OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

ออกแบบตำแหน่งช่องเปิด เพื่อการถ่ายเทอากาศที่ดีในบ้าน

หากให้นิยามถึงคำว่า “ช่องเปิด” ในแบบง่ายๆ นั่นก็คือ ช่องว่างบนผนังที่สร้างการเชื่อมต่อระหว่างสองพื้นที่เข้าด้วยกันได้โดยตรง ซึ่งช่องเปิดในทีนี้ ไม่ได้หมายความเพียงระนาบแนวตั้งของบานหน้าต่างหรือประตูที่ติดตั้งบนผนังเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงระนาบในแนวนอน นั่นคือช่องเปิดบนพื้นหรือโถงซึ่งสร้างการเชื่อมต่อระหว่างชั้นได้เช่นกัน

เพราะภูมิอากาศบ้านเราเป็นแบบร้อนชื้น จึงมีหลายปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอยู่สบายภายในบ้าน เทคนิคการเลือกเปิดช่องเปิดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้คนในบ้านอยู่สบาย พร้อมกับการประหยัดพลังงานได้อย่างยั่งยืน

Cr. HOUSE 362 ออกแบบโดย Junsekino Architect and Design

สังเกตแสงแดด

ความสว่างคือสิ่งที่เราต้องการจากแสงแดด และหลีกเลี่ยงรังสีความร้อนจากแสงแดดโดยตรง ธรรมชาติของเมืองไทย ทิศทางของแสงแดดตลอดวันคือ ตะวันออก อ้อมใต้ แล้วไปทางทิศตะวันตก ดังนั้นทิศเหนือจึงเป็นทิศทางที่ได้รับแสงสว่างทั้งวันโดยไม่พาความร้อนเข้ามาด้วย และเป็นทิศทางที่เหมาะสมกับใช้บานหน้าต่างขนาดใหญ่ อาจเป็นบานเฟี้ยมหรือบานเลื่อนกระจกทั้งบานเลยก็ได้

ส่วนในทิศทางอื่น ใช้ช่องเปิดขนาดเล็กลงหน่อย สังเกตให้เหมาะสมกับสัดส่วนและการเปิดช่องโดยรวมของบ้าน เพิ่มการกรองรังสีจากแสงอาทิตย์เพิ่มเติมด้วยการเลือกชนิดของกระจกและฟิล์มกรองแสงที่ได้มาตรฐาน ร่วมกับการใช้ผ้าม่านโปร่งแบบกรองแสงและผ้าม่านทึบสำหรับเลือกความสว่างของแสงได้ตามต้องการตลอดทั้งวัน

อีกจุดหนึ่งที่หลายบ้านต้องการคือหลังคาสกายไลต์ นั่นก็เพราะแสงสว่างในเวลากลางวันทำให้ประหยัดไฟฟ้าในบ้าน สำหรับเมืองไทยที่แดดแรงแล้ว การติดตั้งสกายไลต์ นอกจากคิดถึงเรื่องการกรองแสงสว่าง ยังต้องคำนึงถึงเรื่องโครงสร้าง ความแข็งแรง และรอยต่อที่แน่นหนาเพื่อป้องกันน้ำรั่ว

Modernism cafe ออกแบบโดย IDIN Architects

เปิดบ้านรับลม

ลมเย็นๆ ต้นทุนจากธรรมชาติที่พร้อมให้บ้านเราเปิดต้อนรับได้ตลอดปี เพียงเรียนรู้ทิศทางลมกันอีกสักเรื่องหนึ่ง ลมจากทิศเหนือจะพัดตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมกราคม (4 เดือน) และลมจากทิศใต้จะพัดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกันยายน (8 เดือน) ดังนั้นทิศทางที่ดีที่สุดของการทำช่องเปิดคือ ทิศทางเหนือ-ใต้ และจำเป็นต้องเจาะช่องเปิดสำหรับผนังทั้งสองด้านตรงข้าม เพื่อสร้างทางเข้า-ออกของลม

เคล็ดลับอีกข้อเพื่อดึงศักยภาพของลมมาสร้างความเย็นให้บ้านอย่างคุ้มค่า คือช่องเปิดสองฝั่งควรตรงกันพอดี หรือให้มีส่วนเปิดที่เหลื่อมกัน โดยให้ทิศทางที่ลมเข้ามีขนาดหน้าบานเล็กกว่าทิศทางที่ลมออก เพื่อสอบลมให้พัดแรงขึ้น ในบ้านก็จะเย็นขึ้นอีก เผลอๆ ไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศด้วยซ้ำ ประหยัดค่าไฟและใช้ธรรมชาติอย่างเต็มที่

INTHAMARA 29 ออกแบบโดย I like design studio โดย คุณณฤชา คูวัฒนาภาศิร

ดับเบิลวอลุ่ม ช่องเปิดภายในบ้าน

เพราะอากาศร้อนน้ำหนักเบา จึงลอยตัวจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง การเปิดโถงระหว่างชั้นจึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้อากาศร้อนเดินทางออกจากบ้าน อากาศร้อนจากชั้นล่างจะลอยขึ้นไปชั้นบน ก่อนออกสู่ปลายทางระบายออกนอกบ้านผ่านทางช่องลมเล็กๆ บริเวณใต้ฝ้าเพดานชั้นบนสุด ซึ่งอาจเป็นระแนง บานกระทุ้ง หรือฝ้าชายคาระบายอากาศ

นอกจากประโยชน์ในเรื่องอากาศร้อน โถงระหว่างชั้นหรือที่เรียกว่า Double Space ยังช่วยในการไหลเวียนอากาศภายในบ้านให้ดีขึ้น แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีทางเข้า-ออกให้กับอากาศเสมอ เพื่อให้ระบายของเก่า และทดแทนด้วยของใหม่ พร้อมกับการเปิดทัศนวิสัยทางสายตา สร้างความรู้สึกว่าบ้านดูโปร่งโล่ง และมีชีวิตชีวา

INTHAMARA 29 ออกแบบโดย I like design studio โดย คุณณฤชา คูวัฒนาภาศิร

ขอบคุณข้อมูลจาก TOSTEM Thailand

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading