Search
Close this search box.

Soulitude House บ้านของนักศิลปะบำบัด
สถาปัตยกรรมที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของคน ธรรมชาติ และสถานที่

ในอดีตจนถึง ปัจจุบัน แนวคิดในการออกแบบของสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของการสร้างรูปทรง หรือพื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ล้วนมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวสถาปัตยกรรมโดยตรงอย่าง สถานที่ เวลา บริบท การคงอยู่ของสถาปัตยกรรมไม่ได้เพียงแต่ทำหน้าที่เพื่อการใช้สอย หรืออยู่อาศัยเพียงเท่านั้น แต่สถาปัตยกรรมนั้นทำหน้าที่ตัวกลางระหว่างมนุษย์ และธรรมชาติ 

เมื่อ Owner สองสามีภรรยา ผู้เป็น Coaching และนักศิลปะบำบัด ที่ตัดสินที่จะย้ายหนีความวุ่นวายจาก กรุงเทพมหาครฯ มาสู่เมืองเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้บรรยากาศพื้นที่ ของบ้านพักอาศัย และสตูดิโอสำหรับจัดกิจกรรมเชิงศิลปะ ตั้งอยู่ท่ามความร่มรื่นของภูเขาสูง สถานที่ที่มีพลังความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ ในเชิงของธรรมชาติ และจิตวิญญาณ ที่ได้รับการออกแบบโดย JaiBaan Studio 

Design With Nature 

คุณต่าย สถาปนิกผู้ออกแบบจาก JaiBaan Studio แบบเล่าให้เราฟังถึงแนวคิดในการออกแบบ ของ Soulitude House 

“นอกจากการออกแบบตัวบ้าน เราเริ่มตั้งพื้นที่เลยครับ พื้นที่ตรงนี้ตั้งอยู่บนที่ดอน จะมีการเก็บน้ำได้อย่างไร จะฟื้นพื้นที่ได้อย่างไร เราเริ่มจากตรงนั้น ด้วยขนาดพื้นที่ 5 ไร่ เราเลยมาคิดกันว่าจะทำอย่างไรให้ตัวบ้าน หรือสตูดิโอ ไม่รู้สึกถึงความอ้างว้าง ซึ่งนำมาสู่คำตอบที่เรามองกันว่า ถ้าหากเราสามารถ Enclosed Space พื้นที่บางมุมได้ มันก็จะทำให้บ้านรู้สึกอบอุ่นขึ้นได้ ” 

ในการออกแบบทีมสถาปนิกผู้ออกแบบพยายามที่จะซ่อนส่วนของพื้นที่ทางเข้าเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้แก่ผู้ใช้งาน และเพื่อเป็นการสร้าง Inner Court ภายใน ด้วยความที่พื้นที่ของ Soulitude House ูกแบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 2 ลุ่มซึ่งได้แก่ส่วนที่พักอาศัยของ Owner ละผู้พักอาศัยชั่วคราวที่เข้ามา Workshop รือประกอบกิจกรรมเชิงศิลปะภายในพื้นที

ดยนอกจากการที่สามารถสัมผัสกับพื้นที่ธรรมชาติโดยรอบนั้น ผู้ออกแบบยังมีแนวคิดให้ผู้ใช้งานอาคารสามารถรับรู้ได้ถึงธรรมชาติภายในตัวเองด้วยพื้นที่ภายในของ Soulitude House ี่มีการถูกแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็น 2 ่วน ดยส่วนแรกเป็นพื้นที่ส่วนที่พักอาศัยของทาง Owner ระกอบไปด้วยห้องนอน 1 ้อง ละส่วนของฝั่งที่เป็นสตูดิโอศิลปะ ละห้องบำบัด ื้นที่ประกอบกิจกรรมที่มีขนาดกว้าง ละเงียบ พื่อการสร้างสมาธิของผู้ใช้งาน
 

บ้านที่เป็นที่พำนักทางจิตวิญญาณของผู้อยู่อาศัย 

บ้านหลังนี้ถูกออกแบบขึ้นภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วย “บ้านคือที่พำนักทางจิตวิญาญของผู้อยู่อาศัย” ด้วยมุมมองของผู้ออกแบบที่เชื่อว่าบ้านสามารถเป็นพื้นที่เยียวยาจิตใจของผู้อยู่อาศัยได้ ซึ่งปรากฏออกมาภายในรูปแบบของ Form อาคารที่เราจะสังเกตเห็นได้จากรูปทรงของหลังคาที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งที่แสดงออกถึงความรู้สึกโอบล้อม หรือรั้วด้านหน้าที่ผู้ออกแบบต้องการมอบความรู้สึกให้เหมือนการโอบกอดสเปซนี้ไว้ เพื่อสร้างความรู้สึกที่สงบแก่ผู้ที่เข้ามาใช้งานอาคาร 

คุณโค๊ก สถาปนิกผู้ออกแบบจาก JaiBaan Studio เราถึงตำแหน่งของที่ตั้งว่า 

Soulitude House ถูกออกแบบมาให้หลายมุมของอาคารสามารถ Face หาดอยหลวง แต่ว่าทีมผู้ออกแบบเลือกที่จะขยับตัวอาคารให้เบี่ยงเข้ามาด้านในของพื้นที่ด้วยเหตุผลในเรื่องของการจัดการพื้นที่ เพื่อให้เกิดพื้นที่โล่งที่สามารถใช้ประกอบการทำกิจกรรมอื่น เพื่อให้ตัวอาคารแนบชิดกับไซต์ และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือการที่ทางทีมผู้ออกแบบไม่ต้องการให้บริเวณด้านหน้าของอาคารปะทะกับทิศของดอยหลวงด้วยความเชื่อที่ว่าด้วยพลังงานของดอยหลวง ที่จะขัดกับความต้องการของบ้านหลังนี้ที่ต้องการความสงบ ทีมสถาปนิกผู้ออกแบบจึงเลือกให้อาคารหลังเล็กรับวิวจากดอยหลวงแทนอาคารหลักในขณะที่อาคารหลักยังคงเผยมุมมองบางส่วนให้ผู้ใช้งานอาคารสามารถเห็นดอยหลวงได้บ้างจากช่องเปิดของอาคาร 

บ้านหายใจได้ 

บ้านหลังนี้หากสังเกตดูจะไม่มีเครื่องปรับอากาศ แต่ว่าจะมีการเลือกใช้อิฐช่องลม การใช้ประตูเกล็ดแทน สถาปนิกผู้ออกแบบยังเล่าต่อว่า บ้านหลังนี้มีการเลือกใช้วัสดุที่มีความเป็นธรรมชาติอย่างกระเบื้องดินเผา อิฐ ไม้ ปูน ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่ได้มีการตกแต่งมากนัก เพื่อสร้างความรู้สึกของความกลมกลืนระหว่างธรรมชาติภายในพื้นที่ ไม่ได้เป็นอะไรที่ปรุงแต่งมาก วัสดุที่มีการเลือกใช้ในการบ้านหลังนี้ ทีมผู้ออกแบบได้มีแนวคิดและวิธีการเลือกสรร ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีความ Humble ด้วยสีสันที่ไม่ฉูดฉาด ไม่มันวาว อีกทั้งยังมีการลดความคม และความเนี๊ยบของวัสดุออก อย่างงานอิฐ งานไม้ กระเบื้องดินเผา คอนกรีตขัดต่าง ๆ ที่มีความคราฟต์ และเคารพต่อบริบทพื้นที่โดยรอบที่เงียบสงบของภูเขา 

งานออกแบบ Soulitude House ของ JaiBaan Studio สะท้อนให้เห็นถึงความถ่อมตัว และความเคารพต่อธรรมชาติภายในพื้นที่โดยรอบ การอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต ภายใต้ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่อย่างเคารพซึ่งกันและกัน การคงอยู่ของสถาปัตยกรรมไม่ได้เพียงแต่ทำหน้าที่เพื่อการใช้สอย หรืออยู่อาศัยเพียงเท่านั้น แต่สถาปัตยกรรมนั้นทำหน้าที่ตัวกลางระหว่างมนุษย์ และธรรมชาติให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ 

Project Name: The SOULITUDE 
Architecture Firm: Jaibaan Studio 
Website: https://www.facebook.com/Jaibaan 
Completion Year : 2024 
Gross Built Area: 350 sq.m. 
Photographer credits: Tanatip Chawang 

Picture of Heamarat Chimchavee

Heamarat Chimchavee

สถาปนิกจำเป็น ที่ทำงานออกแบบเป็นงานอดิเรก มีความสนใจในการทำความเข้าใจแนวคิดและที่มาของงานออกแบบต่าง ๆ ที่พบเจอ ให้กลายเป็นเรื่องเล่า
Writer

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading