแบบชานไม้ที่จะแสดงความผูกผันของเจ้าของบ้านที่มีต่อพื้นที่ดินแห่งนี้

โดยในขณะเดียวกันผู้อยู่อาศัยยังคงสามารถชื่นชมไปกับความงามของธรรมชาติที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละฤดูกาลเสมือนเป็นการเตือนให้ผู้อยู่อาศัยได้รับรู้ถึงช่วงเวลาที่ผ่านพ้นไปในแต่ละฤดูกาล ผ่านต้นจามจุรีและต้นราชพฤกษ์ที่มีการเปลี่ยนสีและร่วงหล่นไป

บ้าน Rain tree House จึงเป็นบ้านพักใต้ต้นไม้ใหญ่ที่แสดงตัวตนของเจ้าของบ้านและเคารพต่อความดั้งเดิมของธรรมชาติบนพื้นที่ดินเดิมผ่านหลักปรัชญา“ วาบิซาบิ (Wabi-Sabi) ” แห่งสุนทรียภาพอันเรียบง่ายที่ไม่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ และยังเป็นสถาปัตยกรรมที่เคารพต่อธรรมชาติโดยไม่ทำลายต้นไม้เดิมที่อยู่บนพื้นที่ดินอีกด้วย

 

Project Name: Rain Tree House
Architecture Firm: บริษัทไอเอสสตูดิโอจำกัด (IS-Studio)
Completion Year : 2564
Gross Built Area: 250ตารางเมตร
Landscape Designer: บริษัทไอเอสสตูดิโอจำกัด
Photographer credits: ทิฐิธรรม คลี่ใบ

Writer
Heamarat Chimchavee

Heamarat Chimchavee

สถาปนิกจำเป็น ที่ทำงานออกแบบเป็นงานอดิเรก มีความสนใจในการทำความเข้าใจแนวคิดและที่มาของงานออกแบบต่าง ๆ ที่พบเจอ ให้กลายเป็นเรื่องเล่า