พื้นที่สาธารณะในเมือง (Urban public space) มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากร รองรับกิจกรรมและความต้องการที่หลากหลาย รวมถึงยังเป็นยังเป็นตัวเชื่อมพื้นที่และบริบทของความเป็นเมืองนั้นๆเข้าด้วยกัน ซึ่งประโยชน์ของของพื้นที่สาธารณะในเมืองนั้น ไม่ใด้มีฟังก์ชั่นแค่เพียงสถานที่พักผ่อน นันทนาการ สันทนาการ รวมถึงพื้นที่จัดแสดงอีเวนต์ หรือพื้นที่แสดงศิลปะประจำเมืองเท่านั้น แต่พื้นที่ดังกล่าวยังมีสามารถเป็น landmark หรือสัญลักษณ์ของเมือง ในลักษณะของจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ สร้างผลดีในแง่ของเศรฐกิจและสังคมต่อเมืองนั้นๆ มากมาย
ซึ่งในปัจจุบัน เมืองใหญ่ที่สำคัญทั่วโลก มักจะมีพื้นที่สาธารณะที่เป็นหน้าตาของเมืองตามแต่เขตสภาพอากาศและกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองนั้นๆอย่างเช่น สวนสาธารณะ central park ของเมืองนิวยอร์ก สระว่ายน้ำกลางแจ้งในเมืองโคเปนเฮเกน หรือสวนป่าเบญจกิตติของกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังมีสถาปนิกผังเมือง หรือนักออกแบบชุมชนจำนวนมากได้มีแนวคิดในการพัฒนาทางสัญจรสาธารณะ ที่ถูกทิ้งร้าง อย่างเช่น โครงสร้างทางหลวงยกระดับ ถนน คลอง โครงสร้างทางรถไฟเก่า ให้กลับมาใช้งานในรูปแบบของพื้นที่สาธารณะแบบ skywalk อีกครั้ง สิ่งดังกล่าวนับเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองที่น่าสนใจในอีกรูปแบบหนึ่ง
ทางสัญจรสาธารณะ ที่ถูกทิ้งร้าง สามารถนำมาพัฒนาบริบทของความเป็นเมืองได้อย่างไรบ้าง?
ทางสัญจรสาธารณะ ที่ถูกทิ้งร้าง มักเกิดขึ้นในสมัยยุครุ่งเรืองของเมืองนั้นๆ ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรษที่แล้วในช่วงยุค 1950 – 1980 โดยมักจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันคือ เป็นเส้นทางสัญจรแนวยาวที่แฝงตัวไปกับเมือง และเปรียบเสมือนเป็นสะพานในการเชื่อมส่วนต่างๆของเมืองเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นย่านเมืองเก่า ย่านการค้า ย่านธุรกิจ รวมถึงย่านที่พักอาศัย ซึ่งโดยทั่วไปโครงสร้างของมันมักจะพาดผ่านพื้นที่ของเมืองที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรม วิถีชีวิต ผู้คน สภาพแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองนั้นๆมากมาย การปรับปรุงทางสัญจรที่ถูกทิ้งให้เป็นพื้นที่สาธารณะของเมืองนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพของเมืองให้มีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้นแล้ว ยังจะเป็นการสร้าง landmark แห่งใหม่ให้กับเมือง อีกทั้งยังช่วยดึงดูดผู้คนให้เข้ามาท่องเที่ยวได้เช่นกัน ซึ่งในวันนี้จะขอมาพูดคุยโครงการพัฒนาทางสัญจรที่ถูกทิ้งให้เป็นพื้นที่สาธารณะ ของเมืองสำคัญทั้ง 3 ภูมิภาคมาพูดคุยกัน
Manhattan’s High Line
โครงการแรกที่นำมาพูดคุยกันในวันนี้เป็นโครงการต้นแบบของพื้นที่สาธารณะลอยฟ้า (skywalk) ที่ถูกใช้เป็นกรณีศึกษาอย่างมากมาย นั่นคือโครงการ Highline เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นลักษณะของการนำเส้นทางรถไฟเก่า The New York Central Railroad Line มาพัฒนาเป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ตั้งอยู่บริเวณ Lower East Side ของเกาะแมนฮัตตัน โดยเริ่มจากถนน Gansevoort พาดผ่านย่าน Chelsea ไปสิ้นสุดที่ย่าน Hudson Yards โดยทั้งตลอดเส้นทางมีทางเข้าออกเชื่อต่อกับเมืองมากกว่า 10 จุด ซึ่งเป็นหนึ่งใน landmark ของเมืองนิวยอร์กที่นักท่องเที่ยวต้องมาเยือนสักครั้ง เพื่อที่จะซึมซับบรรยากาศและวิถีชีวิตของนิวยอร์เกอร์ อีกทั้งยังเป็นสถานที่รวบรวมกิจกรรมที่เหมาะสำหรับทุกคน อย่างเช่น observation deck ที่สามารถรับชมทัศนียภาพของอันสวยงามแม่น้ำฮัดสัน, ลู่วิ่ง Jogging Track สำหรับการออกกำลังกาย, พื้นที่สีเขียวที่ชาวเมืองต่างพาสัตว์เลี้ยงมาเดินเล่น, ลานแสดงดนตรี, พื้นที่จัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้ง รวมถึงเป็นจุดเชื่อมต่อกับมิวเซียม คาเฟ่ โรงแรม และสถานที่สำคัญต่างๆ ของเมืองอีกมากมาย
โครงการดังกล่าวสร้างเสร็จเมื่อประมาณปี 2009 โดยได้รับการร่วมมือทางการออกแบบจากหลายภาคส่วน ทั้งสถาปนิก Diller Scofidio กับ Renfro และกลุ่มออกแบบแลนด์สเคปจากนิวยอร์ก James Corner Field Operations ที่ช่วยกันดูเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างทางรถไฟเก่า ให้สามารถกลับมาใช้งานได้ในลักษณะของ Skywalk รวมถึง Piet Oudolf จากเนเธอร์แลนด์ที่มาดูแลการใช้พันธุ์พืชทั้งหมดในโครงการ
ตลอดทั้งเส้นทางของ High Line จะมีการออกแบบแลนด์สเคปในลักษณะของทางเดินกรวดสลับคอนกรีต เพื่อให้รู้สึกว่าทางเดินเป็นส่วนเดียวกับรางรถไฟ โดยมีการเล่นแพทเทินของพื้นสลับพื้นที่สีเขียวจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งนึงอย่างสวยงาม และมีการเว้นระยะที่ว่างเพื่อให้เกิด Space สำหรับกิจกรรมต่างๆของผู้คนในเมืองได้ อีกทั้งยังมีการปลูกต้นไม้ ดอกไม้ มากกว่า 500 สายพันธุ์ให้กับเมือง สลับกับลานน้ำพุกลางแจ้งที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นตลอดทั้งเส้นทางและยังได้รับการออกแบบให้มีความกลมกลืนไปกับระนาบพื้นแสนด์สเคปได้อย่างลงตัว
ในส่วนของฮาร์ดสเคป มีการออกแบบให้มีระดับไม่เท่ากัน โดยสามารถใช้องค์ประกอบดังกล่าวเป็นที่นั่งพักผ่อน เฟอร์นิเจอร์สนาม เตียงอาบแดด ม้านั่งยาว จุดทิ้งขยะ ที่มีการใช้วัสดุและเส้นสายกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ รวมถึงพื้นที่นั่งพักผ่อนแบบอัฒจันทร์ ที่เปิดโล่งสู่ลานกลางแจ้งที่มีการระดับบริเวณจุดสิ้นสุดของทางรถไฟ เป็นพื้นที่คล้ายโถงกลางแจ้งที่สามารถรับชมทัศนียภาพของเมืองได้ ตลอดทั้งเส้นทางของ Highline จะมีการจัดวางชิ้นงานศิลปะแบบ Sculpture, การจัดแสดงดนตรี, Kiosk ขายของ, คาเฟ่, ร้านอาหารขนาดเล็กที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางพื้นที่สีเขียว โดยเฉพาะวันที่อากาศดี จะเป็นที่ชุมนุมของชาวนิวยอร์กเกอร์อย่างคับคั่งตลอดทั้งวัน
โครงการ The Highline ยังเปรียบเสมือนเสื้นเลือดเส้นเล็กๆที่เชื่อมบริบทของความเป็นเมืองในเขต Lower East Side ของเกาะแมนฮัตตันเข้าด้วยกัน มีจุดเชื่อมต่อกับสถานที่สำคัญหลายแห่ง อย่างเช่นจุดเชื่อมต่อกับโรงแรมสุดฮิปอย่าง The Standard High Line และ Hotel Americano ที่มีทางเข้าออกอยู่บนจุดเชื่อมต่อ Highline แขกผู้ใช้งานสามารถเข้าออกพื้นที่ ไปยังร้านอาหารและบาร์สุดเก๋ของโรงแรมได้, Chelsea Market อาคารอิฐสีแดงที่เป็นตลาดขายอาหารในย่านวัฒนธรรมที่เก่าแก่และสำคัญแห่งหนึ่งของชาวนิวยอร์ก เป็นศูนย์รวมร้านค้า ร้านขายอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่ขึ้นชื่อในเรื่องความสดของ Lobster และ Oyster รวมถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกัน The Whitney Museum ออกแบบโดย สถาปนิกอิตาเลียนรางวัล Pritzker อย่าง Renzo Piano เป็นพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะแบบไม่มีเสารับน้ำหนักที่ใหญ่ที่สุดของนิวยอร์ก ที่ภายในมีทั้งห้องสมุด ห้องอ่านหนังสือ คาเฟ่ รูฟทอปบาร์ ที่มีลานกลางแจ้งหน้าบริเวณโครงการเป็นพื้นที่สาธารณะ และเป็นอีกจุดเชื่อมต่อที่สำคัญของ The Highline
Seoullo 7017
Seoullo 7017 คือโครงการพัฒนาทางหลวงเก่า ใจกลางกรุง Seoul ประเทศเกาหลีใต้ ที่ไม่ได้ใช้งานตั้งแต่ปี 1970 ให้เป็นสวนลอยฟ้า (skygarden) ซึ่งออกแบบโดย MVRDV สำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองบิ๊กเนมจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อปี 2017 โดยเป็นการปรับปรุงทางหลวงเก่าที่เป็นโครงสร้างเหล็กความยาวประมาณ 980 เมตร สูงประมาณ 16 เมตร มาเป็นเส้นทางสาธารณะแบบ Skywalk ที่มีออกแบบแลนด์สเคปและฮาร์ดสเคป ด้วย Shape ทรงกระบอกกลมที่โดดเด่น และมีการเลือกใช้วัสดุและมีสีสันโทนสว่างแบบโมโนโทน ซึ่งแลดูความกลมกลืนกับบริบทความเป็นเมืองอย่างลงตัว รวมถึงได้รับการออกแบบแสงสว่างจาก Lighting Designer ชื่อดังจากประเทศเนเธอร์แลนด์ อย่าง Rogier van der Heide โดยการติดตั้งไฟหลืบแบบ Indirect Lighting สีโทนเย็นบริเวณฮาร์ดสเคป ทำให้ Effect ที่ออกมาแลดูคล้านกลับดวงดาวที่มีความสวยงามยามค่ำคืน
โดยตลอดทั้งเส้นทางมีการจัดวางกระถางทรงกลมที่รวบรวมพืชพันธุ์ของประเทศเกาหลีใต้ รวมทั้งต้นไม้ ไม้พุ่ม และดอกไม้ มากกว่า 25000 ต้น โดยกระถามดังกล่าวยังถูกใช้งานเป็นเฟอร์นิเจอร์สนามให้ผู้คนสามารถนั่งพักผ่อนได้ระหว่างวัน โดยมีบันได สะพาน บันไดเลื่อน และรวมถึงยังมีทางลาด ราวจับ และลิฟต์ เพื่อรองรับกับแนวคิด Universal Design โดย Seoullo 7017 จะมีจุดเชื่อมต่อกับ Urban Facilities ที่สำคัญในเมืองมากกว่า 15 แห่ง ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะ Seosomun Park, ห้องสรรพสินค้า Seoul Station Plaza โรงแรม และสถานีรถไฟใต้ดินที่สำคัญต่างๆ
โครงการ Seoullo 7017 มีพื้นที่บริเวณสวนลอยฟ้าทั้งหมดมากกว่า 9000 ตารางเมตร เป็นสถานที่ที่รวบรวมกิจกรรมทางสังคมแห่งใหม่ของ Seoul โดยผู้คนในเมืองสามารถเดินเล่นพักผ่อน เดินชมทัศนียภาพของเมือง รับชมการอีเวนต์ต่างๆ รวมถึงเป็นทางสัญจรที่เชื่อมระหว่างพื้นที่ต่างๆของย่านนั้นเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังมีการออกแบบฮาร์ดสเคปแบบศาลาทรงกลมขนาดเล็กมากกว่า 15 ยูนิต ที่มีขนาดและระดับชั้นต่างๆกัน โดยบางยูนิตสามารถเดินขึ้นไปบนหลังคาเพื่อรับชมวิวทิวทัศน์โดยรอบได้ โดยศาลาดังกล่าวจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานแตกต่างกัน เพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆของผู้คนทุกเพศทุกวัย อาทิเช่น คาเฟ่ ร้านค้าสะดวกซื้อ พื้นที่จัดนิทรรศการกลางแจ้ง ศาลาพักผ่อน โรงละครขนาดเล็กสำหรับเด็ก และศูนย์ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว และยังสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความต้องการ
จุดเชื่อมต่อของ Seoullo 7017 ที่สำคัญอีกจุดก็คือ Docking Seoul ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เป็นการพัฒนา Ramp ทางลาดที่จอดรถที่ไม่ได้ใช้งานไกล้กับสถานี Seoul station มาเป็นพื้นที่ทางศิลปะและวัฒนธรรม ที่ได้รับการออกแบบตกแต่งใหม่โดยบริษัทวิศวกรรม Hanwha Engineering & Construction ในรูปแบบของลานลาดวงรีขึ้นลงที่ไม่บรรจบกัน ยาวกว่า 200 เมตร ภายในมีการจัดแสดงชิ้นงานศิลปะโดยศิลปินท้องถิ่น และงาน Lighting installitionที่น่าสนใจมากมาย รวมถึงเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวที่มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดทั้งปีโดยไม่เสียค่าเข้าชม โครงการดังกล่าวถือเป็นการใช้พื้นที่สาธารณะทางศิลปะในการเชื่อมต่อระหว่างสวนลอยฟ้าและสถานีรถไฟที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของเมือง Seoul
PROMENADE PLANTEE
โครงการ Promenade Plantee คือการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายที่มีความเก่าแก่อันดับต้นๆของโลก ในย่านวัฒนธรรมกลางกรุงปารีส มาเป็นย่านการค้าและ Skywalk สาธารณะที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองปารีส โดยสถาปนิกและภูมิสถาปนิกชาวฝรั่งเศษอย่าง Philippe Mathieux และ Jacques Vergely ในปี 1988 โดยเส้นทางดังกล่าวมีความยาวประมาณ 4.7 กิโลเมตร สูงประมาณ 10 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากบริเวณด้านหลังของ Bastille Opera House และไปสิ้นสุดที่ Porte Dorée โดยมีทางลาด บันได และลิฟต์ เชื่อมต่อกับเบื้องล่าง ซึ่งเป็น Urban Facilities ที่สำคัญของเมือง อย่างเช่น สถานีรถไฟ Gare de Lyon รวมถึงเป็นย่านที่มี บาร์ ร้านอาหาร และย่านพักอาศัย ที่ไม่พลุกพ่านและยังมีมีกลิ่นอายของความเป็นเมืองปารีสแบบวัฒนธรรมดั้งเดิม
สวนสาธารณะลอยฟ้าแห่งนี้ เปรียบเสมือนโอเอซิสลับที่ซ่อนอยู่ในเมืองปารีส เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวและพืชพันธุ์ต่างๆที่มี สีสันสดใส มีพื้นที่สาธารณะที่รองรับกิจกรรมที่หลากหายของชาวปารีสเชียงอย่างหลากหลาย และได้มีการออกแบบลานพร้อมที่นั่งกลางแจ้และลานน้ำพุขนาดเล็ก (แอ่งน้ำ) ที่ดูกลมกลืนไปกับแลนด์สเคปของโครงการ รวมถึงเป็นพื้นที่เดินชมธรรมาติอันร่มรื่นและเส้นทางศึกษาวิถีชีวิตของชาวเมืองปารีสที่ตัดขาดจากเสียงจราจรภายนอกอันเงียบสงบ และยังมีจุดชมวิวที่สามารถรับชมทัศนียภาพจากมุมสูงได้จากด้านบน อีกทั้งยังมี Facility ต่างๆที่รองรับชาวเมืองอย่างครบครัน ทั้งลู่วิ่งออกกำลังกาย ลานสเก็ต ยิมกลางแจ้ง ทางเดินลอดระหว่างตึก พื้นที่นั่งปิกนิกพักผ่อน ลานแสดงงานศิลปะ ไปจนถึงกำแพงกราฟฟิตี้ ซึ่งที่ Promenade Plantee แห่งนี้ ยังถูกใช้เป็นฉากหลักในการถ่ายทำ ตามที่เราเห็นในจอภาพยนต์อีกหลายเรื่องด้วยนั่นเอง
เบื้องล่างของโครงสร้างทางรถไฟดังกล่าวคือ Viaduc des Arts ซึ่งเป็นย่านศิลปะและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงอีกแห่งของเมือง ซึ่งได้ถูกปรับปรุงใหม่ด้วยการตกแต่งด้วยอิฐสีแดง และมีการใช้ Profile ของเหล็กสนิม ซุ้มโค้ง ร่วมกับกรอบประตูไม้เก่า ที่มีความ Classy และ Timeless ผสมผสานกันอย่างลงตัว โดยมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะ พื้นที่ Workshop สำหรับช่างฝีมือที่มีทักษะสูง รวมถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โดยส่วนพื้นที่ที่เหลืออื่นๆใต้โครงสร้างทางรถไฟดังกล่าว ยังได้ถูกปรับปรุงเป็นร้านค้าที่บ่งบอกการประกอบอาชีพดั้งเดิมของชาวปารีส ทั้งร้านขายงานศิลปะที่มีมากกว่า 50 ร้าน ร้านบริการงานช่างฝีมือทำไวโอลิน ช่างเป่าแก้ว ร้านขายพรม ไปจนถึงร้านซ่อมเฟอร์นิเจอร์อันเก่าแก่
โครงการดังกล่าวได้ถือเป็นส่วนหนึ่งของย่านปารีสตะวันออกที่ยังคงเอกลักษณ์ความดั้งเดิมเอาไว้ได้อย่างน่าชื่นชม รวมถึงรูปแบบของฟาซาดอันสวยงามที่มีช่องลอดอุโมงโค้งตัดผ่านกับถนนจำนวนมาก และบางส่วนยังมีการโชว์โครงสร้างดั้งเดิมของเส้นทางรถไฟเอาไว้โดยมีสวนลอยฟ้าแบบ Skywalk ด้านบน ซึ่งตลอดเส้นทางของทั้งโครงการ ถือเป็นจุด Walking tour ที่สามารถเดินชมสถาปัตยกรรม สไตล์ Haussmann สุดคลาสสิก อันเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของย่านตะวันออกของปารีสได้ตลอดทั้งวัน
การชุบชีวิตเส้นทางคมนาคมเก่าที่ถูกทิ้งร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้กลับมาเป็นพื้นที่สาธารณะของเมือง นับเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง นอกจากจะช่วยเพิ่มพัฒนาศักยภาพของ Urban Facility และดึงดูดนักท่องเที่ยวแล้ว, ยังจะช่วยเพิ่มมูลค่าของพื้นที่โดยรอบได้ ตัวอย่างเช่นมูลค่าที่ดินตลอดทั้งเส้นทางของ Highline New York ที่มีมูลค่าสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดในรอบหลายปีที่ผ่านมา สุดท้ายนี้หากมองลึกลงไปในแง่ของความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมมาเป็นพื้นที่สาธารณะที่หยิบยกมาพูดคุยกันในวันนี้ ล้วนมีลักษณะทางกายภาพเป็นทางเดินยาวที่แฝงตัวไปกับบริบทของความเป็นเมือง และมีจุดเชื่อมต่อจำนวนมากที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงกับฟังก์ชั่นต่างๆของเมืองได้ สิ่งดังกล่าวอาจเป็นเหมือนการสร้างโครงข่ายของพื้นที่ คล้ายกับเส้นเลือดใหญ่และเส้นเลือดฝอย ที่ช่วยหล่อเลี้ยงและเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ประชาชน และส่วนประกอบต่างๆของความเป็นเมืองใด้เป็นอย่างดี
แหล่งที่มาภาพและข้อมูล:
– https://www.washingtonpost.com/graphics/2018/lifestyle/travel/high-line/
– https://www.alamy.com/stock-photo-the-new-high-line-park-wooden-seating-architecture-with-people-family-25105692.html
– https://www.mvrdv.nl/projects/208/seoullo-7017-skygarden
– https://www.theguardian.com/travel/2017/jun/07/paris-promenade-plantee-free-elevated-park-walkway-bastille-bois-de-vincennes
– https://www.chicagoparkdistrict.com/parks-facilities/bloomingdale-trail-park-park-no-572
– https://thegoodlifefrance.com/the-promenade-plantee-paris-the-most-unusual-park-in-the-city/
– https://www.rogiervanderheide.com/seoullo-7017-sky-garden-lighting-design/
– https://placesjournal.org/article/above-grade-on-the-high-line/
– FB : Le Viaduc des Arts Officiel
– FB : สวนป่าเบญจกิตติ
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!