ความตระหนักถึง “ ภาวะโลกร้อน ” คงไม่เป็นเพียงกระแสสังคมอีกต่อไปเพราะด้วยปัญหาของภาวะโลกร้อนที่เริ่มส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของทุกชีวิตอย่างที่พบเห็นได้ชัดในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเช่น อุณหภูมิความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น สภาวะอากาศที่แปรเปลี่ยนไปไม่ตรงฤดูกาล เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนจากธรรมชาติถึงผลจากการกระทำของมนุษย์ที่ได้ทำลายธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว และจะดีแค่ไหนหากเหล่านักออกแบบผู้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตสิ่งของเครื่องใช้เริ่มตระหนักและมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการของการผลิตสิ่งของต่าง ๆ ได้เริ่มลงมือหาวิธีแก้ไขเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรับผิดชอบต่อการสร้างมลภาวะให้แก่โลก
ในช่วงที่ผ่านมา Nathan Yong ดีไซน์เนอร์์ผู้ที่มีชื่อเสียงชาวสิงค์โปรได้เปิดตัว Lifecycles ที่เป็นการรังสรรค์งานออกแบบของเฟอร์นิเจอร์ทั้ง 5 ชิ้นภายในคอลเลกชั่นที่ผ่านการเลือกใช้วัสดุของไม้เนื้อแข็งคุณภาพจากประเทศสหรัฐอเมริกาจาก AHEC ( American Hardwood ) อย่าง ไม้เชอร์รี่อเมริกัน , ไม้เมเปิ้ลเนื้อแข็ง , ไม้โอ๊คแดง ที่ซึ่งเป็นการร่วมมือกันกับสภาส่งออกไม้เนื้อแข็งของประเทศสหรัฐอเมริกา (American Hardwood Export Council) และ Nathan Yong
เฟอร์นิเจอร์ที่ถูกออกแบบจากไม้เนื้อแข็งและบทบาทสำคัญที่อยู่เหนือหน้าที่ของการใช้งาน
โปรเจกต์ Lifecycles ถือเป็นโอกาสที่ทำให้ได้ศึกษาถึงรากฐานทางวิทยาศาสตร์ของความหมายของความยั่งยืน และ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม โดยในคอลเลคชั่น Lifecycles นี้ผู้ออกแบบต้องการนำเสนอและเน้นย้ำถึงความสำคัญของการตระหนักถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการเลือกใช้วัสดุและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลงานการออกแบบที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย Nathan Yong ได้ใช้โอกาสนี้ในการเริ่มต้นและช่วยผลักดันวงการการออกแบบแก่เหล่าดีไซน์เนอร์และช่วยทำให้ผู้บริโภคให้เกิดการตั้งคำถามถึงการออกแบบที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
Nathan Yong ได้รังสรรค์งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในคอลเลคชั่น Lifecycles ผ่านการเลือกใช้วัสดุประเภทไม้เนื้อแข็งที่มีคุณภาพจาก AHEC ( American Hardwood ) ซึ่งเป็นแนวหน้าของอุตสาหกรรมไม้ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียงบนเวทีระดับโลกในการส่งเสริมประสิทธิภาพ, ความยั่งยืน และมีศักยภาพทางสุนทรียะของวัสดุประเภทไม้เนื้อแข็งโดย AHEC ที่เป็นการต่อตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมกลุ่มบริษัทที่หลากหลายและทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของวัสดุประเภทไม้เนื้อแข็งออกสู่โลกภายนอก ซึ่งรูปแบบของไม้ที่ถูกเลือกใช้ในโปรเจกต์ Lifecycles ประกอบไปด้วยไม้ทั้ง 3 ชนิดทั้งไม้โอ๊คแดงอเมริกัน ( Quercus Rubra ), ไม้เมเปิ้ลอเมริกัน ( Acer Saccharum ), ไม้เชอร์รี่อเมริกัน ( Prunus Serotina ) โดยที่ไม้เนื้อแข็งทั้ง 3 ประเภทมีคุณสมบัติหน้าที่ ๆ แตกต่างกัน
ไม้เนื้อแข็ง วัสดุที่เป็นกุญแจสำคัญของการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
หัวใจสำคัญของการออกแบบในคอลเลคชั่น Lifecycle ได้ถูกรังสรรค์ออกแบบขึ้นจากองค์ประกอบของไม้เนื้อแข็งคุณภาพจาก AHEC ( American Hardwood ) ที่มีคุณสมบัติของความแข็งแรงและมีเนื้อสัมผัสที่ดีทำให้สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลาย ภายใต้รูปลักษณ์ที่สามารถสร้างความดึงดูดทางสุนทรียะและลักษณะของคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่นในแบบของตัวเอง อย่างไม้โอ๊คแดงอเมริกัน , ไม้เมเปิ้ลอเมริกัน และไม้เชอร์รี่อเมริกัน โดยลักษณะรูปแบบที่มาของไม้ทั้ง 3 ชนิดได้เติบโตอย่างอุดมสมบูรณ์ภายในป่าที่เต็มไปด้วยไม้เนื้อแข็งภายในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อสมดุลคาร์บอนในโลกที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ โดยในปัจจุบันได้มีการถูกนำมาใช้งานในภาคของการออกแบบเป็นส่วนน้อย ซึ่งไม้แต่ละประเภทนั้นมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศป่าไม้และมีส่วนสำคัญต่อความหลากหลายและความยั่งยืนเป็นอย่างมาก และด้วยนอกจากจะเป็นไม้ที่ถูกนำมาใช้ได้อย่างหมุนเวียนแล้วยังสามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติได้ดีอีกด้วย
ไม้โอ๊คแดงอเมริกัน ( Quercus rubra ) เป็นไม้เนื้อแข็งที่สามารถพบได้ภายในพื้นที่ผ่าของประเทศสหรัฐอเมริกา มีลักษณะที่โดดเด่นด้วยผิวสัมผัสของเนื้อที่หยาบ แต่มีความยืดหยุ่น มักเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการนำมาทำเฟอร์นิเจอร์และงานตกแต่งภายใน ด้วยความเป็นไม้เนื้อแข็งที่ทนทานและคุณสมบัติในการดัดรูปให้โค้งงอได้ด้วยไอน้ำ ซึ่งง่ายต่อการใช้เป็นวัสดุปิดผิว
ไม้เมเปิ้ลอเมริกัน ( Acer Saccherum ) เป็นไม้ที่มีสายพันธุ์ใกล้ชิดกับไม้เมเปิ้ลและ Sycamore ของยุโรป ไม้เมเปิ้ลอเมริกันเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบอากาศหนาวเย็น สามารถพบได้ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา ตัวไม้มีลักษณะเป็นสีขาวครีม มีคุณสมบัติที่ทนทานต่อการสึกหรอ ทำให้ถูกนิยมนำไปกลึงและขัดเงาเพื่อให้ได้พื้นผิวที่เรียบเนียนและนิยมนำมาประกอบเป็นพื้นสนามกีฬาในทั่วโลก
ไม้เชอร์รี่อเมริกัน ( Prunus Serotina ) มีรูปแบบของสีที่แตกต่างกันไปตั้งแต่สีชมพูไปจนถึงสีน้ำตาลแดง มีลักษณะของรูปลักษณ์ที่จะมีสีเข้มขึ้นเมืองกระทบกับแสง ไม้ประเภทนี้มีพื้นผิวคล้ายแก้วและเรียบเนียมเมื่อนำมาพ่นทรายและขัดเงาและด้วยคุณสมบัติที่อ่อนตัวทำให้มักถูกนิยมนำมาใช้เป็นวัสดุกรุผนัง งานแกะสลัก และใช้ทำเป็นไม้อัด
Nathan Yong เล่าถึงผลงานการออกแบบในคอลเลกชั่นนี้ว่า
“ เมื่อผู้คนมีการบริโภคสิ่งต่าง ๆ โดยที่พวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริง ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นเรื่องของเงินที่จะต้องจ่ายเพื่อแลกกับสิ่งที่จะได้รับ Nathan Yong ยังเล่าถึงผลงานที่เขาออกแบบว่า “ ในการออกแบบเขาได้มีการคำนึงถึงความสำคัญของผลงานที่ถูกออกแบบ โดยการสร้างความตระหนักและความสงสัยให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนที่พบเห็นผลงาน เพื่อก่อให้เกิดการตั้งคำถามถึงคุณค่าของสิ่งของต่าง ๆ และการมีอยู่ของสิ่งของเหล่านั้นที่จะสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่โลก ”
นักออกผู้ซึ่งให้ความสำคัญต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม
Nathan Yong ดีไซน์เนอร์์ผู้ที่มีชื่อเสียงชาวสิงค์โปร ผู้ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบผ่านการสังเกตุทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและการตั้งคำถามถึงสิ่งต่าง ๆ รอบตัว อีกทั้งยังเป็นนักออกแบบผู้ซึ่งได้รับรางวัล Reed Dot Concept Design Award อันทรงเกียรติติดต่อกันถึง 2 ปี ( ในปี2549 และ 2550 ) และรางวัล Singapore President’s Design Award of the Year ที่ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดที่มอบให้กับนักออกแบบจากทุกสาขาวิิชาสร้างสรรค์ในสิงค์โปร์
นักออกผู้ซึ่งให้ความสำคัญต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม
Nathan Yong ดีไซน์เนอร์์ผู้ที่มีชื่อเสียงชาวสิงค์โปร ผู้ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบผ่านการสังเกตุทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและการตั้งคำถามถึงสิ่งต่าง ๆ รอบตัว อีกทั้งยังเป็นนักออกแบบผู้ซึ่งได้รับรางวัล Reed Dot Concept Design Award อันทรงเกียรติติดต่อกันถึง 2 ปี ( ในปี2549 และ 2550 ) และรางวัล Singapore President’s Design Award of the Year ที่ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดที่มอบให้กับนักออกแบบจากทุกสาขาวิิชาสร้างสรรค์ในสิงค์โปร์
Nathan Yong ดีไซเนอร์ผู้มีชื่อเสียงด้านการออกแบบผู้ที่ขึ้นเป็นแนวหน้าในงานออกแบบด้วยการใช้ทฤษฏีคอนสตรัควิสต์ ( Constructivism ) ทฤษฏีที่เกิดขึ้นในวงการของการศึกษาในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยเป็นทฤษฏีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ของผู้เรียน ที่เชื่อว่า การเรียนรู้ หรือการสร้างความรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นมาจากภายในของตัวผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างความรู้ผ่านการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมมาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่และสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง นอกจากนั้นโปรเจกต์ Lifecycles ที่ Nathan Yong เป็นผู้ออกแบบยังได้มีการประเมินวัฏจักรชีวิตสิ่งแวดล้อมหรือ ( LCA ) ที่ทำให้สามารถคำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกสร้างขึ้นในขั้นตอนการผลิตของชิ้นงานทั้ง 5 ภายในคอลเลคชั่น Lifecycle ได้อีกด้วย
“ คาร์บอนฟุตพริ้นท์คือปริมาณของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะถูกปล่อยออกมาในผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มต้นตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน จนกระทั่งถึงการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน โดยจะมีหน่วยเป็นกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kg CO2 eq) ซึ่งเป็นปริมาณรวมของก๊าซทั้งหมดที่จะถูกปล่อยออกมา ซึ่งจะส่งผลต่อสมดุลของบรรยากาศและก่อให้เกิดอุณหภูมิที่สูงขึ้น ”
“ โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้อาจช่วยลดการก่อให้เกิดคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ โดยในช่วงของการเติบโตของต้นไม้ต้นไม้จะมีการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ และคาร์บอนเหล่านั้นจะถูกกักเก็บไว้ในตัวของผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นทางออกที่สามารถช่วยบรรเทาสภาวะโลกร้อนได้ดีตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ”
ในการประเมิณนี้ได้อ้างอิงการศึกษาการประเมินวัฏจักรชีวิต ( LCA ) เป็นเวลา 2 ปีที่ซึ่งได้รับมอบหมายจาก AHEC และ ดำเนินการโดย Pe International ( ปัจจุบันคือ Thinkstep ) ซึ่งนั่นจะครอบคลุมกระบวนการทั้งหมดในการผลิตตั้งแต่การสกัดไม้และวัตถุดิบอื่น ๆ , การขนส่งวัสดุไปยังสถานที่แปรรูป , ขั้นตอนการแปรรูปทั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกา และโดยเฉพาะการเลื่อยและการเผาไม้ เพื่อทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเชื่อมโยงกับการจัดส่งไม้เนื้อแข็งของประเทศสหรัฐอเมริกาให้กับตลาดโลก
ข้อมูลการเปรียบเทียบในปริมาณของคาร์บอนฟุตพริ้นท์หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในการผลิตเฟอร์นิเจอร์
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ( Carboon Footprint ) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบต่อสิ่งงแวดล้อม หรือคือค่าที่ถูกวัดออกมาจากทุก ๆ กระบวนการ ตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์รวมถึงกิจกรรมของมนุษย์และการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ
“ ปริมาณของคาร์บอนฟุตพริ้นท์์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการผลิตเฟอร์นิเจอร์ภายในคอลเลกชั่น Lifecycles อยู่ที่ 1,257 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ที่ซึ่งใกล้เคียงปริมาณของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตของชาวสิงคโปร์ 1 คนเป็นเวลา 55 วัน หรือ เทียบเท่ากับ ปริมาณของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของเที่ยวบินแบบเที่ยวเดียวที่เดินทางจากสิงคโปร์ไปซิดนีย์ ”
โดยในภาพรวมของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดขึ้นจากการผลิตของเฟอร์นิเจอร์ในคอลเลคชั่น Lifecycles ยังถือว่ามีปริมาณที่ค่อนข้างสูงเมื่อมองเป็นเรื่องของการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่มาจากไม้เนื้อแข็งของสหรัฐอเมริกา ซึ่งโปรเจกต์นี้ถือเป็นการแสดงให้เห็นว่า
“ ในความต้องการที่อยากจะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการออกแบบต้องอาศัยความมุ่งมั่นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกกระบวนการของงานออกแบบโดยไม่ว่าจะเป็น ผู้กำหนดนโยบาย นักออกแบบ ผู้ผลิต และที่สำคัญที่สุดเลยนั้นคือความช่วยเหลือจากเหล่าผู้บริโภค ”
ตัวอย่างวิธีการที่สามารถช่วยลดผลกระทบต่อโลกในกระบวนการของงานออกแบบและการผลิต
ถือได้ว่าโปรเจกต์ Lifecycles ที่ Nathan Yong รังสรรค์ขึ้นมาจากวัสดุไม้เนื้อแข็งนั้นเป็นแนวคิดที่น่าสนใจในการริเริ่มและมอบมุมมองให้แก่เหล่านักออกแบบรวมถึงผู้ใช้งานหลาย ๆ คนเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการบริโภคและการใช้ทรัพยากรที่ส่งผลต่อภาพรวมของโลกอีกด้วย
สามารถรับชมผลงานการออกแบบในคอลเลคชั่น Lifecycles ของ Nathan Yong ได้ที่ Grafunkt ถนน 107 , Funan#04-01 ถึง 06 ประเทศสิงคโปร์ ได้ตั้งแต่วันที่ 7 – 19 มกราคม 2024
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!