สถาปัตยกรรมและงานออกแบบของเมืองเป็นสองเรื่องที่อยู่คู่กันแบบแยกไม่ออก หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่เจ้าของบ้าน และนักออกแบบ ให้ความสำคัญมากขึ้น คือการเลือกต้นไม้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานดีไซน์ ที่ช่วยสร้างทั้งคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คนและส่งเสริมงานสถาปัตยกรรมให้โดดเด่นด้วยเช่นกัน แต่ที่ผ่านมาการ ปลูกต้นไม้ยังมี pain points ในแง่ของข้อจำกัดการค้ำยันต้นไม้ที่ลดทอนคุณค่างานออกแบบ ด้วยการบังคับให้เลือกระหว่างฟังก์ชันความสวยงาม หรือความปลอดภัย ระบบค้ำยันต้นไม้ Platipus ได้ถูกออกแบบมาเพื่อปลดล็อคทั้งสองข้อจำกัดนี้ ที่ให้ทั้งความสวยงามรวมไปถึงความปลอดภัย
จากไม้ค้ำยันแบบเดิม สู่ระบบค้ำยันต้นไม้ยุคใหม่
สิ่งที่ทำให้ Platipus แตกต่างคือแนวคิดการพัฒนาระบบค้ำยันต้นไม้เพื่อตอบโจทย์งานออกแบบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยจากแรงลม การใช้งาน รักษาสุขภาพต้นไม้ และไม่จำเป็นต้องดูแล
ระบบค้ำยันต้นไม้ Platipus เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้าจากประเทศอังกฤษที่สร้างสรรค์โซลูชั่นของค้ำยันต้นไม้สำหรับคนรักงานดีไซน์มายาวนานกว่า 40 ปี โดยใช้เทคนิคการค้ำยันแบบใต้ดินแทนการค้ำยันบนดิน ทำให้ไม่มีไม้หรือเหล็กค้ำแบบเดิมๆ ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ ไม่มีการตอกตะปูหรืออุปกรณ์ยึดเจาะเข้ากับตัวต้นไม้ซึ่งดีต่อสุขภาพของต้นไม้เอง และไม่ต้องมีภาระในการดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ด้วย
โดยเทคนิคของการค้ำยันต้นไม้ ระบบของ Platipus ใช้การค้ำยันแบบใต้ดินด้วยการฝังก้อนถ่วงน้ำหนักไว้ใต้ดิน โดยจะจัดวางตำแหน่งไว้ด้านล่างของตุ้มต้นไม้ลึกลงไป 1 เมตร แล้วผูกสายสลิงซึ่งชุบ Galvanize เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เกิดสนิมไว้กับก้อนถ่วงน้ำหนักชิ้นนี้ เมื่อติดตั้งระบบกับต้นไม้เรียบร้อยแล้วทำการบีบอัดดินให้แน่น แล้วจบงานด้วยการขันตัวรัดตุ้มต้นไม้ให้แน่นก็เป็นอันเรียบร้อย หลักการของตุ้มถ่วงน้ำหนักนี้จะทำการถ่วงแรงดึงของต้นไม้ลงด้านล่าง พร้อมกันกับการกระจายแรงดึงทั้งหมดระหว่างตัวถ่วงทั้ง 3 อัน
Find the Differences ระบบค้ำยันต้นไม้ที่ติดตั้งได้ทั้งบนดินและบนอาคาร
ระบบค้ำยันต้นไม้ของ Platipus มีด้วยกันทั้งหมด 2 แบบ แบบ On Ground สำหรับค้ำยันต้นไม้บนดิน และแบบ On Structure สำหรับค้ำยันต้นไม้บนโครงสร้างอาคาร โดยแบ่งออกเป็นรุ่นย่อยตามขนาดของต้นไม้
โดยระบบค้ำยันต้นไม้แบบบนดิน On Ground จะมาพร้อมกับชุดประกอบสำเร็จ ได้แก่ ตัวรัด (Strap – Plati-mat) ตัวไขแน่น (Strap Tensioner) สายสลิง (Wire Chocker) และฐานน้ำหนักคอนกรีต (Kerbstone) ซึ่งมีทั้งหมด 3 รุ่น โดยเป็นรุ่นที่ใช้ ตัวรัด(Strap) หรือตัวรัด (Plati-Mat) ได้แก่ RF1 สำหรับต้นไม้ขนาด 2.5-4.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ½ – 3 นิ้ว และ RF2 สำหรับต้นไม้ขนาด 4.5-7.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 – 5 ¾ นิ้ว หรือถ้าต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นที่ 7.5-12 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 ¾ – 9 ½ นิ้ว จะใช้อุปกรณ์ Plati-mat เพื่อการค้ำยันที่เหมาะกับขนาด
ส่วนรุ่น On-structure คือระบบค้ำยันต้นไม้สำหรับติดตั้งบนอาคาร มาพร้อมชุดประกอบสำเร็จ ได้แก่ ตัวรัด (Plati-Mat) ตัวไขแน่น (Strap Tensioner) สายสลิง (Wire Chocker) และฐานน้ำหนักคอนกรีต (Concrete Base – Concrete Ring) ที่เหมาะกับการติดตั้งบนโครงสร้างบ่อคอนกรีตที่เตรียมไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 รุ่นตามขนาดของต้นไม้เช่นเดียวกัน ได้แก่ RF1RP สำหรับต้นไม้ขนาด2.5-4.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ½ – 3 นิ้ว และ RF2RP สำหรับต้นไม้ขนาด 4.5 – 7.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 – 5 ¾ นิ้ว
วิดีโอติดตั้ง
ความปลอดภัยที่ได้พิสูจน์มาแล้ว
ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่ระบบค้ำยัน Platipus ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ทั้งความปลอดภัยระหว่างการติดตั้ง ความปลอดภัยระหว่างการใช้งานค้ำยันต้นไม้ และความปลอดภัยระยะยาวสำหรับสุขภาพต้นไม้
Platipus ให้ความสำคัญกับการทดลองความปลอดภัยเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของระบบค้ำยันต้นไม้ในบริบทของท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป ทางทีมงานของ Platipus จึงเลือกเมืองที่มีพายุไต้ฝุ่นเป็นภูมิอากาศของเมืองอย่าง Nagasaki ประเทศญี่ปุ่น เป็นสถานที่ทดสอบการทำงานค้ำยันต้นไม้ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม ซึ่งเป็นฤดูพายุไต้ฝุ่นที่ความเร็วลมและทิศทางทางของลมถูกบันทึกเอาไว้ทั้งหมด
การทดสอบใช้ต้นไม้ที่ความสูง 3 และ 4 เมตร ติดตั้งด้วยระบบค้ำยันแบบ On Ground ในรุ่น RF2 และ RF3 ผลการทดลองสรุปได้ว่า แม้จะต้องเผชิญกับลมที่ตรงกับเลข 9 ในระบบโบฟอร์ต ระบบค้ำยันต้นไม้ของ Platipus ก็สามารถทนทานต่อฤดูไต้ฝุ่นได้อย่างสมบูรณ์
การวางแผนและเลือกสรรโซลูชั่นเพื่อการออกแบบที่ดีจึงเป็นโซลูชั่นที่คิดครอบคลุมเรียบร้อยแล้วในทุกมิติของการใช้งาน ว่าสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ทั้งในแง่ฟังก์ชั่นการใช้งานที่แข็งแรงปลอดภัย พร้อมกับด้านความงามที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและจิตใจ โดยมีต้นไม้เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญทางสิ่งแวดล้อมของงานสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมสำหรับชีวิตของผู้คน
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!