8 ดีไซน์ที่เปลี่ยนภาพจำบ้านโครงการ Luxury ให้ไม่ซ้ำแพทเทิร์นเดิม

ขึ้นชื่อว่าบ้านโครงการ สิ่งที่หลายคนคิดตามมามักจะเป็นบ้านที่ออกแบบผังรวมถึงมีรูปลักษณ์หน้าตาเหมือน ๆ กัน จนหลายคนตั้งคำถามว่า บ้านโครงการที่ปรับเปลี่ยนสเปซค่อนข้างยากจะตอบโจทย์การใช้งานระยะยาวมากน้อยแค่ไหน?  

ชวนไปส่องการออกแบบสเปซ BuGaan กรุงเทพกรีฑา บ้านโครงการใหม่ในระดับ Luxury จากแบรนด์แสนสิริที่หยิบแนวคิด Modern Luxury ที่เรามักได้ยินกันในคอนเซ็ปต์บ้านโครงการมาดีไซน์ในแบบเฉพาะตัวตั้งแต่อาคารภายนอก การวางผังบ้านภายใน และการเลือกใช้วัสดุรวมถึงของตกแต่งที่ตอบโจทย์ความต้องการคนยุคใหม่เพื่อให้ ‘My Home Speaks for Myself’ หรือเพื่อให้บ้านโครงการถูกคิดจากไลฟ์สไตล์ของลูกค้าจริงๆ

วางผังโครงการแบบ Cluster Layout

ประเด็นน่าสนใจอันดับแรก ๆ ที่เราไม่ค่อยเห็นในการออกแบบบ้านโครงการทั่วไปมากนัก คือการวางมาสเตอร์แปลนโครงการในลักษณะ Cluster Layout ซึ่งโดยปกติมักจะเห็นในการออกแบบรีสอร์ทที่มีการแบ่งกลุ่มก้อนของสเปซออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้โครงการบ้าน 48 ยูนิตนี้ มีบ้านในแต่ละยูนิตแบบเป็นส่วนตัวจากมุมมองที่ไม่ได้หันหน้าเข้าหากันตรง ๆ รวมถึงมีสเปซเอาท์ดอร์สำหรับพื้นที่สีเขียวเพื่อให้แต่ละพื้นที่ภายในบ้านสามารถเชื่อมต่อโซนสีเขียวนี้ได้มากยิ่งขึ้น

Double Volume Space หลายจุดในบ้าน

พื่อให้บ้านดูโปร่ง โล่ง โอ่โถ่ง การมี Double Volume Space ช่วยได้มากสำหรับบ้านในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสให้อากาศไหลเวียน รวมถึงแสงธรรมชาติเข้าถึงพื้นที่ภายในได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งโครงการนี้จุดเด่นไม่ใช่แค่การออกแบบพื้นที่ Double Volume Space เฉพาะฟังก์ชันสำคัญของบ้านเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพื้นที่ Common Area ส่วนต่าง ๆ ของบ้านตั้งแต่ห้องนั่งเล่นบริเวณชั้น 1 พื้นที่ Family Room ชั้น 2 หรือแม้แต่มุมส่วนตัวในห้องนอน ทำให้พื้นที่แห่งการพักผ่อนแต่ละจุดมีคาแร็กเตอร์ของตัวเองที่ดีไซน์ได้อย่างชัดเจน และยังทำให้แต่ละพื้นที่ในบ้านระหว่างชั้น 1-3 นี้สามารถมองเห็นเชื่อมต่อกันทางสายตาโดยไม่มีผนังกั้นห้องมาบดบัง

