Early BKK เริ่มจากความตั้งใจของคุณเคฑิตา ชัยศักดิ์ศิริ ที่อยากทำ Café มีที่มี Concept การออกแบบที่รักโลกในบริเวณหมู่บ้านของตัวเอง Site ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านสัมมากร ถนนรามคำแหง 110 ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ ที่เป็นชุมชนครอบครัวที่อาศัยอยู่กันทุกเพศทุกวัย รวมถึงสัตว์เลี้ยง ร้านกาแฟนี้คุณเคฑิตาจึงตั้งใจให้เป็น neighborhood café ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายสำหรับทุกคนรวมทั้งน้องหมาน้องแมว
แตกต่างจากธุรกิจคาเฟ่ทั่วไปที่มักจะคิดถึงแต่กำไรในการทำธุรกิจ Early BKK เริ่มต้นจากการคิดว่าจะสามารถใช้วัสดุ recycle และ green concept เข้ามาใช้การออกแบบและการบริหารจัดการคาเฟ่ได้อย่างไรบ้าง ด้วยทุกวันนี้มีปัญหามากมายกับการจัดการขยะทั้งในสเกลเล็กและใหญ่ในสังคมของเรา การเลือกใช้วัสดุที่ใช้แล้วหรือการยกระดับขยะ recycle จึงกลายมาเป็นโจทย์หลักในการออกแบบคาเฟ่แห่งนี้
Spacecraft เริ่มต้นงานออกแบบนี้ด้วยการ research เกี่ยวกับวัสดุที่ทำจากขยะที่มีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้งาน และพบว่าขยะที่พบมากในชุมชนที่สามารถนำมา recycle ได้คือขยะประเภทบรรจุภัณฑ์ทั้งหลาย เช่นกล่องนมและขวดแก้ว เราจึงตัดสินใจจะใช้ขยะประเภทนี้มาใช้เป็นวัสดุหลักในการออกแบบ
เริ่มจากการใช้บอร์ดที่เรียกว่า re-board เป็นวัสดุทางเลือกที่คุณสมบัติคล้ายไม้อัดแต่ทำจากเศษกล่องนมที่เป็นชิ้นเล็กมาตัดแล้วอัดขึ้นใหม่เป็นแผ่น ด้วย texture ที่น่าสนใจของ re-board เรานำมาใช้เป็นบานประตู ผนัง ฝ้าเพดาน รวมถึงโต๊ะและเก้าอี้ การเลือกสีของกล่องนมที่นำมาใช้ เลือกเป็นสีส้มและโทนสีสว่าง เพื่อให้เข้ากันกับ วัสดุพื้นที่เลือกใช้เป็น กระเบื้องอิฐดินเผาสีส้ม
วัสดุหลักอีกอย่างที่นำมาใช้ในหลากหลายรูปแบบก็คือขวดเบียร์ เริ่มจาก Façade design ที่ใช้ขวดเบียร์ใช้แล้ว มาเรียงกันในโครงสร้างเหล็ก เพื่อให้เกิด แพทเทิร์นมากกว่า 600 ขวด และด้วยขวดแก้วที่มีสีชาใสทำให้เกิด effect แสงและเงาสู่ สเปซภายในที่น่าสนใจ นอกจาก façade ขวดแก้วทำให้ร้านมีความโดดเด่นในแง่สถาปัตยกรรม ยังสามารถบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับคอนเซป recycle และ upcycling วัสดุตั้งแต่รูปลักษณ์ภายนอกของอาคารได้เป็นอย่างดี
ขวดเบียร์ใช้แล้ว ยังถูกนำมาทำให้แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และนำไปผสมกับวัสดุอื่นๆ เพื่อทำเป็นท๊อปเคาน์เตอร์ terrazzo ที่เกิดจากขวดแก้ว และยังมี Bottle fossil wall ที่เกิดจากการปั๊มขวดลงไปบนผนังคอนกรีต ทำให้เกิดเป็น pattern และ texture ที่น่าสนใจ รวมทั้ง detail ตามจุดเล็ก ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถังน้ำมันเหล็ก นำมาใช้เป็นเคาน์เตอร์อ่างล้างหน้า เป็นต้น
ร้าน Early BKK ออกแบบให้เป็นอาคารสองชั้น ตั้งอยู่หัวมุมของถนน ทางเข้าออกแบบเป็น double space คอร์ดที่สูงโปร่ง มีต้นไม้ใหญ่ ที่นั่ง semi outdoor และส่วนของ pet parking สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรก่อนเข้าถึงตัวร้าน ภายในร้านชั้น 1 เป็นส่วนของบาร์กาแฟ ที่ประกอบด้วยทั้ง coffee machine bar และ slow bar และมีที่นั่งทานอาหารอยู่เล็กน้อย ส่วนของ refill station จะอยู่ด้านหลังบาร์เข้าไป มีผลิตภัณฑ์ refill สินค้าเกี่ยวกับกาแฟและสัตว์เลี้ยงจำหน่าย ส่วนชั้นสองเชื่อมต่อกับชั้น 1 ด้วยบันไดวนด้านหน้าอาคาร เป็นพื้นที่ multipurpose ที่เป็นที่นั่งหลักของร้าน สามารถปรับเปลี่ยนห้องนี้ให้เป็นห้องสำหรับจัด workshop ได้ด้วย
Early BKK การบริหารจัดการทุกอย่างจะอยู่ภายใต้ green and sustainable concept เช่น ไม่มีการใช้หลอดหรือแก้วพลาสติก การแยกขยะที่มีไว้ให้ตามจุดต่างๆ รวมถึงการติดตั้ง solar cells เพื่อเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าหลักของร้านนี้ ด้วยจุดประสงค์ที่จะลดขยะและการเกิด carbon footprint ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และผลักดันให้ลูกค้าทุกคนทำตาม
สุดท้ายนี้ ร้าน Early BKK เป็นเหมือนกับโปรเจคทดลองที่แสดงการใช้วัสดุที่เราต่างมองข้ามไปในชีวิตประจำวัน ว่าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้การออกแบบให้มันกลับมามีคุณค่าและมีความน่าสนใจได้ใหม่ บางคนอาจจะมาร้านนี้เพื่อกาแฟ แต่จะกลับไปด้วยแนวความคิดใหม่ๆเกี่ยวกับการจัดการขยะ และการใช้วัสดุ recycle กลับไปอย่างแน่นอน
*คำอธิบายทั้งหมดโดยผู้ออกแบบ (Text description by the architects)
Location : รามคำแหง กรุงเทพฯ
Gross Built Area: 120 ตารางเมตร
Completion Year : 2022
Interior & Architect : Spacecraft co.,ltd
Structural Engineer : Aphichart Wongdee
Photographer credits: Thanapol Jongsiripipat
รับข่าวสารเรื่องการออกแบบ สถาปัตยกรรม ไลฟ์สไตล์
ทางอีเมล ที่จะส่งตรงถึงคุณทุกเดือน ลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างนี้เลย!