7 x 7 House บ้านที่ทลายทุกข้อจำกัดของการออกแบบ บนพื้นที่ขนาด 7 x7 เมตร

การเลือกที่ตั้งของที่พักอาศัยคงปฏิเสธไม่ได้ว่าพื้นที่ในเมืองทำเลที่ใกล้กับรถไฟฟ้า ย่านธุรกิจและห้างสรรพสินค้าใจกลางเมืองจะสามารถสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้อยู่อาศัยได้มากขนาดไหน แต่ด้วยศักยภาพของที่ดินที่แลกมาด้วยมูลค่าที่สูงขึ้นอาจทำให้ลักษณะรูปแบบของการใช้งานพื้นที่ต้องถูกใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด บ้าน7 x 7 บ้านเดียวที่ตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 49 บนพื้นที่ 28 ตรางวา หรือ 112 ตรางเมตร โดยเป็นบ้านที่มีแนวคิดในการออกแบบที่สามารถทลายข้อจำกัดในการออกแบบของพื้นที่ ๆ มีขนาดกระชับและถูกขนาบข้างด้วยอาคารรอบข้าง เดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านของคุณยายของ Owner ที่ถูกซื้อเก็บไว้เมื่อนานมา เป็นบ้านหลังเล็กที่ถูกสร้างและมีการต่อเติมขึ้นจนเต็มพื้นที่ และได้ถูกส่งต่อกลายมาเป็นของ Owner พร้อมกับครอบครัว โดยบ้านหลังนี้ได้ถูกออกแบบมาจากความตั้งใจที่จะถูกใช้เป็นบ้านกลางเมืองที่ทาง Owner จะใช้อยู่อาศัยในการเลี้ยงลูกช่วงปฐมวัย โดยที่ทาง Owner  จะไม่ได้อยู่อาศัยเป็นระยะยาวและในอนาคตบ้านหลังนี้มีความตั้งใจเพื่อที่จะสามารถให้เป็นบ้านที่จะปล่อยให้ชาวต่างชาติในย่านนี้เข้ามาเช่าเพื่อเป็นรายได้ให้แก่ครอบครัวในอนาคต

เมื่อการออกแบบต้องหาจุดยืดหยุ่น

บ้าน7 x7 ได้รับการออกแบบโดย คุณนนท์ อินทนนท์ จันทร์ทิพย์ จาก INchan atelier ภายใต้เงื่อนไขของที่ดินขนาด 28 ตารางวา (112 ตารางเมตร) ซึ่งเป็นการออกแบบที่ท้าทายภายในพื้นที่ ๆ จำกัด สถาปนิกผู้ออกแบบจึงได้ยื่นข้อเสนอในการรื้อบ้านหลังเก่าแก่ Owner ที่แลกมาด้วยการ ( Organization ) การจัดการอย่างเป็นระบบของบ้านหลังใหม่ และด้วยระยะร่นที่จะเสียไปด้วยขนาดของที่ดินและความกว้างของทางสาธารณะด้านหน้า เมื่อต้องใช้เกณฑ์ระยะร่นต่างๆ ทำให้พื้นที่ตัวบ้านเหลือขนาดประมาณเพียง 7 เมตรกว่า คูณ 7 เมตร

