หากพูดถึงพื้นที่การทำงานในรูปแบบ Home office ทุกคนอาจมีภาพในหัวที่ใกล้เคียงกันในลักษณะของบรรยากาศที่เงียบสงบภายใต้ความกดดันและบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกถึงความจริงจังในการทำงาน บ้านปืนกล้วย Homeoffice ที่ถูกออกแบบโดย O.U.R.Architect ผ่านแนวคิดของการทำให้ Homeoffice เป็นพื้นที่ ๆ มีความผ่อนคลายและทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้งานรู้เหมือนการมาทำงานที่ร้านกาแฟ จากการนำร้านที่ลูกค้าชอบไป + ผสมกับ ( Place ) สถานที่ลูกค้าชอบและคุ้นชิน นำมาสู่การออกแบบผ่านการเลือกใช้วัสดุ อิฐ เหล็ก ไม้ที่สะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้าน
สถาปัตยกรรมที่เป็นพื้นที่ทดลองกิจกรรมของเจ้าของบ้าน
เมื่อพูดถึง ( Function ) หน้าที่การใช้งานของ บ้านปืนกล้วย เดิมทีอาคารหลังนี้เป็นเพียงโรงจอดรถเท่านั้น และเนื่องจากทาง Owner ได้มีแผนการในการออกแบบต่อเติมฟฟิศเพิ่มภายในพื้นที่โครงการอยู่แล้ว แต่ด้วยเนื่องจากงบประมาณในการก่อสร้างของอาคารทั้ง 2 หลังจึงได้ข้อสรุปในการรวบอาคารทั้งหมดเป็นหลังเดียวและใช้งานแบบ ( Multifunction ) ในการเป็นห้องรับรองแขก ห้องสังสรรค์ สำนักงาน โรงจอดรถ ที่ได้เผื่อพื้นที่สำหรับใส่ลิฟต์จอดรถแบบยกได้ หรือแม้แต่โกดังเก็บของขนาดเล็กที่สามารถติดเครน 2 ตันได้ ทางทีมสถาปนิกผู้ออกแบบจึงได้มองว่า ด้วย Fuction ที่ดูซับซ้อนจึงต้องการออกแบบให้ตัวอาคารมีรูปแบบของการจัดวาง ( Function ) ที่ออกมาใช้งานได้ง่าย และ การเผื่อพื้นที่สำหรับการต่อเติมในอนาคตให้อาคารหลังนี้เป็นเหมือนของเล่นให้แก่ Owner ที่เปิดโอกาสให้ต่อเติมทดลองใช้งานได้หลากหลาย
วัสดุที่บ่งบอกตัวตนของเจ้าของบ้าน
ในการทำความเข้าใจและการออกแบบของ บ้านปืนกล้วย สถาปนิกผู้ออกแบบได้ศึกษาและทำความเข้าใจต่อความต้องการของ Owner อย่างชัดเจน เพื่อให้นำมาสู่งานออกแบบที่ตรงต่อความต้องการของ Owner สถาปนิกเล่าว่าหลังมีการตกลงกันและได้ข้อสรุปของการเลือกใช้วัสดุที่จะสะท้อนตัวตนของ Owner นั้นคือการใช้งานตกแต่งผนังบางส่วนเป็นอิฐแดงบวกกับความชอบส่วนตัวของ Owner ที่มีความชอบความเป็นสัจจะวัสดุ ทำให้ตัวงานถูกขับเคลื่อนและเน้นถึงความชัดเจนของวัสดุ ทั้งโครงสร้างเหล็ก งานโชว์ Detail ของอิฐ คอนกรีตขัด รวมถึงหินบางส่วนที่ต่างแสดงความเป็นตัวตนของวัสดุเหล่านั้นออกมาอย่างตรงไปตรงมา
การทดลองของวัสดุสู่ Façade อาคารที่ไม่เหมือนใคร
เมื่อทางทีมสถาปนิกผู้ออกแบบ ตัดสินใจในการใช้อิฐมาเป็นตัวเอกของการเล่าเรื่องภายในอาคาร บ้านปืนกล้วย
ผู้ออกแบบจึงมีไอเดียในการทดลองทำ ( Façade ) เปลือกอาคารจากอิฐโดยเกิดการตั้งคำถามถึงรูปแบบของแนวคิดออกเป็น 2 แบบคือผนังอิฐนี้จะมีประโยชน์กับอาคารอย่างไร และ อิฐที่จะมีการเรียงตัวแบบใด และการตั้งคำถามว่าจะสามารถสร้างปรากฏการณ์อย่างไร
รูปแบบการจัดเรียงของแผงผนังอิฐโค้ง ที่เจ้าของบ้านให้ชื่อว่า “ บ้านปืนกล้วย ” มีที่มาจากการที่ตัวอาคารมีรูปลักษณ์หน้าตาเหมือนกับปืนกล้วยที่เป็นของเล่นในสมัยเด็ก แผงกำแพงอิฐโค้งนี้เป็นการออกแบบที่สามารถช่วยดึงให้ลมไหลเวียนเข้าอาคารได้ดี ทำให้ลมสามารถไหลผ่านอาคาร และยังช่วยทำให้เกิดสภาวะน่าสบายในเวลาที่ไม่เปิดเครื่องปรับอากาศได้เป็นอย่างดี โดย Façade อิฐแดงนี้จะอยู่ด้านทิศตะวันตก ซึ่งช่วยบังแดดและความร้อนในช่วงบ่ายได้ในขณะเดียวกัน การวาง Pattern อิฐแดงนี้ก็ช่วยให้เกิดความน่าสนใจแก่พื้นที่ภายในอีกด้วย
รูปแบบของการเรียงอิฐในงาน บ้านปืนกล้วย เกิดจากการทดลองของวัสดุอิฐ โดยสถาปนิกผู้ออกแบบตั้งเป้าในการออกแบบ Façade โดยมีเป้าหมายให้อิฐหนักนั้นดูลอยมีความเบาและพริ้วไหวเหมือนผ้า สถาปนิกผู้ออกแบบจึงออกแบบรูปแบบการเรียงของอิฐ และ องศาของแนวอิฐซึ่งทำให้ผู้ใช้งานที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นได้แตกต่างกันจากในแต่ละมุมของอาคาร และเพื่อสร้างความรู้สึกเบาให้เหมือนอิฐที่กำลังลอยอยู่ในอากาศ
Project Name : บ้านปืนกล้วย
Architecture Firm : O.U.R.Architect
Year : 2022
Area : 320 ตรางเมตร
Lead Architects : ภควัต อรุณอังศุธร
Photographer : ภัคมันต์ญา น่วมบัว
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!