พาดูแนวคิดในการออกแบบสุดเจ๋งจาก 4 นักออกแบบตัว Top ชาวญี่ปุ่นในงาน Japan Design Now

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อและมีชื่อเสียงในการให้ความสำคัญกับการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ไปยันรูปแบบของสถาปัตยกรรม ที่มักถูกหยิบยกมาศึกษาและใช้เป็นตัวอย่างของงานออกแบบที่มีคุณภาพ มันจะดีแค่ไหนหากเราได้ร่วมมือกับเหล่าดีไซน์เนอร์ที่ออกแบบชิ้นงานเหล่านั้นเพื่อต่อยอดแนวคิดและสร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีประโยชน์ต่อผู้คน

งาน Japan Design Now กิจกรรมที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ สศส. ได้ประสานความร่วมมือทางการออกแบบของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย จาก Japan Institute of Design Promotion (JDP) โดยคุณ Jin Kuramoto นักออกแบบอุตสาหกรรม (Product Design) ในการมาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางการออกแบบของประเทศญี่ปุ่นใน 3 สาขาได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) การออกแบบเรขศิลป์ (Graphic Design) และการออกแบบสถาปัตยกรรม (Architecture Design) คุณ Jin Kuramoto มาพร้อมความตั้งใจในการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือของเครือข่ายทางการออกแบบและการหาโอกาสทางธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการสร้างสรรค์ของประเทศไทยและญี่ปุ่น

บรรยากาศภายในงาน Japan Design Now ประกอบไปด้วยแขกรับเชิญสุดพิเศษที่บินตรงจากประเทศญี่ปุ่น ทั้ง 4 ท่านที่ซึ่งล้วนเป็นนักออกแบบชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นที่จะมานำเสนอมุมมองของดีไซน์เนอร์และมาอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้คนถึงความสำคัญของการสร้างสรรค์และการออกแบบของญี่ปุ่นเพื่อตอบโจทย์และสร้างคุณค่าแก่สังคม โดยประกอบไปด้วย คุณ Jin Kuramoto (Product Design) รองประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัล Good Design Award , คุณ Shogo Kishino (Graphic Design) ในสาขาการออกแบบเรขศิลป์ จาก 6D , คุณ Jo Nagasaka  (Architecture Design / Interior) ในสาขาการออกแบบพื้นที่/สถาปัตยกรรม จาก Schemata Architects และ คุณ Tadahito Ishibashi (Product Design) ในสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม จาก IDL เพื่อร่วมเป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองทางการออกแบบร่วมกับ สศส. ในกิจกรรม Japan Design Now ที่จัดขึ้น

Jin Kuramoto (Product Designer) ที่เชื่อว่าการสเก็ตอาจไม่ใช่การเริ่มต้นที่ดีในการออกแบบ

โดยวิทยากรท่านแรกที่ขึ้นบรรยายในงาน Japan Design Now คือคุณ Jin Kuramoto  นักออกแบบชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง JIN KURAMOTO STUDIO INC. ขึ้นในปี 2008 โดยคุณ Jin Kuramoto เป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและมีชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบเช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในบ้าน แว่นตา และรถยนต์ ที่หลาย ๆคนอาจรู้จักหรือเคยพบเห็น ตัวอย่างงานออกแบบที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักอย่างเช่นงาน KNIT จาก แบรนด์ Hay KNIT เป็นผลงานการออกแบบราวแขวนเสื้อที่มีความเรียบง่ายและเป็นประติมากรรมที่โดดเด่นที่ประกอบด้วยท่อเหล็กสามเส้นถูกประกอบถักทอเข้าด้วยกันในลักษณะสามมิติที่สามารถใช้เพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานและรูปลักษณ์ที่น่าสนใจให้แก่ห้องโถงหรือพื้นที่ส่วนอื่น ๆ โดยคุณ Jin Kuramoto เชื่อว่ารูปแบบของสิ่งของแต่ละอย่างบอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างกัน และ เขาให้ความสำคัญกับกระบวนการลองผิดลองถูก ๆ ซ้ำ ๆ เพื่อหาคำตอบของการออกแบบและพัฒนาชิ้นงานผ่านการสัมผัสทำความเข้าใจวัสดุ การฟังเสียง และการทดลองสร้างต้นแบบขึนในสตูดิโอของเขา ผลงานของคุณ Jin Kuramoto ได้รับรางวัลนานาชาติมากมายรวมถึงรางวัล Red Dot Award , Good Design , iF Product Design Award ด้วยรางวัลที่การันตีความสามารถต่าง ๆ ของคุณ Jin Kuramoto และผลงานการออกแบบที่กล่าวมา เพื่อน ๆ คงอยากทราบแล้วว่าเขามีแนวคิดและวิธีการออกแบบอย่างไรเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าพอใจในการเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใคร ๆ ก็ให้ความสนใจ

Hay KNIT Jin Kuramoto ภาพตัวอย่างผลงานการออกแบบของคุณ Jin Kuramoto

โดยคุณ Jin Kuramoto เชื่อว่ารูปแบบของสิ่งของแต่ละอย่างบอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างกัน และ เขาให้ความสำคัญกับกระบวนการลองผิดลองถูก ๆ ซ้ำ ๆ เพื่อหาคำตอบของการออกแบบและพัฒนาชิ้นงานผ่านการสัมผัสทำความเข้าใจวัสดุ การฟังเสียง และการทดลองสร้างต้นแบบขึนในสตูดิโอของเขา ผลงานของคุณ Jin Kuramoto ได้รับรางวัลนานาชาติมากมายรวมถึงรางวัล Red Dot Award , Good Design , iF Product Design Award ด้วยรางวัลที่การันตีความสามารถต่าง ๆ ของคุณ Jin Kuramoto และผลงานการออกแบบที่กล่าวมา เพื่อน ๆ คงอยากทราบแล้วว่าเขามีแนวคิดและวิธีการออกแบบอย่างไรเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าพอใจในการเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใคร ๆ ก็ให้ความสนใจ

โดยคุณ Jin Kuramoto เล่าว่า

ในการเริ่มต้นการออกแบบเขามักจะเริ่มต้นด้วยการกำหนด (Word) หรือ คำจำกัดความของสิ่งที่จะทำเพื่อเป็นการระวังไม่ให้หลงลืมความตั้งใจและวัตถุประสงค์ของการออกแบบ เพื่อให้ผลลัพธ์ของการออกแบบตรงต่อความต้องการและตรงกับวัตถุประสงค์ของการออกแบบ

สมองเป็นแค่เครื่องมือประมวลผลจากประสบการณ์ มันไม่สามารถออกแบบสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนได้

คุณ Jin Kuramoto มีความเชื่อว่าไอเดียที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ไม่ได้ถูกคิดขึ้นมาด้วยจินตนาการผ่านสมองของมนุษย์เสมอไป เขาเชื่อว่า สมองของมนุษย์แค่มีหน้าที่ในการช่วยคัดกรองและประมวลรูปทรงใหม่ให้เราจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นของแต่ละคน แต่หากต้องการไอเดียสิ่งใหม่ สิ่งที่ต้องทำคือการเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วย ตัวอย่างที่ถูกหยิบยกมาเล่าคือ Case ของ Isaac Newton ผู้ที่เขียนทฤษฏีกดแห่งแรงโน้มถ่วง ซึ่งคุณ Jin Kuramoto กล่าวว่า เขาเชื่อว่า Isaac Newton ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องด้วยเหตุการณ์ที่ได้นั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ลจึงทำให้ Isaac Newton สามารถสังเกตุเห็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นของผลแอปเปิ้ลที่ล่วงหล่นลงมา จนทำให้ Isaac Newton ค้นพบทฤษฏีจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งนั้นหมายความว่า Isaac Newton ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสามารถสังเกตุเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมและทำให้เกิดการค้นพบทฤษฏีที่ถูกใช้อยู่ทุกวันนี้

คุณ Jin Kuramoto ยังฝากคำให้แก่นักออกแบบถึงคุณลักษณะที่นักออกแบบควรมี นั้นคือมุมมองจาก View Point และ มุมมองจาก View Area โดยในการออกแบบนักออกแบบควรปรับมุมมองและทำความเข้าใจชิ้นงานด้วยมุมมองที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่นในการออกแบบรถม้า นักออกแบบไม่ควรมองแค่วิธีการใช้งานและความงามของรถม้าเพียงอย่างเดียว แต่ควรปรับมุมมองไปสู่การคิดถึงเนื้อแท้ของความหมายที่ว่ารถม้าคือพาหนะที่มีการพาผู้โดยสารจากพื้นที่หนึ่งไปสู่อีกพื้นที่หนึ่งซึ่งเป็นมากกว่าแค่รถม้าที่มีการขับเคลื่อนเป็นทางตรงไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียวด้วยม้า

Shogo Kishino (Graphic Designer) ที่มอบความโดดเด่นให้แก่ผลิตภัณฑ์เพื่อเน้นการสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้บริโภค

คุณ Shogo Kishino ผู้กำกับศิลป์และนักออกแบบกราฟฟิก ชาวโตเกียว เจ้าของ 6D ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2550 สตูดิโอที่ออกแบบและทำงานเกี่ยวกับเอกลักษณ์องค์กร,เอกลักษณ์ทางภาพและการสร้างแบรนด์และป้ายสื่อต่าง ๆ ดีไซน์เนอร์ผู้ที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่นงาน Cannes Lions Design Awardและรางวัล D&AD อีกทั้งยังเป็นรองศาสตราจารย์ภาควิชาการออกแบบของ Tokyo Polytechnic University’s Department of Design

ตัวอย่างผลงานการออกแบบของคุณ Shogo Kishino ที่หลาย ๆ คนอาจจะเคยพบเห็นหากไปเที่ยวญี่ปุ่นแผ่นป้ายคลินิคที่เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวในเมืองคิตะโมโตะ จังหวัดไซตามะที่คุณ Shogo Kishino ออกแบบหรือจะเป็นงานออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับ Well Food Market & Café ใน Omotesando Hills โดยแนวคิดหลักในการเริ่มต้นการออกแบบของคุณ Shogo Kishino คือการ Focus ไปในสิ่งที่กำลังจะออกแบบพร้อมกับตั้งคำถามถึงรูปแบบการใช้งานและสถานที่ ๆ จะถูกใช้งาน ตัวอย่างเช่นในการออกแบบ Package คุณ Shogo Kishino เริ่มต้นจากการจินตนาการถึงตำแหน่งที่บรรจุภัณฑ์จะไปวางอยู่และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่มารายล้อมผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาต่อยอดแนวคิดในการออกแบบรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ให้ดูมีความโดดเด่นและน่าสนใจต่อผู้บริโภค

ภาพตัวอย่างผลงานการออกแบบของคุณ Shogo Kishino

ผลิตภัณฑ์ที่ดีต้องมีความโดดเด่นแม้อยู่ในถุงShopping

คุณ Shogo Kishino ยังเล่าถึงแนวคิดที่ต้องให้ความสำคัญในการออกแบบผ่านชิ้นงานการออกแบบผลิตภัณฑ์

 1. ในการออกแบบเขาต้องจินตนาการเพื่อให้เห็นภาพการเรียงตัวของ Package ที่จะถูกนำไปว่าไว้ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อไม่ลืมที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นและแสดงอัตลักษณ์ของ Brand ได้

2. ในการออกแบบเขาจะไม่จินตนาการถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์เพียงสถานการณ์เดียวเพราะผลิตภัณฑ์ไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ตลอดแต่จะเกิดการเปลี่ยนผ่านของสถานการณ์ตลอดเวลา อาทิเช่น เมื่อผลิตภัณฑ์ถูกซื้อออกจากซุปเปอร์มาเก็ตและถูกนำบรรจุลงถุงเพื่อให้ลูกค้านำกลับบ้าน ผลิตภัณฑ์ก็ยังควรมีความโดดเด่นและความน่าใช้งานเมื่ออยู่ในถุง

3.ผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบ ควรมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งานเมื่อเปิดใช้เพื่อให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์ที่ดีร่วมกับ Brand นั้น ๆ และสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการออกแบบคุณ Shogo Kishino ยังเล่าว่า เราต้องทำความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคถึงสิ่งผู้บริโภคต้องการว่ามีอะไรบ้าง เพื่อมอบผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค 

 Jo Nagasaka ( Architect ) สถาปนิกผู้จัดระเบียบความคิดด้วยการเขียนหนังสือ

คุณ Jo Nagasaka สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Schemata Architects ในปี 1998 สถาปนิกผู้มากประสบการณ์และมีชื่อเสียงในด้านความเชี่ยวชาญที่หลากหลายตั้งแต่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไปจนถึงงานสถาปัตยกรรม คุณ Jo Nagasaka เป็นนักออกแบบที่มีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก พร้อมทั้งผลงานที่คุ้นตาหลาย ๆ คนอาทิเช่น Blue Bottle Coffee Shanghai Cafe , Signage and Furniture Design for the Museum of Contemporary Art Tokyo , Musahino Art University Building No.16 และผลงานอีกมากมาย

คุณ Jo Nagasaka เป็นนักออกแบบที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและส่วนรวมเป็นอย่างมากโดยเขาเล่าผ่านตัวอย่างของงานออกแบบของเขาว่า “ โดยพื้นฐานของคนญี่ปุ่น ผู้คนมักมีความชื่นชอบและนิยมใช้วัสดุที่เป็นไม้มาเป็นส่วนประกอบของการออกแบบ เพราะด้วยไม้เป็นวัสดุที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นผ่อนคลายให้แก่บรรยากาศของงานออกแบบ โดยคุณ Jo Nagasaka มีความคิดว่าถ้าหากคนญี่ปุ่นมีการใช้ไม้ปริมาณมากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน มันน่าจะส่งผลเสียต่อภาพรวมของสภาพแวดล้อมที่ทุกคนอยู่ ” ทำให้ คุณ Jo Nagasaka ได้เริ่มต้นการทดลองปรับเปลี่ยนวัสดุในงานออกแบบ โดยการทดลองเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของ 3M ที่เป็นสติ๊กเกอร์ลายไม้มาแปะบนแผ่นเหล็กในการเลียนแบบของการสร้างบรรยากาศจากความไม้เป็น ด้วยที่สติ๊กเกอร์ลายไม้มีขนาดหน้ากว้างถึง 2 เมตรทำให้สามารถนำมาแปะลงบนแผ่นเหล็กขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถใช้แทนไม้แผ่นใหญ่ และ สามารถช่วยลดการใช้ทรัพยากรได้อีกด้วย

Blue Bottle Coffee Shanghai Cafe ภาพตัวอย่างผลงานการออกแบบของคุณ Jo Nagasaka

งานเขียนที่จะช่วยเพิ่มหน่วยความจำให้กับพื้นที่ของสมอง

อีกหนึ่งเรื่องเล่าจากคุณ Jo Nagasaka เขาเล่าว่า ด้วยผลงานการออกแบบของสถาปัตยกรรมที่เขาออกแบบมีจำนวนมากและด้วยช่วงเวลาของงานที่ไม่ต่อเนื่องกันประกอบไปด้วยเนื้อหาข้อมูลที่หลากหลายทำให้ในบางครั้งได้สร้างความสับสนในเนื้อหาของงานให้กับคุณ Jo Nagasaka ในการเรียบเรียงข้อมูลของงาน ซึ่งทำให้คุณ Jo Nagasaka มีวิธีการจัดการเรียบเรียงเนื้อหาและจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลการออกแบบผ่านการเขียนหนังสือเพื่อจัดลำดับความสำคัญของงานและเป็นการเก็บข้อมูลของงานออกแบบและเป็นเครื่องมือสื่อสารบอกเล่าเรื่องราวของงานออกแบบของเขาให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจกับงานออกแบบของเขาอีกด้วย ถือว่าคุณ Jo Nagasaka เป็นนักออกแบบที่มีแนวคิดที่น่าสนใจและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในภาพรวมถึงการใช้งานทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

Tadahito Ishibashi (Product Designer) ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยของการออกแบบ

คุณ Tadahito Ishibashi นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้ซึ่งก่อตั้ง IDL Corporation ในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ขึ้นในปี 2005 ที่ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างสำนักงานออกแบบที่จะมอบประสบการณ์และสร้างอารมณ์ความรู้สึกที่ดีให้แก่ลูกค้าด้วยทักษะการออกแบบในฐานะนักออกแบบที่มีความรู้ด้านการผลิต และ ความรู้ทางธุรกิจที่ได้รับจากการทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจ โดยมีเป้าหมายในการออกแบบอุตสาหกรรมที่ตอบสนองต่อความงามและคุณค่าที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง และคุณ Tadahito Ishibashi ยังเป็นนักออกแบบที่ได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัล Good Design Small and Medium Enterprise Agency Director General’s Award ของ Japan Design Promotion Association อีกด้วย

Cafe Pod espresso machine PD-1 ภาพตัวอย่างผลงานการออกแบบของคุณ Tadahito Ishibashi

ด้วยผลงานการออกแบบของ IDL ที่มีผลงานการออกแบบที่หลากหลายไปตั้งแต่ เฟอร์นิเจอร์ , ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ ไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยคุณ Tadahito Ishibashi เล่าว่า “ ในทุกการเริ่มต้นของการออกแบบเขามีแนวคิดในการออกแบบโดยเริ่มต้นการออกแบบด้วยการจัดระเบียบความคิดของตัวเองก่อนโดยการเลือกกำหนดคำ หรือ กำหนด Keyword สำคัญเพื่อใช้ยึดถือเป็นแนวทางในการออกแบบ ” คุณ Tadahito Ishibashi ให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นหลัก แต่ทั้งนั้นเขายังมีต้องการที่จะออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้งานมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการใช้งานผลิตภัณฑ์แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ไม่ลืมที่จะมอบความงามให้กับผลิตภัณฑ์ในระหว่างที่มันถูกใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่ดีต้องใช้ได้จริง และ สวยงามภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกวางไว้

คุณ Tadahito Ishibashi เป็นนักออกแบบที่มีความสนใจและให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมากโดยเขาเล่าว่า เขามักใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการออกแบบตัวอย่างเช่นการนำ 3D Printer เข้ามาช่วยในการขึ้นรูปในกระบวนการทดลองในการหารูปทรงเพื่อความไวของการทำงานและเพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่รูปแบบของงานออกแบบ อีกทั้งคุณ Tadahito Ishibashi ยังให้ความสำคัญต่อรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ในการจัดแสดงและวางประกอบในทุกสื่อโฆษณาด้วยรูปแบบวิธีที่มีความเป็นธรรมชาติ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถกลมกลืนได้กับบริบทจริงและเพื่อไม่ให้ดูเป็นการเซ็ตหรือการจัดวางเพื่อการขายเพียงอย่างเดียว แต่ทั้งนั้นผลิตภัณฑ์ต้องมีความสวยงามเมื่อถูกจัดวางประกอบอยู่ในสภาพแวดล้อมอื่น ๆ

จากตัวอย่างแนวความคิดของเหล่าดีไซน์เนอร์ทั้ง 4 ท่านที่ทาง Dsignsomething นำมาฝากจากบรรยากาศภายในงาน Japan Design Now หวังว่าอาจเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ หลายคนที่จะนำแนวคิดจากเหล่านักออกแบบไปเป็นกรณีตัวอย่างหรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ทั้งนี้งานเสวนา Japan Design Now ที่ถูกจัดขึ้นโดย สศส. ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย ในการเปิดมุมมองผ่านการบรรยายของ 4 นักออกแบบจากญี่ปุ่นถึงกระบวนการคิดสู่งานออกแบบที่สะท้อนคุณค่า และเพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางเครือข่ายทางการออกแบบระหว่าง 2 ประเทศผ่านกิจกรรมที่เกิดขึ้นในงานและเพื่อเป็นการนำเสนอความสำคัญของงานออกแบบที่จะสามารถส่งผลต่อภาพรวมของสังคมให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจ

Writer
Heamarat Chimchavee

Heamarat Chimchavee

สถาปนิกจำเป็น ที่ทำงานออกแบบเป็นงานอดิเรก มีความสนใจในการทำความเข้าใจแนวคิดและที่มาของงานออกแบบต่าง ๆ ที่พบเจอ ให้กลายเป็นเรื่องเล่า