วิถีชีวิตคนเมืองในสมัยใหม่ มักใช้ชีวิตคนเดียวมากขึ้น และเร่งรีบ เพราะจากหน้าที่การงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่มีให้อัปเดตอยู่ตลอดเวลา จึงต้องพึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ส่วนอื่น ๆ ในการใช้ชีวิตเป็นไปได้ง่าย ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ไม่ต้องใช้เวลามากในการพูดคุยกับผู้คน จากเหตุผลข้างต้นเหล่านี้ ทำให้ชีวิตการอยู่อาศัยของผู้คนเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การออกแบบบ้านในอนาคตให้เป็นไปตามวิถีชีวิตของคนยุคสมัยใหม่ อาจจะทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ และจิตใจมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และถ้าบ้านเหล่านั้นที่เราไม่อยากให้สร้างขึ้นจริง การออกแบบก็คงจะไม่ต่างไปจาก The Broken H-O-M-E บ้านในอนาคตที่ปราศจากปฏิสัมพันธ์ ไม่ก่อให้เกิดการพูดคุย และกิจกรรมร่วมกัน ทำให้การอยู่อาศัยโดดเดี่ยวมากยิ่งขึ้น
สัมมากร ได้คำนึงถึงปัญหาเรื่องนี้เป็นสำคัญ จึงออกแบบบ้าน The Broken H-O-M-E หลังนี้ขึ้นมาเพื่อให้สะท้อนปัญหาการอยู่อาศัยในอนาคต นอกจากนี้เพื่อให้เห็นข้อแตกต่างจึงได้นำวิธีการออกแบบบ้านที่คำนึงถึงทุกคนมาให้เห็นตัวอย่างไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย
จะเป็นอย่างไรหากพื้นที่ในบ้านไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์
The Broken H-O-M-E บ้านที่ปราศจากปฏิสัมพันธ์ ได้ถูกออกแบบให้ฟังก์ชันภายในถูกเน้นไปที่พื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน ให้มีขนาดเหมาะสมต่อกิจกรรมสำหรับทำคนเดียว และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในเรื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ลดพื้นที่ส่วนกลางให้เหลือน้อยลง โดยเป็นแค่จุดเปลี่ยนถ่ายแยกเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคนเพียงเท่านั้น
สำหรับวิถีชีวิตของคนเมืองที่ต้องการทำงานได้ตลอดเวลา การติดตั้งไฟคล้ายช่องแสงสกายไลท์ที่ส่องลงมาบนโต๊ะทำงานที่มีหน้าจอคอมพิวเตอร์รอบทิศทาง ซึ่งทั้งหมดคอยควบคุมให้เราตื่นตัวกับการทำงานได้ตลอดไม่ว่าจะเวลาไหนก็ตาม
เมื่อต้องการทำกิจกรรมเล่นเกม หรือออกกำลังกาย ซึ่งแน่นอนว่าจำเป็นต้องใช้พื้นที่เยอะขึ้น แต่เรื่องเหล่านั้นจะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพราะเฟอร์นิเจอร์ หรือข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็พร้อมที่จะพับตัวได้อัตโนมัติไม่ให้เป็นสิ่งกีดขวาง หรือหากใครชื่นชอบถ่ายรูปลงบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค เพียงแค่ยกมือถือขึ้นมาถ่ายรูป ไฟส่องสว่างทั้งหมดก็จะส่องเข้าหาเราได้โดยอัตโนมัติ และถ้ามีพื้นที่ให้สัตว์เลี้ยงที่รักของเราด้วย ก็ช่วยเสริมให้ทุกมุมของห้องเป็นที่วิ่งเล่นของสัตว์เลี้ยง และสามารถเป็นจุดถ่ายรูปได้ดีอีกด้วย
หากพูดถึงพื้นที่ส่วนกลางอย่างห้องรับแขก ครัว หรือพื้นที่รับประทานอาหารแล้ว พื้นที่เหล่านี้ไม่จำเป็นที่จะต้องออกแบบให้มีขนาดใหญ่ เพราะความต้องการใช้พื้นที่ของคนยุคใหม่ไม่ค่อยได้ใช้พื้นที่ส่วนกลางเท่าไหร่นัก แต่กลับกันพวกเขาต้องการพื้นที่ส่วนตัวมากยิ่งขึ้น และไม่ต้องการให้มีใครมารบกวนในช่วงการทำกิจกรรมของพวกเขา
พื้นที่ส่วนกลางเปลี่ยนไปตามพฤติกรรม
พื้นที่ส่วนกลาง ถือเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันได้ แต่จากสถิติพบว่าคนไทยทำงานหนักที่สุดโดยเฉลี่ยมากถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้การมีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวเฉลี่ยเหลือแค่ 3 ชั่วโมงต่อวัน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการทำอาหารรับประทานกันเองภายในครอบครัวก็เริ่มลดน้อยลงไป เพราะมีการรับ – ส่งอาหารที่มากถึง 120 ล้านออเดอร์ต่อปี และติดมือถือมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เองมีโอกาสทำให้การออกแบบบ้านในอนาคตเปลี่ยนไปด้วย แน่นอนว่าอาจจะทำให้ผู้คนเกิดปัญหาทั้งสุขภาพกาย และจิตใจที่นับวันยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
การออกแบบที่ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์
เพราะ Common Space หรือพื้นที่ส่วนกลางของบ้าน มักจะเป็นพื้นที่รวมตัวของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นห้องรับแขก ห้องครัวพื้นที่รับประทานอาหาร หรือสวนในบ้าน หากขาดพื้นที่เหล่านี้ไปความอบอุ่น ที่เป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ภายในครอบครัวก็อาจจะถูกลบเลือนหายไปได้เช่นเดียวกัน
จริง ๆ แล้วเรื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญของครอบครัวของคนไทยเลยก็ว่าได้ เพราะฉะนั้น ‘ห้องครัว’ เลยมักถูกออกแบบให้กลายเป็น Hub ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังพื้นที่รับประทานอาหาร และคงเป็นเรื่องดีไม่ใช้น้อยถ้าทุกคนภายในบ้านได้มีกิจกรรมการทำอาหาร และเรียนรู้พร้อมเสิร์ฟอาหารรสชาติฝีมือของกันและกัน หรือเมื่อกินเรียบร้อยแล้ว ก็ช่วยล้างจานคนละไม้คนละมือ ช่วยให้ภายในบ้านสร้างปฏิสัมพันธ์ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นได้จากการออกแบบทั้งสิ้น
การเปิดพื้นที่ให้พื้นที่ภายนอกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งภายในบ้าน นอกจากจะทำให้เรามองเห็นพื้นที่สวนสีเขียวแล้ว การระบายถ่ายเทอากาศได้ดียังเป็นตัวกระตุ้นเชิญชวนให้คนในครอบครัวมานั่งผ่อนคลาย ได้สร้างกิจกรรมให้กับคนในบ้านได้ โดยการใช้ประตูกระจกบานใส หรือประตูที่สามารถเปิดได้กว้างขวาง เช่น บานเฟี้ยม ก็สามารถเป็นตัวเลือกให้บ้านของเราดูน่าทำกิจกรรม และพูดคุยกันได้เพิ่มมากขึ้น
สำหรับห้องนั่งเล่น เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่คนในครอบครัวมักจะเข้ามาใช้กันอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามห้องนี้ต้องมีขนาดกว้างพอดีเพื่อรองรับกิจกรรมได้หลายรูปแบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์พูดคุยกัน จึงไม่ควรกำหนดตายตัวว่าต้องใช้สำหรับดูทีวีเท่านั้น แต่ต้องจัดวางมุมเฟอร์นิเจอร์ให้สามารถใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการ คิดงาน อ่านการ์ตูน ฟังเพลง หรือนั่งเล่นบอร์ดเกม เป็นต้น
ต้องยอมรับว่าพื้นที่ส่วนกลางที่มีเฟอร์นิเจอร์นั่งสบาย ปรับเปลี่ยนให้ใช้งานกับพื้นที่ได้สะดวก ถือเป็นองค์ประกอบอันดับต้น ๆ ที่ดึงดูดให้คนอยากใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งถ้าหากมีเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถพับได้และปรับเปลี่ยนการใช้งานไปตามความเหมาะสม ก็ช่วยให้ทุกคนอยากมาใช้พื้นที่ส่วนกลางมากขึ้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมด การมีพื้นที่ส่วนกลางที่มีขนาดพอดี และรองรับการใช้งานของสมาชิกภายในบ้านได้ครบครันจึงน่าจะตอบโจทย์มากที่สุด เพราะว่ามีขนาดพอดีที่จะให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างสะดวกสบาย ทำให้รู้สึกใกล้ชิดกันได้จนรู้สึกผ่อนคลายที่จะแชร์ทุกเรื่องราว ช่วงเวลา และกิจกรรมต่าง ๆ ไปด้วยกัน ซึ่งการที่มีพื้นที่ที่ใหญ่เกินความจำเป็นอาจทำให้พื้นที่ถูกทิ้งให้ว่างเปล่าได้ในที่สุด
สัมมากรคำนึงถึงความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์ และความสุขของการอยู่อาศัย
เพราะสัมมากรได้คำนึงถึงความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์และความสุขของการอยู่อาศัยมากกว่าการอยู่ร่วมกันเป็นสำคัญ การออกแบบ และการจัดวางที่ดีจึงเป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยให้พื้นที่ภายในบ้านเอื้ออำนวยให้คนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งแน่นอนว่าถ้ามีบ้านที่ดีแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับการอยู่อาศัยให้มีปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัวจนนำไปสู่ความสุขที่ใครก็ต่างคาดไม่ถึง
เช่นเดียวกับบ้านของสัมมากรที่ตั้งใจอยากให้ทุกคนในครอบครัวสามารถมีปฏิสัมพันธ์ไปพร้อม ๆ กับสร้างสังคมที่ดี และเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน รวมไปถึงด้านสภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลายจากพื้นที่สีเขียว และทำเลที่ตั้งที่ได้เลือกสรรมาเป็นอย่างดี จึงเป็นบ้านที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ และเอาใจใส่ทุกคนเหมือนเป็นดั่งครอบครัวเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวคิดที่สัมมากรใช้มานานกว่า 50 ปี แล้ว
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมของบ้าน “สัมมากร” สามารถเข้าไปชมได้ที่เว็บไซต์ sammakorn.co.th/ หรือ facebook.com/sammakorn หรือติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.02-106-8300
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!