การอยู่อาศัยคนละพื้นที่ (เดียวกัน)
ปัจจุบันแนวทางการอยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ที่มีความนิยมในการแยกตัวออกมาอยู่เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น แต่ด้วยราคาที่ดินและที่อยู่อาศัยที่มูลค่าสูงขึ้นมาก กลายเป็นข้อจำกัดของค่านิยมดังกล่าว การสร้างบ้านหลังใหม่ในพื้นที่เดิมจึงเป็นทางออกที่ดีของผู้ที่ต้องการมีบ้านภายใต้ข้อจำกัดข้างต้น Minimal Minijai house ถูกออกแบบโดย Step by step architect ภายใต้โจทย์จากเจ้าของบ้านที่ต้องการแยกตัวออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่ ๆ มีอิสระและมีความเป็นส่วนตัวขึ้น ภายในพื้นที่ ๆ ดินเดิม แต่ก็ต้องคงปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวเดิมและไม่ทำให้รู้สึกถึงการแยกตัว โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ก้าวสู่วัยเกษียณ
ประกอบบ้านสองหลังรวมกันด้วยความใส่ใจ
แนวคิดหลักในการออกแบบบ้าน Minimal Minijai house ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อการใช้ชีวิตและความต้องที่อยากจะมีพื้นที่ส่วนตัวของเจ้าของบ้าน แต่ยังมีความต้องการที่จะคงการเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวที่อยู่อาศัยในบ้านหลังเดิมได้ดี อีกทั้งข้อจำกัดในเรื่องของการสร้างพื้นที่ส่วนตัวและการใช้พื้นที่ ๆ แตกต่างกันของแต่ละ ( generation ) ช่วงอายุ ของคนในบ้าน
ลานบ้าน พื้นที่เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนในบ้าน
ลักษณะรูปแบบอาคารถูกออกแบบให้เรียบง่ายสไตล์ ( Minimal ) มินิมอล ด้านหน้าของอาคารจะมีช่องเปิดเท่าที่มีความจำเป็น มีแผงสกรีนเพื่อทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ภายในของบ้าน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถมองเห็นพื้นที่หน้าบ้านได้ พื้นที่ตรงกลางระหว่างบ้านหลังใหม่และบ้านหลังเดิมถูกออกแบบให้เป็นคอร์ตยาร์ด ( Courtyard ) หรือลานกิจกรรมที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกิจกรรมระหว่างบ้านสองหลังให้สามารถเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันของคนในครอบครัว ถัดมาจากลานจะมีบันไดที่สามารถใช้เป็นที่นั่งสังสรรค์ hang out ระหว่างผู้อยู่อาศัยของทั้งสองบ้านและบันไดที่เชื่อมต่อพื้นที่ไปสู่ห้องโถงซึ่งเป็นพื้นที่ใช้งานหลักของบ้านหลังใหม่
ปิดเพื่อความเป็นส่วนตัว และ เปิดเพื่อลิงค์พื้นที่เข้าหากัน
พื้นที่โถงภายในนอกจากการทำหน้าที่เชื่อมต่อลานบ้านและบันไดระหว่างบ้าน 2 หลังเข้าด้วยกัน ยังเป็นพื้นที่แบบ ( Multi-function ) ที่ยังสามารถเป็นได้ทั้งห้องรับประทานอาหาร ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน หรือแม้แต่การเป็นพื้นที่สังสรรค์ โดยพื้นที่ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นพื้นที่โล่งเชื่อมไปถึงพื้นที่ชั้น 2 เพื่อสร้างความโปร่งให้แก่ผู้อยู่อาศัย และมีช่องเปิดขนาดใหญ่ในการรับแสงแดดในช่วงเช้าเพื่อให้สามารถเปิดมุมมองไปยังบ้านหลังเก่าได้และสามารถเชื่อมต่อปฏิสัมพันธ์ผ่านการมองเห็นพื้นที่ ( Public ) หรือพื้นที่ส่วนกลางของบ้านแต่ละหลังได้ โดยพื้นที่ส่วนนี้ถูกออกแบบในแนวคิด ( Open Plan Design ) เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อและการไหลเวียนของพื้นที่ โดยผู้อยู่อาศัยสามารถใช้บานเลื่อนในการกั้นพื้นที่การใช้งานแบบแยกส่วนได้ เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายของสมาชิกในแต่ละพื้นที่ได้ อาทิเช่นการทำอาหาร รับประทานอาหาร ดูหนังหรือการพักผ่อนสบายๆบนโซฟา
อิฐบล็อกบ้าน ๆ ที่สร้างอัตลักษณ์ให้กับบ้าน
บล็อกช่องลมวัสดุที่สถาปนิกหยิบยกมาเล่าผ่านการออกแบบ ถูกนำมาใช้ในรูปด้านอาคารเพื่อบดบังสายตาจากพื้นที่ภายนอก และยังทำหน้าที่ช่วยลดทอนแสงแดดและความร้อนที่จะเข้ามาสู่ตัวบ้านได้แต่ยังคงสามารถ
ให้อากาศถ่ายเทและแสงส่องเข้ามาภายในได้ แสงและเงาที่เกิดจากการออกแบบส่วนนี้จะเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาและแนวของดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ภายในมีการเคลื่อนไหวของแสงเงา ไม่มืดหรือสว่างจนเกินไป บล็อคช่องลมยังสามารถช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างได้ แถมยังดูแลรักษาง่าย และสร้างเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สวยงามแต่เรียบง่ายให้กับตัวบ้าน และยังทำหน้าที่ในการพรีเซ็นต์ตัวตนของเจ้าของบ้านได้อย่างดี
Project Name: Minimal Minijai house
Location : บ้านเลขที่ 81/15 ซอยรัชดาภิเษก 30 แยก 1 แขวง จันทรเกษม เขต จตุจักร กทม. 10900
Architecture Firm: Step by step architect
Year: 2023
Area : 175 Sq.m
Lead Architects: คุณ พีร์ ชัยวิเชียร
Photographer : วีรพล สิงห์น้อย
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!