Search
Close this search box.

FLAC
ระบบหลังคาแบนสำเร็จรูป (Flat Roof) สำหรับบ้านโมเดิร์นเมืองไทย

สำหรับสถาปัตยกรรมในแบบโมเดิร์น ใจความสำคัญของงานออกแบบอยู่ที่รูปลักษณ์เส้นตรงเรียบเฉียบที่ตอบกับแนวคิดในเรื่องอรรถประโยชน์ที่เน้นฟังก์ชันให้มากที่สุด การตกแต่งให้น้อยที่สุด เช่นนั้นเอง หลังคาแบนราบที่เป็นเอกลักษณ์ของงานโมเดิร์นจึงเป็นอีกลายเซ็นหลักของงานสถาปัตยกรรม และที่สำคัญคือ ฟังก์ชันการใช้งานจริงจะต้องตอบกับบริบทภูมิอากาศแบบเมืองไทยด้วย

FLAC มาจากชื่อเต็ม Flachdach ภาษาเยอรมันที่แปลตรงตัวว่า หลังคาแบน FLAC จึงเป็นแบรนด์งานระบบหลังคาที่ต้องการคิดค้น พัฒนา และนำเสนอโซลูชั่นของงานหลังคาแบน หรือ Flat Roof ให้ตอบกับบริบทรอบด้านทั้งจากฟากฝั่งผู้ผลิต ผู้ติดตั้งที่ทำงานหน้างาน และผู้ใช้งานที่ต้องอยู่ใต้ร่มหลังคาแห่งนี้ไปตลอดการอยู่อาศัย

(ภาพโดย ศุภกร ศรีสกุล และ ออกแบบโดย อยุทธ์ มหาโสม)

ผ่าเซ็กชั่น ลงดีเทล ระบบหลังคาแบน

ผู้คนมักติดภาพจำเดิมของงานระบบหลังคาแบนในแบบหลังคา Flat Slab เทปูนคอนกรีตเสริมเหล็กอันเนื่องมาจากรูปลักษณ์ภายนอกที่เรียบตรง แต่แท้ที่จริงแล้ว หลังคาจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติหลายประการ ทั้งเรื่องความลาดเอียงเพื่อระบายน้ำฝน และวัสดุกันซึมเพื่อกันน้ำเข้าสู่อาคาร โดยมีจุดประสงค์หลักอยู่ที่เรื่องการระบายน้ำและความชื้นจากน้ำฝน

เราพาคุณลงมาดูรายละเอียดชัดเจนของหลังคา FLAC ที่โฟกัสอยู่ที่งานหลังคาเรียบแบน การพัฒนานวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่ต่อเนื่องมาจากหลังคาแบน และพัฒนาฟังก์ชันให้สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ตลอดอายุขัยของบ้าน

เริ่มจากภาพกว้างของงานหลังคาโมเดิร์นที่เส้นตรงขอบบนอาคาร FLAC จึงออกแบบหลังคาที่ความลาดเอียง (Slope) 1:100 เพื่อให้เกิดระยะของความชันที่น้ำฝนยังสามารถไหลมารวมที่รางและระบายออกได้ดี พร้อมกับเก็บขอบอาคารให้เนี้ยบเรียบร้อยด้วยการใส่รางระบายน้ำในตัวหลังคาแทนที่จะทำรางระบายน้ำที่ขอบแบบเดิมๆ และตัวจบขอบ (Flashing) มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ จึงสามารถคงรูปลักษณ์ของหลังคาแบนตอบตามดีไซน์งานโมเดิร์นได้จากทุกมุมมองรอบตัวอาคาร

(ภาพโดย ศุภกร ศรีสกุล และ ออกแบบโดย อยุทธ์ มหาโสม)

คุณสมบัติตอบปัญหา

ในส่วนของคุณสมบัติวัสดุหลังคา ระบบหลังคา FLAC ปิดผิวด้วย Thermoplastic ของบริษัท FDT ซึ่งผลิตและนำเข้าจากเยอรมัน โดย FDT นี้เองเป็นบริษัทแรกของโลกที่ริเริ่มการผลิตแผ่น Thermoplastic ตั้งแต่ปี 1938 จึงมีการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมของวัสดุให้สามารถคงทนต่อความร้อนและรังสี UV จากแสงแดดได้เป็นอย่างดี จึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยวัสดุ Thermoplastic ของ FDT เป็นตัวเดียวในโลกที่ BBA ออกใบรับรองอายุการใช้งานยาวนานถึง 40 ปี และมีผลงานติดตั้งจริงที่อยู่ได้นานถึง 65 ปี

(ภาพโดย ศุภกร ศรีสกุล และ ออกแบบโดย อยุทธ์ มหาโสม)

จากข้อดีของวัสดุ Thermoplastic จึงนำมาสู่การคิดค้นการขึ้นรูปวัสดุ และพัฒนาเป็นโซลูชั่นของงานวัสดุหลังคาแบน สำเร็จรูปชิ้นเดียวแบบ Homogenous ซึ่งช่วยตอบคุณสมบัติในเรื่องการกันน้ำได้ 100% เพราะตัวหลังคากับท่อน้ำทิ้งรวมกันสำเร็จรูปเป็นวัสดุชิ้นเดียว จึงหมดปัญหาน้ำรั่วในตำแหน่งข้อต่อต่างๆ อย่างที่พบทั่วไปในช่วงฤดูฝน

(ภาพโดย ศุภกร ศรีสกุล และ ออกแบบโดย อยุทธ์ มหาโสม)

คุณสมบัติตอบความต้องการ

นอกจากจะแก้ปัญหาที่พบได้ทั่วไปจากงานระบบหลังคาแบนแล้ว หลังคา FLAC ยังเพิ่มคุณสมบัติเพื่อตอบความต้องการทั้งในเรื่องฟังก์ชั่นและงานดีไซน์สำหรับการใช้งานภายในบ้านได้อีก ทั้งระบบหลังคาที่รองรับงานดีไซน์แบบ Long-Span หรือคานยื่นยาว รองรับการติดตั้ง Solar Panel แบบไม่เจาะยึดหลังคา และการติดตั้งระบบ Green Roof รวมทั้งโครงสร้างมาตรฐานหรือเพิ่มความแข็งแรงของงานโครงสร้าง ก็สามารถรองรับการใช้งานพื้นที่บนหลังคา เพิ่มพื้นที่ใช้สอยดาดฟ้าขึ้นอีก

(ภาพโดย ศุภกร ศรีสกุล และ ออกแบบโดย อยุทธ์ มหาโสม)

ในส่วนของการติดตั้งเองก็ทำได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะเป็นงานระบบหลังคาแบบ สำเร็จรูป พร้อมติดตั้งหน้างาน จึงสามารถติดตั้งได้ง่าย และเป็น Dry Process ทั้งหมด โดยสามารถนำไปติดตั้งบนโครงเหล็กได้เลยเหมือนกับงานติดตั้ง Metal Sheet จึงเหมาะกับทั้งงานก่อสร้างใหม่ และงานต่อเติมหลังคา

โมเดิร์น : สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยได้จริง และใช้งานได้ดี

เรื่องราวของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นถูกบอกเล่าไม่เพียงแต่กับงานดีไซน์ แต่ยังเป็นเรื่องการก่อสร้างและการใช้ชีวิตในพื้นที่จริงแบบเมืองไทย กรณีตัวอย่างจากบ้าน Horizontal House และ Monsoon House บ้านโมเดิร์นทั้งสองหลังงานออกแบบโดย Ayutt and Associates Design (AAd) ที่เลือกใช้งานหลังคา FLAC ภายใต้อัตลักษณ์ความโมเดิร์นที่เป็นของตัวเอง และเป็นบ้านที่ทีมงาน FLAC ภาคภูมิใจ

(ภาพโดย ศุภกร ศรีสกุล และ ออกแบบโดย อยุทธ์ มหาโสม)

บ้านขอบฟ้า หรือ Horizontal House ความพิเศษอยู่ที่พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านถึง 3,000 ตารางเมตร ทำให้ต้องแบ่งระยะเวลาการก่อสร้างออกเป็น 3 เฟสเพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของโครงการ โดยแบ่งตามฟังก์ชันการใช้งานของที่อยู่อาศัย แกลเลอรี่ส่วนตัว และที่จอดรถสะสม ซึ่งทุกเฟสถูกออกแบบให้เชื่อมต่อกันผ่านทางเดินใต้ดินและบนดิน เพื่อให้โปร่งโล่งและมองเห็นวิวได้ทั้งหมด งานก่อสร้างหลังคาจึงเลือกใช้หลังคา FLAC รุ่น SL ที่ตอบความต้องการเรื่องความโปร่งอันเนื่องมาจากความสูงของอาคาร และหลังคาเองก็ทำหน้าที่ปกป้องของสะสมจากน้ำและความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(ภาพโดย ศุภกร ศรีสกุล และ ออกแบบโดย อยุทธ์ มหาโสม)

ในส่วนของบ้านมรสุม หรือ Monsoon House ด้วยสภาพภูมิประเทศที่อยู่บนเนินเขาชายป่า หันหน้าเข้าอ่าวไทย คุณสมบัติเพิ่มเติมของหลังคาที่ต้องการนอกเหนือจากบ้านทั่วไปคือ ด้วยปริมาณน้ำฝนจำนวนมากและเศษใบไม้จากป่ารอบพื้นดิน ทำให้หลังคาบ้านทั้งหมดต้องไม่มีรางน้ำ และต้องสามารถระบายน้ำฝนออกได้อย่างเร็วที่สุด จึงแก้ปัญหาการปะทะของละอองฝนด้วยชายคาบ้านที่ยื่นยาวมากกว่าปกติที่ 10 เมตร จึงเลือกใช้หลังคา FLAC รุ่น SL ซึ่งมีความชันต่ำและน้ำหนักเบา รองรับแรงลมและมรสุม พร้อมกับทนทานต่อสิ่งแวดล้อมของน้ำและแสงแดดอย่างดี

ผลิตภัณฑ์ของ FLAC

ระบบหลังคา FLAC มีให้เลือก 2 รุ่น โดยทั้งสองมีความโดดเด่นที่น้ำหนักเบาที่สุดในตลาด (เมื่อเทียบกับหลังคาประเภทที่สามารถขึ้นไปใช้งานได้บนพื้นที่จริง) โดยรุ่นแรก FLAC SD ประกอบด้วย 3 ชั้น ได้แก่ Support, ฉนวนกันความร้อน และผิว Thermoplastic เหมาะกับห้องติดแอร์ เพราะมีฉนวนความร้อนที่ช่วยลดความร้อนจากนอกอาคาร จึงช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศ โดยทั้งหมดมีความหนาเพียง 60 มิลลิเมตรเท่านั้น

และอีกรุ่น FLAC SL ประกอบด้วยชั้น Support และ Thermoplastic รวมความหนา Buildup ทั้งหมดเพียง 18 มิลลิเมตร เหมาะกับงานใต้หลังคาเปิดโล่ง อย่างโรงจอดรถ กันสาด ศาลา โดย S = Strong เน้นความแข็งแรง และ L = Lightness เน้นน้ำหนักเบา จึงเหมาะกับงาน Long Span ที่มีความยาวของหลังคามากๆ

เรียกได้ว่าระบบหลังคาแบนโดย FLAC เป็นแบบ Flat Roofing Solution หรือครบจบงานหลังคาในที่เดียว ตั้งแต่รับความต้องการจากลูกค้า จัดทำแบบ ติดตั้งโครงสร้าง และติดตั้งหลังคา โดยใช้ทีมงานคุณภาพอินเฮาส์ภายในของ D.ONE เองทั้งหมด ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.d1.co.th/roofing-solution

Writer
Nathanich Chaidee

Nathanich Chaidee

อดีตนักเรียนสัตวแพทย์ผู้หลงใหลในเส้นสายสถาปัตยกรรม ก่อนผันตัวเองมาเรียน'ถาปัตย์ และเลือกเดินบนถนนสายนักเขียนหลังเรียนจบ สามสิ่งในชีวิตที่ชอบตอนนี้คือ การได้ติ่ง ไปญี่ปุ่น และทำสีผม

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading