การออกแบบภายในที่อยู่อาศัยนั้นส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก เพราะมนุษย์รับรู้ความรู้สึกผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ การนำองค์ประกอบ เช่น เส้น แสง สี สไตล์ มาใช้ในการตกแต่ง ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยทั้งสิ้น ดังนั้น การออกแบบแปลนห้องที่ดีและเหมาะกับผู้อยู่อาศัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้เราจึงได้ทำการรวบรวมไอเดียการออกแบบแปลนห้อง ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้ใช้งาน มาฝากท่านผู้อ่านทุกท่าน ติดตามในบทความนี้ได้เลยครับ
การวางแปลนห้องรับแขก
ห้องรับแขก จัดเป็นห้องที่อยู่ในหมวดหมู่โซนสาธารณะ โดยส่วนมากบ้านที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก-กลาง มักจะทำห้องนั่งเล่นติดกับประตูเข้าออก ซึ่งเมื่อมีการเปิดประตูเข้าออกก็จะต้องเดินผ่านห้องรับแขก ดังนั้น จึงมีโอกาสที่ผู้ใช้งานมักจะเดินผ่านทางนี้บ่อยๆ การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ จึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นทางเดินเชื่อมระหว่างประตูเข้าออก เพื่อให้บริเวณทางเดินมีพื้นที่ในการเดินเข้าออกที่สะดวกและไม่รบกวนผู้อยู่อาศัยที่กำลังใช้งานในโซนนั่งดูโทรทัศน์
การจัดวางเฟอร์นิเจอร์
ขนาดความห่างของการจัดวางโทรทัศน์ให้พอดีกับสรีระ
ขนาดหน้าจอ 70 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 2.63 เมตร
การวางแปลนห้องนอน
“ผังห้องแบบหน้ากว้าง” เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า “ผังห้องแบบหน้าแคบ”
การเลือกผังห้องก็เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความอึดอัดของผู้อยู่อาศัย ถึงแม้ในกรณีที่ห้องจะมีขนาดพื้นที่เท่ากัน เช่น ขนาดพื้นที่ 21 ตรม. กลับพบว่าผังห้องที่มีรูปแบบหน้ากว้าง ส่งผลให้ผู้ที่อยู่อาศัยอึดอัดน้อยกว่าผังห้องที่มีรูปแบบหน้าแคบ การจัดห้องของผังห้องรูปแบบนี้สามารถทำได้หลากหลาย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดที่ควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีขนาดเล็กใหญ่คละกัน เพื่อลดทอนความเป็นกล่องของผังห้องแบบหน้ากว้างหรือสีเหลี่ยม และไม่ควรกั้นห้องแบบก่อกำแพงปิดกั้น เพราะจะทำพื้นที่ซึ่งน้อยอยู่แล้วยิ่งคับแคบมากกว่าเดิม
1.ห้องนอนทั่วไปที่อยู่สบายควรใช้พื้นที่ประมาณ 18-24 ตารางเมตร ขึ้นอยู่ขนาดของเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง
2.ควรเว้นทางเดินข้างเตียงควรกว้างอย่างน้อย 60 เซนติเมตร เพื่อสะดวกต่อผู้ใช้งานหากต้องการลุกไปเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืน
3.หัวเตียงควรเป็นผนังทึบเพื่อความรู้สึกปลอดภัยในการพักผ่อน
การวางแปลนห้องครัว
การออกแบบแปลนห้องครัวให้สะดวกต่อผู้ใช้งาน อย่างแรกคือการเลือกรูปแบบเคาน์เตอร์ครัวให้เหมาะกับพื้นที่ เช่น
การจัดวางผังครัวแบบ I หรือ I-Shaped Kitchen
เหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็ก 3-5 ตร.ม. ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นห้องในอาคารชุด เช่น อพาร์เม้นท์ คอนโดมิเนียม หรือ ทาวน์เฮ้าส์
การจัดวางผังครัวแบบ L หรือ L-Shaped Kitchen
เหมาะกับพื้นที่ตั้งแต่ 6 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นห้องชุดคอนโดมิเนียมที่มีขนาดใหญ่ หรือ บ้านพักอาศัยทั่วไป แต่การจัดผังครัวในลักษณะนี้มักไม่มีรูปแบบการวางฟังก์ชั่นที่ตายตัว 100% ดังนั้นการจะจัดวางตำแหน่งฟังก์ชั่นใดๆ จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากตำแหน่งพื้นที่ตั้ง จำนวนช่องเปิด และบริบทสภาพแวดล้อมเป็นหลัก
การจัดวางผังครัวแบบ U หรือ U-Shaped Kitchen
เป็นการจัดวางผังครัวที่เหมาะกับพื้นที่ขนาด 9 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย หรือ อาคารสาธารณะ เช่น ครัวโรงแรม หรือ ครัวในร้านอาหาร
ทริคการออกแบบเคาน์เตอร์ครัวให้พอดีกับสัดส่วนของสรีระ
ใช้วิธีการคำนวนโดยนำส่วนสูงของผู้ใช้งานมาเป็นหลักในการหาขนาดความสูงของเคาน์เตอร์ครัวที่พอดีกับสรีระ โดยสูตรการคำนวนคือ ส่วนสูงหาญด้วย 2 และบวก 5 เซนติเมตร เช่น 160÷2+5 = 85 ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร เหมาะกับการเลือกใช้เคาน์เตอร์ที่มีความสูงประมาณ 85 เซนติเมตร จะเป็นความสูงที่พอดีในการใช้งาน ทำให้ไม่ต้องโค้งตัวจนเกินไป หรือสูงจนทำครัวไม่ถนัด
ลักษณะพื้นที่ใช้สอยแบบต่างๆ ของห้องครัว (Function Zoning) สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
Zone 1 : พื้นที่จัดเตรียมวัตถุดิบ
Zone 2 : พื้นที่ประกอบอาหาร
Zone 3 : พื้นที่เก็บของหรือเก็บล้าง
Zone 4 : โซนโต๊ะรับประทานอาหาร
การวางแปลนห้องน้ำ
ชมเนื้อหาด้านวัสดุศาสตร์ และหลักการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ จาก Wazzadu Encyclopedia เพิ่มเติมได้ที่ https://www.wazzadu.com/page/wazzadu-encyclopedia/article
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!