เมื่อแรงบันดาลใจสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกที่และทุกช่วงเวลาแม้แต่ตอนที่เรากำลังจะเริ่มหั่นครัวซองต์ แรงบันดาลใจที่นำมาสู่การออกแบบของคาเฟ่ที่ได้ไอเดียเริ่มต้นในการออกแบบจากการสังเกตุและการทดลอง อย่าง French Kitsch Café คาเฟ่คอนกรีตสุดเท่ของจังหวัดนครราชสีมา ที่ได้รับการออกแบบโดย TOUCH Architect กับโจทย์ที่ไร้ข้อจำกัดจากทางเจ้าของคาเฟ่ French Kitsch Café คาเฟ่สุดฮิตกับสาขาที่ 3
สถาปัตยกรรมที่พาให้เรามองเห็นความงามจากความที่ไม่สมบูรณ์แบบ
“ที่ตรงนี้ทิศทางลมค่อนข้างดีแต่ดันพัดมาจากฝั่งที่เป็นลูกรังเต็ม ๆด้วยพื้นที่ ๆ ติดอยู่กับถนนทั้ง 3 ด้านบวกกันต้นไม้ที่ยังไม่โตถึงขั้นสามารถให้ร่มเงาได้ ทางทีมจึงคิดว่าตัวสถาปัตยกรรมจะต้องสามารถอยู่ได้โดยที่ไม่โดนรบกวนจากสิ่งภายนอก ” สถาปนิกผู้ออกแบบเล่า
French Kitsch Café ตั้งอยู่บนแปลงที่ดินที่มีลักษณะเป็นล็อก ๆ ด้วยบริบทรอบข้างที่ถูกรายล้อมไปด้วยร้านอาหารและคาเฟ่ต่าง ๆ มากมายในรูปแบบของที่ดินที่เป็นลักษณะของการเช่าพื้นที่
ทางทีมสถาปนิกผู้ออกแบบได้เล่าว่า “ ในการเริ่มต้นของการออกแบบได้ทำการตีความจากชื่อของร้าน ที่มีชื่อว่า French Kitsch Café ” หรือคือร้านกาแฟที่มี Brand Identity ที่ชัดเจนและเป็นภาพจำของใครหลาย ๆ คนด้วยรูปปั้นหมาสีชมพู ที่นำมาสู่การหาความหมายของคำว่า French กับ คำว่า Kitsch โดยได้มีเรื่องราวมาจากทาง Owner ที่มีการไปเรียนทำขนมที่ประเทศฝรั่งเศสบวกกับตนมีความชื่นชอบสุนัขพันธ์ุ French Bulldog จึงเป็นที่มาของตุ๊กตาน้องหมาสีชมพูที่จะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในแต่ละส่วนของร้านแห่งนี้ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ทางทีมสถาปนิกผู้ออกแบบจะมาสู่การตีความเพื่อการออกแบบ สถาปนิกผู้ออกแบบยังเล่าว่า “ พอนึกถึงคำว่า French เป็นภาพที่ชัดเจนมากที่จะทำให้นึกถึงสถาปัตยกรรมที่มีความเป็นยุโรปและมีลักษณะของ อาร์กโค้ง บวกกับคำว่า Kitsch ที่หากแปลตรงตัวจะมีความหมายว่า ศิลปะที่ไม่สมบูรณ์แบบมากนั้น ” ซึ่งนำมาสู่แนวคิดจากการตีความของสถาปนิกผู้ออกแบบถึงสิ่งที่มันไม่สมบูรณ์แบบ แต่ยังคงมีความสวยงามในตัว
แรงบันดาลใจของรูปทรงอาคารและสเปซที่เกิดขึ้นจากการผ่าครัวซองต์
” ด้วยลักษณะของการออกแบบภายในร้านที่ไม่ใช้บ้านพักอาศัย วิธีการคิด แนวความคิดของร้านก็ต่างกับการออกแบบบ้านพักอาศัยอยู่แล้วเป็นธรรมดา ” คำบอกเล่าจากสถาปนิกผู้ออกแบบ ด้วยความที่เราต้องออกแบบร้านกาแฟเพื่อให้มีความสวยเด่นดึงดูดผู้คนที่พบเห็นก็ต้อง Attract People ให้ได้มากที่สุดนำมาสู่บทสรุปของการออกแบบโดยที่ทีมสถาปนิกผู้ออกแบบได้ตีความคำว่า French Kitsch แทนที่จะเป็นอาร์กโค้งปกติเหมือนในโบสถ์ เราเปลี่ยนมาทำอาร์กที่ไม่สมบูรณ์ดีไหมบวกกับอีกหนึ่งไอเดียจากของขึ้นชื่อภายในร้าน French Kitsch นั้นคือครัวซองต์ที่มีรูปทรงของ Curve ที่เมื่อทำการตัด Section ออกมานั้นจะสังเกตุเห็นได้ว่ารูปแบบโครงสร้างภายในของครัวซองต์นั้นมันลักษณะเป็น Curve ที่สมมาตรบวกกับริ้วของครัวซองต์ที่ทำให้เห็น Pattern ทุกอย่างภายในนั้น ทำให้ทีมสถาปนิผู้ออกแบบเกิดความคิดที่ว่าถ้าหากนำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดมารวมกัน มันจะออกมาเป็นสถาปัตยกรรมลักษณะแบบใด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดทั้งหมดของ French Kitsch
เมื่อเข้ามาสู่บริเวณด้านหน้าของตัวร้านจะพบกับรูปปั้นหมาสีชมพูตัวใหญ่ที่พร้อมต้อนรับลูกค้าทุกคนด้วยท่าทีที่เป็นมิตร ภายในบรรยากาศของอาร์กโค้งที่ถูกการเจาะช่องแสงเผื่อให้แสงธรรมชาติสามารถลอดผ่านเข้ามาได้
และเมื่อเข้าสู่บริเวณด้านในของพื้นที่ร้านสิ่งแรกที่จะทำให้ทุกคนสะดุดตานั้นคือเคาน์เตอร์ที่มีความยาว 12 เมตรทางสถาปนิกผู้ออกแบบเล่าว่า “เคาน์เตอร์ตัวนี้เป็น Requirement หลักของตัวร้านเลยที่ซึ่งเป็นพื้นที่จัดเรียงและแสดงครัวซองต์ , เจลาโต้และเบเกอร์รี่ที่เป็นของขึ้นชื่อของทางร้าน
“เราไม่อยากให้เกิดความรู้สึกที่ดูแคบภายในพื้นที่ของตึกซึ่งเกิดจากเคาน์เตอร์ขนาดใหญ่จึงเลือกทำทรงของอาคารให้มีความกว้าง” สถาปนิกผู้ออกแบบกล่าว
เมื่อเดินผ่านพื้นที่ของเคาน์เตอร์เข้ามาจะพบเข้าสู่พื้นที่ ๆ ถูกแยกเป็นส่วนของที่นั่งชั้นล่าง และตรงบริเวณนี้ถ้าหากมองออกมาด้านนอกจะเห็นเป็น Rhythm of Arch ที่มีลักษณะเป็นอาร์กโค้งที่เป็นทรงที่เบี้ยวนิด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของอาร์กที่เราเห็นมาจากครัวซองต์เลย โดยพื้นที่บริเวณด้านข้างจะเป็นส่วนของ Slow bar ส่วนที่มีการออกแบบให้ถูกดันมาไว้บริเวณด้านหน้าและถูกสร้างเป็นส่วน Double volume เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่บริเวณทั้ง 2 ชั้นของร้านเมื่อมองขึ้นไปจะพบเข้ากับต้นไม้และ Curve ที่มารับกับ Skylight ด้วยแสงและเงาที่ตกกระทบกัน
Diagram นี้จะแสดงพื้นที่ ๆ ต่อเนื่องกันไปเป็นรูปทรงเดียวกันสำหรับพื้นที่ของชั้นล่าง ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของผู้ใช้งานให้เกิดการรับรู้ราวกับว่าเหมือนได้เข้าไปนั่งในพื้นที่ส่วนหนึ่งภายในของครัวซองต์หรือเหมือนได้เข้าไปอยู่ใน sculpture ที่ทำให้เกิดความรู้สึกอินกับบรรยากาศของร้านไม่ใช่แค่การมาทานขนมหรือเลือกซื้อดื่มเครื่องดื่มเพียงอย่างเดียวแต่จะได้การรับรู้ที่ว่าได้อยู่ในร้าน French Kitsch
และพื้นที่ ๆ ต่อเนื่องกันออกมาจะสังเกตุเห็นได้ว่าบริเวณของด้านหน้าร้านก็จะมีลักษณะเป็น Pattern ของโค้งเดียวกับโดยที่ทีมสถาปนิกผู้ออกแบบได้มีความตั้งใจเอาโค้งนี้มาใส่ในบริเวณของทางเข้าเพื่อให้เกิดการสร้างความประหลาดใจรู้สึกแก่ผู้ที่เข้าใช้บริการในการเปลี่ยนถ่ายพื้นที่เข้าสู่ตัวร้าน
ในส่วนของพื้นที่ชั้นที่ 2 จะเป็นส่วนของที่นั่งสำหรับลูกค้าทั้งหมดเลย โดยที่พื้นที่บริเวณชั้น 2 ถ้ามองจากด้านหน้าจะสังเกตุเห็น Curve ที่เหมือนถูกคว้านตัดออกไปซึ่งเป็น Curve ที่ทางทีมสถาปนิกผู้ออกแบบได้ดีไซน์มาสำหรับทำหน้าที่เป็นกันสาดแล้ว ยังเพื่อกันความร้อน และกันส่วนที่เป็นที่ให้แดดและฝนเข้ามาสู่ตัวร้านโดยตรง
สถาปัตยกรรมคอนกรีตสุดเท่ที่สร้างบรรยากาศให้เหมือนเรานั่งอยู่ภายในของครัวซองต์
ภาพรวมของ French Kitsch Café ทั้งหมดจะเป็นลักษณะของคอนกรีตหล่อในที่ โดยใช้ลักษณะของ Board Form หรือก็คือแม่แบบที่เป็นแผ่นไม้แผ่นยาว ๆ ซึ่งเมื่อเวลาถอดแม่แบบออกมาจะเห็นเป็นลักษรณะคอนกรีตแบบริ้ว ๆ ซึ่งสาเหตุที่ทางทีมสถาปนิกผู้ออกแบบเลือกใช้เทคนิคแบบนี้เพราะต้องการให้ตัวสถาปัตยกรรมหรือตัวร้าน French Kitsch ยังคงความสวยงามของรูปทรงและวัสดุได้อีกนาน บวกกับคอนเซปต์ไอเดียที่มาจากริ้วของครัวซองต์ ซึ่งตอบโจทย์กับความคงทนของ Material ซึ่งทำให้ภาพรวมของ French Kitsch Café สามารถแสดงคอนแนวคิดได้ออกมาอย่างชัดเจนจากมุมมองของสถาปนิกผู้ออกแบบที่คิดว่า สถาปัตยกรรมเป็นส่วนเสริมที่ช่วยทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้นเพื่อสร้างความดึงดูดให้แก่ผู้ที่เข้าใช้บริการ
Project Name: French Kitsch Café
Location : City Link, Mueang, Nakornratchasima, Thailand
Year : 2023
Area : 360 sq.m.
Owner: Chanon Jeimsakultip x Anuchit Vongjon
Lead Architects: TOUCH Architect
Photographer : Tanatip Chawang
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!