House K บ้านที่เปลี่ยนแปลงและเติบโตไปพร้อมกับผู้อยู่อาศัย

เราอาจสังเกตุเห็นได้ว่าในบริเวณรอบข้างของที่พักอาศัยที่คุ้นตามักเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาไม่ว่าจะเป็น รั้วข้างบ้านที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ หน้าต่างบานใหญ่ที่ไม่เหมือนเดิม สีของบ้านบริเวณใกล้เคียงที่ถูกทาทับด้วยสีต่าง ๆ เพื่อชุบชีวิตให้บ้านกลับมาใหม่อีกครั้ง ส่งผลให้ภูมิทัศน์ที่อยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่มีความหลากหลายและบ่งบอกความเป็นตัวตนของเจ้าของบ้าน

House K บ้านพักอาศัยที่ตั้งอยู่ในย่านที่พักอาศัยดั่งเดิม เป็นบ้านที่ทาง Owner ตัดสินใจสร้างบ้านของครอบครัวขึ้นมาใหม่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวและปรับปรุงความเสื่อมโทรมของบ้านหลังเดิมให้กลายเป็นรูปแบบอาคารที่พักอาศัย 2 ชั้นที่มีความโดดเด่นที่เรียบง่ายของวัสดุที่ถูกนำมาใช้ และรูปแบบของตัวบ้านที่มีลักษณะเป็นหลังคาหน้าจั่ว โดยไปรับการออกแบบและตีความหมายของคำว่าบ้านด้วย Bangkok Tokyo Architecture

สถาปนิกผู้ออกแบบเล่าว่า จากโจทย์ของการเริ่มต้นในการออกแบบเดิมทีพื้นที่บ้านหลังนี้มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 40 ปีที่มีความชำรุดจากเหตุการณ์น้ำท่วม จึงนำมาสู่ความต้องการในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาพื้นที่ของบ้านหลังเดิมให้มีความเหมาะสมสำหรับการใช้งานที่มากขึ้นเพื่อใช้อยู่อาศัยของทาง Owner และ คุณแม่ ด้วยแนวคิดและการออกแบบของทาง Bangkok Tokyo Architecture ที่มีความเฉพาะตัวที่จะสังเกตุเห็นและนำสิ่งที่มีอยู่แล้วหรือสิ่งที่มีอยู่ธรรมดาทั่ว ๆ ไปผ่านการนำมาใช้ในรูปแบบของวิธีการใหม่ ๆ

บ้านที่สร้างจากวัสดุโดยทั่วไปแต่มีความไม่เหมือนใคร

โดยบ้าน House K เป็นการออกแบบของโครงสร้างเสาและคานหรือที่เรียกกันว่า Post and Beam System และรูปแบบของการก่ออิฐในผนังที่เป็นการก่อสร้างที่มักจะพบเห็นได้โดยทั่วไปในประเทศไทย แต่เรามักจะไม่ได้สังเกตุเห็นมันเพราะโดยทั่วไปจะถูกทับซ้อนโดยวัสดุปิดผิวรูปหรือวัสดุตกแต่งต่าง ๆ โดยทาง Bangkok Tokyo Architecture ได้มีแนวคิดในการออกแบบโดยต้องการจะสร้างพื้นที่บ้านหลังนึงที่มีการเปิดเผย หรือ แสดงให้เห็นโครงสร้างที่ซ้อนอยู่ภายในของอาคารต่าง ๆ ให้สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ซึ่งเราอาจะสังเกตุเห็นได้จากความดิบของอาคารที่ปรากฏขึ้นมาแก่บ้าน House K

