บ้านหลังนี้แรกเริ่มทางลูกค้าได้เข้ามาพูดคุยก่อนการออกแบบ โดยมีโจทย์ว่าบ้านหลังนี้จะมีศาสตร์ด้านฮวงจุ้ยเข้ามาเป็นแกนหลักในการออกแบบสำหรับการวางตำแหน่งของฟังก์ชันภายในบ้าน หลังจากนั้นทางเราได้คุยกับทางชินแสและได้ตำแหน่งต่างๆมาคร่าวๆ โดยบางฟังก์ชันก็จะมีส่วนที่ขัดกับการใช้ชีวิตประจำวันของเจ้าของบ้านอยู่บ้าง แต่สุดท้ายทางเราได้ดีไซน์ลักษณะของ Space ภายใน และรูปแบบของอาคารเพื่อแก้ไขของการไม่เข้ากันทั้ง 2 อย่างนี้ โดยเน้นไปที่รูปแบบลักษณะภายนอกของอาคารทางตำแหน่งใช้งานช่วงกลางวัน จัดอยู่ทางทิศตะวันตก ดังนั้นสังเกตว่าตัวหลังคาจะออกแบบให้เป็นลักษณะชายคายื่นยาวกว่าปกติ เพื่อสร้างแสงเงาให้พื้นที่ที่ใช้งานประจำ และจะจัดวางตำแหน่งสวนไว้ทางทิศตะวันตกของตัวบ้านอีกที
เริ่มต้นจากภายนอกโครงการได้ออกแบบรั้วให้เป็นลักษณะทึบ สีขาว เนื่องจากต้องการให้รั้วดูเรียบงานที่สุด เพื่อจะยกตัวบ้านให้เด่นขึ้นชัดกว่าเดิม และเพื่อความเป็นส่วนตัวของสมาชิกภายในบ้าน ถัดมาลักษณะของตัวบ้านจะเน้นไปทาง Modern tropical ซึ่งจะเหมาะสมกับประเทศไทยเรา มีระแนงที่ทำหน้าที่ พรางตาจากคนภายนอก และลดอุณหภูมิตอนมีแสงส่องเข้ามากระทบตัวบ้าน
เมื่อเดินเข้าไปในบริเวณบ้านจะเป็นโรงจอดรถขนาดใหญ่ ที่พื้นโรงจอดปูด้วยพื้นหินสีดำดูเคร่งขรึม เชื่อมต่อกับสวนสไตล์ญี่ปุ่น ที่ใช้องค์ประกอบของน้ำ, ดิน และ ลม เสริมพลังแห่งธรรมชาติให้กับตัวบ้าน
โถงเข้าบ้านเชื่อมต่อธรรมชาติจากภายนอก เข้าสู่ภายใน ด้วยพื้นไม้ให้ความรู้สึกอบอุ่น ตั้งแต่หน้าบ้านเมื่อเดินเข้าไปในบ้านจะเจอกับ Foyer ที่เป็น Double space ที่ไม่ได้กว้างมากนัก แต่ทำให้ความรู้สึกเมื่อเข้ามาบ้านดูไม่อึดอัดโปร่งสบาย สัมผัสถึงความเรียบง่าย และแบ่งสัดส่วนในบ้านอย่างชัดเจน
ถัดมาห้อง Entertainment ดูเสมือนเป็นห้องลับที่ถูกซ่อนไว้หลังประตู เพื่อแยกสัดส่วนไม่ให้เสียงรบกวนไปยังห้องอื่น จะดูซีรีย์เด็ด ซีรีย์ดังก็ไม่มีปัญหา ใหญ่เพียงพอที่จะจัดปาร์ตี้ในห้องได้ และยังคงมองเห็นส่วนหน้าบ้าน ที่จอดรถซึ้งเป็นส่วนที่ลูกค้าอยากอยู่ใกล้ชิดกับรถอีกด้วย ดูจากผนังตู้ที่สะสมโมเดลรถ
อีกฝั่งหนึ่งของบ้านเกือบหลังบ้านจะเจอกับห้องรับประทานอาหารถูกวางไว้ในมุมที่ดีที่สุดของบ้าน มองเห็นธรรมชาติ และผู้คนที่เข้ามายังตัวบ้าน โต๊ะทานข้าวที่ถูกทำจากไม้ถูกวางไว้กลางห้อง ลดความแข็งกระด้างของโทนสีสร้างความอบอุ่น สร้างความสัมพันธ์ให้สมาชิกระหว่างทานข้าวไป ดูวิวสวนไปสบายตามากๆ
ในส่วนของบันไดคอนกรีตปูด้วยแผ่นไม้ และใช้กระจกเพิ่มความโปร่งใสให้บันได เชื่อมต่อชั้นล่างกับชั้นบน ด้วยราวบันไดไม้
ขึ้นมา ชั้นสอง ประกอบไปด้วยหิ้งพระบริเวณโถงบันได หันหน้าออกไปหน้าบ้านตามหลักฮวงจุ้ย และจะมองลงไปเจอส่วนประตูทางเข้าหน้าบ้านที่เป็น Double space ที่สามารถสื่อสารกันได้ระหว่างชั้น 1 และ 2 ขยับไปมีห้องทำงานขนาดเล็ก สำหรับที่เป็นส่วนตัวไรซึ่งเสียงรบกวน
ด้านหน้าบ้าน ห้องนอนมาสเตอร์ขนาดใหญ่ ที่ในห้องมีทั้ง walk-in closet, ห้อง entertainment ที่แยกกันส่วนนอน ทำให้ 2 ส่วนนี้ ใช้งานพร้อมกันได้ ห้องอาบน้ำพร้อมอ่างขนาดใหญ่ เป็นงานการออกแบบที่นอกจากเน้นฟังก์ชั่นการใช้งานเพื่อความสะดวกสบาย และ ความสวยงามแล้ว การออกแบบตามศาสตร์ฮวงจุ้ยก็ถูกเติมเต็มให้บ้านหลังนี้สมบูรณ์
*คำอธิบายทั้งหมดโดยผู้ออกแบบ (Text description by the architects)
Lead Architects: Kananad chanmuan
Design Team: MASTER TEXTURE
Owner: ณรัช กลัดเข็มเพชร
Interior Designer: PENTHOUSE DESIGN GROUP
Construction: Silapachai liangphancharoen
Contractor: Selectcon
Electrical engineer:Weerawat konsorn
Photographer credits: Bkkgrapher
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!