Search
Close this search box.

การรวมตัวครั้งแรกระหว่างฝีมือช่างท้องถิ่นและแบรนด์ไม้เนื้อแข็งอเมริกา
ที่นำมาสู่เฟอร์นิเจอร์ไม้สุดสร้างสรรค์

ในวงการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ดีไซเนอร์หลายคนมักรู้กันดีว่า วัสดุไม้แข็งจากประเทศสหรัฐอเมริกามีความแข็งแรง ทนทาน มีคุณภาพสูง และมีเนื้อไม้หลากลวดลาย หลายโทนสีให้เลือกนำมาออกแบบ 

ซึ่งมาจากการที่ American Hardwood Export Council (AHEC) สมาคมการค้าระหว่างประเทศ ผู้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนส่งออกไม้เนื้อแข็งของสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสำคัญกับการปลูกป่าไม้เนื้อแข็งอย่างยั่งยืน โดยการดูแลจัดการป่าให้เจริญเติบโตได้ดีตามธรรมชาติของแต่ละสายพันธุ์ และในระบบนิเวศที่แตกต่างกันของแต่ละภูมิภาค เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตถึงขนาดมาตรฐานแล้วจึงค่อยตัดเก็บเกี่ยว พร้อมทั้งมีการปลูกต้นไม้ทดแทนในจำนวนมากกว่าส่วนที่เก็บเกี่ยวไป ทำให้ป่ายังคงเขียวชะอุ่มอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ 

ด้วยคุณภาพของวัสดุและการจัดการที่ยั่งยืนเหล่านี้ จึงเป็นสาเหตุที่ดีไซเนอร์ชื่อดังหลายคนเลือกนำวัสดุไม้เนื้อแข็งอเมริกาจาก American Hardwood Export Council เช่นเดียวกับ Abie Abdillah ดีไซเนอร์ชาวอินโดนีเซีย ผู้ก่อตั้งสตูดิโองานคราฟท์จากไม้อย่าง Studio Hiji

Clover Table ภาพจาก Studio Periphery

Abdillah ให้ความสำคัญกับงานฝีมือของช่างในท้องถิ่นเสมอมา เขาทำงานร่วมกับโรงไม้ที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง เน้นการสร้างเฟอร์นิเจอร์ด้วยงานมือมากกว่าใช้เครื่องจักร เราจึงเห็นผลงานทุกชิ้นของเขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเขามองว่างานฝีมือทำให้เขาได้คุณภาพเฟอร์นิเจอร์ที่ดีกว่า ทั้งยังสามารถสนับสนุนชุมชนช่างฝีมือท้องถิ่นในประเทศอินโดนีเซียไปพร้อม ๆ กัน

“งานฝีมือ คือ สิ่งที่แสดงความเป็นอินโดนีเซียอย่างแท้จริง เนื่องจากเรามีพรสวรรค์ด้านงานหัตถกรรมที่หลากหลาย และมีวัสดุที่พร้อมให้เลือกใช้อยู่มากมาย การสร้างชิ้นงานต่าง ๆ ด้วยมือจะทำให้เกิดความแตกต่าง และสิ่งนี้เองจะช่วยให้ผลงานของเราต่างจากเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกผลิตโดยเครื่องจักรออกมาทีละจำนวนมาก” – Abie Abdillah

เดิมทีเฟอร์นิเจอร์ของเขามักทำจากไม้ท้องถิ่นของอินโดนีเซีย แต่เมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่เขาได้ลองใช้วัสดุไม้เนื้อแข็งจากอเมริกา จึงค้นพบว่าเป็นวัสดุที่ตอบโจทย์กับการทำงานคราฟท์เป็นอย่างมาก ด้วยลักษณะไม้เนื้อแข็งที่แกะสลักได้ไม่ยาก เอื้อต่อการทำงานของช่างฝีมือ และในขณะเดียวกันก็มีความแข็งแรง สามารถนำมาใช้งานได้ดี 

จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวคอลเล็กชันแรกของเขา ที่ใช้ไม้เนื้อแข็งจากอเมริกาในการสร้างผลงานเฟอร์นิเจอร์ ที่งานแสดงสินค้า FIND – Design Fair Asia ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม Marina Bay Sands ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งคอลเล็กชันนี้ได้นำเสนอ Clover Table ที่เป็นการนำกลิ่นอายความดั้งเดิมของฝีมือช่าง มาปรับเข้ากับความทันสมัยของวัสดุท็อปโต๊ะที่ทำจากไม้โอ๊คขาวและขาโต๊ะที่ทำจากไม้วอลนัทได้อย่างลงตัว

Clover Table ภาพจาก Studio Periphery

Abdillah เป็นดีไซเนอร์อีกหนึ่งคนที่ตระหนักเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่ด้วยการปลูกป่าอย่างยั่งยืนของ AHEC จึงทำให้เขาคลายความกังวลได้ เพราะแม้การขนส่งระหว่างประเทศที่อาจจะก่อให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ แต่การที่ AHEC ดูแลต้นไม้ให้มีสุขภาพดี และปล่อยให้ต้นไม้เจริญเติบโตเต็มที่ก่อน จึงทำให้ต้นไม้แต่ละต้นมีเวลาช่วยดูดซับกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต แปรรูปและขนส่ง

นอกจากนี้การที่ AHEC ยังมีใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยให้เขาสามารถนำเข้าวัสดุคุณภาพระดับพรีเมียมได้ง่าย ในราคาที่สมเหตุสมผล ท่ามกลางสภาวะอุตสาหกรรมไม้ท้องถิ่นระดับพรีเมียมในอินโดนีเซีย ที่เริ่มขาดตลาดและมีราคาแพงมากขึ้นเรื่อย ๆ 

“ผมอยากที่จะผลักดันจุดยืนในการรังสรรค์ผลงานระดับพรีเมียม ผมจึงเลือกใช้ไม้เนื้อแข็งของอเมริกา สำหรับในอนาคต ผมต้องการทดลองผสมผสานไม้ของอเมริกาเข้ากับวัสดุในท้องถิ่นมากขึ้น มันคือการใช้วัสดุที่ดีจากทั่วโลก นำมาผ่านการขัดเกลาโดยช่างฝีมือชาวอินโดนีเซียเพื่อโอบอุ้มกลิ่นอายของท้องถิ่น” ดีไซเนอร์กล่าวย้ำถึงมุมมองในอนาคต

หากสนใจเกี่ยวกับไม้เนื้อแข็งอเมริกา สามารถดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.americanhardwood.org หรือช่องทาง Facebook: @americanhardwoodSEA และ Instagram: @ahec_sea

Photo Credits : Studio Periphery

Writer
Nara Aunjai

Nara Aunjai

อดีตนักเรียนสถาปัตย์ที่ดำรงอาชีพนักเขียนเป็นงานหลัก นักแปลเป็นงานรอง และรับออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมเป็นงานพาร์ทไทม์

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading