สำหรับคนที่เชื่อเรื่องฮวงจุ้ย การออกแบบให้ตรงตามหลักการจากซินแส อาจะสำคัญพอๆกัน หรือ มากกว่าความสวยงาม แต่ถ้าคน ๆ นั้น ก็เชื่อเรื่องความงามความลงตัวของการออกแบบด้วยล่ะ ทั้งสองอย่างจะไปด้วยกันได้ไหม
อย่างเช่นความเชื่อในเรื่องฮวงจุ้ยนี้
– บ้านจะต้องมีส่วนที่โปร่งให้ลมผ่านได้ เปลี่ยนเหมือนให้เงินทองไหลผ่านมาได้
– บ้านต้องมีแสงสว่างจากธรรมชาติเข้าถึงทุกส่วนเป็นขับไล่พลังงานไม่ดีและรับพลังงานดีเข้าสู้ตัวบ้าน
– มีสายน้ำที่เคลื่อนไหวในบริเวณบ้าน เชื่อว่าพลังงานน้ำจะนำพาความโชคดี ความมั่งคั่งสู่บ้าน
สิ่งเหล่านี้ จะถูกออกแบบอย่างไรให้เข้ากับดีไซน์ที่สวยงาม จึงเป็นหน้าที่ของสถาปนิกที่ต้องทำให้ความต้องการของซินแซ และความสวยงามของการดีไซน์ อยู่ในงานชิ้นเดียวกันให้ได้ เราจึงขอยกตัวอย่างบ้านที่ที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างซินแซและสถาปนิกอย่างลงตัว จนกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่ทั้งสวยงามและถูกหลักฮวงจุ้ย
Nature House
Architects : Junsekino Architect and Design
Area : 400 Sq.m.
Year : 2010
Nature House บ้านพักอาศัยที่ออกแบบโดย บริษัท Junsekino มีการออกแบบโดยใช้การเข้าถึงของธรรมชาติเป็นแกนหลักในการออกแบบ เพราะอยากให้ User สัมผัสถึง ทัศนยภาพ เสียง และความรู้สึกของสภาพแวดล้อม
เจ้าของบ้านก็มีความเชื่อในเรื่องการนำน้ำมาไว้บริเวณบ้าน เพื่อเป็งมงคล และปกป้องสิ่งไม่ดี สถาปนิกจึงแบ่งบ้านออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนห้องนอนและห้องรับแขก ซึ่งเชื่อมด้วยทางเดินที่เปิดโล่ง สองข้างทางเดินจะเป็นบ่อน้ำพุตามหลักฮวงจุ้ยที่เชื่อว่าการแหล่งน้ำที่เคลื่อนไหวจะส่งผลให้บ้านได้พลังงานดี เป็นการรับทรัพย์
และการที่บ้านถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง นอกจากจะเป็นการแบ่งแยกความพื้นที่สาธารณะกับพื้นที่ส่วนตัวแล้ว ยังทำให้แสงธรรมชาติเข้าถึงได้จากทุกทิศทางตามความเชื่อจะทำให้บ้านไม่เก็บพลังงานลบไว้ ทำให้คนในบ้านมีพลังงานด้านดีมากขึ้น
V1 House
Architects : TNT architects
Area : 140 Sq.m.
Year : 2016
บ้านหลังนี้เป็นตึก 4 ชั้นที่ถูกร่ายล้อมด้วยบ้านหรือตึก 1-2 ชั้น อยู่ท่ามกลางเมืองเก่าของเวียดนาม ที่ด้านหนึ่งเป็นวิวทิวเขา อีกด้านหนึ่งเป็นแม่น้ำ สถาปนิกเลือกที่จะหันหน้าบ้านไปทางทิศใต้ที่เพื่อรับลม เพื่อให้ลมเข้าถึงอาคารได้มากที่สุด ตามความเชื่อแล้วการที่ลมพัดเข้ามาจะทำให้คนในบ้านมีพลังงานดี
ภายในตัวบ้านจะมีสวนขนาดเล็กสลับกันไป ทำให้เจ้าของรู้สึกถึงธรรมชาติและไม่รู้สึกอุดอู้เมื่ออยู่ในทาวน์เฮ้าส์ เหมือนแต่ละห้องมีสวนส่วนตัว ที่มีแสงจากกลางบ้านส่องมาถึงทั่วทุกมุมบ้า ลมในบ้านหลังนี้จึงสามารถพัดผ่านได้ตลอด
ในทิศตะวันออก และเหนือซึ่งถือว่าเป็นทิศไม่ดีสำหรับเจ้าของบ้าน สถาปนิกจึงกั้นฟังก์ชั่นในบ้านด้วยวางสวนไว้บริเวณนี้
Feng Shui House
Architects : Steffen Welsch Architects
Area : 135 Sq.m.
Year : 2020
ฮวงจุ้ยไม่ใช่แค่ความเชื่อของคนเอเชียเท่านั้น จริงๆแล้วชาวต่างชาติในทวีปอื่นก็มีความเชื่อด้านนี้เหมือนกัน เพียงแต่พวกเขาไม่ได้เรียกว่า ฮวงจุ้ย แต่เป็นความเชื่อเรื่องของพลังธรรมชาติ
เหมือนบ้านพักอาศัยหลังนี้ที่อยู่ในออสเตรเลีย แต่กลับมีการออกแบบตามฮวงจุ้ย ตัวบ้านที่มีข้อจำกัดคือพื้นที่หน้าแคบและเป็นแนวยาวลึกเข้าไปด้านในเหมือนตึกแถว แต่ Owner ต้องการให้บ้านของเขานั้นมีแสงธรรมชาติเข้าถึงให้ได้มากที่สุดและมีอากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวกตามความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ย สถาปนิกจึงเลือกที่จะเว้น Space ช่วงหนึ่งของอาคารมาทำเป็นสวนเพื่อให้แสงเข้าถึงบริเวณกลางบ้านได้
บริเวณที่สัมผัสกับภายนอกถูกทำเป็นช่องเปิดให้หมดเป็นการเปิดของแสงเข้าสู่อาคาร รวมถึงการใช้เส้นโค้งในอาคารมาทำให้แสงเข้าถึงได้มากขึ้นทั้งในแนวราบและแนวตั้ง แม้บ้านหลังนี้จะเป็นแนวยาวที่ขนาบข้างด้วยอาคารแต่สถาปนิกก็สามารถออกแบบให้ตัวบ้านสว่างไปด้วยแสงจากภายนอก ทำให้เป็นที่พึ่งพอใจอย่างมากสำหรรับownerที่ยึดหลักฮวงจุ้ย
Leadwood Loop
Architects : Metropole architects
Area : 500 Sq.m.
Year : 2017
ในบางครั้งฮวงจุ้ยก็เป็นเหตุผลที่ทำให้สถาปัตยกรรมโดดเด่นได้ในสภาพแวดล้อมนั้น อย่าง Leadwood Loop บ้านที่มีหลังคาสไตล์จีน ที่ตั้งอยู่ในประเทศ South Africa
บ้านหลังนี้สามรถชมวิวได้แบบ Panorama และมีหลังคาสไตล์จีนขนาดใหญ่ยื่นออกมา พร้อมระเบียงที่ขยายออกมาจากตัวอาคาร เพื่อให้อากาศภายในหมุนเวียนอย่างสะดวกทั้งยังสามารถเล่นกับแสงและเงาที่ตกกระทบได้อีกด้วย เป็นไปตามหลักฮวงจุ้ยของคนประเทศนั้น และด้านข้างอาคาร ยังมีมุมอาบแดดและสระน้ำขนาดเล็ก สำหรับให้ผู้พักอาศัยได้พักผ่อน และเป็นการลดแรงปะทะลมจากมหาสมุทรที่เข้าบ้านด้วย
ภายในบ้านมีพื้นที่โถงสูงซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของบ้านที่ออกแบบให้คนที่เข้าใช้งานไม่รู้สึกอึดอัด และบริเวณบันไดนั้นสถาปนิกออกแบบให้ราวกันตกเป็นกระจกใสทั้งบริเวณชั้น 1 และ 2 ด้วยความเชื่อที่ว่าชีวิตของเจ้าของบ้านจะไม่ติดขัด ส่วนเรื่องของการเชื่อมต่อพื้นที่ภายในและภายนอกที่ดูไหลลื่นสู่กันได้ เพราะเมื่อประตูบานเลื่อนก็สามรถเชื่อมทั้ง 2 พื้นที่ได้
บ้านหลังนี้จึงกลายเป็นบ้านที่มีลักษณะโดดเด่น จากรูปแบบหลังคาและ สเปซรอบๆอาคารที่เป็นไปตามหลักฮวงจุ้ย
Bagua House
Architects : Rowland + Broughton
Area : 760 Sq.m.
Year : –
บ้านบริเวณตีนภูเขาที่ใช้ Bagua ในการวางผังบ้านเพื่อ ส่งเสริมพลัง ความสมดุล และการไหลเวียนของพลังงาน
และบ้านหลังนี้ถูกออกแบบให้เป็นชั้นเดียวเพราะไม่ต้องการบดบังทัศนยภาพของบ้านรอบข้าง
การเข้าถึงตัวอาคารจากภายนอกนั้นเริ่มจาก ทางเดินเข้าบ้านผ่านสวนที่ทำหน้าที่แบ่งตัวบ้านเป็น 2 ฝั่ง เพื่อให้ฟังก์ชั่นในบ้านกระจายตัวไปรอบ Site โดยที่ยังสามารถเห็นวิวภายนอกได้ครบทุกฟังก์ชั่น และช่วยให้ลมพัดผ่านตัวบ้านได้มากขึ้น
สิ่งแรกที่จะเจอคือโถงต้อนรับและห้องรับแขกตามลำดับ ฝั่งซ้ายของอาคารจะเป็นโซนห้องนอนของครอบครัว ทั้ง Master bedroom และ ห้องนอนสำหรับแขกและลูกๆ ส่วนฝั่งขวาเป็นพื้นที่ให้ครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งการจัดวางผังอาคารแบบนี้ก็มีอิทธิพลมาจากหลัก Bagua ที่แต่ละมุมบ้านจะช่วยส่งเสริมในด้านต่างๆของชีวิต ส่วนช่องเปิดภายในอาคารจะเน้นให้แสงเข้ามาได้มากที่สุดจึงออกแบบให้ช่องเปิดยาวตั้งแต่พื้น-ฝ้า การเพิ่มพลังบวกอีกรูปแบบหนึ่ง
Bagua House จึงกลายเป็นตัวอย่างบ้านที่ริเริ่มการออกแบบจากการวางผังตามหลักฮวงจุ้ย แต่ยังคงออกแบบสเปซต่างๆดูโมเดิร์นและสวยงามได้ตามยุคสมัย
หลายครั้งที่กฎเกณฑ์ด้านฮวงจุ้ยกลายเป็นสิ่งที่ทำให้การออกแบบนั้นมีทิศทาง จนเกิดเป็นสเปซดีๆได้เลย สมัยนี้เราจึงจะเห็นสถาปัตยกรรมสวยๆหลายงาน ที่มีหลักการฮวงจุ้ยอยู่เบื้องหลัง ถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ลงตัวทั้งในด้านความสบายใจ ความเชื่อ และความสวยงาม
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!