การดัดแปลงบ้านทรงกล่อง ผลลัพธ์ของการตกแต่งรูปด้านด้วย Dormers

เมื่อทาง Owner ไฟเขียวในการทุบรื้ออาคารเดิมซึ่งมาพร้อมความคาดหวังและอุปสรรคที่ต้องพบเจอของสถาปนิกผู้ออกแบบ ทีมสถาปนิกผู้ออกแบบได้มี ( Design Strategy ) กลยุทธ์การออกแบบด้านรูปด้านรูปทรงที่ต้องการแปลงโฉมบ้านที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมจากพื้นที่ ๆ จำกัดให้ดูเฟรนลี่ขึ้น โดยคุณนนท์ สถาปนิกผู้นำทีมออกแบบได้เสนอแนวคิดของรูปแบบลักษณะการใช้พื้นที่ในอาคารชุดที่ถูกใช้ในฝั่งยุโรปกลาง เช่น ในประเทศเยอรมัน,เบลเยี่ยม เข้ามาใช้ในการออกแบบโดยการลดทอนของสเกลอพาร์ทเมนท์ริมถนนของปารีสในยุค ( Neoclassical ) ในการนำมาปรับใช้โดยการย่อสเกลลงมาและนำมาสู่การใช้ลักษณะของอาคารที่ยังใช้หลังคาได้โดยที่ไม่ต้องมีระยะยื่นชายคาผ่านการใช้คาแรคเตอร์ของ Dormers หรือ มุขหน้าต่างจากหลังคานี้เข้ามาช่วยลดทอนสเกลจากชั้นบนของตัวบ้านลงมาสู่พื้นที่ชั้นล่างได้ ซึ่งแนวคิดนี้ถูกคิดและวางแผนมาตั้งแต่ต้นของกระบวนการการออกแบบ ( Schemetic Design ) ซึ่งทำให้เมื่อตัวบ้านถูกมองจากมุมมองของถนนจะสามารถมองเห็นเหมือนเป็นอาคารที่มีลักษณะหลังคาทรงปั้นหยา เลยเป็นที่มาของการใช้ลักษณะคาแรคเตอร์ของ Dormers เป็นตัวทำงานในการวางแผนการทำงานของแต่ละชั้น และใช้ Dormers ในการ ( apporch ) หน้าต่างหรือว่าระยะยุบยื่นเพื่อให้เกิดคาแรคเตอร์ของหน้าตาบ้านเพื่อการลดทอนสเกลและลดความกระด้างของบ้านที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม

พื้นที่ ( ชั้น1 ) ส่วนบริการที่ช่วยเพิ่มความ privacy ให้กับเจ้าของบ้าน

สถาปนิกผู้ออกแบบเสนอแนวคิดการใช้สอยพื้นที่ของชั้น 1 ให้กลายเป็นส่วนพื้นที่ ( Service ) ของบ้านซึ่งมีที่มาจากความต้องการของเจ้าบ้านในความต้องการที่จะมีพื้นที่จอดรถหน้าบ้านในรูปแบบที่สามารถจอดรถ 2 คันคู่กันได้ ซึ่งชัดเจนมากที่ทาง Owner จะเสียพื้นที่ส่วนหนึ่งไปอย่างแน่นอนซึ่งคือพื้นที่การเดินเข้าหาตัวบ้าน เมื่อสามารถจอดรถคู่กันได้ 2 คันหมายถึงพื้นที่ ๆ เหลือจะถูกนำไปรวมกันข้างหลังแต่ซึ่งได้ข้อสรุปว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ ๆ ทาง Owner ยอมแลกกับการเข้าออกของรถยนต์ ทำให้เกิดผลผลลัพธ์ของการใช้งานและหน้าที่ของพื้นที่ชั้น 1 ที่เหลือให้เป็นพื้นที่ของส่วนบริการที่ถูกแยกออกมาเป็น พื้นที่ซักล้างและพื้นที่เก็บของที่จะถูกใช้งานโดยแม่บ้าน โดยที่แม่บ้านที่เข้ามาทำงานในแต่ละวันสามารถจบกิจกรรมของส่วนบริการเพียงที่ชั้นนี้ และ พื้นที่ใช้งานจริงของตัวบ้านจะไปถูกเริ่มต้นที่ชั้น 2 เพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้พักอาศัน ในอีกส่วนของพื้นที่ชั้นล่าง สถาปนิกผู้ออกแบบเล่าว่า ทาง Owner ได้ยอมเสียพื้นที่สำหรับการทำครัวไทยไปเพื่อให้ความสำคัญแก่พื้นที่ ( Courtyard ) หรือพื้นที่สวนกลางบ้านที่จะสร้างพื้นที่สีเขียวและให้ความสบายตาแก่ผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน

ชีวิตเริ่มต้นที่ ( ชั้น 2 )

เมื่อเข้าสู่พื้นที่ชั้น 2 จะพบเข้ากับห้องนั่งเล่นและห้องครัวขนาดเล็กในลักษณะของ ( Connectingspace ) ที่เฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดจะถูกนำมาวางรวมกันภายในพื้นที่และทำหน้าที่เป็น ( boundary ) ที่ช่วยแบ่งขอบเขตระหว่าง Space โดยไม่มีกำแพงกั้นระหว่างพื้นซึ่ง เมื่อพื้นที่สองทั้งถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันจึงทำให้เกิดพื้นที่ใช้งานที่มากขึ้นและเพียงต่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้อยู่อาศัย

สวนสวยที่มาพร้อมหน้าที่ป้องกันเสียงรบกวน

รูปร่างหน้าตาของบ้านโดยเมื่อถูกร่นระยะจากด้านหน้าเข้าไปสถาปนิกผู้ออกแบบกล่าวว่าโจทย์ที่ได้รับและภาพที่จินตนาการทำให้เห็นภาพว่าบ้านจะออกมาในลักษณะของกล่องกระดาษ สูง 3 ชั้นที่ไม่สามารถเจาะช่องเปิดได้มากยกเว้นพื้นที่ด้านหน้าที่มีระยะร่นและสามารถมีช่องเปิดขนาดใหญ่ได้ แต่ด้วยสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ๆ มีเสียงดังจากรถที่ผ่านไปมาบริเวณหน้าบ้าน สถาปนิกผู้ออกแบบจึงเสนอการเจาะหน้าต่างบานใหญ่ที่จะทำให้พื้นที่ดูโปร่งและสามารถรับแสงทิศเหนือได้แต่จะหยิบยกเหล็กดัดมาเป็นประเด็นในเรื่องของรูปลักษณ์หน้าตาของบ้านและใช้มันเป็นบัฟเฟอร์โซน โดยการใช้เหล็กดัดวางบนโซนของหลังคาที่จอดรถ และสร้าง ( Pattren ) ให้กับเหล็กดัดพร้อมกับระบบสวนเพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการกรองสภาพแวดล้อมทางสายตาและเสียงก่อนจะเข้าสู่หน้าต่างบานใหญ่ซึ่งทำให้ผู้คนภายนอกจะไม่สามารถมองเข้ามาเห็นพื้นที่ภายในของชั้น 2 ได้ ในขณะกลับกันในส่วนของห้องนั่งเล่นและห้องรับประทานอาหารในชั้น 2 จะสามารถมองออกไปพบกับพื้นที่สีเขียวที่สบายตาได้

การเลือกใช้เฟอร์เจอร์ที่ใหญ่ที่สุด ที่สามารถ ใช้ในพื้นที่ ๆ เล็กที่สุด

การออกแบบพื้นที่ภายในของตัวบ้านสถาปนิกผู้ออกแบบเล่าว่าบ้าน 7 x 7 เป็นโปรเจคที่ต้องใช้ ( Furniture scale ) เป็นตัวตั้งมากกว่าการใช้ ( Human scale ) ซึ่งโดยทั่วไปอยากที่ทราบกันดีในการเริ่มต้นการออกแบบพื้นที่จะถูกเริ่มต้นและออกแบบภายใต้ ( Human scale ) เป็นหลักซึ่งนั้นจะทำให้เกิดการใช้งานพื้นที่ ๆ มีขนาดกว้างเพราะต้องการสร้างความสบายแก่ผู้ใช้งานซึ่งไม่สามารถใช้ในการจัดการกับพื้นที่ขนาดเล็กแบบบ้านหลังนี้ได้ สถาปนิกผู้ออกแบบจึงใช้วิธีการเลือกยึดขนาดและสัดส่วนของเฟอร์นิเจอร์ที่จะใช้เป็นหลัก และทำการ ( study ) ศึกษากับเฟอร์นิเจอร์แต่ละตัวเพื่อหา ( Minimum ) ของ space ใน ( Human scale ) มาใช้เพื่อให้สามารถหาทางทำให้เฟอร์นิเจอร์ที่จะนำมาใช้งานสามารถมีขนาดใหญ่ที่สุดบนพื้นที่ ๆ เล็กที่สุดได้

ตัวอย่างเช่น พื้นที่ชั้น 2 ที่มีการเลือกใช้ระยะของพื้นที่ ๆ เล็กที่สุดเท่าที่จะสามารถใช้งานได้อย่างเช่น ระยะการใช้โต๊ะทำงานที่เล็กที่สุดเหมือนตามคาเฟ่ ระยะของชั้นหนังสือที่ตื้นที่สุดแต่ยังสามารถใช้งานได้ปกติ ทั้งหมดเพื่อตอบสนองต่อความต้องการสร้างพื้นที่โล่งตรงกลางของห้องนั่งเล่นตามความต้องการของ Owner ที่ต้องการพื้นที่ในการเตรียมปูฟูกสำหรับเด็กเล็กให้ได้ และเพื่อให้ได้การใช้งานพื้นที่ให้ได้ประโยชน์สูงสุดจึงมีการเลือกใช้ Long table ที่ทางหัวของโต๊ะถูกวางชิดตัวกำแพง และ หัวโต๊ะอีกด้านได้ทำหน้าที่แทน Island ของพื้นที่ครัว

( ชั้น3 ) พื้นที่ยืดหยุ่น

ในส่วนของห้องนอนในพื้นที่ชั้น 3 สถาปนิกผู้ออกแบบได้วางรูปแบบของการใช้งานพื้นที่ภายในห้องนอนให้มีความยืดหยุ่นของพื้นที่ในการวางเตียงตามความต้องการของทาง owner ที่ในช่วงแรกของการพักอาศัยต้องการให้มีพื้นที่สำหรับการวางฝูกเด็กเล็ก ซึ่งเป็นโจทย์ในการออกแบบว่าลักษณะการวางของฟูกนอนที่พื้นที่ยังสามารถมีความสวยงาม โดยสถาปนิกผู้ออกแบบได้มีการลดทอนสเกลของ headboard และ วิธีการวางฟูกที่สามารถนอนอยู่ด้วยกันได้ทั้งพ่อ แม่ ลูก โดยเมื่อถึงเวลาที่ลูกมีความต้องการในการย้ายห้องนอนแยกออกในอนาคต ห้องนอนนี้ของพ่อและแม่ก็ยังสามารถปรับรูปแบบการใช้งานของพื้นที่และสามารถนำเตียงเข้ามาใส่ได้แบบปกติ 

ด้วยพื้นที่ ๆ จำกัด การใช้เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ ในพื้นที่หรือแม้แต่การจัดวางตู้เสื้อผ้าจึงต้องมีการวางแผนในการเลือกใช้งานโดยตู้เสื้อผ้าภายในห้องนอนจะสามารถเก็บได้เพียงเสื้อผ้าที่ถูกสวมใส่เป็นประจำเท่านั้นส่วนของเสื้อผ้าที่เป็นเครื่องกันหนาวที่ไม่ค่อยถูกใช้งานจะถูกนำมาเก็บในตู้ของพื้นที่ชั้น 1 เพื่อให้ได้การใช้งานพื้นที่ ๆ ได้ประโยชน์สูงสุดทำให้ตัวห้องนอนสามารถใช้งานพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการวางเตียง King size และ ตู้เสื้อผ้าที่สามารถมีได้ถึง 4 ตู้และด้วยการจัดการพื้นที่ ๆ ดีทำให้พื้นที่ในห้องน้ำในส่วนนี้ยังมีพื้นที่สำหรับการแบ่งโซนแห้ง และ โซนเปียกพร้อมกับห้อง Shower ในสัดส่วนและขนาดที่ทาง Owner จะยังสามารถยังใช้งานได้ไปยันสูงอายุ

เมื่อรูปแบบของหลังคาบ้านที่ทำให้ต้องมีการดูแลรักษาส่งผลทำให้บันไดของบ้านจำเป็นต้องยาวไปถึงส่วนของชั้นบนผ่าน ( Composition ) ของบ้านที่ถูกเรียกว่า Dormers ซึ่งทำให้เกิดพื้นที่ ๆ เป็นทางผ่านโดยพื้นที่ส่วนนี้
ได้ถูกปรับให้กลายเป็นพื้นที่ของหิ้งพระภายในชั้นบนสุดของบ้าน

ยิ่งพื้นที่เล็ก ดีเทลต้องยิ่งชัด

สถาปนิกผู้ออกแบบยังคงให้ความสำคัญกับรายละเอียดต่าง ๆ ภายในตัวบ้านเพราะเมื่อตัวบ้านมีพื้นที่ ๆ เล็กการให้ความสำคัญกับ ( Detail ) รายละเอียดยิ่งต้องชัดเจน โดยมีการเลือกใช้ ( Detail ) ที่คุ้มค่าที่สุดแต่ยังคงรักษาบรรยากาศของบ้านหลังนี้ไว้ได้ ภายในบ้านแต่ละส่วนได้ถูกออกแบบให้มีลักษณะของ ( Detail ) ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน

เช่น ราวจับของบันไดบ้านในส่วนของชั้น 1 ที่ลักษณะส่วนหัวของขอบราวจับได้ถูกออกแบบให้มีความโค้งมนในส่วนปลายเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่เด็กเล็กในขณะใช้งาน

หรือแม้แต่ในพื้นที่ชั้น 2 ในส่วนของพื้นที่หลังโต๊ะทานข้าวที่ถูกกำหนดสัดส่วนของพื้นที่มาแล้วในการวางแผนที่จะเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ของอิเกียเข้ามาใช้งานในพื้นที่เพื่อให้เป็นการประหยัดพื้นที่ใช้งาน และ ด้วยขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่ขนาดเล็ก

คุณนนท์ สถาปนิกผู้ออกแบบกล่าวว่า “ ด้วยพื้นที่ภายในมีความอ่อนละมุนด้วยโทนอุ่น เลยต้องการสร้างพื้นที่ด้านนอกที่มีความชุ่ม และ มีพื้นที่สีเขียวเพื่อความสมดุลที่ลงตัวของบรรยากาศ ” ซึ่งทำให้บ้าน 7×7 เป็นบ้านที่ถูกออกแบบมาให้มีความรมรื่น และ มีขนาดกะทัดรัดบนพื้นที่ขนาดเล็ก แต่ถึงอย่างนั้นบ้าน 7 x 7 ก็แน่นไปด้วยพื้นที่ใช้สอยที่เพียงพอต่อความต้องการผู้อยู่อาศัยและตอบโจทย์แก่ลักษณะการใช้งานชั่วคราวที่ทาง Owner ตั้งใจให้บ้านหลังนี้ถูกใช้งานและสามารถอยู่อาศัยเพื่อเลี้ยงดูลูกในช่วงปฐมวัยได้อย่างสะดวกสบายภายใต้พื้นที่ ๆ จำกัดของที่ดิน

Project Name: บ้าน 7 x 7
Location : สุขุมวิท 49 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานครฯ
Year : 2023
Area : 230 ตรางเมตร
Architecture Firm: INchan atelier
Lead Architects: คุณนนท์ อินทนนท์ จันทร์ทิพย์
Photographer : Tanatip Chawang

Writer
Heamarat Chimchavee

Heamarat Chimchavee

สถาปนิกจำเป็น ที่ทำงานออกแบบเป็นงานอดิเรก มีความสนใจในการทำความเข้าใจแนวคิดและที่มาของงานออกแบบต่าง ๆ ที่พบเจอ ให้กลายเป็นเรื่องเล่า