สัมผัสประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยี ศิลปะ และสภาพแวดล้อม
ผ่าน Architectural Installations ในงาน Venice Art Biennale 2022

นิทรรศการศิลปะนานาชาติครั้งที่ 59  La Biennale di Venezia ได้เปิดประตูสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จนไปถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน งานนี้จัดขึ้นในเมืองเวนิส ประเทศอิติลี ภายใต้ชื่อ “The Milk of Dreams” นิทรรศการนี้มีผลงานจากศิลปินกว่า 210 คน จาก 58 ประเทศ ภายในงานมีผลงานศิลปะและการจัดวางนับพันชิ้นที่ส่งเสริมศิลปะ วิทยาศาสตร์ การวิจัย และการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาจากมนุษยศาสตร์สิ่งแวดล้อม นิทรรศการในปีนี้ดูแลจัดการโดย Cecilia Alemani และ Biennale di Venezia ภายใต้การกำกับของ Roberto Cicutto

หนึ่งในความน่าสนใจของงานนี้ คือ Architectural Installations ที่แต่ละอาคารมีเรื่องราว เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยี ศิลปะ และสภาพแวดล้อม ถูกเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ทำให้เรานึกถึงรากฐานสำคัญของเรื่องราวต่างๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีสถาปนิก และศิลปินเข้ามาสร้างสรรค์ให้ออกมาดูแตกต่าง ทำให้งานแต่ละชิ้นน่าสนใจออกมาไม่ซ้ำใครอย่างแน่นอน

Hanji House Pavilion / Stefano Boeri Architetti

Hanji House ออกแบบโดย Stefano Boeri Architetti ศาลาแห่งนี้เป็นตัวเชื่อมให้กับนิทรรศการศิลปะของ Chun Kwang Young ศิลปินชาวเกาหลี ซึ่งมีภาพจิตรกรรม และประติมากรรม ที่อยู่ภายในอาคาร Palazzo Contarini Polignac

Hanji House ได้ไอเดียมาจาก “ฮันจิ” เป็นเทคนิคการพับกระดาษผลหม่อน หรือ กระดาษพันปี ซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมของชาวเกาหลีใต้ กระดาษนี้มีความต้านทางสูง Chun Kwang Young จึงนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานในการปั้นรูปสัตว์ ที่ชวนให้รู้สึกถึงการมีชีวิตของรูปปั้นเหล่านั้น และฉากที่เป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

Hanji House ชวนให้นึกถึงการพับกระดาษในหลายๆ ด้าน คล้ายกับแทนแกรมแบบโบราณในเอเชียตะวันออก นอกจากนี้รูปแบบลักษณะนี้ก็ยังมาจากบ้านแบบดั้งเดิมของเกาหลี และเอเชียตะวันออกที่มีพื้นฐานมาจากการสร้างโมดูลทางคณิตศาสตร์แบบง่าย อาคารแห่งนี้จึงเป็นการผสมผสานของโมดูล และให้แสงสว่างเหมือนโคมไฟให้กับสถาปัตยกรรมยุคเรอเนสซองส์บริเวณรอบพื้นที่ในเวลากลางคืนได้ เพราะอาคารหลังนี้ติดตั้งอยู่ภายในสวนของ อาคาร Palazzo Contarini Polignac

ภายใน Hanji House มีการจัดวางศิลปะเชิงโต้ตอบแบบเรียลไทม์ ได้รับการพัฒนาโดยศิลปินมีเดีย Calvin J. Lee Lee ที่ฉายไปบนสามเหลี่ยมของอาคาร พื้นที่นี้จึงดูน่าสนใจราวกับว่าให้ทุกๆ คนสามารถเดินชมผ่านภายในผลงานของ  Chun Kwang Young ที่พูดถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตกับค่านิยมทางสังคม และนิเวศวิทยาของความสัมพันธ์ ได้อย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

Turba Tol Hol-Hol Tol, the Chilean Pavilion

Turba Tol Hol-Hol Tol Pavilion เป็นโครงการที่นำโดยภัณฑารักษ์ Camila Marambio ที่ได้สำรวจพื้นที่อนุรักษ์และได้มองเห็นพื้นที่ป่าพรุ ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ถูกมองข้าม ที่ถือว่าเป็นระบบนิเวศทางธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสะสมคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ

ภายในศาลาแห่งนี้บอกเล่าเรื่องราวว่าระบบนิเวศที่สำคัญทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีวัฒนธรรมพื้นเมือง งานนี้นำเสนอโดยกระทรวงวัฒนธรรม ศิลปะ และมรดก และกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลชิลี การติดตั้งนี้เป็นผลงานของทีมศิลปิน และนักออกแบบมากมาย อธิเช่น ศิลปินเสียง Ariel Bustamante นักประวัติศาสตร์ศิลป์ Carla Macchiavello ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ Dominga Sotomayor และสถาปนิก Alfredo Thiermann รวมถึงสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า-ชิลี สวน Karukinka แห่ง Tierra del Fuego และมูลนิธิวัฒนธรรม Selk’nam Hach Saye

Dixit Algorizmi – The Garden of Knowledge / Uzbekistan Pavilion

Dixit Algorizmi สวนแห่งความรู้ ดูแลโดย Space Caviar และ Sheida Ghomashchi ศาลาแสดงภาพสะท้อนเกี่ยวกับผลงานของ Muhammad ibn Mūsā al-Khwārizmī นักวิทยาศาสตร์และพหูสูตที่ได้นำตัวเลขฮินดู-อารบิกไปเยือนยังในยุโรป งานวิจัยที่สำคัญที่สุดของ Al-Khwārizmī เกิดขึ้นที่ House of Wisdom ในกรุงแบกแดด ซึ่งถือเป็นสถานที่ชุมนุมและแลกเปลี่ยน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สวนที่เป็นทางการสำหรับประเพณีอิสลามโดยเฉพาะ Dixit Algorizmi สวนแห่งความรู้ จึงเป็นตัวแทนที่กล่าวถึงประเพณีอิสลาม อันเป็นสถานที่ชุมนุมและแลกเปลี่ยน เกี่ยวกับความเชื่อต่างๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้ศิลปะร่วมสมัยเพื่อสำรวจหารากฐานเก่าแก่ ที่ได้เดินทางมากจากสถานที่ห่างไกล

ภายในศาลาออกแบบด้วยอะลูมิเนียมขัดเงา พื้นผิวสะท้อนแสง และความสมมาตรที่ชวนให้นึกถึงสวนที่มีการออกแบบให้เป็นทรงทางเรขาคณิต โดยเฉพาะแอ่งน้ำสะท้อนแสงใจกลางสวนอิสลามแบบดั้งเดิม พื้นที่ยังมีการออกแบบสวนพฤกษศาสตร์ของ ต้นลาเวนเดอร์แบบแห้งห้อยลงมาให้เสมือนกับเป็นเมฆที่ลอยอยู่ ลาเวนเดอร์ยังเป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอุซเบกิสถาน ซึ่งมักจะสร้างความโดดเด่นให้กับงานสถาปัตยกรรมของอุซเบกิสถานด้วย ภายในมีการติดตั้งเสียงโดยนักดนตรีอุซเบกิสถาน Abror Zufarov และศิลปินและนักแต่งเพลง Charli Tapp ทำหน้าที่เป็นนักประพันธ์เพลง โดยเชิญชวนให้พวกเขาทดลองด้วยอัลกอริทึมของ Velocity0

Writer
Watsapon Vijitsarn

Watsapon Vijitsarn