OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

รู้จักสถาปนิกและสถาปัตยกรรมรักษ์โลก Eco Architect

สำหรับเจ้าของบ้านที่ยังอยากรู้จักคำว่า “สถาปนิก” มากขึ้น ครั้งนี้เราได้สัมภาษณ์สถาปนิกหนุ่มไฟแรงที่ทำงานอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ในนาม Eco Architect งานของเขาเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญเป็นไอเดียที่จะทำให้บ้านนั้นน่าอยู่และยังเป็นสถาปัตยกรรมรักษ์โลกด้วย พี่แก้ว คำรน สุทธิ ตำแหน่ง Managing Director แห่ง Eco Architect

1

DsignSomething : ถ้ามีลูกค้าเดินเข้ามาอยากให้พี่แก้วออกแบบบ้าน สิ่งสำคัญอันดับแรกๆที่พี่แก้วจะถาม หรือให้การบ้านเจ้าของบ้านคืออะไร เพราะอะไร

พี่แก้ว : คำถามแรกที่จะถามลูกค้าเสมอ  คือ อยากได้บ้านอารมณ์ไหนครับ  ช่วยอธิยายให้ฟังหน่อย  ตั้งแต่ทางเข้าบ้านไปจนถึงห้องนอน หรือหลังบ้านเลยครับ ลูกค้าส่วนใหญ่ก็สามารถอธิบายได้ครับ เพราะก่อนมาหาเรา ลูกค้าก็จะทำการบ้านมาระดับหนึ่งแล้ว หรือมีหนังสือและรูปที่ตัวเองชอบถือมาด้วย มีลูกค้าส่วนน้อยที่ไม่มีไอเดียเลย และให้ทาง Eco Architect เป็นฝ่ายนำเสนอ  ซึ่งอารมณ์ของบ้านเราไม่ได้หมายถึงสไตล์นะครับ เราหมายถึงอารมณ์และความรู้สึกของที่ว่าง ณ จุดนั้นๆ  จากประสบการณ์ในการออกแบบบ้านมากมากกว่า 100 หลังแล้ว พอสรุปได้ว่า ลูกค้าส่วนใหญ่จะชอบบ้านที่ดูแล้วอบอุ่น ผ่อนคลาย  และอยู่สบายBaan por dee Model

DsignSomething :  บ้าน กับ ธรรมชาติสำคัญแค่ไหน และแนวทางที่ Eco Architects ทำมาตลอดคืออะไร

พี่แก้ว : บ้าน กับ ธรรมชาติ  สำคัญมากครับ คนเราอยู่และพึ่งพาธรรมชาติมาตลอด  บ้านก็เหมือนกันก็ต้องเรียนรู้ปรับตัวและพึ่งพาธรรมชาติเช่นกัน  เช่น พึ่งพาลมในการระบายอากาศ ระบายความร้อนและความชื้นเพื่อสร้างสภาวะน่าสบาย (Natural Ventilation) พึ่งพาร่มเงาของต้นไม้เพื่อหลบความร้อนจากแสงแดด (Exterior Shading) พึ่งพาแสงสว่างสว่างจากพระอาทิตย์  (Day Lighting) พึ่งพาการคายนำ้ของต้นไม้เพื่อช่วยดึงความร้อนให้ลอยตัวขึ้นสู่ท้องฟ้า และให้อากาศเย็นเข้ามาแทนที่เพื่อทำให้พื้นที่บริเวณบ้านเย็นสบาย (Evaporative Cooling) และอื่นๆอีกมากมายที่เราต้องเรียนรู้และพึ่งพาธรรมชาติ  ทำอย่างไรถึงจะพึ่งพาประโยชน์จากธรรมชาติให้ได้มากที่สุด โดยที่ไม่ทำลายธรรมชาติและให้ธรรมชาติอยู่กับเราไปนานๆ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เราต้องเรียนรู้ ทดลองและประยุกต์ใช้โดยผ่านการออกแบบ  สิ่งต่างๆเหล่านี้คือสิ่งที่เราทำมาตลอดในการออกแบบบ้านsurat apartment

DsignSomething :  หากเจ้าของบ้านตกลงใจแล้วว่าอยากให้บ้านนั้น Eco จะมีอะไรที่ต้องแลกกับการมีบ้านแบบนี้ไหม อะไรที่พี่แก้วอยากให้เจ้าของบ้านคิดก่อน

พี่แก้ว : สิ่งที่ต้องแลกกับบ้านแนว Eco จริงๆแล้วไม่มีอะไรต้องแลก  แค่ทำการเปิดรับสิ่งดีๆที่ธรรมชาติมีให้ และป้องกันสิ่งที่เราไม่ต้องการจากธรรมชาติ  เรามองว่าเป็นการแก้ปัญหามากกว่า ซึ่งการแก้ปัญหานั้นอาจมีต้นทุนในการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น แต่บ้านแนว Eco ก็ไม่ได้มีต้นทุนที่สูงกว่าบ้านทั่วไปมากนัก ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เราเลือกใช้ต่างหาก  บางคนคิดว่าต้องใช้กระจก Insulated เพื่อช่วยกันความร้อน ต้องใช้ฉนวนกันความร้อนเยอะๆ ซึ่งทำให้ต้นทุนก่อสร้างบ้านเพิ่มขึ้น แต่ถ้าใช้ไม่ถูกจุดก็ไม่ได้เกิดประโยชน์ แถมเสียเงินเปล่า และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ  เราจะแนะนำให้ลูกค้าแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่า เช่น  ห้องนั่งเล่นร้อนเพราะโดนแดดทั้งวัน  เราก็แก้ปัญหาโดยการยื่นชายคาเยอะๆ เพื่อบังแดด สิ่งที่ลูกค้าต้องแลกคือ พื้นที่หลังคาที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนเพิ่มขึ้น  แต่สิ่งที่ลูกค้าได้รับคือ บ้านเย็นสบาย ประหยัดแอร์  ถ้ายื่นชายคาบังแดดแล้วประหยัดแอร์เดือนละ 1,000 บาท ภายในหนึ่งปีก็คืนทุนแล้ว สำหรับต้นทุนในการเพิ่มชายคา เป็นต้น สิ่งที่จะบอกให้ลูกค้ารู้ตลอดในช่วงการออกแบบ คือ ปัญหาของบ้านหลังนี้คืออะไร  วิธีการแก้ปัญหามีอะไรบ้าง ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร  สุดท้ายก็ต้องให้ลูกค้ากลับไปคิดว่าจะเลือกแนวทางไหน  นี่เป็นสไตล์การทำงานของเราครับ

recycle green wall

DsignSomething : วิธีง่ายๆในการออกแบบบ้านให้ Eco อยากให้พี่แก้วยกมาสัก 4 ข้อครับ เช่น หลังคาทรงสูง ชายคายื่น… 

พี่แก้ว : ในการออกแบบบ้านให้ Eco มีเทคนิคง่ายๆ ไม่ยุ่งยากอะไร แต่ต้องศึกษาและเรียนรู้สภาพแวดล้อม สภาพภูมิประเทศ  สภาพภูมิอากาศของพื้นที่ที่จะออกแบบให้เข้าใจเสียก่อน  และจึงนำเทคนิคต่างๆเหล่านี้มาใช้ เช่น

Solar Shading คือการป้องกันความร้อนจากแสงแดดเข้าสู่ตัวอาคาร  วิธีการง่ายๆ คือ ทำความเข้าใจว่าในหนึ่งปีการโคจรของดวงอาทิตย์เป็นอย่างไร  โดยทั่วไปพระอาทิตย์จะอ้อมใต้  จะมีบางเดือนที่อ้อมเหนือ ฉะนั้นควรตรวจสอบทิศทางของบ้านว่าด้านไหนที่ต้องการการบังแดดก็หาวิธีกันแดดซะ อาจจะยื่นชายคาเยอะๆ ทำแผงบังแดด  ทำ green wall หรือปลูกต้นไม้เพื่อช่วยบังแดด  ก็แล้วแต่ชอบ  แต่ที่สำคัญต้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารได้จริงๆ  ไม่ใช่ทำเพื่อโก้เก๋ตามกระแสแฟร์ชั่นLOWRISE APARTMENTNatural Ventilation คือการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ  อันนี้สำคัญมากๆ ในการออกแบบบ้านที่อยู่ในเขตร้อนชื้นอย่างบ้านเรา  เพราะอากาศที่มีความชื้นมากๆ ก็จะเก็บความร้อนได้มาก ทำให้เราร้อนและเหนียวเนอะหน่ะ เพราะฉะนั้นเราต้องหาวิธีที่จะระบายความชื้นและความร้อนออกจากตัวอาคารให้ได้  วิธีการง่ายนิดเดียว คือศึกษาดูว่าลมประจำในรอบหนึ่งปีมากจากทางไหนบ้าง ก็เปิดหน้าต่างระรับลมในทิศทางนั้นๆ และให้มีช่องลมออกในทิศทางที่เหมาะสม  ขนาดและตำแหน่งช่องลมเข้าและลมออกจึงมีความสำคัญมาก ถ้าอยู่ในตำแหน่งและขนาดไม่เหมาะสมลมก็ไม่เข้าและไม่สามารถระบายอากาศได้eco thai houseEnergy Conservation คือการช่วยลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง ทำอย่างไรให้บ้านเย็นโดยไม่ต้องเปิดแอร์ หรือเปิดแอร์เฉพาะในช่วงที่จำเป็นจริงๆ ทำอย่างไร ให้ไม่ต้องเปิดไฟในเวลากลางวัน ใช้แสงสว่างแบบ Indirect Daylight ได้ไหม เป็นต้นBaan Pordee

Ecological คือ การสร้างระบบนิเวศน์ ทั้งภายในและภายนอกบ้านให้เอื้อประโยชน์ต่อสภาวะน่าสบาย  และส่งเสริมการประหยัดพลังงาน เช่น การจัดสวนนอกบ้านที่ไม่บังลม  แต่ช่วยบังแดดได้  รวมถึงการลดพื้นที่ดาดแข็งโดยรอบบ้านและแทนที่ด้วยพื้นที่สีเขียวเพื่อลดการสะท้อนความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านและเป็นการเพื่มพื้นที่ให้น้ำฝนซึมผ่านได้ ช่วยลดอัตราการไหลบ่าของน้ำฝนสู่ชุมชน เป็นการช่วยป้องกันน้ำท่วมในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

ยังมีเทคนิคในการออกแบบบ้านแนว Eco อีกมากมาย เช่น Local Materials  คือ การใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้  เช่น ไม้โตเร็วที่สามารถปลูกในท้องถิ่นนนั้นๆได้  หินหริอดิน หรือวัสดุอื่นๆ  ทีมีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานและการสร้างมลภาวะที่เกิดจากการขนส่งวัสดุ  หรือการใช้วัสดุให้เหลือเศษน้อยที่สุด เพื่อช่วยลดปริมาณขยะให้กับเมือง สิ่งที่สำคัญในการออกแบบบ้านแนวนี้  ไม่ใช่แค่ทำให้คนในบ้านอยู่สบาย  ประหยัดพลังงาน แต่ต้องใส่ใจต่อชุมชน และเมืองส่งผลกระทบต่อชุมชนและสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด ธรรมชาติจะได้อยู่กับเราไปนานๆbaan Khun Jitt rubber garden house

 

ขอขอบคุณ

คุณคำรน สุทธิ ตำแหน่ง Managing Director แห่ง Eco Architect โทร. 081 2703450

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading