มีเสียงร่ำลือหนาหูว่าการเป็นสถาปนิกนั้นแสนยากลำบาก ต้องอดหลับอดนอน ทำงานยันสว่างกันหลายวันติด เป็นที่หวาดหวั่นของคนที่กำลัง(คิดที่จะ)ก้าวเข้าสู่อาชีพนี้ไปตาม ๆ กัน… แล้วแท้จริงล่ะ สถาปนิกต้องมีตาแพนด้าทุกคนมั้ย วันนี้เราไปแอบถามสถาปนิกไทย 12 คนที่มีผลงานโดดเด่นและมีประสบการณ์ในวิชาชีพนี้มาแล้วนับ10 ปี ว่าเค้าทำงานอย่างไร แบ่งเวลายังไง และที่สำคัญ “นอนกี่โมง?” แล้วคุณล่ะ นอนกี่โมงกันบ้าง บอกที… ผศ.ธีรชัย ลี้สุรพลานนท์ อาจารย์ภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก่อนอื่นขอแยกแยะระหว่างคำว่า “นอนดึก” กับ “อดนอน” ก่อนครับ สองคำนี้ฟังผิวเผินอาจดูคล้ายกัน แต่จริงๆแล้วแตกต่าง เพราะนอนดึก หมายถึง เข้านอนในเวลาที่ช้ากว่าวิถีของคนส่วนใหญ่ แต่อดนอน คือเวลานอนไม่เพียงพอ ดังนั้น การนอนดึก ก็ไม่จำเป็นต้องอดนอน เพราะมันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ ดังจะเห็นได้จากหลายองค์กรมีการปรับเปลี่ยนเวลาทำงานให้ตอบรับกับธรรมชาติของคนที่ทำงานในสายงาน เพื่อให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันเนื่องมาจากสังคมปัจจุบันยอมรับความหลากหลาย (Diversity) มากขึ้น มีการศึกษาวิจัยต่างๆมารองรับค่อนข้างมาก ทำให้ความเชื่อเดิมในสังคมหลายอย่างค่อยๆปรับเปลี่ยนไป (Paradigm Shift) ยกตัวอย่างเรื่องกิจวัตรประจำวันใกล้ตัว ทั้งเรื่องการกิน และการนอน จริงหรือ?ที่คนเราทุกคนต้องรับประทานอาหารเช้า หรือถ้าทานอาหารไม่ตรงเวลาจะทำให้เป็นโรคกระเพาะ…
Read More