ครอบครัวขยายหลายครอบครัว อยากจะอยู่ใกล้กันแต่ พื้นที่รอบบ้านเดิมไม่เอื้อต่อการสร้างบ้านสำหรับครอบครัวใหม่ จึงจำเป็นต้องย้ายไปอยู่อยู่ที่อื่น แต่ Archismith กลับใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด สร้างบ้านให้กลับครอบครัวของลูก ได้อยู่ใกล้ชิดกับบ้านของพ่อแม่ได้อย่างลงตัว
ถึงคราวต้องขยับขยาย
Monow House เป็นบ้านของครอบครัวหนึ่งที่ต้องการปลูกบ้านให้กับตัวเอง อยู่ติดบ้านของพ่อแม่ เพราะ ต้องการอยู่ใกล้ชิดกันแต่มีความเป็นส่วนตัวด้วย ด้วยความที่มีที่ดินข้างๆเป็นแนวยาว อยู่ข้างบ้านเดิม เจ้าของจึงตัดสินใจใช้พื้นที่บริเวณ สร้างบ้านของตัวเอง โดยที่บ้านทั้งสองหลังจะมีความเชื่อมโยงกันในหลาย ๆ มิติ เพราะมีพื้นที่บางสวนที่แชร์กัน และ บางพื้นที่ก็เชื่อมต่อกันผ่านสายตา และ การใช้งาน
ไล่ระดับอาคารเพื่อมุมมองที่เหนือกว่า
ที่ดินเป็นแนวยาว และ แคบ ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องระยะห่างของอาคารโดยรอบ เจ้าของบ้านให้ความสำคัญเรื่องความเป็นส่วนตัวมาก สถาปนิกจึงมีความจำเป็นที่ต้องสำรวจช่องเปิดของบ้านข้าง ๆ เพื่อออกแบบให้ช่องเปิดของบ้านหลังนี้ หลบสายตาคนนอกได้ และความต้องการจะนำแสงธรรมชาติเข้าถึงพื้นที่ในบ้านให้เยอะที่สุด สถาปนิกจึงตัดสินใจทำบ้านออกมาเป็น 3 ชั้น โดยมีการไล่ระดับชั้นจากหน้าบ้าน เพื่อไม่บดบังทัศนียภาพของแต่ละชั้นของบ้าน และ ไม่ให้บดบังแสงแดดที่ส่องไปบ้านพ่อแม่ ทั้งยังเป็นการระบายอากาศได้ดีอีกด้วย
พื้นที่แห่งการเชื่อมต่อ และ การแบ่งปัน
บ้านหลังนี้เน้นพื้นที่เชื่อมต่อกันทางสายตา สถาปนิกจึงนำรั้วที่กั้นระหว่างทั้งสองบ้านออก มุมห้องนั่งเล่นของบ้านพ่อแม่จะเห็นมุมห้องรับแขกของบ้านลูก ทำให้เจ้าของบ้านทั้ง 2 หลัง รับรู้ถึงการมาของแขก พื้นที่ในบ้านไม่ได้มีไว้แค่สมาชิกในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเผื่อพื้นที่สำหรับพ่อแม่เข้ามาใช้งานอีกด้วย เป็นการรวมพื้นที่ของครอบครัวขยายไว้ในบ้านหลังใหม่ อย่างเช่น ห้องออกกำลังกาย ที่คนใช้งานประจำเป็นคุณแม่ซึ่งอยู่อีกบ้านหนึ่ง ส่วนห้องครัวจะมีทางเดิมเชื่อมต่อกัน เพื่อความสะดวกในการแบ่งปันวัตถุดิบที่มีในการประกอบอาหาร ส่งผลให่คนในครัวยังมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
วัสดุอาคารช่วยกันความร้อน
สถาปนิกเลือกที่จะใช้กระเบื้องแทนการทาสีผนังทั่วไป เพราะ ป้องกันปัญหารอยแตกร้าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยชั้น 1 และ 2 ใช้กระเบื้อง Texture สีเข้ม และชั้น 3 ใช้กระเบื้องสีอ่อนคล้ายบ้านพ่อแม่ เพื่อให้มีการเชื่อมโยงกันทางวัสดุ และ เพื่อเน้นความลดหลั่นของมวลอาคาร กระเบื้องชั้น 3 มีโพรงอยู่ภายใน ช่วยลดความร้อนที่จะถ่ายเทผ่านผนังเข้าสู่ภายในตัวบ้านโดยการระบายความร้อนตามธรรมชาติแบบ Thermodynamic ด้วยลมที่พัดผ่านโพรงกระเบื้องช่วยพาความร้อนออกไป เป็นการลดระดับความร้อนสำหรับอาคารที่ไม่มีอะไรบดบังได้เป็นอย่างดี และ การวางกระเบื้องเป็นมุมองศา ทำให้ลดพื้นที่ระนาบรับแดดโดยตรง ผู้ใช้งานภายในจึงอาศัยอยู่บ้านได้ดดยไม่รู้สึกอบอ้าว
Project Name : Monow House
Location : Pathumwan, Bangkok
Architecture Firm : Archismith
Year : 2022
Area : 880 sqm
Lead Architects : Sukonthip Sa-ngiamvongse, Jirawit Yamkleeb
Interior Designer : Archismith
Landscape Design : Field Landscape
Construction : Pipat Supasantitikul
Photographer : DOF SkyGround
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!