หนึ่งในสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการขายงาน แน่นอนว่าคือ เทคนิคการทำ Presentation ที่สวยงาม ดึงดูดและสื่อสารแนวคิดการออกแบบให้ลูกค้าเข้าใจง่ายมากที่สุด
ซึ่งแต่ละสตูดิโอก็จะมีแนวทางในการทำภาพทัศนียภาพ หรือภาพแสดงแนวคิดที่แตกต่างกันไปตามเทคนิค ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในโปรแกรม และความต้องการ รวมถึงความชื่นชอบในสไตล์ความสวยงาม
เราชวนมาดู 4 ตัวอย่างการทำภาพเรนเดอร์ จากเหล่าดีไซน์เนอร์มืออาชีพที่แตกต่างทั้งโปรแกรม วิธีการ รวมถึงสไตล์ที่แตกต่างกัน!
Junsekino Architect and Design
“หลักๆ ทีมผมจะใช้โปรแกรม G-star cad และ Pixelmator pro เราชอบการสื่อสารแบบ 2 มิติ ในเรื่องของการดูสัดส่วนจริง ขนาดต่าง ภาพรวมของงาน ซึ่งเรามองว่าการทำเป็นภาพขาวดำ มันจะแสดงความจริงเรื่องพวกนี้ออกมาได้มากขึ้นครับ
ซึ่งขนาด-สัดส่วน-มิติ-จังหวะ เราเขียนแบบเรื่องพวกนี้ให้เห็นกันอยู่แล้ว เลยมองว่า ไหนๆ จะเหนื่อยแล้ว เลยมาเติมบางเรื่องเข้าไป ทำให้งานเรามีภาษาสื่อสารได้อีกรูปแบบหนึ่งครับ”
“เราขึ้นโมเดล 3D จากโปรแกรม Sketchup และเรนเดอร์ใน V-ray จากนั้นแต่งภาพใน โปรแกรม Photoshop บางอย่างเราทำ Perspective จากรูปตัด ทำให้เห็นภาพรวมของตัวบ้านมากขึ้น ก็จะใช้วิธีต่างกันเล็กน้อย นั่นคือขึ้น 3D จาก Sketchup และแต่งภาพใน photoshop เลย
เราใช้วิธีนี้ด้วยเรื่องความสะดวก และความเหมาะสมในการทำงาน เป็นเทคนิคทั่วไปที่น้อง ๆ ทุกคนสามารถทำได้แน่นอน ซึ่งในสเต็ปการทำภาพเหมือน เราไม่ต้องการให้ภาพดูสมจริงขนาดนั้น เพราะต้องการทำภาพที่บรรยากาศภาพสามารถทำให้ลูกค้าอินกับงาน โดยที่สามารถไปจินตนาการต่อได้ว่า สร้างจริงแล้วจะออกมาเป็นยังไง? (แต่ไม่ได้ถึงกับไม่สมจริงขนาดนั้น) ส่วนเรื่องสไตล์ เรียกได้ว่าไม่ได้มีสไตล์แบบไหน แต่เป็นรูปแบบที่หาแนวทางจนปรับมาลงตัวจนมาเป็นสไตล์ของเรา”
“ปกติ ทีมเราจะขึ้น 3d ด้วยโปรแกรม Sketchup และเรนเดอร์ด้วย D5 เราพยายามทำให้สมจริงเท่าที่ทำได้โดยไม่ใช้เวลาในการทำนานมากเกินไป มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแมททีเรียลต่าง ๆ ให้ลูกค้าได้ทดลอง
แชร์ว่า เมื่อก่อนเราเคยใช้โปรแกรม Octane หรือ Lumion ในการเรนเดอร์แต่ลูกค้ามองค่อยไม่ออก หรือมองว่าแสงไม่สมจริง โดยเฉพาะกับงานตกแต่งภายใน ซึ่งพอเราใช้ D5 ลูกค้าก็ชอบมากขึ้นครับ”
“การทำ Perspective สำหรับสื่อสารกับลูกค้า หลังจากดีไซน์ลงตัวเรียบร้อย จะเริ่มจากการเคลียร์โมเดลผ่าน SkecthUp และใช้โปรแกรม D5 หรือ Lumion ในการเรนเดอร์และจบด้วย Adobe Photoshop โดยเน้นให้สามารถสื่อสารได้ครบถ้วนตรงประเด็น
ส่วนรูปแบบ Perspective ในการเล่างานหลังจากปรับแบบดีไซน์จะเลือกใช้วิธีการพรีเซนท์ที่หลากหลายตามความเหมาะสมกับโปรเจกต์นั้นๆ เช่นวิธีการเรนเดอร์หรือใช้การคอลลาจ ผ่าน PhotoShop เป็นต้น เพื่อการเผยแพร่งาน ที่สามารถเล่าร่วมไปกับภาษาของงานสถาปัตยกรรมได้
ขั้นแรกสำหรับทำ Perspective ที่ใช้พรีเซนท์ลูกค้า เราพยายามหาตัวช่วยที่ทำให้ขั้นตอนการทำงานไม่ซับซ้อน และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ครบถ้วน เพราะฉะนั้นโปรแกรมที่เลือกใช้ค่อนข้างมีผลและช่วยให้เราสามารถไปลงรายละเอียดกับพาร์ทอื่นๆ ได้มากขึ้น ส่วนเรื่องสไตล์ เราไม่เจาะจง เพราะอยากค้นหาและปรับเปลี่ยนวิธีการไปตามเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วย และสามารถสนุกไปตามการเล่าเรื่องของโครงการนั้นๆ ”
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!