หากพูดถึงจังหวัดขอนแก่นหลายคนอาจนึกถึงประวัติศาตร์ที่ถูกบันทึกของประเทศไทยในจังหวัดขอนแก่นด้วยความเป็นดินแดนแห่งไดโนเสาร์ที่ขึ้นชื่อและมีการค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทยหรือการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก Refill Café ร้านกาแฟที่สะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ไดโนเสาร์ของจังหวัดขอนแก่นในการถ่ายทอดเรื่องเล่าผ่านการเลือกใช้วัสดุและการออกแบบพื้นที่ ที่ถูกออกแบบโดย blankstudio ให้กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงบรรยากาศของการแตกกะเทาะที่เกิดจากการขุดค้นทางธรณีวิทยาและบรรยากาศกลิ่นอายของการจำลองเรื่องเล่าของยุคดึกดำบรรพ์
Mass กล่องคอนกรีตที่แสดงถึงการขุดเจาะและซ่อนความคอนทราสต์ระหว่างพื้นที่ภายนอกและพื้นที่ภายใน
Refill Cafe เป็นร้านกาแฟที่มีแนวคิดเริ่มต้นจากความต้องการของ ( Owner ) คุณแบงค์ ธิติ ในการสร้างพื้นที่ ๆ สามารถเป็นที่พักผ่อนและเป็นสถานที่เติมพลังให้แก่ผู้เข้าใช้บริการในทุก ๆ วัน ที่ได้รับการออกแบบโดย blankstudio สถาปนิกผู้ออกแบบ Refill Café ผ่านการตีความและถ่ายทอดเรื่องราวของบริบทร้านกาแฟที่ตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น พื้นที่ซึ่งมีประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาและการค้นพบซากฟอสซิลของประเทศไทย สถาปนิกผู้ออกแบบเล่าว่า “ ในการเริ่มต้นของการออกแบบเขาได้ตีความโจทย์ของการออกแบบจากบริบทที่ตั้งของร้าน ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งมีประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาและการค้นพบของซากฟอสซิลในประเทศไทย ” โดยมีการขึ้น Mass ของอาคารด้วยวัสดุคอนกรีตที่ต้องการแสดงความดิบของเนื้อวัสดุในรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม โดยต้องการให้กล่องคอนกรีตทำหน้าที่ซ่อนพื้นที่ภายในของร้าน Refill Café ที่มีความคอนทราสต์กับพื้นที่ภายนอก ด้วยลักษณะของความดิบและความไม่สมบูรณ์ของ Mass อาคารที่เป็นกล่องคอนกรีต เพื่อกำหนดการรับรู้ให้แก่ลูกค้าที่เข้าใช้งานได้สัมผัสเมื่อเข้าถึงพื้นที่ภายในของตัวร้าน ที่มีความคอนทราสต์กับพื้นที่ภายนอกที่ถูกรายล้อมไปด้วยหอพักและอาคารต่าง ๆ
ทางสถาปนิกผู้ออกแบบจึงสร้างซีเคว้นท์ที่จะค่อย ๆ ปรับความความรู้สึกให้แก่ผู้ใช้งานเมื่อเข้าถึงพื้นที่ภายในของร้าน โดยมีช่องเปิดในส่วนของทางเดินเข้าร้านที่จะมอบมุมมองให้ผู้ที่เข้าใช้บริการที่กำลังจะเดินเข้าสู่พื้นที่ภายในของร้านสามารถสังเหตุเห็นพื้นที่แค่บางส่วนได้ก่อนที่จะพบกับพื้นที่ภายในทั้งหมดเพื่อเป็นการกำหนดการรับรู้ให้แก่ผู้ที่เข้าใช้บริการ
การปิดล้อมพื้นที่จากภายนอกสู่การออกแบบพื้นที่ภายในเพื่อกำหนดมุมมองให้แก่ผู้ใช้งาน
ด้วยความที่บริบทรอบข้างของ Refill Café ถูกรายล้อมไปด้วยอาคารหอพักและด้วยความสูงของอาคารรอบข้างที่ทำให้สามารถมองลงมาสู่พื้นที่ของร้านได้อย่างชัดเจน สถาปนิกผู้ออกแบบจึงได้มีแนวคิดในการปิดล้อมพื้นที่ทั้ง 4 ด้านของ Refill Café เพื่อเพิ่มความ ( Privacy ) ให้แก่ผู้ใช้บริการและทำการสร้างคอร์ตกลางพื้นที่ของอาคารขึ้นมาแทนเพื่อให้ผู้ใช้งานภายในอาคารสามารถมองออกไปสู่พื้นที่ด้านนอกได้ด้วยการกำหนดวิวให้แก่ผู้เข้าใช้บริการ
ลักษณะภายนอกของ Refill Café จะเป็นอาคารคอนกรีตรูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีลักษณะเป็น ( Geometry Form ) รูปลักษณ์อาคารที่เป็นเหมือนลายเซ็นต์ของ blankstudio ด้วยการออกแบบอาคารที่มีรูปทรงลักษณะที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดดีเทลของ ( Element ) ต่าง ๆเช่นพื้น , ผนัง , หลังคา โดยมีก้อนคอนกรีตรูปทรงสี่เหลี่ยมถูกวางไว้ในตำแหน่งบริเวณด้านหน้าของร้านด้วยคอนเซ็ปต์ของการขุดเจาะหรือการกระเทาะที่แสดงออกมาผ่านผนังที่ถูกหล่อด้วยคอนกรีต และทำหน้าที่เป็นเส้นนำสายตาให้แก่ผู้เข้าใช้บริการในการเดินไปสู่ทางเข้าภายในร้านซึ่งอยู่ปลายสุดของทางเดินซึ่งระหว่างทางเดินก่อนจะพบกับทางเข้าสู่พื้นที่ภายในของ Refill Café ผู้ใช้งานจะสามารถสัมผัสกับบรรยากาศด้วยแนวคิดของการขุดเจาะของพื้นที่ก่อนผ่านเข้าสู่พื้นที่การใช้งานของสเปซภายในร้าน
การถ่ายทอดบรรยากาศของยุคดึกดำบรรพ์ผ่านองค์ประกอบและการตกแต่งของพื้นที่ภายใน
เมื่อเข้ามาสู่ภายในพื้นที่ของ Refill Café จะสังเกตุเห็นได้ว่าพื้นที่ภายในของร้านจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ที่ซึ่งมีความแตกต่างกัน โดยสถาปนิกผู้ออกแบบได้แบ่งและเรียกพื้นที่เหล่านั้นว่าเป็น ก้อนสว่าง และ ก้อนมืด โดยเมื่อเข้าสู่พื้นที่ภายในของร้านในส่วนแรกจะพบกับพื้นที่ส่วนมืดหรือในส่วนที่สถาปนิกผู้ออกแบบเรียกว่า “ ก้อนสีดำ ” พื้นที่ของเคาท์เตอร์บาร์ที่มีความยาวกว่า 8 เมตรด้วยวัสดุสแตนเลสที่จะมอบความโดดเด่นที่มีความคอนทราสต์กับพื้นและผนังของพื้นที่ภายในที่จะมอบบรรยากาศภายในที่แตกต่างจากพื้นที่ภายนอกด้วยความเรียบร้อยของสเปซแต่ยังคงไว้ด้วยพื้นผิวฟินิชชิ่งที่มีความเรียบร้อย และ texture ที่มีความไม่สมบูรณ์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของแนวคิดในเรื่องของการขุดเจาะโดยสถาปนิกผู้ออกได้ใส่รายละเอียดต่าง ๆ ลงไปภายในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของร้าน Refill Café อาทิเช่น
“ พื้นที่มีลักษณะลวดลายของกระเบื้องที่ถูกปั๊มลงไปในพื้นคอนกรีตเพื่อให้เกิดรอยของพื้นกระเบื้องเดิม ”
“ ผนัง 2 สี ที่มีการใช้กระเบื้องกรุส่วนบน และ ส่วนล่างที่เป็นงานคอนกรีต ” ที่ยังคงแสดงแนวคิดของการกระเทาะของเปลือกผนัง
“ พื้นที่ก้อนมืด ”
เมื่อถัดมาจากเคาท์เตอร์กาแฟในพื้นที่ส่วนมืด หรือใน “ ก้อนสีดำ ” จะพบเข้ากับสวนที่ถูกออกแบบมาให้ตั้งอยู่กลางพื้นที่ของร้าน Refill Café ที่มีการใส่องค์ประกอบที่จะแสดงถึงความเป็นยุคดึกดำบรรพ์ด้วยองค์ประกอบของต้นไม้สีดำ , ก้อนหิน , มอส และหมอก เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศในพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งานของคาเฟ่ด้วยแสงจากธรรมชาติที่ไม่สว่างจนเกินไปและไม่มืดจนเกินไป ประกอบกับแสงธรรมชาติที่มาจากช่องเปิดด้านบน ซึ่งทำให้พื้นที่ส่วนนี้เป็นเหมือนพื้นที่ ๆ ให้แสงสว่างแก่พื้นที่โดยรอบของร้าน Refill Café ในฝั่งมืดนี้ที่จะมอบบรรยากาศความรู้สึกของยุคสมัยดึกดำบรรพ์ให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสจากองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ถูกหยิบยกมาใส่ก่อนที่จะเข้าไปสู่อีกพื้นที่หนึ่ง
“ พื้นที่ก้อนสว่าง ”
เมื่อถัดมาจากพื้นที่ใน “ ก้อนสีดำ ” หรือพื้นที่โซนมืดที่สถาปนิกผู้ออกแบบเรียกนั้นจะพบกับ “ ก้อนสว่าง ” ซึ่งคือพื้นที่ในส่วนของ ( Seating area ) พื้นที่ ๆ ลูกค้าสามารถมานั่งดื่มกาแฟนั่งพักผ่อนหรือพบปะพูดคุยกันได้ โดยในพื้นที่ก้อนสว่างส่วนนี้ทางสถาปนิกผู้ออกแบบเล่าว่า ได้มีการใส่พื้นที่สีเขียวเข้าไปในพื้นที่ซึ่งทำให้ในพื้นที่ส่วนนี้่ถูกขนาบข้างไปด้วยสวนสีเขียวที่มีความร่มรื่นไปด้วยต้นสเม็ดแดงที่มีลักษณะของลำต้นสีแดงและใบสีเขียว , เฟริน์ , ต้นมอสที่จะมอบบรรยากาศของพื้นที่สีเขียวและพันธ์ไม้ที่จะทำให้รู้สึกถึงยุคดึกดำบรรพ์
ดีเทลของวัสดุที่ถูกหยิบยกมาใช้ถ่ายทอดเรื่องราวในยุคดึกดำบรรพ์ให้แก่งานออกแบบ
ภายพื้นพื้นที่ของ Refill Café ประกอบไปด้วยดีเทลต่าง ๆ ที่ทางสถาปนิกผู้ออกแบบได้หยิบยกนำมาใส่ไว้เพื่อมอบประสบการณ์และบรรยากาศที่ดีให้แก่ผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่นเสาของโครงสร้างที่ถูกปิดด้วยกระจกเงาถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการช่วยดึงบริบทของพื้นที่ หรือ ว่า ( Landscape ) จากพื้นที่ภายนอกของโครงการที่จะเป็นในส่วนของสวนฝั่งตรงข้ามของโรงแรมที่ทาง ( Owner ) เป็นเจ้าของให้เข้ามาสู่พื้นที่ภายในของร้านผ่านการสะท้อน เพื่อเป็นการสร้างมุมมองแก่ผู้ใช้บริการที่อยู่ในพื้นที่นี้ให้ได้รับความรู้สึกที่สบายจากพื้นที่ธรรมชาติสีเขียวที่ถูกสะท้อนมาจากภายนอกของร้านผ่านการมองเห็น
รูปทรงของเฟอร์นิเจอร์ที่ทางสถาปนิกผู้ออกแบบเลือกใช้ก็จะมีความเป็น ( Geometry Form ) ตามคอนเซ็ปต์ของตัวแมสอาคารเพื่อความสมมาตรของพื้นที่และบรรยากาศภายในพื้นที่ ๆ ดูเรียบร้อยและมีความคอนทราสต์กับองค์ประกอบอื่น ๆ ของร้านที่มีความไม่สมบูรณ์เพื่อแสดงถึงการขุดเจาะและการกระเทาะ
Refill Café ถือเป็นคาเฟ่ที่ถูกออกแบบมาด้วยแนวคิดของการสร้างบรรยากาศให้แก่ผู้ใช้งานที่ชื่นชอบกาแฟและอยากสัมผัสบรรยากาศใหม่ ๆ ของคาเฟ่ที่มีคาแลคเตอร์ที่โดดเด่นไปด้วยเรื่องราวความเป็นมาในยุคดึกดำบรรพ์ด้วยบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกของการขุดเจาะที่ทำให้ค้นพบกับพื้นที่ภายในที่มีความน่าสนใจผ่านการออกแบบ
Project Name: Refill.Coffee
Project location: Khon Kaen,Thailand
Completion Year : 2023
Gross Built Area: 200 sq.m.
Architecture Firm: blankstudio
Lead Architects: Satawatch Katlivong
Firm Location: Chiang Mai, Thailand
Landscape Design : H2O Design Co.,Ltd
Photograph : PanoramicStudio
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!