Connecting Space ฟังก์ชันสำคัญที่เชื่อมต่อกันในบ้าน

อีกจุดที่แตกต่างจากบ้านโครงการทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด คือ Pain point หลักๆ ที่ทำให้คนไม่ค่อยถูกใจบ้านโครงการอย่างการวางผังในลักษณะจำกัดด้วยผนังและขนาดของห้องต่าง ๆ ที่คิดมาให้เป็นที่เรียบร้อย แต่สำหรับโครงการนี้ เราเห็นการวางผังในรูปแบบใหม่ที่ให้การเชื่อมต่อระหว่างสเปซในแต่ละฟังก์ชันสมูทมากขึ้น และยังให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ทำให้หลายๆ พื้นที่ในบ้านสามารถมองเห็นกันได้ถึงแม้ฟังก์ชันเหล่านั้นจะไม่ได้อยู่ติดกัน ยกตัวอย่าง โถงห้องนั่งเล่นที่มองเห็นคอร์ริดอร์ทางเดินยาว, พื้นที่ส่วนกลางของครอบครัวที่เชื่อมต่อมองเห็นยาวตั้งแต่ชั้น 1 ไปจนถึงชั้น 3, หรือห้องนอนของลูก ๆ ที่สามารถมองเห็นระเบียงเอาท์ดอร์ของห้องนอนมาสเตอร์ที่อยู่ที่ฝั่งหนึ่งได้

Inside out – Outside in มุมสำคัญของบ้านมองเห็นสวน

นอกจาก Double Volume Space จะสร้างความโปร่งโล่ง และ Connecting Space จะทำให้แต่ละพื้นที่มองเห็นกันได้ ในการออกแบบพื้นที่ภายในยังใส่ใจเรื่องการมองเห็นและสัมผัสพื้นที่ธรรมชาติภายนอกด้วยการดีไซน์แบบ Inside out – Outside in ที่พยายามออกแบบให้เกือบทุกสเปซภายในบ้านสามารถเชื่อมต่อกับคอร์ดเอาท์ดอร์ในขนาดต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ อย่างเช่น ห้องครัวที่มีช่องเปิดรับแสงและลมธรรมชาติได้ ห้องรับประทานอาหารที่เปิดมุมมองออกสู่พื้นที่สีเขียวรอบบ้าน หรือระเบียงห้องนอนที่เป็นมุมนั่งเล่นรับลมได้บางเวลา หรือแม้แต่สเปซขนาดย่อมของบ้านอย่างห้องน้ำเราก็สังเกตเห็นการออกแบบที่แบ่งสัดส่วนอย่างชัดเจนและมาพร้อมช่องเปิดเพื่อให้แสงและลมธรรมชาติถ่ายเทได้สะดวก

Material Selection งานวัสดุระดับพรีเมียมที่ลงตัวกับสเปซ

ไม่ใช่แค่เรื่องการออกแบบสเปซ แต่บ้านในระดับ Luxury แน่นอนว่าต้องใส่ใจดีเทลในเรื่องของงานวัสดุ ซึ่งโครงการนี้ก็มีการคัดสรรหินอ่อนจากเหมืองที่ดีที่สุดทั่วทุกมุมโลกมาใช้ในการออกแบบโครงการและพื้นที่ภายในบ้าน อย่างเช่น บริเวณโถงต้อนรับในตัวบ้านที่ดีไซน์ให้ลวดลายหินเป็นแบบ Book match จากการคัดเลือกหินที่มีลวดลายสวยงามเป็นแผ่นหินขนาดใหญ่มาตัดตามพื้นที่ที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาต่อลายกันทำให้เกิดลวดลายใหม่ๆ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

Unique Iconic Furniture เฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งแบบ ‘One of a Kind’

ดีเทลต่าง ๆ ยังรวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ที่เลือกใช้คอลเล็กชันพิเศษอย่างผลงานระดับ World Iconic Piece และบางชิ้นก็มีการ customize ที่ทำให้โปรดักต์ออกมายูนีคแบบมีชิ้นเดียวในโลก เช่นเฟอร์นิเจอร์ที่ร่วมมือกับแบรนด์ Cassina หรือสุขภัณฑ์จากแบรนด์ระดับโลกอย่าง Villeroy & Boch หรือเก้าอี้ที่เป็นไอคอนิกของสถาปนิกระดับตำนานอย่าง LC4 Chaise Lounge จาก Le Corbusier

Details Matter ให้ความสำคัญแม้กระทั่งดีเทลเล็ก ๆ ในบ้าน

จากภายนอกที่ออกแบบในลักษณะโมเดิร์นที่เรียบง่ายแต่มีลูกเล่น เมื่อเข้ามาสู่ภายในจะเต็มไปด้วยสีสันของงานศิลปะและเฟอร์นิเจอร์ที่ทางดีไซน์เนอร์เล่าว่า  ค่อนข้างให้ความสำคัญกับ Color Palette ที่จะมาเติมเต็มพื้นที่ภายในบ้านให้สดใสไปด้วยสีสัน เพื่อให้ความรู้สึกเหมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะขนาดย่อมๆ นอกจากนี้ยังมีการคุมมู้ดโทนของ Ambient โดยให้ความสำคัญกับงาน Lighting ในทุก ๆ จุดของพื้นที่เพื่อให้แต่ละสเปซมีคาแร็กเตอร์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ส่วนตัวได้อย่างแท้จริง

Clubhouse Design กล้าดีไซน์พื้นที่ส่วนกลางให้มีเอกลักษณ์

ปิดท้ายด้วยสิ่งที่เป็นหน้าเป็นตาให้กับบ้านโครงการที่สุดอย่าง ClubHouse, Main Gate หรือพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งที่ BuGaan เองให้ความสำคัญกับงานดีไซน์ในส่วนนี้ ซึ่งเราจะเห็นได้ถึงรูปฟอร์มและงานวัสดุที่กล้าดีไซน์ให้ยูนีคแตกต่าง ทั้งทางเข้าโครงการ, Sculpture สุนัขที่สร้างความโดดเด่นให้โครงการ หรือบริเวณ Clubhouse เองที่ดีไซน์ด้วยความเรียบง่ายแต่ใช้ลูกเล่นของวัสดุมาสร้างความน่าสนใจ เรียกว่า ไม่มากไม่น้อยเกินไป แต่ทุกส่วนของโครงการต่างถูกคิดมาให้ตอบรับทั้งสุนทรียะ ฟังก์ชัน และไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยในย่านนั้น ๆ ได้อย่างพอเหมาะพอดี

แต่แน่นอนว่าความพรีเมี่ยมเหล่านี้ ส่งผลให้โครงการบ้านนี้อยู่ในระดับ Luxury ที่มีราคาเริ่มต้น 35 ล้านบาท แต่ตามมาด้วยพื้นที่แห่งการอยู่อาศัยที่ทั้งครบครัน และดีไซน์ให้ตอบโจทย์ความสวยงาม ฟังก์ชันในทุกด้าน รวมไปถึงรสนิยมที่สอดแทรกมาในทุก ๆ ดีเทลที่ผู้อยู่อาศัยสามารถสัมผัสได้อย่างเป็นตัวเอง

สัมผัสประสบการณ์การอยู่อาศัยในบ้านระดับ Luxury ที่บ่งบอกตัวตนบนทำเลศักยภาพที่ BuGaan Krungthep Kreetha และ เร็วๆ นี้ที่ BuGaan Pattanakarn และ BuGaan Rama 9-Mengjai สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม http://siri.ly/FfTLwo2

Writer
Rangsima Arunthanavut

Rangsima Arunthanavut

Landscape Architect ที่เชื่อว่าแรงบันดาลใจในงานออกแบบ สามารถเกิดขึ้นได้จากทุกสิ่งรอบตัว และการบอกเล่าเรื่องราวการออกแบบผ่าน 'ตัวอักษร' ทำให้งานออกแบบที่ดี 'มีตัวตน' ขึ้นมาบนโลกใบนี้