เพราะเราเชื่อว่า การประกวดแบบเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนวงการออกแบบ และเปรียบเสมือนสนามประลองที่เปิดโอกาสให้เหล่าดีไซน์เนอร์ได้ฝึกฝนฝีมือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกทั้งยังต่อยอดสร้างโปรไฟล์ให้นักออกแบบหน้าใหม่เป็นที่รู้จักในวงการ Dsign Something จึงชวนมาสนทนากับ 6 ดีไซน์เนอร์ไทย ถึงเหตุผลว่าเพราะเหตุใด การประกวดแบบจึงเป็นก้าวสำคัญของการเป็นนักออกแบบ !
Dsign Something ร่วมกับ American Standard ขอเชิญชวนนิสิตนักศึกษาสายงานออกแบบชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป และดีไซน์เนอร์ที่สนใจ มาปลดปล่อยพลังแห่งความสร้างสรรค์ไปกับ ‘American Standard Design Award (ASDA) 2022’ สมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565
01 จูน เซคิโน
Junsekino Architect and Design
“ผมว่า การประกวดแบบ จริง ๆ มันอยู่ที่ว่าเราจะให้ค่ามันแค่ไหน เราต้องอย่าลืมว่าการประกวดแบบเป็นเรื่องของความคิดเห็น ข้อตัดสินของคนเพียงไม่กี่คน ซึ่งเราจะทำให้ทุกคนถูกใจงานเรามันเป็นไปไม่ได้ แต่การประกวดแบบมันจะทำให้เราคิดได้บางเรื่อง อย่างโจทย์เดียวกัน ทำไมเราแพ้ ทำไมเขาถึงชนะ มันมีเหตุผลอะไร เพราะในการเป็นสถาปนิกเราทำงานตามโจทย์ 1 2 3 4 ตามลูกค้า บางทีโจทย์จากการประกวดแบบที่มันเปิดกว้างมาก ๆ มันทำให้เราได้จินตนาการ ออกจากโต๊ะ จากกรอบเดิม ๆ แล้วมาคิดอีกแบบหนึ่ง แล้วหันมาดูว่าคนอื่นคิดยังไง กรรมการคิดเห็นยังไง มันคือ การรีเช็คความคิดเรากลาย ๆ
แต่ถ้าเราให้ความสำคัญกับการแพ้ ชนะ มันก็จะเครียดหน่อย ซึ่งผมมองว่าอันนั้นมันเป็นผลพลอยได้มากกว่า ชนะก็ดี แพ้ก็จะได้รู้ว่าทำไมเขาคิดครบถ้วนกว่าเรา ทำไมมุมมองของเขาน่าสนใจ พูดได้ว่า การประกวดแบบมัน คือ การเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจในสายงานนี้”
02 วรุตม์ วรวรรณ
Vin Varavarn Architects (VVA)
“ผมมองว่า การประกวดแบบเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวนักออกแบบเอง ต่อวิชาชีพการออกแบบโดยรวม รวมไปถึงต่อสังคมรอบ ๆ ตัว การประกวดแบบมันมีความสำคัญตั้งแต่ในระดับของการศึกษา ทำให้นักศึกษาในวงการออกแบบได้มีโอกาสแสดงออกทางความคิดและได้ฝึกฝนตัวเอง ทำให้เกิดการพัฒนาตัวเองในทุก ๆ ด้านได้ดีขึ้น
การประกวดแบบในระดับวิชาชีพยิ่งมีความสำคัญ เป็นการเปิดโอกาสให้นักออกแบบที่มีความรู้ความสามารถได้มีโอกาสเข้ามาเสนอแนวคิดที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ตัวนักออกแบบเองก็ไม่หยุดอยู่กับที่ สร้างโอกาสให้ตัวเองได้มีโอกาสทำงานในโครงการที่น่าสนใจและแตกต่างไปจากที่เคยทำทั้งในเรื่องของโปรแกรมและสเกลของงาน”
03 อยุทธ์ มหาโสม
Ayutt and Associates design (AAd)
“การประกวดแบบ มันทำให้เหล่าดีไซน์เนอร์กระตือรือร้นที่จะแสดงความสร้างสรรค์ออกมา เราจะทุ่มทุกอย่างเลย เพราะประกวดแบบแปลว่า เราอยากจะชนะ หรือถ้าไม่ได้อยากจะชนะ เราก็อยากจะเสนอไอเดียที่เป็นที่พูดถึง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะมันจะเกิดแรงขับเคลื่อนในวงการออกแบบ วิธีหนึ่งที่จะเป็นที่พูดถึงได้เร็วที่สุดก็คือการประกวดแบบ และยังได้คอนเนคชันดี ๆ ด้วย ดีไซน์เนอร์เองก็ได้เสริมศักยภาพตัวเอง ได้รู้จากความคิดเห็นว่าสิ่งที่เราออกแบบดี หรือไม่ดียังไง ผมชอบดูการประกวดแบบนะ เพราะมันได้เห็นแนวความคิดใหม่ ๆ เสมอ ”
04 จีรเวช หงสกุล
IDIN Architects
“การประกวดแบบ มันเป็นการให้ดีไซน์เนอร์ได้ explore ในเรื่องที่ปกติไม่เคยได้ทำ หรือไอเดียที่ในชีวิตปกติมันทำไม่ได้ ถึงแม้จะชนะ หรือไม่ชนะ แต่ผมมองว่าแค่ได้ทำ ก็เป็นการฝึกสมองแล้ว หลาย ๆ ครั้ง การเข้าร่วมประกวดแบบต่าง ๆ ของนักศึกษาเองและดีไซน์เนอร์ทั่วไป ก็เป็น Portfolio ได้ดี เวลาทำงาน ผมก็ชอบมองคนที่ส่งประกวดแบบนะ ผมว่ามันแสดงถึง Passion เขาคงจะชอบออกแบบ และมี Passion กับเรื่องนี้พอสมควร ตอนเด็ก ๆ ผมเองก็เป็นสายประกวดแบบคนนึง เพราะมันสนุก มันทำให้เราได้ทดลองอะไรนอกกรอบ”
05 ครรชิต ปุณยกนก
Architects 49
“การประกวดแบบ มันเป็นเหมือนการได้มาหาประสบการณ์ มารับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ จากคนอื่น ๆ ที่อาจจะมีทัศนคติไม่เหมือนเรา ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับงานของเราเองได้ด้วยเหมือนกัน หรือแม้แต่กรรมการเอง ก็ได้ประโยชน์จากผู้เข้าร่วมแข่งขัน เพราะมันคือการ Brainstorm ไอเดีย ความคิดแปลกใหม่ เป็นการมิกซ์ เอาไอเดียทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้เข้าแข่งขันและกรรมการมาผสมผสานกัน เพื่อให้ได้การสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ที่ดียิ่งขึ้นไปในอนาคต เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวงการออกแบบไปด้วย”
06 สายวิภา พัฒนพงศ์พิบูล
P49 Deesign & Associates
“การประกวดแบบเป็นเรื่องสนุก คล้ายๆ กับการมองหาแรงบันดาลใจ มันเปิดโอกาสให้เราได้คิดนอกกรอบ ซึ่งใช่ โจทย์ข้อจำกัดมันมีอยู่ แต่ขอให้เราคิดนอกกรอบไปก่อนเลย ขอให้พยายามลืมภาพติดตา ลองคิด หรือหาอะไรใหม่ ๆ มันจะทำให้พลังของนักออกแบบไทย มันกว้างไกลขึ้น”
Dsign Something ร่วมกับ American Standard เชิญชวนนิสิตนักศึกษาในสายงานออกแบบตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป และดีไซน์เนอร์มาปลดปล่อยพลังแห่งความสร้างสรรค์ไปกับโครงการประกวดออกแบบ ‘American Standard Design Award (ASDA) 2022’ ร่วมส่งผลงานออกแบบห้องน้ำในโปรเจกต์รูปแบบ Residential และ Hospitality โดยใช้ไอเดียสร้างแรงบันดาลใจให้กับห้องน้ำยุคใหม่ ผ่านการใช้ ‘Studio S’ สุขภัณฑ์ดีไซน์ไร้ถังพักน้ำรุ่นแรก รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากแบรนด์ American Standard
ชิงเงินรางวัลสูงสุดกว่า 2,000 USD และได้รับเกียรติจากกรรมการตัดสินซึ่งเป็นนักออกแบบชื่อดังทั้ง 4 จาก IDIN Architects, A49, P49 Deesign & Associates และ PIA Interior รวมถึงกรรมการพิเศษจาก Dsign Something และ Leader – Marketing จากแบรนด์ American Standard Thailand
สมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565 อ่านรายละเอียดและสมัครร่วมกิจกรรมผ่านทางเว็บไซต์ www.americanstandard-apac.com/asda-th ดูข้อมูลของสุขภัณฑ์ Studio S ผลิตภัณฑ์ภาคบังคับได้ที่ https://bit.ly/3z5Ni7A
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!