บ้านที่สามารถเติบโตได้ไปพร้อม ๆ กับผู้อยู่อาศัย

ตัวโครงสร้างของ House K มีลักษณะเป็นโครงสร้างธรรมดาที่เป็น เสาและคาน ค.ส.ล. โดยสถาปนิกผู้ออกแบบเล่าให้ฟังว่าในแต่ละฝั่งจะมีการยื่นออกมาเป็นชานพัก หรือพื้นที่ต่าง ๆ โดยมีแนวคิดของการสร้างบ้านที่จะสามารถเติบโตไปได้พร้อมกับผู้อยู่อาศัย ซึ่งทำให้ในแต่ละพื้นที่ภายในของตัวบ้านจะไม่ได้มีรูปแบบการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงทำให้เกิดพื้นที่ ๆ จะเป็นรูปแบบของความยืดหยุ่นที่จะเกิดขึ้นในทุก ๆ พื้นที่ของบ้านที่เจ้าของบ้านจะสามารถต่อเติมรูปแบบของการใช้งานออกไปได้ตามความต้องการในอนาคต ซึ่งถือเป็นบ้านในแนวคิดที่มีความเป็นจุดเริ่มต้นของครอบครัว แต่เมื่อโครงสร้างของครอบครัวมีการเปลี่ยนไปหรือความชอบของผู้อยู่อาศัยที่เปลี่ยนไปตัวบ้านก็จะสามารถมี Potential ในการจะเปลี่ยนแปลงและเติบโตไปด้วยพร้อมกับเจ้าของบ้านได้

โดยคานที่ยื่นออกมานั้นช่วยสร้างพื้นที่ส่วนกลางเช่น ทางเข้า ทางเดิน และระเบียง พื้นที่ส่วนกลางเหล่านี้ไม่เพียงแต่ให้การเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่เท่านั้น แต่ยังสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกด้วยแสงธรรมชาติ สภาพอากาศ และภาพของบริบทเมือง นอกจากนี้บ้าน House K ยังมีแนวคิดในการออกแบบพื้นที่ที่จะจะมีศักยภาพในการรองรับขยายตัวและดัดแปรงพื้นที่ของบ้านในอนาคตได้อย่างอิสระ

“ ด้วยความกว้างและความอิสระของโจทย์ในการออกแบบที่ได้รับมาจากทาง Owner ที่เป็นตัวกำหนดในการออกแบบ ทำให้การออกแบบ House K มีข้อจำกัดในการออกแบบไหมครับ ? ”

ใช่แล้วคะ คุณฝนสถาปนิกผู้ออกแบบ ตอบกลับพร้อมกับเล่าว่า “ ยิ่งโจทย์กว้างหรือว่ายิ่งเราต้องการสร้างความเป็นไปได้หรือว่าอะไรก็ได้ ยิ่งเราจะต้อง Control ความอยากในการออกแบบของเรา เพราะฉะนั้นข้อจำกัดในการออกแบบคือการไม่ออกแบบ คือการที่เราจะไม่เอาตัวตนเข้าไปใส่มากเกินไป หรือการที่เราจะไม่เอาสไตล์บางอย่างที่เป็นการตกแต่งหรือเทรนแฟชั่นเข้าไปใส่ ”

สถาปนิกผู้ออกแบบเล่าถึงวัสดุที่เลือกนำมาใช้ใน House K โดยกล่าวว่าวัสดุที่เลือกนำมาใช้เป็นวัสดุทั่ว ๆ ไปที่ไม่พิเศษ หรือนำเข้า และ ราคาสูงเลย โดย House K เป็นโครงสร้าง ค.ส.ล.ที่ไม่ได้ฉาบผิว ใช้วิธีการหล่อและแกะแม่แบบเลยเพราะฉะนั้น House K คือมีรูปแบบของวัสดุที่มีกลิ่นอาย Tropical แต่ซึ่งผ่านกรรมวิธีที่ละเอียดและพิถีพิถัน

ในส่วนของผนังจะสังเกตุได้ว่าเป็นผนังก่ออิฐแบบที่คุ้นชินแต่จะไม่มีการฉาบปูน เป็นรูปแบบผนังอิฐแบบซ้อนกัน Dubble เพราะฉะนั้นอิฐทั้ง 2 ฝั่งจะมีเหมือนช่องอากาศด้านในที่จะช่วยทำหน้าที่ลดความร้อนให้กับตัวบ้าน

เรามีความเชื่อในการออกแบบของเราเองว่า

“ มนุษย์ทุก ๆ คนมีพื้นฐานของความเป็นมนุษย์นั้นมีความ Creative หรือความสามารถในการพลิกแพลงหรือดัดแปลงตนเองอยู่ในความเป็นมนุษย์อยู่แล้ว ”

ซึ่งเดิมที่มันเป็นอย่างนั้นแต่พอสังคมเราพัฒนาไปทำให้การออกแบบบ้านพักอาศัยก็พัฒนาไปเช่นกันจนในปัจจุบันบ้านพักอาศัยกลายเป็น Template หรือกลายเป็น Product ไปหมดแล้วทำให้เราอาจหลงลืมความสามารถในการ Create พื้นที่หรือกลายเป็นการปรับตัวเข้ากับพื้นที่แทน

เมื่อเข้ามาสู่ตัวบ้านในส่วนของพื้นที่ชั้นที่ 1 จะเป็นพื้นที่ในส่วนของห้องคุณแม่ของ Owner โดยกล่องสีขาวที่ปรากฏอยู่ตรงกลางของพื้นที่จะมีห้องเก็บของ ตู้เสื้อผ้า และ Pantry ของคุณแม่ และบริเวณพื้นที่ด้านหลังจะเป็นในส่วนของห้องนอน โดยพื้นที่ทุกชั้นจะมีลักษณะของการใช้พื้นที่แบบ One room spae หรือคือการออกแบบพื้นที่ ๆ ต่อเนื่องกันทั้งหมดโดยไม่มีผนังกั้น เพราะฉะนั้นกล่องสีขาว Functional box บริเวณกลางห้องจะทำหน้าที่เป็นตัวเป็นตัวแบ่งพื้นที่ของคุณแม่ในส่วนของพื้นที่ห้องนอนและส่วนรับแขกที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน

โดยที่พื้นที่ชั้น 2 จะมีรูปแบบของการใช้งานที่มีการใช้งานร่วมกันและบริเวณชั้น 3 ที่เป็นในส่วนของห้องพักลูกชาย

ผ่านม่านที่ทำหน้าที่เป็น Boundary ระหว่างพื้นที่

ในการออกแบบทีมสถาปนิกผู้ออกแบบอยากให้พื้นที่ใต้คาน มีการแบ่ง Boundary ให้พื้นที่ระเบียงไม่เกิดความรู้สึกถึงการเป็นพื้นที่ภายนอกโดยสิ้นเชิง ในการออกแบบได้มีการคำนึงถึงวัสดุต่าง ๆ เหล็ก หรือ ไม้แต่ไม่ตรงต่อความต้องการจึงได้ข้อสรุปของวัสดุที่นิ่มและมีความ Soft ที่มาจากผ้าม่านคลุมรถที่นำมาเย็บดับแปลงให้เกิดเป็นม่านขนาดใหญ่ภายใต้ Pattern ของกระโปรงเพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวที่มีความนิ่มนวลเมื่อโดนลมพัด

ในส่วนของห้องนอน Owner มีลักษณะของการออกแบบที่คล้ายกับ Penthouse ที่มีทั้งฟังก์ชั่นห้องน้ำและห้องนอนรวมอยู่ในห้องเดียวโดยมีแนวคิดในการออกแบบที่ Merge รวมระหว่างพื้นที่ของห้องน้ำและห้องนอนเข้าด้วยกันสู่พื้นที่ ๆ มีความคลุมเครือที่สามารถตีความให้แก่พื้นที่ ๆ นี้ได้หลากหลายรูปแบบ พื้นที่ในแต่ละชั้นของ House K ได้ถูกวางหน้าที่การใช้งานของพื้นที่ ๆ มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของห้องคุณแม่ ที่ประกอบไปด้วยพื้นที่นั่งเล่น / รับประทานอาหาร หรือห้องของลูกชาย

ด้วยกระบวนการของความต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในลักษณะของรูปแบบของการปรับเปลี่ยนและการเปลี่ยนแปลงซ้ำ ๆ เพื่อการสร้างสภาวะที่สมดุลให้แก่กระบวนการในการออกแบบ House K ให้เหมือนกับการดำเนินการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องของเจ้าของบ้านนั้นเอง

Project Name : House K
Location: Bangkok, Thailand
Architecture Firm: Bangkok Tokyo Architecture
Year : 2023
Area : 179.9 sqm
Photographer : Soopakorn Srisakul

Heamarat Chimchavee

Heamarat Chimchavee

สถาปนิกจำเป็น ที่ทำงานออกแบบเป็นงานอดิเรก มีความสนใจในการทำความเข้าใจแนวคิดและที่มาของงานออกแบบต่าง ๆ ที่พบเจอ ให้กลายเป็นเรื่องเล่า
Writer