Search
Close this search box.

คุณเงยหน้ามองท้องฟ้าครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่? ความเชื่อมโยงระหว่างสถาปัตยกรรมกับหมู่ดาว

มนุษย์หลงใหลในท้องฟ้าและดวงดาวมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากการสังเกตุปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินำมาซึ่งการตีความผ่านความเชื่อ ถ่ายทอดมาสู่งานสถาปัตยกรรมที่สะท้อนความยิ่งใหญ่ของเอกภพ ผ่านประโยชน์ใช้สอยหรือการจัดวางองค์ประกอบต่างๆของอาคาร ถึงแม้ว่าเวลาจะล่วงเลยผ่านมาจนถึงปัจจุบัน แต่งานสถาปัตยกรรมและเอกภพยังมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง โดยเปลี่ยนเป็นการมองผ่านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วันนี้เราจะพาย้อนเวลาตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบันกับสถาปัตยกรรมที่อุทิศให้กับความหมายของท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไปด้วยกัน

ปฏิทินสุริยคติจากอนุสรณ์สถานหินขนาดยักษ์

สถาปัตยกรรมโบราณหลายแห่งตีความเอกภพผ่านโหราศาสตร์และความเชื่อ บ้างก็สร้างขึ้นเพื่อสังเกตปรากฎการณ์ทางธรรมชาติอันน่าพิศวง อนุสรณ์สถานสโตนเฮนจ์ (Stonehenge, 2,500 BC) บนที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีอายุกว่า 5,000 ปี ประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดใหญ่วางเรียงเป็นวงกลมหลายชั้น การจัดเรียงแท่งหินยักษ์ของสโตนเฮนจ์แท้จริงแล้วสัมพันธ์กับการเดินทางของดวงอาทิตย์โดยเฉพาะปรากฏการณ์อายัน (Solstices) กล่าวคือ ในวันศรีษมายัน (Summer Solstice ขั้วโลกเหนือเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์มากที่สุด ประมาณวันที่ 20-21 มิถุนายน จึงเป็นวันที่กลางวันยาวนานที่สุด) พระอาทิตย์จะโผล่พ้นขอบฟ้าทางด้านหลังหินเอน (Heel Stone) สาดแสงอรุณแรกเข้าไปที่ใจกลางของอนุสรณ์สถาน และในวันเหมายัน (Winter Solstice ขั้วโลกเหนือเอียงออกห่างดวงอาทิตย์มากที่สุด ประมาณวันที่ 21-22 ธันวาคมจึงทำให้กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี) พระอาทิตย์จะตกลับฟ้าทางใต้-ตะวันออกของอนุสรณ์สถานระหว่างช่องหินพอดี

มีข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับจุดประสงค์ของสโตนเฮนจ์ โดยหนึ่งในทฤษฎีซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่สุดมาจาก ศาตราจารย์ทิโมธี ดาร์วิลล์ (Prof. Timothy Darvill) จากมหาวิทยาลัยเบิร์นเมาท์ ประเทศอังกฤษ ว่าอนุสรณ์สถานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นปฏิทินสุริยคติเพื่อสังเกตุการเปลี่ยนผ่านของฤดูกาล ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับมนุษย์ยุคหินใหม่ (Neolithic) ที่ดำรงชีวิตด้วยการทำเกษตรเพาะปลูกเลี้ยงสัวต์ นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการการประกอบงานเลี้ยงและพิธีกรรมรอบๆสโตนเฮนจ์โดยเฉพาะช่วงกลางฤดูหนาวด้วย สะท้อนถึงการใช้งานที่ความสัมพันธ์กับมนุษย์ทั้งในด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรม

สโตนเฮนจ์ในวันศรีษมายัน ภาพจากhttps://matadornetwork.com/read/stonehenge-livestream-summer-solstice-celebration/

กลุ่มพีระมิดแห่งกีซ่า สถาปัตยกรรมที่นำท้องฟ้ามาไว้บนผืนดิน

 มีการพบหลักฐานซึ่งแสดงถึงความเข้าใจเกี่ยวกับหมู่ดาวของชาวไอยคุปต์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งแต่การตั้งชื่อหมู่ดาว 36 หมู่ที่เรียกว่า เดคคาน (Decans) ซึ่งใช้แบ่งท้องฟ้าเป็นสิบส่วนสำหรับบอกวันเวลา รวมถึงการกำหนดให้หนึ่งปีมี 365 วัน โดยแบ่งเป็น 12 เดือนหรือสามฤดู แต่ละเดือนมี 30 วันเท่าๆกันโดยเพิ่มห้าวันสุดท้ายในแต่ละปีสำหรับเฉลิมฉลองเทพเจ้าต่างๆ ฤดูของชาวอียิปต์โบราณแบ่งตามวงจรของแม่น้ำไนล์ (น้ำหลาก,เพาะปลูก, เก็บเกี่ยว) โดยที่วันปีใหม่คือวันแรกของฤดูน้ำหลากนั่นเอง

พีระมิดของฟาโรห์คูฟู(ขนาดใหญ่ที่สุดในสามพีระมิด) ถูกสร้างด้วยหินแกรนิตและหินปูนขนาดใหญ่กว่า 2.3 ล้านก้อน บางส่วนถูกขนมาจากเหมืองห่างออกไปกว่า 500 ไมล์ (800 กม.) หินแต่ละก้อนมีน้ำหนักตั้งแต่ที่ 2.5-15 ตัน แต่ละก้อนมีการตัดและวางอย่างบรรจง ภายในมีโครงสร้างและทางเดินสลับซับซ้อน ภาพจาก https://unsplash.com/photos/vqRMXgVtGXM ถ่ายโดย Osama Elsayed

มหาพีระมิดแห่งกีซ่า ประเทศอียิปต์ สถาปัตยกรรมหินขนาดใหญ่อายุกว่า 4,500 ปี (26th Century B.C.) ที่เต็มไปด้วยปริศนา จนได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ใช้เป็นที่ฝังศพของฟาโรห์ราชวงศ์ที่สี่คูฟู เป็นหนึ่งในกลุ่มพีระมิดแห่งกีซ่าหรือมหาสุสานกีซ่าซึ่งประกอบไปด้วยพีระมิดของฟาโรห์คูฟู (Khufu), พีระมิดแห่งฟาโรห์คาเฟร (Khafre), และพีระมิดแห่งเมนคาอูเร (Menkaure) โดยที่พีระมิดทั้งสามนั้นวางตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้-ตะวันออก-ตะวันตกอย่างแม่นยำ (คลาดเคลื่อนแค่ประมาณ 0.05 องศาเท่านั้น) ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับอาคารหินเสกลมหึมาและสร้างเมื่อหลายพันปีก่อน

คาดว่าผิวนอกของพีระมิดอดีตเป็นสีขาวเงาวับจากหินปูนขัดครอบยอดด้วยโลหะสีทองหรือทองคำ แต่เนื่องจากถูกขนไปสร้างอาคารอื่นหรือผุกร่อนไปตามกาลเวลา จึงเหลือเพียงโครงสร้างลักษณะเป็นขั้นบันไดสีน้ำตาลดังที่เห็นในปัจจุบัน เราพอจะเห็นลักษณะผิวเรียบของพีระมิดได้บ้างที่ยอดของพีระมิดคูฟูและที่ฐานบางส่วน ภาพจาก https://unsplash.com/photos/hKwWA1nNKt4 ถ่ายโดย Fynn schmidt

 หนึ่งในทฤษฎีที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดของกลุ่มพีระมิดแห่งกีซ่า คือการจัดวางพีระมิดทั้งสามที่อาจจะสัมพันธ์กับดวงดาวตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ โดยรู้จักกันในชื่อ Orion Correlation Theory หรือ ทฤษฎีความสัมพันธ์กับกลุ่มดาวเข็มขัดนายพราน โดย โรเบิร์ต บูวาล (Robert Bauval) ซึ่งต่อยอดโดย เอเดรียน กิลเบิร์ต (Adrian Gilbert) และ เกรแฮม แฮนค็อก (Graham Hancock) ถึงแม้ทฤษฎีนี้ฟังดูจะน่าสนใจ แต่ยังถูกมองว่าเป็นเพียงทฤษฎีนอกกรอบ (Fringe Idea) และค่อนข้างที่จะเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์พอสมควร จึงขอให้ใช้วิจารณญานในการอ่านครับ

พีระมิดคูฟู ภาพจาก https://unsplash.com/photos/hAw4e-F4klY ถ่ายโดย Ricardo Gomez Angel

ก่อนหน้าที่จะไปที่ถึงเรื่องทฤษฎี คงต้องเล่าถึงความเชื่อกับหมู่ดาวของชาวอียิปต์กันก่อน ในบรรดาหมู่ดาวต่างๆของชาวอียิปต์โบราณ หมู่ดาวนายพราน (Orion Constellation สัญลักษณ์ของเทพซาฮู) โดยเฉพาะดาวสามดวงที่เรียงต่อกันเป็น เข็มขัดนายพราน (Orion’s Belt หรือดาวไถ) และดาวซิริอุส (Sirius หรือดาวโจร) มีความสำคัญอยู่เป็นอันดับต้นๆ กลุ่มดาวเข็มขัดนายพรานประกอบไปด้วยดาวสามดวงเรียงต่อกัน เป็นที่พำนักพระวิญญาณของเทพโอไซริส ผู้เป็นเทพแห่งโลกหลังความตายและสรรพชีวิต เมื่อลากเส้นตรงมาจากเข็มขัดนายพราน จะพบกับดาวซิริอุสหรือดาวโจร สัญลักษณ์ของเทพีโซปเดท (Sopdet) ผู้เป็นมเหสีของเทพซาฮู ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเทพีไอซิส (Isis) ผู้เป็นน้องสาวและชายาของเทพโอไซริส

Dendera Zodiac (จักรราศีของชาวอียิปต์โบราณ) แสดงตำแหน่งดวงดาว ดาวซิริอุสเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน ในทุกๆปี ดาวซิริอุสปรากฏขึ้นให้เห็นอีกครั้งที่ริมขอบฟ้ายามรุ่งสางหลังหายไปจากท้องฟ้าประมาณ 70 วัน เรียกว่าวงจร Heliacal Rise พอดีกับช่วงที่แม่น้ำไนล์เริ่มไหลหลากนำพาความอุดมสมบูรณ์มาสู่สองฝากแม่น้ำและเป็นการเริ่มต้นวงจรเพาะปลูกอีกครั้ง ภาพจาก https://grahamhancock.com/dmisrab15/
Dendera Zodiac (จักรราศีของชาวอียิปต์โบราณ) แสดงตำแหน่งดวงดาว ดาวซิริอุสเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน ในทุกๆปี ดาวซิริอุสปรากฏขึ้นให้เห็นอีกครั้งที่ริมขอบฟ้ายามรุ่งสางหลังหายไปจากท้องฟ้าประมาณ 70 วัน เรียกว่าวงจร Heliacal Rise พอดีกับช่วงที่แม่น้ำไนล์เริ่มไหลหลากนำพาความอุดมสมบูรณ์มาสู่สองฝากแม่น้ำและเป็นการเริ่มต้นวงจรเพาะปลูกอีกครั้ง ภาพจาก https://grahamhancock.com/dmisrab15/

ทฤษฎีความสัมพันธ์กับกลุ่มดาวเข็มขัดนายพรานของบูวาลมีใจความว่า การวางตัวกันของตำแหน่งของกลุ่มดาวเข็มขัดนายพรานเมื่อหมุนกลับหัว จะทับซ้อนกับตำแหน่งพีระมิดกีซ่าพอดี นอกจากนี้ในพีระมิดคูฟูยังมีช่องลม (Air Shaft) ในห้องโถงแห่งกษัตริย์ (King’s Chamber) และห้องของพระมเหสี โดยที่ช่องลมทางทิศใต้ชี้ไปยังหมู่ดาวนายพรานเปรียบเสมือนเป็นทางผ่านของดวงวิญญาณไปยังที่พำนักของเทพโอไซรัส สำหรับเหตุผลที่ต้องหมุนกลับหัวนั้นอาจจะเป็นเพราะว่าชาวอียิปต์วาดแผนที่โดยให้ทิศใต้ ’อยู่ด้านบน’ ตามการไหลของแม่น้ำไนล์ ซึ่งอียิปต์เรียกฝั่งใต้ว่า Upper Egypt และฝั่งเหนือว่า Lower Egypt จนมาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้บูวาลยังเสนอทฤษฎีที่ว่าระยะห่างระหว่างพีระมิดกีซ่ากับแม่น้ำไนล์ และหมู่ดาวนายพรานกับกาแล็กซีทางช้างเผือกมีความสัมพันธ์กัน ทำให้กลุ่มพีระมิดแห่งกีซ่าเปรียบได้กับภาพสะท้อนของหมู่ดาวโอริออนและกาแล็กซีทางช้างเผือกบนท้องฟ้านั่นเอง

Orion Correlation Theory ภาพจาก A quantitative astronomical analysis of the Orion Correlation Theory โดย Vincenzo Orofino
ห้องโถงแห่งกษัตริย์ (King’s Chamber) มีคานหินแกรนิตขนาดยักษ์ยาวกว่า 6 เมตรพาดผ่านห้อง เรียงกัน 5 ชั้น และปิดด้วยหลังคาจั่วจากหินปูนขนาดใหญ่อีกทีหนึ่ง ภาพจาก The Pyramids of Egypt โดย Fathi Habashi และ ภาพจาก https://www.khanacademy.org/humanities/ap-art-history/ancient-mediterranean-ap/ancient-egypt-ap/a/old-kingdom-pyramid-of-khufu
ห้องโถงแห่งกษัตริย์ (King’s Chamber) มีคานหินแกรนิตขนาดยักษ์ยาวกว่า 6 เมตรพาดผ่านห้อง เรียงกัน 5 ชั้น และปิดด้วยหลังคาจั่วจากหินปูนขนาดใหญ่อีกทีหนึ่ง ภาพจาก The Pyramids of Egypt โดย Fathi Habashi และ ภาพจาก https://www.khanacademy.org/humanities/ap-art-history/ancient-mediterranean-ap/ancient-egypt-ap/a/old-kingdom-pyramid-of-khufu

เทพเจ้างูคูคุลคาน ผู้เสด็จมาเยือนโลกสองครั้งในหนึ่งปี

กลางนครโบราณของชาวมายา ชิเชนอิตซา (Chichén Itzá, 750-1,200 A.D.) ในประเทศเม็กซิโก เป็นที่ตั้งของพีระมิด เอล คาสติลโล (El Castillo) หรือ วิหารคูคุลคาน (Temple of Kukulcán) ของ 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกสมัยใหม่ เทพเจ้าคูคุลคาน (K’ukulkan) แปลตรงตัวว่าพญางูขนนก เป็นเทพเจ้าแห่งลม ฝน และผู้สร้างสรรพชีวิต คล้ายคลึงกับเทพเจ้าเคตซัลโคอะทัลต์ (Quetzalcoatl) ซึ่งเป็นเทพสูงสุดของชาวแอซเทค คูคุลคานยังเป็นชื่อของกษัตริย์ผู้ก่อตั้งเมืองชิเชนอิตซา นครหลวงอันรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม นอกจากวิหารคูคุลคานแล้วภายในเมืองยังพบอาคารสำคัญหลายแห่ง เช่น อาคารดูดาว (El Caracol), วิหารนักรบ (Temple of Warriors), และ สนามบอลชาวมายัน (Mayan Ballcourt) อีกด้วย

นครโบราณชิเชนอิตซา ประเทศเม็กซิโก ภาพจาก https://www.flickr.com/photos/132646954@N02/20934214469 ถ่ายโดย Falco Ermert
ชาวมายาใช้ปฏิทินแบบนับยาวที่เรียกว่า ปฏิทินมายัน (Mayan Calendar) ตั้งแต่ 500 ปีก่อนคริสศักราชซึ่งมีสองระบบและนับไม่เหมือนกัน ชาวมายาเชื่อว่าเมื่อปฏิทินทั้งสองระบบกลับมาบรรจบกันจะเกิด วัฏจักรจักรวาล (Great Cycle) หรือพูดง่ายๆว่าวันโลกแตกในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ทำให้ผู้คนแตกตื่นกันยกใหญ่ (สร้างเป็นภาพยนตร์ด้วยนะ) ภาพจาก https://www.flickr.com/photos/laredawg/20081508072/ ถ่ายโดย laredawg
เทพเจ้าพญางูคูคุลข่าน ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Kukulkan
รูปปั้นเทพเจ้าคูคุลคานที่เชิงบันไดพีระมิด ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Kukulkan

อารยธรรมมายาเจริญอำนาจจนครอบคลุมทั่วเมโสอเมริกาอยู่หลายร้อยปี (250-900 A.D.) โดยความรู้ด้านคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ของชาวมายานั้นถือว่ามีความก้าวหน้ามากในสมัยนั้น โดยสามารถเห็นได้ผ่านงานสถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ วิหารคูคุลคานเป็นพีระมิดขั้นบันไดสูง 30 เมตร 9 ชั้น ตรงกับจำนวนชั้นในโลกหลังความตายตามความเชื่อชาวมายา แต่ละด้านของพีระมิดมีบันได 91 ขั้น รวมเป็น 364 ขั้น เมื่อบวกขั้นบนสุดอีกขั้นจะกลายเป็น 365 ขั้นตามจำนวนวันในหนึ่งปีพอดี สิ่งที่น่าทึ่งเกี่ยวกับพีระมิดคูคุลคานจะเกิดขึ้นในวัน วสันตวิษุวัต (Spring Equinox, 21 มีนาคม) และ ศารทวิษุวัต (Autumn Equinox, 23 กันยายน) ซึ่งเป็นเวลาที่ตำแหน่งดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี เมื่อถึงเวลาประมาณสี่โมงเย็น เงาจากสันพีระมิดจะพาดผ่านบันไดเลื้อยลงมาสู่ด้านล่างคล้ายงูขนาดยักษ์ บรรจบกับรูปแกะสลักรูปหัวพญางูคูคุลข่านที่ตีนบันไดพอดี นอกจากนี้สถาปัตยกรรมในนครโบราณชิเชนอิตซา ยังมีการออกแบบเรื่องเสียงที่น่ามหัศจรรย์ด้วย ก่อนเริ่มพิธีกรรมนักบวชที่ยืนหน้าวิหารคูคุลคานและตบมือ เกิดเป็นเสียงเอคโค่คล้ายกับเสียงนกประจำถิ่นเคทซาลซึ่งถือเป็นผู้ส่งสาส์นอันศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นนักบวชจึงหันหน้าไปยังวิหารนักรบและตบมืออีกครั้ง เกิดเป็นเสียงแหบต่ำคล้ายงูสะท้อนกลับมา ถือเป็นการอัญเชิญเทพเจ้างูขนนกคูคุลคาน

พีระมิดคูคุลข่าน ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Kukulkan สามารถไปชมพญางูได้ในลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=Zvv9EnBuem4

“วัสดุที่ใช้ในการออกแบบอาคารได้มาจากร้านในท้องถิ่นทั้งหมด อย่างผนังเองก็ใช้วิธีการก่ออิฐฉาบปูนสีขาวแบบเรียบง่ายเพื่อให้ขับเน้นเฉดเงาที่แสงกระทบกับต้นไม้ และด้วยความเป็นธรรมชาติเราจึงเลือกเปลือยผิวคอนกรีตให้กับเสากลม ที่ต้องการสื่อสารถึงความเป็นธรรมชาติให้ได้มากที่สุด”

นกประจำถิ่นอเมริกาใต้ เคทซาล (Quetzal) สำหรับชาวมายาถือเป็นผู้ส่งสาส์นอันศักดิ์ ภาพจาก https://unsplash.com/photos/yeqt115Xkeg ถ่ายโดย Zdeněk Macháček สามารถฟังเสียงพญางูคูคุลคานได้ในลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=RyEB7Ao-0FY

เชื่อมต่อธรรมชาติผ่านสายธารแห่งชีวิต

อาคารวิจัยคู่สูงหกชั้นเรียงตัวเปิดรับมหาสมุทรแปซิฟิกเบื้องหน้า สถาบันวิจัยซอล์ค (Salk Institute for Biological Studies, ค.ศ. 1965) ณ เมืองลาโฮยา รัฐแคลิฟอร์เนีย ผลงานของสถาปนิกระดับโลก หลุยส์ ไอ คาห์น ได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานสถาปัตยกรรมที่นุ่มลึกไปด้วยปรัชญา ไม่ว่าจะเป็นการจัดลำดับเสปซ พื้นที่ใช้งานและพื้นที่รับใช้ ผังอาคารที่มีความยืดหยุ่นสำหรับรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต หรือการจัดวางอาคารเพื่อสันบสนุนการพูดคุยแลกเปลี่ยนไอเดียระหว่างนักวิจัย หนึ่งในแนวคิดหลักของการออกแบบสถาบันซอลค์คือ ต้องการที่จะออกแบบอาคารให้สอดคล้องไปกับธรรมชาติแวดล้อม เป็นอาคารที่จะเชื่อมท้องฟ้า ทะเล มนุษย์ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน

สถาบันซอล์ค ภาพจาก https://digs.net/louis-kahn-salk-institute-is-a-modernist-masterpiece/
ภาพเสก็ตช์ลานกว้างของสถาบันวิจัยซอลค์ ภาพจาก https://www.barragan-foundation.org/luis-barragan/chronology

หนึ่งในไฮไลท์ของสถาบันซอลค์คือลานกว้างระหว่างอาคารที่มีทางน้ำเล็กๆไหลตัดผ่าน นำสายตาออกไปสู่หาสมุทรแปซิฟิกเบื้องหน้า เดิมคาห์นตั้งใจว่าจะออกแบบพื้นที่ว่างตรงกลางให้เป็นแลนด์เสคปด้วยการปลูกต้นไม้เรียงกันเป็นแถว ก่อนที่จะมีการปรับตามคำแนะนำจากสถาปนิกชาวเม็กซิโก ลุยส์ บาร์รากัน (Luis Barragán Morfin) ที่ว่า ‘I would put not a single tree in this area. I would make a plaza. If you make a plaza, you will have another facade to the sky’ ลานกว้างที่เปรียบเสมือนฟาสาดสู่ท้องฟ้าจึงได้ถือกลายเป็นรูปเป็นร่างอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้

พระอาทิตย์ตกในวันวสันตวิษุวัติ ที่สถาบันวิจัยซอลค์ ภาพจาก https://www.salk.edu/about/

 ‘สายธารแห่งชีวิต’ (River of Life) ลำธารเล็กๆเปรียบเหมือนการค้นคว้าที่ต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ถ่ายทอดสู่กันจนกลายเป็นองค์ความรู้อันกว้างใหญ่ดั่งกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เบื้องหน้า ลำธารสายนี้ยังทำหน้าที่เชื่อมท้องฟ้า อาคาร และมหาสมุทรเข้าด้วยกันโดยในวันวิษุวัต (Equinox หรือวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี เกิดขึ้นสองครั้งในหนึ่งปี) ดวงอาทิตย์จะตกลงกลางลำธารสายนี้อย่างเหมาะเจาะ จนกลายเป็นชื่อเรียกเฉพาะว่า Salkhenge ล้อไปกับปรากฏการณ์พระอาทิตย์อัสดงที่สโตนเฮนจ์นั่นเอง

พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์เซี่ยงไฮ้ ภาพจาก Ennead Architects

อาคารแห่งการวิจัยท้องฟ้า สู่รูปทรงที่ได้แรงบันดาลใจจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ

พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Astronomy Museum, ค.ศ. 2021) ประเทศจีน ผลงานของ Ennead Architects ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีพื้นที่ถึง 39,000 ตารางเมตร ภายในอาคารเน้นการเรียนรู้ที่ผสมผสานเทคโนโลยี ทั้ง  Visual Effect, ดวงอาทิตย์จำลอง, ระบบไร้แรงโน้มถ่วงเสมือน ที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือรูปทรงอาคารที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ชมได้พบกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ด้วยตาตัวเอง สถาปนิกได้แรงบันดาลใจมาจากกฎฟิสิกส์ Three Body Problem เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของมวลหลายก้อนตามหลักกฎการเคลื่อนที่และกฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน เกิดเป็นแมสอาคารในลักษณะตีวงโอบล้อมสามองค์ประกอบหลักอันได้แก่ The Oculus, The Inverted Dome, และ The Sphere ล้อไปกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว

พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์เซี่ยงไฮ้ ภาพจาก Ennead Architects

The Oculus ช่องแสงขนาดใหญ่กรุด้วยแผ่นสะท้อนสีทองหน้าทางเข้าของพิพิธภัณฑ์สร้างความเชื่อมโยงระหว่างเสปซกับเวลา เมื่อถึงวันศรีษมายัน แสงยามบ่ายที่ส่องผ่านลงมาจะบรรจบกับลวดลายวงกลมบนพื้นพอดิบพอดี The Sphere ท้องฟ้าจำลองทรงกลมสีเงินขนาดใหญ่เปรียบเหมือนกำลังโผล่พ้นเส้นขอบฟ้า เราจะมองเห็นเดอะสเฟียร์ทีละนิดขณะเดินไปตามทางเดิน ก่อนที่สเปซจะเปิดออกให้เห็นเดอะสเฟียร์ลอยอยู่เหนือพื้น สร้างความตื่นตาตื่นใจราวกับอยู่ในฉากหนังไซไฟทีเดียว ในห้องโถงหลักอาคารเป็นที่ตั้งของโดมกลับหัว The Inverted Dome โดยมีทางลาดก้นหอยนำผู้เยี่ยมชมออกสู่ดาดฟ้าอาคาร ระดับพื้นที่ต่างกันทำให้ช่วยบังเส้นขอบฟ้าและอาคารโดยรอบเอาไว้ทำให้เราสามารถดื่มด่ำกับกับท้องฟ้ายามค่ำคืนได้อย่างเต็มอิ่ม ถือเป็นบทส่งท้ายของประสบการณ์ในพิพิธภัณฑ์

The Oculus ภาพจาก https://www.archdaily.com/965203/shanghai-astronomy-museum-ennead-architects ถ่ายโดย Arch-exist
The Oculus ภาพจาก https://www.archdaily.com/965203/shanghai-astronomy-museum-ennead-architects ถ่ายโดย Arch-exist
The Sphere ภาพจาก https://www.archdaily.com/965203/shanghai-astronomy-museum-ennead-architects ถ่ายโดย Arch-exist
The Sphere ภาพจาก https://www.archdaily.com/965203/shanghai-astronomy-museum-ennead-architects ถ่ายโดย Arch-exist
The Dome ภาพจาก https://www.archdaily.com/965203/shanghai-astronomy-museum-ennead-architects ถ่ายโดย Arch-exist
The Dome ภาพจาก https://www.archdaily.com/965203/shanghai-astronomy-museum-ennead-architects ถ่ายโดย Arch-exist
The Dome ภาพจาก https://www.archdaily.com/965203/shanghai-astronomy-museum-ennead-architects ถ่ายโดย Arch-exist

ในอดีตท้องฟ้ามีความหมายมากกว่าเพียงนิยามทางวิทยาศาสตร์ และสถาปัตยกรรมโบราณต่างสะท้อนถึงความหลงใหลในท้องฟ้าผ่านองค์ประกอบต่างๆที่ผสมผสานระหว่างความรู้ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตเข้าด้วยกัน สถาปัตยกรรมจากอารยธรรมโบราณยังคงมีปริศนามากมาย ในบางแง่มุมแม้แต่การสร้างเลียนแบบด้วยเครื่องไม้เครื่องมือในปัจจุบันยังทำได้ยาก ทำให้ชวนคิดได้ว่าเราสามารถเรียกยุคสมัยปัจจุบันว่าเป็นอารยธรรมที่ก้าวหน้าที่สุดในประวัติศาสตร์ได้เต็มปากแล้วหรือไม่ หรือว่ามีหน้าประวัติศาสตร์ที่ขาดหายไปซึ่งรอการค้นพบอยู่อีกก็เป็นได้

References

Architectuul. (2023). Kukulkan Pyramid. Retrieved from https://architectuul.com/architecture/kukulkan-pyramid

Chayapatr. (2022, April). ความยึดโยงของดวงดาวต่อชาวอียิปต์โบราณ. Retrieved from https://spaceth.co/ancient-egypt-and-sky/

Chichen Itza. (2017, September). Retrieved from https://www.chichenitza.com/

Douglas, I. (2019, December). 55,500 BCE and the 23 Stars of Giza. Retrieved from https://www.academia.edu/41171982/55_500_BCE_and_the_23_Stars_of_Giza

Gardiner, K. (2018, June). 8 Architectural Marvels Inspired by the Summer Solstice. Retrieved from https://www.architecturaldigest.com/story/summer-solstice-architectural-marvels

Orofino, V. (2011, September). A quantitative astronomical analysis of the Orion Correlation Theory. Università del Salento. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/51940838_A_quantitative_astronomical_analysis_of_the_Orion_Correlation_Theory

Salk Institute. (2023, January). Retrieved from https://www.salk.edu/

Shanghai Astronomy Museum. (2021, June). Ennead Architects. Retrieved from https://www.ennead.com/work/shanghai-astronomy-museum

Stonehenge. (2022, August). English Heritage. Retrieved from https://www.english-heritage.org.uk/visit/places/stonehenge/things-to-do/solstice/

Stonehenge. (2022, Febuary). Western Washinton University.

Writer
Panon Sooksompong

Panon Sooksompong

สถาปนิกที่หลงใหลในการค้นคว้าสู่นักเขียนผู้ถ่ายทอดเรื่องราว จากกองหนังสือที่เอามารองนอน ตอนนี้ได้ฤกษ์จะถูกหยิบมาเปิดอ่านไปพร้อมกัน

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading