โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต สวนลุมพินี เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี The century of Lumpini park lifelong learning center and Landscape improvement project

พื้นที่สาธารณะ คือองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่สำคัญของเมือง ท่ามกลางการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและประชากรที่มากขึ้น ความคับแคบแออัดและการขาดการจัดการที่ดี ทำให้เมืองขาดความน่าอยู่ พื้นที่สาธารณะจึงเป็นส่วนสำคัญของเมืองที่จะทำให้เมืองและผู้คนมีพื้นที่ที่มากขึ้น เพื่อพูดคุยพบปะและเสริมสร้างความเป็นเมืองที่น่าอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของลานกว้าง ลานคนเมือง หรือสวนสาธารณะ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมือง

ในปัจจุบันคนมากมายเรียกร้องหาสวนสาธารณะ แต่ทำไมสิ่งแรกๆที่คนเมืองนึกถึงยามจะไปพักผ่อนหย่อนใจหรือพบปะผู้คนกลับไม่ใช่มันล่ะ ทำไมจึงไม่ค่อยออกมาใช้สวนสาธารณะกัน ทำไมคนจึงมองสวนสาธารณะเป็นสิ่งที่ควรจะมีแต่กลับไม่ได้สนใจอย่างนั้นหรือ หรืออาจจะเพราะมันไม่มีร้านรวงมากมายห้างสรรพสินค้า ไม่มีที่ติวหนังสือสหรับเด็กหนุ่มสาว จึงได้เกิดเป็นคำถามที่ว่าแล้วทำไมสวนสาธารณะจะมีสิ่งต่างๆเหล่านั้นไม่ได้ล่ะ ถ้าสวนสาธารณะมีมากกว่าแค่ที่ออกกำลังกายหรือนั่งเล่นล่ะ ถ้าคนสามารถมาใช้พบปะกันได้ มีพื้นที่อ่านหนังสือ นั่งติวหนังสือ ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันได้ท่ามกลางธรรมชาติที่เขียวขวีก็คงจะดีไม่น้อยทีเดียว

ตลอดเวลาที่ผ่านมาสวนสาธารณะก็ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามแต่ละยุคสมัย และหากวันนี้ถ้าเรามองไปในอนาคตข้างหน้า ถ้ามุมมองต่อสวนสาธารณะเป็นได้มากกว่าแค่สวนของการพักผ่อน ถ้าเป็นสวนที่จะช่วยสร้างโอกาส ช่วยสร้างอาชีพและตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของผู้คน เป็นพื้นที่สาธารณะที่เป็นได้มากกว่าสวนสาธารณะก็คงจะดีไม่น้อยทีเดียว

หากพูดถึงสวนสาธารณะ หลายคนคงคงเคยได้ยินหรือรู้จักชื่อของสวนลุมพินีมากันบ้าง ปัจจุบันสวนลุมพินีเป็นสวนสาธารณะที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สาธารณะที่สำคัญของเมือง ที่มีพื้นที่ถึง 360 ไร่ซึ่งจัดเป็นสวนสาธารณะระดับเมืองหรือ City Park เป็นพื้นที่สีเขียวที่หาได้ยากตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ล้อมรอบด้านด้วยย่านพาณิชยกรรมหลัก(CBD) ใจกลางเมืองที่สำคัญของกรุงเทพ ไม่ว่าจะเป็น ย่านสีลม ย่านสาทรหรือย่านหลังสวน ทำให้สวนลุมพินีมีบทบาทที่สำคัญในการก่อให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ต่อเมืองในทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ สังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมๆกับการเจริญเติบโตของเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร และยังเป็นที่พื้นที่พบปะที่ทำกิจกรรมต่างๆชองผู้คน ที่เราเห็นกันมาไม่ว่าจะเป็นการปั่นเรือเป็ด วิ่งออกกำลังกาย หรือแม้กระทั้งรำไทเก็ก และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนกรุงเทพมาอย่างยาวนาน และจะมีอายุจะครบ 100 ปี ในปี พ.ศ.2568 นี้

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสวนลุมพินีได้มีเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุค มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกที่ใช้เป็นที่พักของทหารญี่ปุ่น ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำที่ได้ถูกปล่อยปะจนทรุดโทรมลงไปแล้ว ผ่านเหตุการณ์สำคัญต่างๆไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมทางการเมือง หรือจัดงานสำคัญต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน ในยุค Digital Disruption ที่สังคมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อย่างที่เราทราบกันดีอยู่ในปัจจุบัน อาจทำให้คนบ้างกลุ่มปรับตัวไม่ทันและบวกกับสังคมผู้สูงอายุที่มีมากขึ้น จึงอาจส่งผลต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว จะมีผลในทางลบต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากการลดลงของกำลังแรงงานซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ

หากการจะมีสร้างความตื่นตัวให้กับคนทั่วไปได้รู้ถึงความสำคัญที่เกิดขึ้นได้นั้น รัฐเองจะมีส่วนช่วยอย่างมากที่จะกระตุ้นและสร้างความสำคัญในจุดนี้ ซึ่งเราได้หยิบเอา ‘21st-Century Skill’ หรือ ‘ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21’ มาเป็นแนวคิดในการส่งเสริมการพัฒนาตนเอง และสร้างทักษะและกระบวนการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong Learning จึงเกิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สร้างโลกทัศน์ของการเรียนรู้ที่มากกว่าในห้องเรียน มีทั้งการเรียนรู้จากการเล่น เรียนรู้จากการทำกิจกรรม เรียนรู้จากการลงมือทำ และสร้างพื้นที่ที่ทุกคนสามารถ ทำกิจกรรมร่วมกันได้ มีพื้นที่ที่สามรถออกมาแสดงความสามรถที่ตัวเองมี มีพื้นที่รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ และมีพื้นที่คนสามรถออกมาพูดและแสดงความคิดเห็นต่อกันได้

21st-Century Skill’ คือทักษะที่ประกอบไปด้วย Critical thinking, Creativity, Collaboration และ Communication เป็นทักษะต่างๆที่เคนควรจะต้องมีเพื่อใช้ชีวิตอยู่ ‘ให้รอด’ เมื่อเกิดและเติบโตมาในโลกยุคนี้

Lifelong Learning คือ รูปแบบหนึ่งของการศึกษาที่เริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยตัวเอง (Self-initiated study) ซึ่งเน้นการพัฒนาส่วนบุคคล โดยไม่เกี่ยงว่าจะอยู่ในวัยไหนก็สามารถเรื่องรู้ได้ต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นความสมัครใจในการเรียนรู้เพื่อบรรลุ เติมเต็มเป้าหมายของตัวเอง และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

อีกทั้งในสวนลุมพินีเองก็มีปัจจัยส่งเสริมด้านอื่นๆที่เหมาะแก่การเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ ทำเลที่ตั้งที่ติดกับรถไฟฟ้าทั้งสองสาย อยู่ใจกลางเมือง ร่มรื่นเขียวขจีเหมาะสมจะเป็นพื้นที่เรียนรู้ และหากมีสนับสนุนที่เหมาะสม ก็ไม่ยากเลยที่สวนสาธารณะแห่งนี้จะเป็นทั้งพื้นที่พักผ่อน พื้นที่เรียนรู้ และสร้างโอกาสให้กับประชาชนที่เข้ามาใช้งาน

ในขั้นตอนการออกแบบได้มีการวิเคราะห์ผังเดิมของสวยลุมพินี แนวแกนจากถนนสีลม การพัฒนาผังตามแต่ละยุค ประวัติศาสตร์ การพัฒนาของพื้นที่โดยรอบ เชื่อมต่อโครงข่าย Bangkok Super connector การปรับปรุงและอนุรักษ์อาคารสำคัญ โดยมีการให้คะแนน และกำหนดขอบเขตที่จะสามารถจะปรับปรุงได้ ในการแบ่ง Zoning เอง ได้จัด Passive ไว้ส่วนบน และ ให้ Active ติดกับ infrastructure เดิมที่เป็นศูนย์กีฬา พื้นที่กิจกรรมให้อยู่ในส่วนเดิม และ Learning Zone ให้อยู่บริเวณศูนย์กลางที่มีความ private และติดกับ pond ที่ให้มุมมอง มีการเชื่อมระบบน้ำเดิมทั้งสองบ่อเพิ่มเติม ให้เชื่อมต่อกันโดยในแนวคลองที่ขุดเพิ่มเติมโดยรอบเป็นแนว Buffer

ในโครงการได้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วน Learning และ park& recreation ภายใต้ concept Agility (ความคล่องแคล่ว เฉียบคม) ที่มุ่งหวังที่จะพัฒนาศักยภาพทั้งในด้านร่างกาย และความคิดที่พร้อมจะเรียนรู้อยู่เสมอ มีพื้นที่ห้องสมุดขนาดใหญ่ที่พร้อมรองรับการเรียนรู้และใช้งานของผู้คนอย่างครบครัน พร้อมด้วย workshop และ co working space สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่นั่งเรียน ติวหนังสอน

ในส่วนลานด้านหน้าออกแบบให้เกิดการ enclose มากขึ้นเพื่อขับให้พระบรมราชานุสาวรีย์ ดูเด่นขึ้น และยังเป็นพื้นที่ที่คนสามรถออกมาแสดงออกหรือ สื่อสารกับสังคมได้เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่คนผ่านเป็นจำนวนมาก และเป็นพื้นที่แรกที่คนจะเข้าสู่สวนลุมพินี เป็น Landmark ของสวนลุมพินี โดยคนจะเดินเข้ามาจากทางทั้ง MRTสีลม skywalkจาก BTSศาลาแดง และทางเดินจากถนนสีลม

มีการเชื่อม skywalk จากสถานีบีทีเอส ศาลาแดงเข้ามายังสวนโดยตรง เพื่อเชื้อเชิญให้ผู้คนได้เข้ามารู้จัก และเรียนรู้ในสวนแห่งนี้

ถัดเข้ามากลางสวน ออกแบบให้ sculpture ช้าง หันข้างเพื่อให้คนที่เดินมาจากแนวแกนได้เห็นมิติของ sculpture และจึงเกิดการเว้น space และทางเดินโดยรอบด้วย

เส้นทางSkywalk ในโครงการยังเชื่อมกับ Green Bridge (สะพานเขียว) และโครงข่าย Bangkok Super connector

เมื่อเดินไปจนถึงจุดชมวิวลอยฟ้าเพื่อชมวิวทิวทัศน์เมืองมุมสูงแล้ว เมื่อหันกลับมา จะเห็น sculpture อยู่สุดปลายสายตา

อาคาร lifelong learning center ประกอบไปด้วยห้องสมุดที่กว้างและครบครัน สตูดิโอ และ co-working ที่รองรับการใช้งานของคนที่จะเข้ามาใช้งาน

ในส่วนของสนามเด็กเล่น มีพื้นที่กิจกรรม ที่เปิดสนามหญ้า ให้เป็น Meeting Lawn พื้นที่พบปะหรือทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม มี Amphitheater เป็นจุดรวมผล พื้นที่สนามเด็กเล่นและพื้นที่กิจกรรมในบริเวณเดียวกัน ทำให้เกิดการมองเห็นและได้สัมผัสกิจกรรมที่หลากหลายของคนวัยต่างๆในบรรยากาศโอบล้อมที่เห็นถึงกันและกัน

เป็นส่วน Active Zone พื้นที่กิจกรรมที่กลุ่มคนต่างๆ ได้สามารถมาทำกิจกรรมร่วมกันได้ ถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน พื้นที่สำหรับทำกิจกรรมกลางแจ้ง แบ่งพื้นที่การใช้งานหลายขนาด สำหรับกิจกรรมที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอล สเก็ตบอร์ด ซ้อมเชียร์หลีดเดอร์ หรือ แม้กระทั้งรำไทเก๊ก  

พื้นที่กิจกรรมและสนามกีฬาสำหรับเยาวชนและคนทั่วไป ได้พบปะพูดคุย ทำกิจกรรมที่มีความสนใจร่วมกัน

แต่เดิมสวนลุมพินี ได้อิทธิพลการออกแบบสวนในสไตน์สวนอังกฤษ จึงได้ออกแบบให้มีบ่อน้ำเพิ่มเติม และใช้ดินที่ขุดขึ้นมา ถมเป็นเนินดิน ใช้ในการโอบล้อม space และยังสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับ การเปิดมุมมอง การสร้างบรรยากาศ สร้างสะพานแบบต่างๆ เพื่อให้เป็นภาพภูมิทัศน์ (Picturesque) ตามสไตน์สวนอังกฤษ

มีพื้นที่นั่งเล่นเละทำกิจกรรม ปิกนิกกลางแจ้งและดูหนังท่ามกลางวิวเมืองยามค่ำคืน

บริเวณลานอาคารบันเทิง จัด Event space ไว้จัดกิจกรรมในช่วงสุดสัปดาห์ เช่น งานเต้น Swing Dancing หรือ ลีลาส จัดงานศิลปะ  หรือกิจกรรมประจำปีต่างๆ เช่นงานกาชาดที่สามารถจุคนได้มากกว่า 20,000 คน

และเนื่องด้วยสวนลุมพินีจะมีครบรอบ 100 ปี จึงเป็นโอกาสอันดีหากจะพัฒนาสวนลุมพินี ให้เป็นจุดกระเพื่อมเล็กๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นพื้นที่เรียนรู้ และเสริมสร้างสรรค์ทักษะที่สำคัญและจำเป็น ในการปรับตัวในอนาคตที่มาถึงแล้วในตอนนี้ของคนกลุ่มต่างๆไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มผู้สูงวัยเอง นักเรียน นักศึกษา หรือคนวัยทำงานเองก็ดี ให้มีความพร้อมสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงและปรับตัวไปกับอนาคตได้ ที่ซึ่งนอกจากจะเป็นสวนสาธารณะสำหรับการพักผ่อนแล้ว แต่ยังเป็นสวนที่บ่มเพาะเมล็ดพันธ์ที่ดีและยังช่วยสร้างโอกาสและอนาคตให้กับลูกหลานต่อไป

โดยหวังว่าหากสวนสาธารณะของรัฐเอง หากมีแนวคิดที่ตอบโจทย์การใช้งานของคนในปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการใช้งานสวนแบบเดิม ให้เป็นมากกว่าสวน ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ก็คงจะดีกว่าในปัจจุบันไม่น้อยทีเดียว และหากในอนาคตแนวทางการจัดการสวนสาธารณะของรัฐได้เห็นถึงมุมมองในและโอกาสต่างๆในพื้นที่ที่มีอยู่ สวนสาธารณะในบ้านเราก็คงจะมีสีสรรค์และไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆอย่างแน่นอน

วิทยานิพนธ์โดย

สิปปวิชญ์ รู้อยู่
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 5
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม (ภ.สถ.)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปีการศึกษา 2563

Writer
Ekkarach Laksanasamrith

Ekkarach Laksanasamrith

สถาปนิกที่เชื่อว่า "ตัวหนังสือ" มีพลังพอๆกับ "สเปซ" และ "การเขียนหนังสือ" ก็ใช้สกิลไม่ต่างจาก "การเขียนแบบ" ใน AUTO Cad