Search
Close this search box.

ศุภรัตน์ ชินะถาวร แห่ง p / s / d นักออกแบบผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบร้านชื่อดังมากมายอย่าง Roast, Nana Coffee Roaster, Bottomless ผ่านการสร้างสรรค์ประสบการณ์แห่งการกินด้วยงานดีไซน์

นอกจากนามสกุลไฟล์ที่เหล่านักออกแบบล้วนคุ้นเคย PSD ยังเป็นชื่อของบริษัท party / space / design หรือ p / s / d ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบร้านอาหารและคาเฟ่ ผู้ออกแบบร้านชื่อดังอย่าง Roast, Nana Coffee Roaster, Bottomless, Wine Republic, Too Fast To Sleep, Red Diamond, WWA Café ผ่านการสร้างสรรค์ประสบการณ์แห่งการกินด้วยงานดีไซน์ให้น่าจดจำกว่าที่เคย

คุณโต-ศุภรัตน์ ชินะถาวร Design Director & Founder แห่ง party / space / design หรือ p / s / d

นอกจากร้านจะสวยแล้วต้อง ‘อยู่รอด’ ด้วย คำสั้นๆ ที่เหมือนจะง่ายแต่สุดแสนจะท้าทายนี้ กลายเป็นความสนุกของ คุณโต-ศุภรัตน์ ชินะถาวร  Design Director & Founder แห่ง p / s / d นักออกแบบผู้ชอบนำตัวเองไปอยู่ท่ามกลางปัญหา เพื่อช่วยให้ร้านอาหารอยู่รอด ขายได้ และยั่งยืน

อยู่ท่ามกลางปัญหาโดยไม่สร้างปัญหา

   “สถาปนิกเป็นวิชาชีพที่เอาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางปัญหาโดยที่ต้องไม่สร้างปัญหา เพราะสถาปนิกเป็นตัวกลางระหว่างวิศวกร เจ้าของโครงการ นักออกแบบภายใน เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ หน้าที่ของอาชีพนี้จึงต้องวางตัวเป็นกลาง และจัดการทุกปัญหาได้โดยที่ไม่สร้างปัญหาเพิ่ม”
   “เราชอบที่จะเจอปัญหาใหม่ สมมติถ้าเราเจอปัญหาเดิมๆ เราจะเบื่อ ซึ่งเรารู้สึกว่าอาชีพนักออกแบบเป็นอาชีพพิเศษ ที่อนุญาตให้สร้างและแก้ปัญหาเองได้ ช่วงนี้เลยเป็นช่วงที่เราสนุกกับการตั้งโจทย์ หาความท้าทายใหม่ ทดลองอะไรที่ไม่เคยทำ และต้องแก้ไขมันให้ได้ ซึ่งผมว่ามันสนุกดี”  คงพูดได้ว่า ความกล้าที่จะเผชิญกับปัญหานี้เองที่ทำให้เราได้เห็นผลงานของ p / s / d ออกแบบมาอย่างมีเอกลักษณ์ สวยงามแปลกตาอยู่เสมอ และที่สำคัญคือสามารถแก้ไขปัญหาบางอย่างได้อย่างตรงจุด

นักออกแบบร้านอาหาร ที่เกิดและเติบโตในร้านอาหาร
   ที่บ้านเคยเป็นร้านอาหารมาก่อน ผมเกิดและโตในร้านอาหาร ตอนนั้นนั่งคุยกับพ่อว่า เมนูร้านเรามันเชยเนอะ แต่พ่อก็บอกว่าขายได้ ผมเคยบอกพ่อว่าร้านเรามันไม่ค่อยสวยเลย แต่พ่อก็จะบอกว่า เอาน่ะ มันก็มีลูกค้าประจำอยู่ เรื่องนี้เป็นเหมือนปมลึกๆ ของผม 
   จนวันหนึ่งความฝันก็เป็นจริง เมื่อหลังจากที่ก่อตั้งบริษัทออกแบบเป็นของตนเอง โจทย์แรกที่ได้รับนั้นคือ การออกแบบร้านอาหาร คุณโตจึงตั้งใจทำโดยไม่ได้มองว่าตนเองเป็นสถาปนิกที่ต้องออกแบบอาคารภายนอกหรือภายในเท่านั้น แต่ยังออกแบบไปถึงองค์ประกอบทั้งหมดที่สร้างความรู้สึกให้ผู้มาเยือนตั้งแต่ Branding เมนู เก้าอี้ ชุดพนักงาน แสงไฟ หรือแม้แต่เพลงที่เปิดภายในร้าน ซึ่งคุณโตบอกกับเราว่า นี่คือความสนุกที่ตนเองชื่นชอบ และไม่ได้มองว่าเป็นการทำเกินหน้าที่ แต่กลับมองว่ามันคือความท้าทายที่นักออกแบบควรมองหาตลอดเวลา

 

มองปัญหาอย่างชัดเจนและแก้ไขอย่างตรงจุด
   หนึ่งในโปรเจกต์ของ p / s / d ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในชื่อ ‘NANA Coffee Roaster’ คุณโตเริ่มต้นเข้ามารับหน้าที่ออกแบบตั้งแต่ร้านกาแฟร้านนี้ยังตั้งอยู่ที่บางใหญ่ ซึ่งคุณโตมองเห็นทั้งจุดเด่น และจุดที่เป็นปัญหาอย่างชัดเจน โดยจุดเด่นของร้านคือกาแฟชั้นดีบวกกับบาริสตาที่เก่ง แต่ปัญหาคือ Branding ที่ไม่โดดเด่นจึงทำให้ร้าน NANA ในสมัยนั้นค่อนข้างธรรมดาและไม่เป็นที่น่าจดจำ
   ด้วยความสนุกในการแก้ไขปัญหา คุณโตจึงเริ่มลงมือค้นหาและตีโจทย์ จนค้นพบว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของแบรนด์กาแฟนี้ คือ ความเป็น Specialty Coffee ที่คั่วกาแฟเองและทำกาแฟพิเศษ โดยมีแชมป์ระดับโลกอยู่ภายในร้านถึง 3 คน แต่ยังคงความธรรมดาด้วยการให้ความสำคัญกับ Coffee Family และ Friends เมื่อเข้าใจถึงปัญหาที่ทำให้ร้านดูธรรมดาแล้ว คุณโตจึงลงมือเปลี่ยนโฉมร้านใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่โลโก้ Packaging ชุดพนักงาน เพลงที่เปิดภายในร้าน โทนสี ซึ่งทำให้ร้านเปลี่ยนคาแรคเตอร์ไปมาก ดูโมเดิร์นขึ้น ซึ่งเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จมากทีเดียว

 

ออกแบบประสบการณ์ ไม่ใช่เพียงความสวยงาม

   เมื่อเราถามถึงตัวอย่างงานออกแบบ คุณโตเลือกยกตัวอย่างผลงานชิ้นล่าสุดอย่าง ‘NANA Hunter Coffee Roasters’ ซึ่งไม่เพียงเต็มไปด้วยความสวยงามและโดดเด่นเท่านั้น แต่คุณโตยังใส่ใจถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานในแต่ละจุดของพื้นที่ รวมถึงจุดเด่นของแบรนด์ที่ล้วนถูกออกแบบมาภายในร้านที่กลมกล่อมลงตัว เป็นเรื่องราวเดียวกัน
   NANA Hunter Coffee Roasters เริ่มต้นด้วยอาคารโกดังเก่า ซึ่งคุณโตตั้งโจทย์กับทีมนานาว่า ทำอย่างไรให้ผู้ที่เข้ามาในโกดังเก่านี้ ได้อะไรกลับไปมากกว่ากาแฟและอาหารอร่อยจาก NANA Hunter จึงโฟกัสไปที่การออกแบบประสบการณ์ก่อนที่จะออกแบบหน้าตา หรือความสวยงามของการตกแต่ง
   บริเวณกลางร้านถูกวางให้เป็นบาร์ขนาดใหญ่ที่ดึงความสนใจจากผู้คนด้วยแสงธรรมชาติที่ส่องลงตรงกลางพื้นที่ ด้านหลังเป็นโซนคั่วกาแฟล้อมด้วยที่นั่งโดยรอบ รวมถึงมีโซนเก็บเมล็ดกาแฟพร้อมด้วยบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นสองที่เปิดให้ลูกค้าสามารถเดินถ่ายรูป มองลงมาจากด้านบน และสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับร้านนี้ คือโซนคั่วกาแฟ ซึ่งค่อนข้างแปลกใหม่สำหรับร้านกาแฟในยุคปัจจุบัน NANA สาขานี้จึงเปรียบเสมือนโรงคั่วกาแฟขนานแท้ ที่เปิดให้เหล่าคอกาแฟเข้าไปชิมและลิ้มรสแบบใกล้ชิด

 

ใส่ใจรายละเอียดในทุกส่วนของการออกแบบ

   หลังจากออกแบบพื้นที่ภาพรวมของ NANA Hunter เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาของการออกแบบดีเทลดีไซน์ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ละเอียดและพิถีพิถันมากเป็นพิเศษ โดยบาร์บริเวณตรงกลางพื้นที่ถูกออกแบบสะท้อนเมนูกาแฟหนึ่งของร้านที่มีชื่อว่า Dirty ซึ่งเป็นกาแฟเข้มข้นที่หยดลงบนนม สีของบาร์จึงถูกออกแบบให้คล้ายกับสีของเมนูกาแฟดังกล่าวด้วยการใช้วัสดุ “หินเอ็มพาราโด การเลือกใช้วัสดุชนิดนี้จึงเป็นเหมือนการทดลองสิ่งใหม่ เนื่องจากปกติหินเอ็มพาราโดจะใช้กับงานที่ค่อนข้างหรูหราและไม่เคยนำมาใช้กับงานร้านกาแฟมาก่อน
   ดีเทลน่าทึ่งยังมีอีก ไม่ว่าจะเป็นแผ่นหินที่ถูกนำมาขัดให้เก่าด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Aging เพื่อทำให้บาร์ดูเก่าแบบมีสไตล์ และไม่เพียงแต่บาร์เท่านั้น แต่ภาพรวมของตึกทั้งหมดยังถูกทำให้เก่าด้วยการใช้น้ำกรดและน้ำเกลือเพื่อทำให้เกิดสนิม นอกจากนั้นผนังทั้งหมดยังใช้เป็นไม้เผาไฟ ที่นอกจากดูดิบเท่แล้ว ยังช่วยทำให้ไม้ไม่ลามไฟและป้องกันไฟไหม้ได้ รายละเอียดยิบย่อยทั้งหมดที่ถูกคิดมาเป็นอย่างดีและแฝงอยู่ตามจุดต่างๆ จึงเป็นที่มาที่ทำให้ลูกค้าเกิดปฏิสัมพันธ์กับอาคาร เพลิดเพลินไปกับสเปซและการมองเห็นที่ไม่ใช่เพียงความสวยงามผิวเผิน

Presentation เสมือนของจริง ที่ช่วยให้เข้าใจงานได้ง่ายที่สุด

   สำหรับสถาปนิก สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ขั้นตอนการออกแบบ คือ การ Presentation ให้ลูกค้าซึ่งอาจจะไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรมเข้าใจงานได้ง่ายที่สุด “เรามีโจทย์เล็กๆ ในออฟฟิศว่า ลูกค้าต้องเห็นสามมิติและต้องเห็นของเหมือนจริง เช่น ถ้าเราใช้เครื่องบดกาแฟรุ่นนี้ เราจะให้ทีมออกแบบปั้นโมเดลรุ่นนี้ในโปรแกรมสเก็ตอัพและวางตำแหน่งจริงๆ รวมถึงความสูงของบาร์ ของคนต้องเป็นขนาดจริงที่ถูกต้อง ลูกค้าต้องเห็นสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ รายละเอียดที่เราออกแบบมันต้องมองเห็นใน perspective ทั้งหมด ไม่ว่าจะขอบโต๊ะที่เราตั้งใจเจีย การเพิ่มหินไปเป็นสองชั้น หรือการซ่อนไฟ 3-4 เส้น”

จอภาพขนาด 15.6 นิ้ว แต่น้ำหนักเบา พร้อมความละเอียดระดับ 4K UHD ช่วยให้ภาพเรนเดอร์เนียนสมจริง มองเห็นรายละเอียดของการออกแบบในสเกลเล็กๆ ได้คมชัดมากยิ่งขึ้น
แก้ปัญหาหน้าจอสีเพี้ยนด้วยค่าความแม่นยำของสีในระดับ delta E<1.5 ให้ช่วงสี Adobe RGB 100% สีที่ได้จากจอแสดงผลจึงสมบูรณ์ ถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดภาพการออกแบบได้เสมือนจริงมากที่สุด แถมผ่านการรับรอง Pantone Validated จาก Pantone ให้ความเที่ยงตรงของสีที่แม่นยำในระดับมืออาชีพ

   วิธีนี้ยังช่วยทำให้บาริสตาที่ต้องทำงานกับพื้นที่นี้โดยตรงเข้าใจมากขึ้น ซึ่งนอกจากขึ้นโมเดลภาพสามมิติเสมือนจริงในคอมพิวเตอร์แล้ว ยังมีการสร้าง Mockup หน้างานด้วยขนาดจริง 1:1 เพื่อให้เหล่าบาริสตาได้ลองใช้งานจริงๆ “การทำบาร์ให้พอดีกับบาริสตามันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ผมว่าเหมือนการตัดสูทเลย บาริสตาสูงเท่าไหร่  flow ตรงนี้เป็นอย่างไร ต้องมีการออกแบบ flow ด้วยกันก่อน จึงจะบาร์ที่ใช้งานจริงๆ ได้”
   อุปกรณ์ (Tools) การทำ Presentation ที่ดีจึงเป็นเหมือนตัวช่วยของนักออกแบบ อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ที่ทำให้การเรนเดอร์ภาพสามมิติทำได้เร็วขึ้น เหมือนจริงมากขึ้น เมื่อการทำ Presentation ที่เคยกินเวลามากใช้เวลาน้อยลง จึงทำให้มีเวลาในส่วนอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น อย่างการเตรียมตัวพรีเซนท์งานลูกค้า การคุยแบบกันในทีมหรือแม้แต่ช่วงเวลาพักผ่อนของสถาปนิก คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงาน Presentation จึงเป็นสิ่งที่สถาปนิกยอมลงทุนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของผลงานที่ดีที่สุด
   ยิ่งในยุคปัจจุบันที่ทุกอย่างถูกทำให้เป็นสามมิติ การคุยแบบกับลูกค้าก็เช่นเดียวกัน ภาพสามมิติจึงมาคู่กับความต้องการแบบเรียลไทม์ เช่น การเปิดงานสามมิติดูร่วมกับลูกค้าโดยตรงและอาจจะมีแก้ไขแบบ ขยับขยายกัน ณ ตรงนั้น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้จึงต้องมีประสิทธิภาพมากพอที่จะรองรับความเร็วในระดับสูง เพื่อให้ขั้นตอนการทำงานเหล่านี้เป็นไปอย่างลื่นไหล ไม่ติดขัด

ด้วยกราฟิกการ์ดอันทรงพลังที่รองรับสายงานออกแบบโดยเฉพาะอย่าง NVIDIA® Quadro RTX™ 5000 Max Q สามารถสร้างสรรค์งานที่เน้นกราฟิกจำนวนมาก ด้วยคุณสมบัติของ RTX ขั้นสูงอย่าง Ray Tracing จะสามารถเร่งความเร็ว รวมถึงความช่วยเหลือจาก AI พิเศษแบบเรียลไทม์ ช่วยให้เราสามารถทำงานหนัก ไฟล์ใหญ่ๆ ได้อย่างลื่นไหล
มีฟังก์ชัน AI Up-Res ที่จะช่วยสร้างพิกเซลใหม่ เพิ่มความละเอียดของภาพและวิดิโอในระดับสูง ซึ่งถือเป็นฟังก์ชันที่มีประโยชน์มากสำหรับนักออกแบบที่ต้องใช้ความละเอียดของภาพในสเกลงานระดับยิบย่อย

“ผมขอยกคำพูดพี่ด้วง (ดวงฤทธิ์ บุนนาค) ที่บอกว่าเวลาเจอปัญหา ให้เราเต้นรำไปกับมัน เวลาเจอปัญหา ทุรนทุราย ร้องไห้ ปัญหามันไม่ได้หายไป ให้เรามองมุมกลับไปเลย ถ้าปัญหามันมาเป็นจังหวะแทงโก้ก็เต้นแทงโก้ไปกับมันเลย แล้วมันจะสนุกมากขึ้น อยากให้ทุกคนมองปัญหาเป็นเรื่องบวก เพราะถ้าผมไม่มีปัญหาคือผมตกงานนะ ทุกวันนี้เลยมองว่านักออกแบบคือนักแก้ปัญหาจริงๆ” คุณโตกล่าวทิ้งท้าย คงพูดได้ว่าถึงแม้ปัญหาจะเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็ไม่อยากจะพบเจอ แต่ในบางครั้ง ปัญหาเหล่านี้ก็หลอมรวมเป็นบทเรียน สร้างประสบการณ์ใหม่มากมาย เช่นเดียวกับแนวคิดของคุณโตที่พาให้ผลงานของ p / s / d ออกมาแปลกใหม่ ละเอียดในทุกขั้นตอน และตอบสนองทั้งผู้ใช้งานและเจ้าของร้านได้อย่างแท้จริง

แล็ปท็อป ProArt StudioBook Pro 15 (W500) เป็นโน้ตบุ๊คสำหรับครีเอเตอร์ หรือนักออกแบบระดับมืออาชีพโดยเฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาให้แก่ผู้ใช้งานที่ต้องการเน้นประสิทธิภาพเครื่องแรงแต่ไม่ต้องการใช้แล็ปท็อปรุ่นเกมมิ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย  ด้วยขนาดที่บางเพียง 18.9 มม. และน้ำหนักโดยรวมเพียง 1.89 กก. ทำให้สามารถพกพาไปทำงานนอกสถานที่ได้

พร้อมด้วยดีไซน์สวยงาม เรียบหรูและทันสมัย ตัวเครื่องผลิตจากโลหะเสริมความทนทาน และมีการออกแบบขอบด้านบนและด้านข้างให้เหลือขนาด 7.5 มม. ทำให้ StudioBook Pro 15 มีอัตราส่วนจอ ภาพที่เต็มตาและกะทัดรัด ที่สำคัญคือกราฟิกการ์ดเสปคสูง NVIDIA® Quadro RTX™ 5000 Max Q อันทรงพลังสามารถช่วยให้คุณสร้างสรรค์งานที่เน้นกราฟิกจำนวนมาก จึงเหมาะสำหรับการทำงานของนักออกแบบ หรือสถาปนิกในยุคปัจจุบัน  สำหรับใครที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://www.asus.com/th/Laptops/ProArt-StudioBook-Pro-15-W500G5T/

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading